Thursday, April 12, 2012

หนังสือ 10 คาถา รักษาธุรกิจครอบครัว


ได้หนังสือมาฟรีจากการไปประชุมผู้ถือหุ้น เอามาอ่าน เห็นว่ามันก็เหมือนการดูธุรกิจจากหุ้น ก็เลยเอามาผสมโรงด้วยความคิดผมนะครับ

1 อย่าขยายตัวมากเกินไป
เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ เวลาขยายตัว มักต้องลงใน Fixed Cost ทำให้ต้นทุนสูงมาก
เวลาที่คิดว่าควรขยายตัว อย่าลืม คนอื่นคิดเหมือนกันเปล่า (จะเกิด over supply)
ควรขยายเมื่อพร้อม ทั้งด้านการเงิน ตลาดรองรับ บุคลากร

ความคิดนะครับ การที่บริษัทนึงขยายตัวมากเกินไป บริษัทอื่นๆก็มักขยายตัวมากเหมือนกัน จนลืมว่า ตลาดมีขีดจำกัดในการรองรับ สุดท้าย ทุกฝ่ายก็ต้องแย่งตลาดกัน ลดราคา ขูดเลือด แล้วเสียหายหมดเลย 
อย่างสมัยนี้ที่ผมดู ก็เรื่องคอนโด ที่เยอะมาก แล้วแต่ละโครงการ ก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นทุกครั้งที่เปิดตัว  

2 อย่าออกนอกความถนัด
เห็นคนอื่นทำแล้วได้ดี เลยอยากทำบ้าง หรือความชอบส่วนตัว ชอบคิดว่าเราได้เปรียบ(ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่)
เช่นอสังหาในปี 40 (ที่เกิดวิกิตต้มยำกุ้ง) ตอนนั้น ไม่ว่าใครก็ลงมาเล่นอสังหาทุกคน บริษัทต่างๆก็เอาหมด
หอพัก ที่ปัจจุบัน ใครมีเงินเหลือ ก็ทำกันใหญ่ โรงแรมขนาดเล็กที่ฮิตมากๆ ร้านอาหาร กาแฟ สปา เสื้อผ้า

ผมว่าปัจจุบันนี้ มองผ่านหุ้นนะ  อย่าง CPF ที่เข้าไปเทคโอเวอร์ True มา ทุกวันนี้ก็ยังเอาไม่ขึ้นเลย บริษัทที่เน่าๆ หลายบริษัทก็มีข่าวเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจ แต่สุดท้าย ก็เลวร้ายเหมือนเดิม
สำหรับตอนนี้ ผมว่าถ่านหินนี่ล่ะ อย่าง earth จู่ๆก็มาทำถ่านหิน TTA ก็หันมาทำอีก แต่ผมอาจจะเข้าใจพลาดก็ได้นะ

3 จงรักษาสภาพคล่อง
รายรับ มากกว่า รายจ่าย
ทรัพย์สินหมุนเวียน มากกว่า หนี้สินหมุนเวียน
มีเงินสดสำรองเสมอ

อันนี้ก็เรื่องปกติ การที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็ไม่ต้องพูดเลย 
ทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ก็พอว่าอยู่ ถ้าบริษัท มีรายรับที่แข็งแรงจริงๆ
เงิยสดสำรอง ถ้ามีน้อย ก็พอว่าอยู่ ถ้าบริษัท มีรายรับที่แข็งแรงจริงๆ

4 ปรับตัวให้ทันต่อสถาวะการแข่งขัน
การที่ปรับตัวไม่ทัน หรือช้าเกินไปมีหลายอย่าง
โดยรายอื่นแย่งตลาดไป แต่สินค้าบริการยังเหมือนเดิม แต่อาจแข่งขันที่ราคาถูก
โดนสินค้าบริการทดแทนไป  แบบนี้อันตราย ส่วนใหญ่มักรอวันปิดร้านเลย
ตัวอย่างเช่น Nokia กับ BB ที่โดนแย่งตลาดไปโดยกลุ่ม Android และ IPhone แบบนี้แย่แน่นอน ถ้าสินค้าบริการถูกกว่า (Nokia กับ BB ค่อนข้างแพงกว่า) และเป็นสินค้าทดแทนด้วย

