Tuesday, December 31, 2013

hotpot

hotpot
CV 24/12/2013

overview
เปิดกิจการครั้งแรกในปี 1995 ชื่อ"coca fresh suki แล้วเปลี่ยนมาเป็นชื่อ "hot pot suki shabu restaurant" ในปี 2001 จากนั้นปี 2005 เริ่มเปิดบุตเฟ่ครั้งแรก แล้วซื้อไดโดม่อนเข้ามาในปี 2011 และเข้าตลาดหลักทรัพย์มาในชื่อ HOTPOT โดยคุณ สมพล เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 52.5%

ปัจจุบัน มีแบรนด์ทั้งหมด 7 แบรนด์ คือ
1.Hot Pot Inter Buffet
เน้นเมนูมากกว่า 100 เมนู โดยมีค่าบุตเฟ่ 339/159 บาทต่อหัว จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที มีทั้งหมด 44 สาขา
2. HOT POT Daidomon (HD)
เหมือน Hot Pot Inter Buffet แต่มี daidomon ด้วย และสามารถเลือกได้ว่า จะต้มหรือย่าง แต่ถ้าเอาทั้งต้มทั้งย่าง เพิ่มอีกคนล่ะ 30 บาทต่อหัว โดยมีค่าบุตเฟ่ 339+30/159+30 บาทต่อหัว (*ไม่แน่ใจ)  จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที  มี 3สาขา
3.Hot Pot Buffet Value
เมนูจะน้อยกว่า Hot Pot Inter Buffet สำหรับคนที่ต้องการราคาถูกกว่า โดยมีค่าบุตเฟ่ 319/149 บาทต่อหัว มีทั้งสาขาจำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที 34 สาขา และอีก 37สาขาไม่จำกัดเวลา รวมทั้งหมด 71 สาขา
4.Hot Pot Ramen Beffet
เป็นสาขาใหม่ ทำราเมงบุตเฟ่ โดยมีค่าบุตเฟ่ 289/149 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา มี 1 สาขา (เซ็นทรัล รามา2)
5.Hot Pot Prestige
เป็น Hot Pot ที่ อัพเกรดเป็นแบบดูดี เป้าหมายลูกค้าระดับบน อาหารจะเยอะกว่า โดยมีค่าบุตเฟ่ 499/259 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา มี 1 สาขา (เซ็นทรัล บางนา) และเพิ่มอีกสาขาในช่วงปลายปี (เซ็นทรัลเชียงใหม่)
6.Hot Pot Suki Shabu
เป็นแบบ A La Carte (แบบสั่งเป็นถาดๆ เหมือนพวก MK) เป็นแบบดังเดิมเลย ก่อนที่จะมาทำบุตเฟ่ ปัจจุบันมี 2 สาขา
7.Daidomon
Bar-B-Q และอาหารญี่ปุ่น (take over) มีทั้งหมด 21สาขา โดยมีค่าบุตเฟ่ 289/149 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา สำหรับร้านที่ยังไม่ได้ปรับปรุง และค่าบุตเฟ่ 339/159 บาทต่อหัว จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที
*ข้อมูลทั้งหมดในวันที่ 30/09/2013

โดยสาขาทั้งหมด 143 สาขา อยู่ใน
กรุงเทพและปริมาทน 60สาขา
ภาคกลางที่เหลือ 4สาขา
ภาคเหนือ 23
ตะวันออก 13
อีสาน 25
ตะวันตก 8
ภาคใต้ 10

เป้าหมายที่ผ่านมา
เปิดร้านใหม่ 14 สาขา
renovation 6สาขา
*ข้อมูลทั้งหมดในวันที่ 30/09/2013

เป้าหมายอนาคต 5ปี
เปิดสาขาใหม่ราวๆ 20-25 สาขาต่อปี (ต้นทุนการเปิดสาขาราวๆ 7-9 ล้านบาท

งบการเงิน
ในปี 2012 ซื้อไดโดม่อนมา รายได้เลยพุ่งเยอะ
กำไรขั้นต้นราวๆ 53-56% (ในงบ 9เดือน กำไรขั้นต้นขึ้นไป 58% เข้าใจว่าทั้งเรื่องราคาวัตถุดิบถูก และไตรมาส 3 ขายดีมาก (ถ้าขายได้เยอะ waste จะต่ำ ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า)
กำไรขั้นต้นอยู่ราวๆ 2.5%
ส่วน cashflow มีเยอะพอสมควร (ปี2011 น้ำท่วม เลยมีการขอเลื่อนการจ่ายเงินกับเจ้าหนี้ทำให้กระแสเงินสดขึ้นมาเยอะมาก แต่ก็ต้องไปจ่ายในปี 2012 แทน ทำให้ cashflow เหมือนหายไปเยอะ)
SG&A (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) *คำนวนงวด 9เดือน 2013
ส่วนใหญ่เป็น ค่าใช้จ่ายในการขาย 87% โดยแบ่งเป็น
ค่าเช่า 27.4%
ค่าพนักงาน 32%
ค่าเสื่อม ค่าตัดจ่าย 12.6%
ค่าน้ำ ค่าไฟ 12.1%
ค่าการตลาด 6.9%
อื่นๆ 9%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 13%
SSSG
ในงวด 9 เดือน ยอดขายโต 6.46%

Q&A

เรื่องที่ซื้อ ไดโดม่อน เข้ามาทั้งหมด 25 สาขา โดยปิดไป 11สาขาเพื่อ renovated และ Rebranded เป็น HD อีก 4สาขา เหลือ 10สาขา ที่ยังเปิดบริการอยู่ โดย renovated เสร็จแล้ว 8สาขา และยังไม่ renovated 2 สาขา
มีค่าเสื่อม 2 ปี จากที่ซื้อไดโดม่อนมา แต่เมื่อหมดส่วนนี้ไป ก็จะมีค่าเสื่อมใหม่เข้ามาแทนที่เพราะต้อง Renovated ด้วย
โดยการ take over จ่ายเงินไปทั้งหมด 45 ล้านบาท รับหนี้เข้ามา 84ล้านบาท สรุปว่าต้องจ่าย 129 ล้านบาท
สิ่งที่ได้มา
สินทรัพย์คงเหลือ (พวกอาหาร) 3ล้านบาท (หมดแล้ว)
อุปกรณ์ 18.9ล้าน (2ปีที่จะหมดไป)
สิทธิ์การเช่า 106ล้าน (มีตั้งแต่ 2ปี - 17 ปี) มีราคาค่าเช่าที่ต่ำมาก ประหยัดต้นทุนได้เยอะ
เงินประกัน 9 ล้านบาท (ห้างเก็บค่าประกันเช่าที่ไว้)
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้า 3ล้านบาท
หนี้สินค่าชดเชยพนักงาน 4 ล้านบาท
รวม137 ล้านบาท (เข้าใจว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับหนี้สินค่าชดเชยพนักงาน ไม่นำมาคิดนะ)
สรุป ซื้อมาได้กำไร 7 ล้านบาท

