Monday, April 2, 2012

Visit Company BLA



เหนื่อยครับ หลังจากเดินมาจากรถไฟใต้ดิน ก็มาถึง bla ที่ rca พอดี เหงื่อแตกเต็มเลยครับ ไม่น่างกเลย ปวดขาไปหมดเลย




ตอนแรกก็เสียวว่าจะหลงทาง เพราะไม่เคยมาแถวนี้มาก่อน พอเห็นตึกก็หายเสียวเลยครับ กลัวหลงทางจริงๆ เพราะเข้าไปก็จะได้เวลาประชุมแล้ว

หลังจากผมเข้ามาในตึก ก็ขึ้นมาชั้นเจ็ดเลยครับ ตามป้ายที่นำทางไว้


คนในห้องช่วงแรกๆครับ คือผมไม่รู้จักใครเลยอ่า

สักพัก ผบ ก็ออกมาแสดง present ก่อนเลยในเรื่องที่สำคัญที่สุด คือเรื่อง เงินสำรอง

*ช่วงนั้นเกิดสำรองมากใน ไตรมาส 4/54 ทำให้กำไรในไตรมาสนั้นหายไปเลย



ผมก็ฟังๆมาก จับใจความมาคร่าวๆ

คือถ้าดอกเบี้ยลง สำรองต้องมากขึ้น และมีการเปลี่ยนวิธีการคิดสำรองด้วยจาก NPV เป็น GPV ประมาณนี้

ที่สำคัญ ทุกดอกเบี้ยลง 0.1 % หมายถึงเงินสำรอง 1,300ล้านบาท
(ผมคิดว่า ลงซัก 0.5% ประกาศขาดทุนได้เลยนะ)
โดยคิดดอกเบี้ยจาก zero คูปอง ย้อนหลัง 8ไตรมาส

ส่วนสำรองที่สามารถลดภาษีได้ มี2 แบบ
กรมธรรมหลัก ลดได้ 65%
กรมธรรมเสริม ลดได้แค่ 40%
ปัจจุบันตัวเลขรวมเฉลี่ยของ BLA คือ 60.5-61

ส่วนไตรมาสนี้ที่สำรองเพิ่ม 920ล้าน เสียภาษีด้วย (เกินที่ลดภาษีมามากไป)
โดย 920ล้าน มาจากกรมธรรมทั้งหมดที่มี คิดด้วยดอกเบี้ยที่ลดมามากในปีที่แล้ว
แต่ ส่วนใหญ่คิดผลตอบแทนแล้ว(น่าจะหมายถึง เมื่อลูกค้าซื้อ BLA ก็ซื้อพันธบัตรเลย)

ภาษีปกติ 22-23%

อนาคต
ดอกเบี้ย การสำรอง
ลง อาจสำรองเพิ่ม กำไรหดหายเลย (กำไรลวงตาน่ะ)
คงที่ สำรองเพิ่มนิดหน่อย เพื่อปีต่อไปลงอีก จะได้ไม่มีกำไรที่ผันผวนเหมือนปีที่แล้ว
เพิ่ม คงสำรองซักระยะ ก่อนที่จะปล่อยขึ้น และกำไรจะออกมาเยอะมาก (กำไรลวงอีกแล้ว)
ขึ้นอยู่กับ นักคณิตศาสตร์ และ ผบ

ประมาณนี้ล่ะครับ ก่อนที่จะให้เปิดให้ซักถาม

หลังจากนั้นพายุลง ด้วย 30 คำถามจากคุณนภานิรันดร์
และคำถามอื่นๆจากคนใหญ่โต (เมื่อวัดด้วยพอร์ท หรือเปล่า)

พักหน่อยด้วย เปาหมูสับไข่ต้ม กับขนมจีบกุ้ง และไมโลหน่อย (ทำไมไม่เอาของ CPF มาให้ ชิชิ)