แบบนี้ก็เข้าสู่สิ่งที่ บัฟเฟต์ บอกไว้เลย หาบริษัทที่มีสินค้า ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง(จะไม่เจอสินค้าทดแทน) และ มีแบรนที่แข็งแกร่ง (เจอสินค้าอื่นถูกกว่า แต่ลูกค้าก็ยังเอาสินค้าของเรา)


นอกจากนั้นยังมีเรื่องสินค้าที่ แรงงานชั้นล่างทำอีก พวกนี้ใครทำก็ได้ ดังนั้นที่ไหนค่าแรงถูก ก็ไปทำที่นั้น เปลี่ยนฐานการผลิตเรื่อยๆ หุ้นพวกนี้เหนื่อย เพราะต้องแข่งขันการต้นทุนถูก ยิ่งต้องแข่งกับต่างประเทศที่ต้นทุนต่ำมากๆ ปิดประตูแพ้ได้เลย

5 อย่าเก็งกำไร สินค้า วัตถุดิบ
หลายครั้งที่ การเก็งกำไร มักเสียหายนักกว่าได้เสมอ ยิ่งบริษัทที่ใช้เงินกู้ด้วย ยิ่งหนัก นอกจากนั้น การทำในสิ่งที่ไม่ถนัด จะกลายเป็นการพนันมากกว่า

สิ่งที่เคยเห็นมา ก็จะมีเรื่อง 
ราคาน้ำมันก่อนที่จะเกิดวิกฤต ทุกคนคาดหวังมาก แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่เหลืออะไรเลย 
ราคายางพารา ญาติผมคนหนึง ซื้อเอาไว้ จนตอนนี้ ยังขาดทุนอยู่เลย 
ราคาน้ำมันปาล์ม ที่บริษัทนึงได้กำไร แต่อีกบริษัทกลับขาดทุน เพราะว่าที่นึง long ที่นึง short
เวลาสนใจกลุ่มบริษัทที่มีเรื่องพวกนี้มาเกี่ยวข้อง จงซื้อในช่วงที่ราคาพวกนี้ หายนะ 
นอกจากนั้น พยายามอย่าเก็งกำไรจากราคาหุ้นด้วย ซึ่งผมยังทำไม่ค่อยได้เลย T.T   


6 อย่านำเงินของธุรกิจ ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ซื้อทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่ช่วยในเรื่องการทำธุรกิจ แย่ยิ่งกว่า การออกนอกความถนัดเสียอีก

เห็นบ่อยๆที่ ผบ มักชอบเอาเงินบริษัทไปซื้อของไร้สาระ เช่น รถหรู บ้านพักหรู ด้วยข้ออ้างสารพัด อันนี้ผมไม่พูดถึงล่ะกัน 
นอกจากนี้ก็ยังมีพวกที่บังคับให้ซื้อทรัพย์สินที่ตัวเองเป็นเจ้าของในราคาสูงมาก เพื่อนำเงินกำไรเข้ากระเป๋าอีก 
อีกอันก็พวก บริษัทที่ แจกวอแรน ให้กับพนักงานและผู้บริหารนี่ล่ะ ที่แย่จริงๆ เป็นการนำเงินออกมาจากบริษัทเข้ากระเป๋าตัวเองโดยถูกกฎหมายเลยล่ะ แต่ก็ยังดีกว่า 2 อันแรกนะ เพราะเรามักจะไม่รู้เลย

7 อย่าให้ธุรกิจพึ่งคนคนเดียวมากเกินไป หรือ คู่ค้าไม่กี่ราย
ธุรกิจที่เจ้าของรู้ทุกเรื่อง ถ้าเจ้าของตาย ล้มละลายแน่นอน One man show
ธุรกิจที่คู่ค้าน้อยหลายมาก เช่นถ้าลูกค้าหลัก ยกเลิก การซื้อขาย ล้มละลายเลยแบบนี้
ธุรกิจที่เป็นลูกโซ่ อย่างผลิตรถ ก็จะเริ่มจาก ถลุงเหล็ก ขึ้นรูปเหล็ก พ่นสี ประกอบ ถ้าจู่ๆ ถลุงเหล็กไม่ได้ ที่เหลือก็เจ้ง