Q : ค่าทำสาขาใหม่ 7-9ล้าน มีอะไรบ้าง

A : โดยเป็นค่าทำอุปกรณ์ประดับร้าน 4.5 ล้าน คิดค่าเสื่อม 6 ปี เพราะเวลาเช่าที่ก็จะเช่าได้ 3+3 ปี  (3ปีแรกเช่าปกติ อีก3ปีสำหรับให้ต่อสัญญาณ)
*ถึงครบ 6ปี ค่าเสื่อมหมด แต่ก็ต้อง renovated เรื่อยๆ ทำให้ค่าเสื่อมในส่วนนี้จะยังมี แต่อาจจะน้อยลงบ้าง
ที่เหลือ เป็นพวกตู้เย็น เครื่องทำอาหาร อื่นๆ คิดค่าเสื่อม 5 ปี (ถ้าสาขาไม่ดี ก็ปิดแล้วเอาอุปกรณ์พวกนี้ไปสาขาอื่นได้)

Q : ต้นทุนต่างๆ
A : ต้นทุนการขายราวๆ 45% ของรายได้
แบ่งเป็นต้นทุนอาหาร 90% ของต้นทุน
และอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าแพ็ตอาหาร ค่าผลิตของโรงงาน ค่าแปรรูป และค่าแรงของโรงงาน 10%
SG&A ราวๆ 50-53% ของรายได้ (ส่วนแยก จะคิดเป็น % กับรายได้อีกทีนึง
Labor ราวๆ 18% ปีที่ผ่านมา เพิ่มเยอะเพื่อให้พนักงานรู้สึกดี และบริการลูกค้าให้เต็มที่ นอกจากนั้นก็เรื่องค่าแรง 300 บาทด้วย ทำให้ในปีก่อนๆ มีการเพิ่มในส่วนนี้เยอะ
Facititer 6% โดยเป็นค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส เป็นค่าไฟเกือบ 70% ในส่วนนี้
Market 3% ค่าการตลาด
renral and service 14% (ค่าเช่าที่และบริการในพื้นที่ให้เช่า) เป็น fixcost
Depreciation 6.5% เป็นค่าเสื่อม
อื่นๆ 5% เป็น fixcost 50%
ค่าใช้จ่ายทีมบริหาร 0.7%

Q : มีอาหารผลิตเองเท่าไหร่ แล้ว จ้างผลิตเท่าไหร่ ผลิตเองนี่ถูกกว่าไม แล้วถ้าถูกกว่า ทำไมไม่ผลิตเองให้มากกว่านี้
A : อาหารผลิตเอง 40กว่า% เช่น แล่ หมัก
ที่เหลือจ้างผลิต เช่น อาหารสำเร็จรูปบางประเภท พวกผัก ผลไม้ 50กว่า%
โดยผลิตเองถูกกว่าจ้างผลิต (อยู่แล้ว)
อยากผลิตเองเพิ่ม แต่บางอย่างเราไม่สามารถผลิตเองได้ อย่างซาซึมิ เราไม่ถนัด เลยต้องจ้างผลิต

Q : อาหารในร้านมีอะไรบ้าง อันไหนขายดีบ้าง
A : อาหารในร้านมีหลักๆ 5 อย่าง
1.ชาบู กลุ่มนี้มี 50%
2.อาหารจานเดียว พวกอาหารญี่ปุ่น ยุโรป
3. ติ่มชำ
4. สลัด
*2,3,4 รวมกันประมาณ 10-20%
5.ขนม ผลไม้ ไอติม  ที่เหลือ

Q : จุดเด่นที่เหนือกว่าร้านอื่น?
A : ไม่อยากให้เน้นสุกี้ เลยเน้น นานาชาติแทน แล้วก็ลองอะไรใหม่ๆตลอดเวลา
ที่ลอง HD ที่มีทั้งต้มทั้งย่าง มี 15 สาขา ก็มีผลตอบรับดีมาก โดยลูกค้าที่เข้าไป 70% ทานทั้งต้มและย่าง (จ่ายเพิ่ม 30 บาท)
สาขาไหนที่ไม่ดี ก็พยายามปรับปรุงแก้ไขจนถึงที่สุด แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องปิด

Q : ทำไมไม่ทำแบบขายเป็นถาดๆ แบบ MK บ้าง เพราะมันคุมต้นทุน กำไรมากกว่า
A : ที่เราเปลี่ยนมาเป็นบุตเฟ่ 8-9ปี เพราะเคยทำแบบ MK แล้ว มันสู้ไม่ได้ เลยต้องมาเป็นบุตเฟ่แทน

Q : แนวโนมการเปิดสาขาในอนาคต
A : hotpot ตอนนี้มี 150 สาขา มีทั้งห้างใหม่ ห้างเก่าๆที่มีก็เยอะ เราก็ต้องไปเปิดตามเขาไป
*เราไปตามห้างใหม่ๆ แต่ถ้าร้านเก่าในห้างเก่าไม่ไหวก็ต้องปิด
น่าจะเปิดได้อีก 100 สาขา ก็จะเริ่มอิ่มตัว
ต่อไปก็คงไล่ซื้อแบรนด์อื่นมากกว่า เพราะ ง่ายกว่าทำเองเริ่มนับ 1 ใหม่ ซึ่งก็คงจะใช้วิธีกู้เงินมากกว่า จะเลี่ยงเพิ่มทุน อยากซื้อบริษัทที่มีกำไรเลยมากกว่า แต่ไดโดม่อน ซื้อเพราะถูก และช่วงว่าระยะยาวได้กำไร
เรื่อง AEC ก็มองหาพันธมิตรอยู่

Q : เรื่อง HD เป็นไงบ้าง
A : เป็น หน้าจอ 1080p
ล้อเล่นนะ

Q : เรื่อง HD เป็นไงบ้าง
A : สาขาแรกเพิ่มที่เซ็นทรัลลำปาง HDก็ดี แต่ไม่เข้าใจที่ต้นทุนเพิ่ม กำไรที่ควรจะเพิ่ม กลับไม่เพิ่มเท่าที่คิด
ลงุทน HD ไม่ถึงล้านบาท แต่ยอดขายดีขึ้นมากราวๆ 30% เลย แต่อัตรากำไรสุทธิไม่เพิ่มเยอะมาก (ผมเข้าใจว่า 1%กว่านะ)
(นักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าเพิ่มรายได้ 8% จากค่าบุตเฟ่ 339 เป็น 369 จากการได้ทั้งต้มและย่าง แต่ต้นทุนก็เท่าเดิม อัตรากำไรสุทธิน่าจะเพิ่มเยอะกว่านี้มาก แต่มันกลับไปเป็นแบบนั้น)
อย่างสาขาเซนทรัลสุราษฎ ก็ไม่ค่อยดี ทั้ง Hot Pot และ Daidomon เลยจับมารวมกัน ปรับระบบ ปรับงาน ทำให้ต้นทุนลดลง wasteลดลง เพราะใช้บาร์เดียวกัน พนักงานน้อยลง ผู้จัดการสาขาน้อยลง ประหยัดได้เยอะ แถมขายดีขึ้นด้วย