ต่อนะครับ

เป็นแค่ส่วนหนึ่งของพายุคำถาม และที่ผมเข้าใจนะครับ (ที่ไม่เข้าใจเราไม่เขียน เดียวคนอื่นรู้ว่าโง่ อิอิ)

Q: ทำไมไม่สำรองแต่แรก
A: ตอนแรกสำรองแล้ว แต่ไม่นึกว่า ดอกเบี้ยจะลงหนักขนาดนี้ เลยต้องสำรองเพิ่มอีก

Q: สำรองขนาดนี้ จะทนดอกเบี้ยลงได้อีกแค่ไหน
A: บอกไม่ได้

Q: ถ้าปีนี้ดอกนิ่ง
A: ปลายปีก็ไม่มี Extra

Q: จะแก้ไขยังไงให้สำรองต่ำ
A: จะเน้นขายประกันระยะยาวให้มากขึ้น ทั้งตัวแทน และ ธนาคาร

Q: การตั้งสำรอง อย่างไร
A: ทุกไตรมาส แยกคำนวณ

Q: GF 330
A: มีการตั้งสำรอง เผื่อล่วงหน้าแล้ว (แต่ดอกเบี้ยมันลงหนักไป)
การตั้งสำรองจะเปลี่ยนไปตาม ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่าย อัตราการตาย
และสำรองระยะสั้นจะสูงกว่า ระยะยาว

Q: แนวโน้มปี 55 ภาษีจะเป็นอย่างไร
A: อาจจะสูงขึ้น (จากการตั้งสำรองเกิน 65%)

Q: หลักการตั้งสำรอง ให้กำไรดูสวย ยังไง
A: โดยหลักๆ ระยะสั้น ปีแรกจะ สูงงเลย ปีต่อๆไปก็จะสูง ในอัตราต่ำ
ระยะยาว ปีแรก จะต่ำมา แล้วจะสูงขึ้นที่หลัง

Q: รู้เรื่องแต่แรกหรือไม่เรื่องสำรอง
A: รู้ทุกอย่าง ยกเว้นดอกเบี้ยที่ลงเกินคาด

Q:กำไรคิดยังไง
A:ระยะสั้น กำไรปีแรกสูง ปีต่อไปจะต่ำลง (แต่ไม่รุนแรง)
ระยะยาว ปีแรกจะต่ำ ปีต่อไปจะสูงขึ้น

เสริม
อนาคต ตัวแทนจะสามารถขายประกันได้ดีขึ้น โดยเน้น วางแผนทางการเงิน
ในอนาคต ROI มากกว่า 5 น่าจะไหว
ไม่น่ามีการขาย พอระยะสั้นมากๆ GF248 อีก เน้นยาวแทน
อนาคตคาดว่า FYP +12.6% PYP +8.8% TYP +9.9%
BBL เหมือนไม่ค่อยจะบังคับให้ขายประกันมาก เหมือน SCB
(มีพี่คนนึงคาดว่า BBL ถือ BLA น้อยไป(10%) แต่ SCB ถือ SCBLIF 90%)
ปัญหา TAX สูง ต้องแก้ไขอีก 2 ปี (รอสำรองลด)
ปัญหาของ ระยะเวลาหนี้ที่ยาวกว่าทรัพย์สิน (ผมไม่แน่ใจว่าคืออะไร)
ปัญหา Underwriting Profit ที่มากไป (มันคืออะไร ผมไม่เข้าใจ)
ปัญหา Capital Adequacy ที่ต่ำไป 197%
ประมาณ 12-14ปีเบี้ยก้อนใหญ่จะครบอายุ แต่คาดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะเบี้ยใหม่จะมากกว่าเยอะ

ระยะ2-3ปี เบี้ยน่าจะโต 15%+- (ผู้บริหารกล่าว)
ระยะ 5 ปี ASSetน่าจะโต 15%+- (ผู้บริหารกล่าว)

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=33448&start=4320

No comments:

Post a Comment