Sunday, September 15, 2013

PE PEG ซื้อที่เท่าไหร่ดี

เคยสงสัยไม ว่าทำไมเราซื้อหุ้นกันที่ PE สูงๆ แล้ว PEG ทำไมต้องน้อยกว่า 1 ใครตั้ง เพื่ออะไร 

* หลังจากนี้ไป เป็นความเข้าใจส่วนบุคคลนะคร้าบบบ
** อันนี้ เฉพาะ นักลงทุนระยะยาวนะครับ 

สมมุติ กรณีที่ 1 
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20
หุ้น C ปันผล 2 บาท ราคา 100 บาท PE 50
ให้แค่นี้ แน่นอน หุ้น A ดีสุด

สมมุติ กรณีที่ 2
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 3.3 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% ทุกปี PEG =1
ถ้ากำไรโต X % ทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ กำไรจะมาจาก ปันผล + การเติบโตของกำไรเลย
หมายความว่า สิ้นปีที่ 1
หุ้น A ราคา 100 บาท ปันผล 10บาท รวมกำไร 10 บาท
หุ้น B ราคา 100 บาท ปันผล 5บาท รวมกำไร 5 บาท
หุ้น C ราคา 100 บาท ปันผล 3บาท รวมกำไร 3 บาท
สิ้นปีที่ 2 (ปรับ PE ให้เท่าเดิม พอกำไรเพิ่ม ราคาก็ต้องเพิ่ม)
หุ้น A ราคา 110 บาท ปันผล 11 บาท กำไรจากปีที่1 10 บาท รวมกำไร 31บาท
หุ้น B ราคา 120 บาท ปันผล 6 บาท กำไรจากปีที่1 5 บาท รวมกำไร 31บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
หุ้น C ราคา 130 บาท ปันผล 4.3บาท กำไรจากปีที่1 3.3บาท รวมกำไร 37.6บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
ดังนั้น กรณีที่ 2 ถ้าการเติบโต เป็นไปตลอดชีวิต หุ้น C จะกลายเป็นหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุด เพราะเป็นหุ้นที่มีการเติบโต ทั้งด้านกำไรและราคา สูงสุด

ดังนั้น ทั้ง 2 กรณีนี้ ทำให้ หุ้นบางตัว ปันผลต่ำตลอดชีวิต (เพราะมันเติบโต) หุ้นบางตัวปันผลเยอะมาก (เพราะไม่โต) นั่นเอง

แต่ก็มีปัญหาต่อ คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกินทั้งโลก)
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี 

=================================================================
*** ขอเปลี่ยนแปลง หุ้น PE 30 ปันผล 3.33% เป็น PE40 ปันผล 2.5%
**** ปันผลเอาออกไปเลยนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการคิด 

ปัญหาต่อมา คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกินทั้งโลก) 
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี 

สมมุติกรณีที่ 3
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1
แต่ เรามามองในปีที่ 5
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 207.36 รวมกำไร 144.57บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 384.16 รวมกำไร 311.52บาท
จะเห็นว่า ถ้า A B C ยังสามารถโตได้ในระดับเดิม หุ้นที่มีการฌตมากสุด ก็จะกำไรมากสุด

สมมุติกรณีที่ 4
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา 5ปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
เรามามองในปีที่ 5 เหมือนกรณีที่ 3
แต่ในปีที่ 5 หุ้น B และ C ดันโตเหลือ 10% เท่าหุ้น A ทำให้ PE ของหุ้น B และ C ลงมาทันที เหลือ 10
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 103.68 รวมกำไร 40.89บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 96.04 รวมกำไร 23.4บาท
ถือมา 5 ปี PE กลับมาเท่าเดิม กลายเป็นหายนะทันที

สมมุติกรณีที่ 5
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
ให้เป็น X ปี เพื่อที่เราต้องการจากหาว่า "ถ้าเราต้องการหุ้นที่ PEG 1 PE สูง การโตสูง เราจะต้องหาต่อเนื่องอีกกี่ปี

อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 11 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 25.94 ปันผลรวม 185.31 ราคา 259.37 กำไร 344.69
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 30.96 ปันผลรวม 160.75 ราคา 309.59 (ที่ PE 10)กำไร 370.34
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 19.49 ปันผลรวม 114.36 ราคา 194.87 กำไร 209.23
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 26.35 ปันผลรวม 85.99 ราคา 263.53 (ที่ PE 10)กำไร 249.52
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 12.44 ปันผลรวม 49.65 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 74.07
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.45 ปันผลรวม 40.81 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 75.27

กรณี 6 เป็นกรณีปันผล 50%
หุ้นส่วนใหญ่ ไม่สามารถปันผล 100% ได้ เราควรคิดปันผล 50% แทนบ้าง
หุ้น A กำไรต่อหุ้น 10บาท ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B กำไรต่อหุ้น 5บาท ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C กำไรต่อหุ้น 2.5บาท ปันผล 1.25 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10

อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 11.79 ปันผลรวม 79.69 ราคา 235.79 กำไร 215.48
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 12.9 ปันผลรวม 64.9 ราคา 222.89 (ที่ PE 10)กำไร 222.89
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 9.74 ปันผลรวม 57.18 ราคา 194.87 กำไร 152.05
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.18 ปันผลรวม 42.99 ราคา 206.53 (ที่ PE 10)กำไร
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 6.22 ปันผลรวม 24.82 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 49.24
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 6.72 ปันผลรวม 20.4 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 54.86

กรณีสุดท้ายล่ะ ขี้เกียจล่ะ
ถ้าเรามองเฉพาะปันผลอย่างเดียว (ปันผลสะสม) โดยไม่สนใจเรื่องราคา
หุ้น A B C เหมือนเดิม

หุ้น B จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 14 หุ้น B ปันผลสะสม 147.99 หุ้น A ปันผลสะสม 139.87
หุ้น C จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 10 หุ้น C ปันผลสะสม 87.27 หุ้น A ปันผลสะสม 79.69
หุ้น C จะแซง หุ้น B ที่ปีที่ 8 หุ้น C ปันผลสะสม 42.99 หุ้น B ปันผลสะสม 41.25

แสดงว่า การที่คนยอมซื้อที่ PE สูงๆ เพราะอ้างว่า มีการเติบโตที่สูงมากๆ จะต้องรู้ว่า จะโตได้สูงๆแบบนี้ อีกนานขนาดไหน ถึงจะคุ้มที่จะซื้อนะครับ

**** นี่ยังไม่รวมการเอาปันผลที่ได้ มาซื้อหุ้นกลับอีกทีนะครับ 


=======================================================================
สรุป

  1. ถ้าจะซื้อหุ้น PE สูงๆ โดยอ้าง PEG ว่า =1 ซื้อได้  ต้องมั่นใจว่าหุ้นที่เติบโตยาวนานพอ อย่างน้อย 5ปีขึ้นไป แล้วต้องยังโตได้อีกถึงจะโตน้อยลงก็ตาม 
  2. อันตรายจริงๆของหุ้น PE ระดับสูงมากๆ คือการปรับ PE ลง กลับมาอยู่ในจุดที่ควรอยู่ 
  3. ถ้าเป็นกรณีเอาปันผลมาซื้อหุ้นกลับด้วย จะน่าสนใจมากกว่านี้ เพราะหุ้น PE ต่ำ ปันผลสูง จะเพิ่มผลตอบแทนอีก ทำให้หุ้นเติบโต PE สูง เอาชนะได้ยากขึ้น ต้องใช้เวลามาขึ้นอีก 
ข้อควรระวัง
  1. เป็นเพียงทฎีษดี เท่านั้น (เขียนไม่ถูก)
  2. หุ้นแต่ล่ะตัวไม่เหมือนกัน ต้องระวังด้วย