Q : มีวิธีลดต้นทุนยังไงบ้าง
A : เรื่องลดต้นทุน ก็พยายามแล้ว ตั้งแต่ทำโรงงาน คิดวิธีต่างๆ ตัดรายจ่ายไม่จำเป็นออก ซึ่งมันไม่น่าจะลดต่ำได้มากกว่านี้แล้ว อย่างอาหาร ถ้าลดต้นทุนลง อาหารก็แย่ลง ถ้าลดค่าพนักงานลง พนักงานก็ไม่ชอบ ลาออก หรือไม่บริการลูกค้า ตอนนี้พยายามหาวิธีลด food cost จาก waste อยู่
ตอนนี้มีคนงานทำสาขา (สร้างและrenovation 150 คน (เกือบ 100 คน อยู่มาเป็น 10 ปีแล้ว) มีการซื้อเครื่องตัดสแตนเรย์ (ส่วนของบาร์) เครื่องตัดอคิลิ(พวกป้าย) มาใช้เอง ทำให้ประหยัดค่าทำได้เยอะมาก (ประหยัดได้เกือบ 50%)

Q : ที่ไหนดีที่สุด
A : ที่ดีที่สุด เซ็นทรัลพระราม 2 เบอร์1

Q : อนาคตต่อไป มีแผนจะเพิ่มรายได้ยังไงบ้างจากร้านเดิม (เน้น SSSG)
A : จะยกเลิก Hot Pot Value แล้ว จะไม่ทำแบบไม่จำกัดเวลาแล้ว แต่ราคาเดิมไปก่อน เพราะ ทั้งสภาพร้าน สภาพบาร์ มันยังไม่ควรปรับราคาขึ้นเลย นอกจากนั้น บางที่กำลังซื้อต่ำด้วย

Q : สาขาที่ขาดทุนทำยังไง
A : บางที่ขาดทุน แต่ก็ต้องยอมเพราะเป็นพันธมิตรกัน ก็ต้องยอมขาดทุนบ้าง อาจจะต้องคุยกันว่าจะช่วยยังไง ลดค่าเช่า หรืออื่นๆ เพื่อให้อยู่ได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องปิด (แต่ถ้าเรื่องพันธมิตรจริงๆก็ต้องยอมเปิดขาดทุนด้วย)
โลตัสไชยา ก็ปิดไปหลังจากเปิดไม่ถึงปี
สาขาที่ดูไม่ค่อยดี ก็มีราวๆ 20 สาขา ต้องรอปรับปรุง
สาขาที่ร่วมมือกับ hmpro 15 สาขา (8สาขาลงทุนร่วมกัน) มี 3 สาขาที่ไม่ดีเลย  (อย่าไปมองว่าเสียหาย 3 สาขา อยากให้มองว่า สำเร็จ 12 สาขามากกว่า)
มีสาขาเปิดใหม่ แต่ก็มีปิดสาขาเก่าเรื่อยๆ
อย่าง ที่สกล โรบินสันมาเปิด คนก็ไปเดินโรบินสันแทน ทำให้สาขา hmpro ที่เคยดี ก็แย่
ปีนี้ปิดเยอะ แต่ก็โชคดีที่ไปเปิดสาขาใหม่ๆของห้างใหม่ๆเยอะ
แต่บางที่ ก็ยังมีกำไรก็ปิด อย่างที่นึง เปิดร้านที่ห้างเก่า สักพักก็มีโลตัสมาเปิด 2 สาขา เซ็นทรัลมาเปิดอีก 1 สาขา เลยต้องปิดสาขาเก่าทั้งทีกำไร เพื่อให้คนไปสาขาใหม่ แล้วกำไรดีกว่า

Q : ปีหน้าคาดว่ารายได้เท่าไหร่ แล้ว NPM จะยังไง มีเป้าไหม
A : ที่ผ่านมามีปัจจัยแปลกๆเยอะมาก daiaomon เข้ามาก็แย่เลยเพราะเงินไม่พอ ทั้งเรื่องค่าเสื่อม เรื่อง labor สารพัด แต่ก็แอบคิดไว้จะเปิดเพิ่มอีก 100สาขา

Q : เรื่องอาหารมีแผนยังไงบ้าง
A : เรื่องอาหารอันไหนขายไม่ดี มี wasteเยอะ ก็ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  จะให้มีเทศกาลอาหารเป็นช่วงๆ อาจจะไตรมาสนี้มีอะไรพิเศษแบบนั้น มีแผนอยากให้เซฟที่มีชื่อเสียงมาเป็นฟรีเซนเตอร์ทำอาหารให้ แต่เล่นตัวเกินนนน 3 เดือนแล้ว เสียเวลา เลยคิดว่าจะเปลี่ยนคนแทนแล้ว แล้วจะให้มีอาหารใหม่ๆทุก season เลย

Q : เสนออยากให้มีเมนูพิเศษ เมนูที่พอใครพูด hotpot ก็นึกถึง (อย่าง MK นึกถึง เป็ดย่าง อย่าง the pizza com ก็จะนึกถึงพิชช่าหน้าเยอะๆ แป้งหนาขอบชีส แบบนั้น) แล้วก็อยากให้คนที่เข้ามา นึกถึงบางอย่าง (อย่าง MK ก็นึกถึงครอบครัว)
A : เรื่องนี้นอมรับว่า เมื่อก่อนห่วย เด็กทำงานไม่ดี ทำให้มีเสียงสะท้อนแย่ๆ เยอะ เราก็พยายามมาโดยตลอด ทำตามเป้าหมายมาตลอด

Q : เงินเดือนพนักงานเท่าไหร่ แล้ว turn over เท่าไหร่
A : เงินเดือนราวค่าแรงขั้นต่ำ แต่ถ้าที่ไหนหาเด็กไม่ได้จริงๆ ก็ต้องเพิ่มค่าแรงไปอีก 10 บาท 20 บาท ให้มันมีเด็ก turnover ราว 10% ที่เด็กมันลาออก มันเป็นปกติ มันจะมีพวกที่ เท่าไหร่ก็ไม่พอ หางานไปเรื่อย โดนซื้อตัวไปอีก เยอะแยะ