ที่เจอมากับตัวก็มี MCS ผมชอบบริษัทนี้นะครับ ชอบ ผบ ด้วย แต่ผู้ค้าหลัก มีอยู่ 5-7 ราย แต่ทั้งหมดอยู่ในญี่ปุ่น เวลาเกิดปัญหาที่ญี่ปุ่นที MCS ก็ไม่มีงานเลย แทบล้มเลย
อีกตัวก็ โรงกลั่นน้ำมัน ระยอง RPC ที่จู่ๆ PTT ไม่ส่งน้ำมันให้ดื้อๆ เลยเกือบจะเจ็งเลย
อย่างเจ้าของรู้ทุกเรื่อง ผมหาในตลาดไม่ได้นะครับ เอาเป็นว่า อย่างบริษัทของ โน๊ค อุดม ถ้าคุณโน๊คลาออก ใครจะเป็นคนพูดต่อล่ะ 
แบบนี้เวลาหาบริษัทที่ดี ต้องผู้บริหารเป็นคนทำให้บริษัทเดินได้ ยืนได้ แต่ไม่ใช่บริษัทต้องพึ่งผู้บริหารคนเดียว

8 จงอย่าเชื่อคนง่าย
ชวนลงทุน ส่วนใหญ่มักเจ็ง ที่ไม่เจ็ง ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ คิดหรือว่าเขาจะแบ่งให้จริงๆ
ยืมเงิน 100% หายไปหมดทุกคนเลย
ค้ำประกัน ยิ่งหนักว่ายืมเงินอีก เพราะเราต้องตามใช้หนี้แทนอีก เลวร้ายเลย
ให้เครดิตนานๆ เหนื่อย สมมุติถ้าอยู่หนี้ไปเลย ก็ซวยอีก

อันนี้คงมองได้ 2 อย่าง คือบริษัท ที่เวลาขายของ ต้องรอเก็บเงินที่หลัง เช่นพวกโรงงานที่เอาของไปฝากขาย กว่าจะได้เงินคืนก็เป็นเดือนๆ หรืออย่างพวกขายรถ ขายบ้าน ด้วยใบจอง พวกนี้จู่ๆโยนใบจองทิ้งดื้อๆเลยก็ได้เสมอ
ส่วนอีกเรื่อง คงเป็นเรื่องบุคคลที่ว่า เพื่อนชวนไปลงทุน หุ้นร้อนแรงแห่งสัปดาห์ แบบนี้ สุดท้ายมักจบไม่สวย


9 จงรู้ตัวว่า เมื่อใดควรจะยอมแพ้
เมื่อเห็นว่าแย่ก็คือแย่ ไม่มีทางกลับมาได้อีก
อย่าโยนเงินเพิ่มถ้าไม่รอด
อย่านำความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง

สำหรับข้อนี้ ผมว่า อย่าเอาเงินไปลงทุนกับบริษัท ที่ยังไงก็แย่ บริษัทเน่าๆ อย่าไปคิดว่า บริษัทนี้เคยดี เคยราคาสูงในอตีด ในอนาคตอาจจะกลับมาได้อีก 

10 จงมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ในการทำธุรกิจ
ชื่อเสียงเป็นสิ่งสำคัญ

ผมมองเป็น สอง ประเด็นนะครับ
อย่างแรก ถ้าเราจะซื้อบริษัท เราต้องซื้อบริษัทที่ดี ลูกค้าอยากกลับมาใช้ใหม่ ไม่หนีไปที่อื่น อย่างโรงพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลแพงแต่มีชื่อเสียงมาก กับโรงพยาบาลถูก NoName คิดว่าคนอยากไปที่ไหนล่ะ
อย่างที่สอง ถ้าเราจะซื้อบริษัท ควรซื้อบริษัทที่ ผู้บริหาร ไม่มีประวัติหรือดูท่าทางโกง และไม่มาเล่นราคาหุ้นเป็นเจ้ามือมากเกินไป หลายๆบริษัทในตลาด ผบ มักซื้อขายหุ้น เพราะเป็น insider ตัวใหญ่ ทำให้รายย่อยมักเป็นฝ่ายเสียหายเสมอ ยิ่งการลวงบัญชี ยิ่งเลวร้ายเลย

1 comment:

  1. ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันกันครับ

    ReplyDelete