Q : กรณีการฟ้องร้อง มายังไง แล้วจะมีอีกไม
A : เพราะซื้อ daidomon มา แล้วมันสาขานึง เซ็นทรัลปรับปรุงพอดี แล้วทางนู้นเขาเรียกเงินมา 7 แสนบาท แต่ daidomon เจ้าของเก่าไม่ได้จ่าย พอเราไป take มา เซ็นทรัลเลยมาเก็บกับเราแทน เลยต้องฟ้องร้องตามกฎหมายแทน อนาคตไม่มีแล้ว แค่ครั้งเดียวก็พอแล้ว

Q : เรื่องงบโฆษณา ยังไงบ้าง
A : line 5ล้าน มีโฆษณาช่องดาวเทียม อย่าง shop 88 ของ RS ก็ด้วย
งบส่วนนี้จะให้ราวๆ 3% ของรายได้ ปีหน้าก็คงสัก 100ล้านบาท
ปีหน้าก็จะเน้นโฆษณา online และ cabal TV เป้นหลักแทน

Q :คู่แข่งคือ
A : อันดับ 1 ก็ ชาบูชิ รองลงมาก็เรา hotpot แต่อย่าง ซูกิชิดูเหมือนเขาจะไม่เอาบุตเฟ่แล้วเห็นไปเน้น บุตเฟ่ถ่านแทน

Q : เวลาเช่าห้างยังไง
A : ปกติเช่า 3ปี โดยสัญญาณมักจะเป็น 3+3 หมายถึง เช่า 3 ปี แล้วให้สิทธิเช่าต่ออีก 3 ปี ถ้าไม่ยกเลิก

Q : เรื่อง renovate เพราะอะไร ยังไงบ้าง ต้องปิดร้านไม แล้วห้างให้ส่วนลดอะไรไม
A : จะ renovate เมื่อยอดขายตกเท่านั้น อย่างเซ็นทรัลเชียงใหม่เปิด เซ็นทรัล airplane ก็ยอดตกเลย
อย่าง daidomon พอ renovate ก็ยอดขึ้นมา 2เท่าเลย
มี 2 แบบ คือแบบ Major แบบนี้ปิดร้านเลย จะทำไม่เกิน 45 วัน (แต่บางที 2วันก็เสร็จแล้ว) ให้กรณีการทำงานที่มีผลกระทบกับลูกค้าโดยตรง
อีกแบบคือ Minoe เป็นแบบ ทำไปเปิดไป ส่วนใหญ่เป็นแบบเล็กๆน้อยๆ
ส่วนเรื่องการปิด renovate ห้างไม่สน ต้องจ่ายค่าเช่าต่อ พนักงานก็ต้องให้เงินเดือนเหมือนเดิม

Q : เรื่องเปิดสาขาใหม่ จะพิจารณายังไง อย่างพวกห้างที่เปิดใหม่เยอะๆ สนใจไม
A : จะเลี่ยงพวก ห้างคนรวย ห้างของคนที่มีที่ดิน แล้วอยากเปิดห้าง ห้างพวกนี้ค่าเช่าที่แพง ลงทุนหนักกว่า เพราะงานระบบไม่ดี อย่างเครื่องทำความเย็น ห้างปกติจะมีชิลเลอร์ทำงาน แต่ถ้าห้าง open air มักต้องคิดแอร์เอง เปลืองไฟกว่า เปลืองค่าติดแอร์ เปลืองกว่าเยอะมากๆ
เรื่อง location ดีๆ อย่างโซนอาหาร จุดที่ติดบรรไดเลื่อนเพราะคนเยอะ

Q : เรื่องร้านเก่า มีการวางแผนยังไง ที่จะให้ SSSG เติบโตขึ้น
A :ต้องบอกว่า ส่วนใหญ่อยากให้เน้น Grow มากกว่า SSSG มันรักษาการโตยาก เปิดสาขาใหม่ง่ายกว่า อย่างห้างเปิดใหม่ ปีแรกคนก็เยอะ แต่พอปีต่อมา คนก็ลดลงเป็นปกติ SSSG ก็ตก ของแค่ sssg ไม่ลดก็พอ เน้นขยายสาขา
ต่อไป จะเปิด HD 90% เป็นหลัก ต้อง renovate major สัก 10 สาขา (ราวๆ 2-7แสนบาท) minor คงทำทุกสาขา (ทยอยทำ สัก 2ปี น่าจะเสร็จ) แล้วก็จะได้ปรับราคาด้วย

Q : ครัวกลางรองรับได้อีกกี่สาขา
A : เต็มที่รับได้ 200สาขา โดยอาจจะย้ายสำนักงานมาด้านหน้าเพิ่มเนื้อที่ได้อีก ก็น่าจะรับได้อีก 50สาขาที่กำลังจะเปิดใหม่ ถ้าจะเปิดโรงงานเพิ่ม ก็มีที่ดินรอบๆอีก 4ไร่ ให้ซื้อได้เลย

*****ความคิดเห้นส่วนตัว*****

มี 3 อย่างที่ทำให้กำไรได้มากขึ้น คือ
1.การเปิดสาขาเพิ่มจากการที่มีอยู่ 150 สาขา แล้วคาดว่าเปิดได้อีก สบายๆ เกือบ 100สาขา ก่อนที่จะ เริ่มอิ่มตัว (เห็นว่าตั้งเป้าเปิดราวๆ 20-25 สาขาต่อปี) (เพิ่มรายได้)
2.การเพิ่มของ NPM ที่ควรจะมีสัก 5% ของรายได้  (ได้ยินว่า ชาบูชิ ได้ถึง 10% เลย) (ปีนี้ต่ำ เพราะปิดปรับปรุงเยอะมาก) (เพิ่มอัตรากำไร)
3.การยกเลิก Hot Pot Buffet Value (319บาท) เปลี่ยนมาเป็นแบบ Hot Pot Inter Buffet (339บาท) และจะupมาเป็น HOT POT Daidomon (HD) (339+30บาท) ในอนาคต น่าจะทำให้กำไรดูดีขึ้นมาก แต่ดันไม่เป็นไปตามที่คิด -*- เห็นว่า waste เยอะขึ้น ต้นทุนเลยเพิ่มขึ้นแทน แต่คิดว่าอนาคตน่าจะดีขึ้นนะ (เพิ่ม SSSG)

Thursday, December 26, 2013

บรรทึกช่วยจำ RS edit 27/12/2556

update เรื่อง DIGITAL TV

สรุป เกินคาด (ในทางที่แย่) คือต้นทุน digital TV สูงมาก ประมูลมาเกือบ 2300 ล้านบาท (ผมให้เป็น 2300ล้านบาทเลยนะ) อึ้งกิมกี่เหมือนกัน ก็สรุปคร่าวๆก่อนว่า เวลาจ่ายเงิน ให้ทะยอยจ่ายเป็นช่วงๆ ทั้งหมด 6 ปี

ปีที่ ค่าประมูลตั้งต้น 380 ส่วนเกิน 1920 รวม
1 50.00% 190 10.00% 192 382
2 30.00% 114 10.00% 192 306
3 10.00% 38 20.00% 384 422
4 10.00% 38 20.00% 384 422
5
0 20.00% 384 384
6
0 20.00% 384 384




รวม 2300

โดยรวมแล้ว ถือว่าโชคดี ที่ให้ทะยอยจ่าย ในสิ้นไตรมาส3/56 มีเงินสดราวๆ 502ล้านบาท  ก็อย่างน้อย จ่ายปีแรกไป ก็คงไม่จำเป็นต้องกู้เงิน มี RS-w2 อีก 140 ล้านหุ้นที่ หุ้นล่ะ 1.9 บาท ราวๆเกือบ 280 ล้านที่จะมาก่อนกลางปีหน้า ก็ไว้จ่ายปีที่ 2 ได้อยู่ ส่วนที่เหลือ คิดว่า กำไรก็น่าจะพอสำหรับการจ่ายแล้ว คงไม่จำเป็นต้นคิดถึงเรื่อง ต้นทุนทางการเงิน

ส่วนที่จะออกมาในงบการเงินคือ ต้นทุนค่าประมูล 2300ล้านบาท หาร 15ปี (เป็นเส้นตรง) คือ 153ล้านบาทต่อปี ต้นทุนค่าเช่า network 60ล้านบาทต่อปี ดังนั้น RS ต้องจ่าย 213 ล้านบาทต่อปี ส่วนค่าทำช่องไม่มี เพราะ เอาช่อง 8 มาลงต้นทุนต่ำ

อีกเรื่องที่น่าดีใจ ก็คงเรื่อง บอลโลก ที่ตอนนี้เราเป็น Free TV แล้ว น่าจะเอาบอลทุกรอบมาฉายในช่อง 8 ทั้งหมดเลย น่าจะเป็นตัวเร่งและทำให้คนรู้จักช่อง 8 ได้มากขึ้นอีก

โดยรวมแล้ว ยอมรับว่าค่าประมาณมันเยอะเกินไป ตอนแรกกะไว้ 1000ล้าน เกินมา 2 เท่ากว่าเลย T^T เศร้าเหมือนกัน แต่โดยรวมก็ถือว่ายังรับได้อยู่

ใคร ใคร่ ซื้อ ก็ซื้อ ใคร ใคร่ ขายก็ขาย ผมเพียงเอาข้อมูลมาให้ดูเฉยๆ ไม่ได้หวังจะให้ซื้อตามหรือขายตาม วันนี้ผมอาจจะไม่มีแล้ว หรือผมอาจจะมีมากขึ้น ผมก็คงไม่พูดอะไร เพียงแต่เงินของคุณ ก็ขอให้มันขาดทุนด้วยตัวคุณเองล่ะกัน

***************************************************************************
เพิ่มเติม Q3/56


กำไรขั้นต้น
เพลง 114ล้านบาท ลดลง 13.9% สัดส่วน 33%
สื่อ 211ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% สัดส่วน 60%
โชว์บิต 26ล้านบาท ลดลง 46.24%สัดส่วน 7%
กำไรขั้นต้น +27.41%


กำไรสุทธิโต 56.1% (มีหุ้นแปลงสภาพจากวอแรน)
fin เลยครับ

ตอนนี้หุ้นเกือบ 1พันล้านหุ้นล่ะ คิดเป็น1พันล้านไปเลย ก็กำไรราว 0.124 บาท ในไตรมาส นี้นะ

CF
ก็มีที่น่าสนใจคือค่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้นจาก 61.3พันล้าน เป็น 168.4 พันล้าน เพิ่มขึ้นเยอะมาก (ส่วนนึงน่าจะมาจาก ลาลีก้า)

Oppday

สรุป ลาลีก้าไม่ค่อยดีนะครับบบบบสำหรับ season 1 ส่วน season2 คงก็คงไม่ดีเหมือนกัน
ตอนนี้้้ช่องดาวเทียมย้ายมาไทยคม 6แล้ว โดยเช่าเหมาช่องเอา
ตอนนี้ shop 77 เปิดมา ดูท่าปลายปีนี้ น่าจะทำกำไรได้เลย ก็ทำงงเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนดูช่องที่ขายของตลอดเวลาด้วย ต้นทุนก็ต่ำด้วย สบายเลย
ปีหน้าเตรียมเปิดดาวเทียมเพิ่ม 2-3 ช่อง และเรื่องการปรับค่าโฆษณาขึ้นด้วย

มีละครฟอร์มใหญ่ ผู้ชนะสิบทิศ มาด้วย เริ่มการฉายแล้ว






ส่วนตัว 

ถ้าให้เดาเล่นๆ ไตรมาส 1-2 ปีก่อน กำไร 0.2บาทมั้ง ไตรมาส 3-4 กำไรน้อยลง เหลือ 0.12บาท มั้ง น่าจะมาจาก ค่าลิขสิทธิ์ลาลิก้า ที่ทำให้ขาดทุน พอไตรมาส 3 ปีนี้ ค่าลิขสิทธิ์ก็โดนเหมือน ไตรมาส 3 ปีก่อน ทำให้กำไรมันเพิ่มเยอะ กลายเป็นลาลีก้าทำให้ต้นทุนพุ่งขึ้นมาแทน ถ้าหมด season3 เมื่อไหร่ ก็แสดงว่าตอนนั้น กำไรจะกลับมาดีอีกครั้งนึง (ให้เดาแย่ๆ ว่าseason 3 ขาดทุนนะ)

ถ้าสรุปจากข้อมูล แล้วเชื่อใน ผบ ก็คือ ไตรมาส 1/57 จะโดนกดกำไรจาก TV digital (ถ้าได้ประมูลนะ)  ไตรมาส 3/57 จะโดนกดกำไรจากเริ่มลาลีก้า season 3 (ช่วงแรกของลาลีก้า คนดูน้อย)

กำไรน่าจะดูดีหลังจากไตรมาส 3/57 ขึ้นไป เพราะไม่มีอะไรใหม่ๆมาเพิ่มแล้ว ก็จะได้ทั้ง ลาลีก้าหมดไป TVdigital ถึงจุดคุ้มทุน ด้วย

ส่วนไตรมาส 4 ปีนี้ ก็น่าจะดีกว่าปีก่อน เพราะเชื่อว่าปีก่อน แย่เพราะลาลีก้า ปีนี้ก็คงแย่เพราะลาลีก้าด้วย คิดว่าน่าจะโตไปในแนวทางเดียวกับไตรมาส 3 ปีนี้

แล้วก็รู้สึกดี ที่รู้ว่า กำไรที่หายๆไป เพราะลาลีก้านะ อย่างน้อยๆ ถ้าตัดลาลีก้าออก กำไรก็คงจะดีกว่านี้ ไตรมาส 2/56 ขาดทุนลาลีก้า 77ล้าน ส่วนไตรมาสอื่น ไม่รู้ ถ้าสมมุติขาดทุนเท่ากัน ทั้งปีก็ขาดทุนจากลาลีก้า 300กว่าล้านบาท เทียบกับกำไรทั้งปีของปีนี้ (เดาเล่นๆ 400ล้านบาท) ก็เหมือนกำไรหายไปก้อนใหญ่เลยทีเดียว 

และเรื่องสุดท้าย ยังไงถ้ารายได้โตระดับ 20-30% ได้ กำไรมันควรจะโตมากกว่านั้น จากรายจ่ายที่ไม่น่าจะโตมากกว่ารายได้ อัตรากำไรสุทธิต้องดีขึ้นอีกด้วย

***แนะนำ ขายทิ้ง สำหรับคนที่ไม่เข้าใจแล้วหวังจะได้กำไรนะครับ***

***************************************************************************
เพิ่มเติมเรื่อง DIGITAL TV
การแบ่งจ่ายค่าประมูล
ค่าประมูลเริ่มต้นที่ 380 ล้านบาท
** สมมุติสิ้นสุดที่ 1000 ล้านบาท

Reserve Price Payment คือ 380 ล้านบาท
Surplus Payment คือ 620 ล้านบาท (1000 - 380)
จะทยอยตัดตามสัดส่วนในปีนั้นๆ

*network coverage เป็นการครอบคลุมของประชากร

ค่า network ปีล่ะ 60 ล้านบาท

บริษัทที่ใช้วัดเรตติ้งจะเริ่มวัดเรตติ้งในปีแรกเลย เหมือน Sat TV ในอดีต
RS ตั้งใจจะให้ Breakeven ในปีแรกเลย

***************************************************************************

เพิ่มเติม Q2/56 (ช้าหน่อย ขี้เกียจพอดี)
รายได้เพิ่ม +13.14%
รายได้จากเพลง -13.93%
รายได้จากสื่อ +68.73%
โชว์บิซ -28.26%
อื่นๆ -93.93% (น้อยมาก)
โดยรวมแล้ว ธุรกิจสื่อ มีสัดส่วนรายได้ 57.54% เป็นธุรกิจเดียวที่ดึงรายได้รวมจนกำไรได้ ก็ตามคาด รายได้จากเพลงลดลงนิดหน่อย มากกว่าที่คิดหน่อย แต่เฉยๆ รายได้จาก โชว์บิทค่อนข้างแย่ แต่ไม่เป็นไร กำไรส่วนนี้น้อย

ต้นทุนขาย +4.44%  (สัดส่วน 56.87%)
ต้นทุนเพิ่มน้อยสบาย

ค่าใช้จ่ายในการขาย +104.89%  (สัดส่วน 7.39%)
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร +23.59%  (สัดส่วน 18.85%)
ค่าใช้จ่ายในการขายส่วนนี้ เพิ่มเยอะ แต่สัดส่วนยังไม่เยอะมาก

ต้นทุน + ค่าใช้จ่ายรวม เพิ่ม 13.36% เพิ่มมากกว่า รายได้อีก = ="

กำไรก่อนหักดอก หักภาษี +15.22%
กำไร +23.59% (เพิ่มจาก ภาษีลดลงจาก 30% > 23% )

โดยรวมแล้ว ถ้าไม่ดูรายละเอียด ค่อนข้างผิดหวัง กำไรโตน้อยมาก
แต่พอมาดู Opp day เลยเข้าใจ
มาขาดทุน ลาลีก้าหนักไปหน่อย (เท่าที่เข้าใจคือ ลาลีก้า ตัดค่าลิขสิทธิ์ไป แต่เก็บรายได้ไม่ได้ เพราะติดกฎ กสอช ทำให้่ผลออกมา ขาดทุนจากลาลีก้า 77ลบ)

มาดู EBITDA ดีกว่า
เข้าใจง่ายกว่าขึ้นอีกหน่อย ว่ากำไรมันหายไปไหนบ้าง

***************************************************************************

เพิ่มเติม Q1/56
รายได้เพิ่มตามคาด +22% 
รายได้สื่อ +53% 
พลาด เรื่องแรก ลืมไปรายได้จากสื่อปีก่อนมีรายได้จาก Free TV แต่ปีนี้ ไม่มีแล้ว 
รายได้จากเพลงที่ว่า น่าจะลดลง กลายเป็นว่าขาย MP3 ผ่านการดาวโหลดได้ดีขึ้นมาก 
นึกว่าธุรกิจสื่อโฆษณาทาง TV จะไม่มีเรื่องฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง (ยังชัวร์)
รายได้จากโชว์บิต ตามคาด 

ต้นทุนเพิ่ม +12% 
กำไรขั้้นต้น +41% 
ต้นทุนตามคาด 
กำไรขั้นต้น ต่ำกว่าคาด จากรายได้จากสื่อผิดคาด (เรื่อง Free TV)

ค่าใช้จ่ายในการขาย +73%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร +31%
รวมค่าใช้จ่าย +36%
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินคาด ไม่แน่ใจว่ามาจากส่วนไหนบ้าง ต้องลองเช็คดูอีกที

กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษ๊ + 31%
กำไร +24%
* มีหุ้นไดรูทอยู่
มีเงินกู้ก้อนใหญ่ ทำให้มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น... นึกไม่ถึง 


***************************************************************************

อ่านรายละเอียดคร่าวๆ
http://panwasit-stock.blogspot.com/2012/12/sat-tv.html

IR RS ใน Face book
https://www.facebook.com/pages/Rs-ir/256459961140733?fref=ts

*ราคาปัจจุบัน ค่อนข้างแพง ไม่สิ แพงเลยล่ะ ขอให้ใช้วิจารณาในลงทุนนะครับ

RS : บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)



เข้าใจว่าทุกคน น่าจะรู้จักบริษัทนี้ดี เพราะเป็น 2 ค่ายใหญ่ในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจเพลงมานาน สำหรับผมเองก็รู้จักจากเพลงนี่ล่ะ (อีกค่าย GMM) 

ส่วนตัวแล้ว ผมเข้าใจมาตลอดว่ามันทำเพลงขาย แล้วเก็บกำไรจากส่วนนั้น ซึ่งผมมองว่าไม่ค่อยจะดี (ที่จริงก็ไม่ค่อยดีจริงๆนะ) เพราะปัจจุบันนี้ มีทั้งแผ่นผี CD เถื่อนมากมาย ซึ่งทั้งคนซื้อคนขายต่างได้ผลประโยชน์ด้วยกัน ทำให้สินค้าลิขสิทธิ์มันขายไม่ได้ เพราะแพงกว่ามาก นอกจากนั้นการดาวโหลดในเวปเถื่อนต่างๆ กลายเป็นของฟรีไปเลย ก็มีเยอะมาก ผมเลยมองว่า ธุรกิจนี้ ทำไปแย่แน่

แต่ที่กลับมาสนใจในรอบนี้ มีสาเหตุหลักๆมาจากเรื่อง SAT TV นี่ล่ะ 

เอาเรื่องอื่นก่อนล่ะกัน

ปัจจุบัน RS ทำธุรกิจหลักๆ 3 ช่องทาง (ดูในงบการเงินดู) คือ ธุรกิจเพลง ธุรกิจสื่อ ธุรกิจโชว์บิซ 

ธุรกิจเพลง เป็นธุรกิจที่เก่าแก่มานาน ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้หวังรายได้จากธุรกิจนี้มากนัก ส่วนเรื่องรายได้เอง ก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ กำไรก็พอมีเรื่อยๆ พออยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 

โดยรายได้เองมาจาก
  • รายได้จากการขายผ่านระบบดิจิตอล เช่น download เพลง ผ่านทาง itunes WAP การฟังเพลงออนไลท์ ,การ Download Ringtone ,การใช้ Ring back tone (เพลงรอสาย)
  • รายได้จากการขาย CD DVD ทั้งเพลงใหม่ และเพลงเก่า คอนเสริ์ตต่างๆ
  • รายได้จากการบริหาร คอนเทนส์เพลง กับธุรกิจอื่นๆ อย่างสัมภาษณ์วิทยุต่างจังหวัด ทำกิจกรรมต่างๆ
  • รายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง ที่ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ต่างๆ

โดยมีศิลปิน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไทยสากล กับกลุ่้มไทยลูกทุ่ง

*ปล. R-SIAM นี่ ทำเพลงออกมา สนุกดีจริงๆ

*จาก Opp day 


ธุรกิจโชว์บิซ มีรายได้มาจาก
  • จัดคอนเสริ์ต และ อีเวนต์ รับจัดงานเท่าๆไปด้วย
  • บริหารศิลปิน นำศิลปินในเครือมาจัดคอนเสรื์ตบ้าง โชว์ตัวบ้าง เพื่อเพิ่มรายได้ในกับ ศิลปินเอง


*จาก Oppday

ในธุรกิจโชว์บิต กำไรค่อนข้างน้อย เข้าใจว่ารายได้ส่วนนึงแบ่งให้กับดารานักแสดงพอสมควร เพื่อให้เขาอยู่ได้ แต่ก็ดีนะ เพราะธุรกิจรับจ้างพวกนี้ คาดการณ์กำไรยาก ไม่แน่นอน ถ้ากำไรไม่เหลือ ก็เอาเถอะ 


รายได้จากธุรกิจสื่อ มาจาก สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อในธุรกิจโมเดิร์นเทรด สื่อสิ่งพิมพ์ รับจ้างผลิตละคร รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์โฆษณา ลาลีก้า

*Opp Day

แต่หลักๆ ก็เน้นไปที่ สื่อทีวีดาวเทียม และ วิทยุ 

*Opp Day

*Oppday 


ส่วนที่ผมสนใจ
  • รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นมาจาก ธุรกิจสื่อ Sat TV ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต ลองดูในรูปดู รายได้จาก SAT TV เพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ปัจจุบัน มีคนดู TV จาก SAT TV มากขึ้นเยอะ ประมาณ 70% แล้ว 
  • RS เป็นเจ้าของช่องรายการ SAT TV ติดอันดับต้นๆ คือ ช่อง 8 และช่องสบายดี TV ส่วนช่อง You channel ก็ทำได้ดี แต่ Star Max พึ่งเริ่มต้น เพราะในอดีต เป็นช่องที่ไม่ได้เรตติ้งเลย เลยเปลี่ยนรูปแบบช่องไปเลย 
  • ในส่วนของ WORK ผมสังเกตุว่า ช่อง Work Point TV สามารถทำรายได้ กำไรได้ค่อนข้างสูง คือ รายได้ 140ล้านบาท กำไร 45ล้านบาท แต่มีช่องเดียว ซึ่ง WORK ฐานกำไรค่อนข้างสูง ปี55 กำไร 400ล้านบาท 
  • ในส่วนของ RS ผมมองว่า มีช่อง 4 ช่อง (แต่คิดจริงๆ เอาแค่ 2 ช่องก็พอ) ซึ่งฐานกำไรในปี 281ล้านบาท (แต่กำไรมันหดลงเรื่อยๆ จนปี 54 เลยนะ เสียววุ๊ย) คิดว่าน่าจะมีโอกาสในการเพิ่มของกำไรมากกว่านั้น (ฐานกำไรต่ำกว่า แต่มีช่องมากกว่า)
  • ได้ฟังมา ช่อง 8 กับช่อง สบายดี มีเรตติ้งดีกว่าช่อง 5 และ ช่อง 9 อีก ซึ่งค่าโฆษณาของช่อง 5 กับ 9 นั้น อย่างต่ำก็ราวๆ 5หมื่นบาทต่อนาที แต่ช่องของ RS ค่าโฆษณาเฉลี่ย ราวๆ 8000บาทต่อนาที และค่าโฆษณาช่วงที่แพงที่สุด 2หมื่นบาทต่อนาที ซึ่งยังถูกกว่าขั้นต่ำมาก
  • ในส่วนของ ธุรกิจRadio นั้น ก็ถือว่าน่าจะดีในอนาคตอยู่ แต่ไม่ได้หวังในส่วนนี้มากนัก
  • *สนใจแต่เรื่อง SAT TV นี่ล่ะ

แต่ก็มีความเสี่ยง ด้วย
  • รายได้จากเพลง ที่ลดลงเรื่อยๆ กับรายได้จากโชว์บิต ที่ไม่ค่อยมีกำไร และได้งานมาเป็นครั้งคราวทำให้กำไรขึ้นๆลงๆ ทำให้เป็นความเสี่ยงอยู่ 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ค่อยข้างรุนแรง และสังคมไทยก็ยอมรับกันอีก กฎหมายก็ไม่รุนแรง แถมการบังคับใช้ก็ไม่ค่อยมีผลเลย 
  • ความเสี่ยงในตัวศิลปิน เรื่องย้ายค่าย (เท่าที่เห็นก็ไม่ค่อยมีปัญหานะ)
  • ความเสี่ยงของ SAT TV ในเรื่องของค่าสัมปทาน (ส่วนตัวว่าไม่มีปัญหา)
  • ความเสี่ยงที่ต้องประมูล digital TV 
  • เรื่องของเศรษฐกิจก็เีกี่ยวข้องเยอะ ถ้าเริ่มแย่ บริษัทส่วนใหญ่คงตัดงบโฆษณาออกก่อนเลย 
  • พวกกลุ่มนี้ ต้องอาศัย connection เยอะ ถ้าสมมุติ คนที่เป็นส่วนนี้ ลาออก เสียชีวิตไป แย่แน่ๆ 
  • ธุรกิจ ต้นทุนคงที่ ถ้ารายได้หด อ๊วกแตกครับ เพราะรายได้จากค่าโฆษณาTV มันจะนับเป็นนาที ถ้าหายไป กำไรจะลดแรงมาก 
  • ธุรกิจดาวเทียม เราไม่สามารถบอกได้ว่า จะขึ้นราคาได้แค่ไหน แล้วก็จะโฆษณาได้ขนาดไหนด้วย กฎหมายยังไม่ชัด 
===============================
ข่าวที่น่าสนใจ 



===============================

มาดูหุ้นในแบบของผมล่ะักัน

ประเภทหุ้น

หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว

เชื่อว่า การมี Sat TV จะเป็นตัวผลักดันรายได้และกำไรนะครับ จากที่เขียนไว้ข้างต้น และจากการคุยกับ IR RS ก็มีการบอกว่า Media Breakdown ก็ถือว่าสบายใจได้อยู่ รายได้ที่เพิ่มส่วนใหญ่จะมาลงที่กำไร ในปีนี้ มีการเพิ่มค่าโฆษณาค่อนข้างเยอะ และยังสามารถเพิ่มค่าโฆษณาได้อย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เมื่อเทียบกับค่าโฆษณาของ free TV 

เรื่องของสินค้า การซื้อการขาย ลูกค้า คู่ค้า

1 สินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

ธุรกิจเพลง จะจัดอยู่ในสินค้าใช้แล้วหมดไปดีไมน้า เพราะมันเป็นข้อมูล เดียวฟังหมดก็ยังไม่หมด แต่สำหรับตอนนี้ ผมมองว่า ให้มันทรงๆไปเรื่อยๆ ก็พอ

ธุรกิจโชว์บิต เป็นธุรกิจที่ทำขึ้นแล้วหมดไป แต่มีปัญหาในแง่ของ มันเป็นการจัดครั้งเดียวมากกว่า คาดการณ์กำไรค่อนข้างยาก 

ธุรกิจสื่อ โฆษณา รายการทีวีและวิทยุ เป็นกลุ่มบริการอยู่แล้ว ยังไงก็ไม่เหลือ
*เน้นโฆษณาเป็นหลักล่ะกัน เพราะผมชอบหุ้นตัวนี้เพราะเรื่องโฆษณานี่ล่ะ

2 สินค้าทดแทน

ธุรกิจเพลง น่าจะเป็นเพลงจากต่างประเทศมากกว่า ไม่ก็ค่ายอื่น แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าเป็นหลักอยู่ดี

ธุรกิจโชว์บิต เรื่องคอนเสริต ไม่แน่อนาคตอาจโชว์ผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ แต่ปัจจุบันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ธุรกิจสื่อ อันนี้มีสินค้าทดแทนค่อนข้างเยอะ เช่นป้ายโฆษณา หรือโฆษณาตามที่ต่างๆ แต่ตลาดใหญ่โดยรวมก็ยังเป็นของสื่อทีวีอยู่ (ในอนาคต สื่ออินเตอร์เน็ต จะมีบทบาทมากขึ้นแน่ๆ ต้องดูกันต่อไป)

3 สินค้าที่มีแบรน และคนซื่อสัตย์ในแบรนด้วย

ธุรกิจเพลง เป็นแบรนด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว

ธุรกิจโชว์บิต เป็นแบรนด้วยตัวเองเหมือนกัน (ดาราคือแบรน)

ธุรกิจสื่อ อันนี้ คงบอกยาก แต่ตามที่เคยบอก คนที่มาซื้อเวลาโฆษณา ส่วนใหญ่ ก็มักมี connection กับคนขายอยู่แล้วครับ มันไม่ใช่แบรน แต่เป็น Connection 

นอกจากนั้นธุรกิจสื่อ มันขึ้นอยู่กับว่า เรตติ้งช่องไหนดี ช่องนั้นก็มีอำนาจในการขึ้นค่าโฆษณามากที่สุด

4 อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

ธุรกิจเพลง ธุรกิจโชว์บิต
เข้าใจว่า ซัพพลายเออร์ คือ นักแสดง ดาราเป็นหลัก ก็คงจะมีอำนาจค่อนข้างน้อยในการต่อรอง (ดูจากธุรกิจโชว์บิต ที่มีกำไรน้่อยมาก) เพราะยังไงก็ต้องให้ดาราอยู่ได้ด้วย

ธุรกิจสื่อ ไม่มีอำนาจในการต่อรองเลย เพราะว่า ซัพพลายเออร์ที่แท้จริงคือ คนที่หน้าดูอยู่หน้าจอ อำนาจของเขาคือรีโมท เราไม่มีสิทธิ์ไปบังคับเลย แต่โดยรวมแล้ว ถ้าสามารถทำให้ช่องรายการเป็นที่น่าสนใจต่อคนกลุ่มใดๆ ก็จะสามารถเรียกคนดูได้ดีกว่า

5 อำนาจการต่อรองจากลูกค้า

ธุรกิจเพลง สำหรับรายย่อย เราไม่มีอำนาจในการต่อรองเลย แต่ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์การใช้เพลง ก็จะถูกเก็บลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เพลง หรือ ดารา มีชื่อเสียงมากแค่ไหนด้วย ถ้ามีมาก ก็จะได้อำนาจค่อนข้างดี

ธุรกิจโชว์บิต ขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของดาราด้วย อย่างคนดังมากๆ บัตรก็หมดอย่างเร็วเลย แต่ถ้าไม่ค่อยดัง ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ธุรกิจสื่อ กลุ่มนี้ ถ้ารายการ TV หรือ วิทยุ ช่องไหน คนดูเยอะ คนฟังเยอะ ลูกค้า(คนซื้อช่วงเวลาโฆษณา) ก็ต้องซื้อล่ะ ไม่มีทางเลือกเลย ต้องยอมจ่าย ถ้าอยากโฆษณาให้คนดูเยอะๆ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า จะทำยังไงให้คนดูเยอะ เรตติ้งดี

6 การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

ค่อนข้างดุเดือดครับ แต่สุดท้าย ผู้ชนะก็จะชนะไปเลย คนแพ้ก็จะแค่พออยู่ได้ แต่ก็กำไรนิดหน่อยเท่านั้นเอง ที่ต่างประเทศก็มี case study แล้ว จะเหลือไม่ถึง 10 ช่องจาก 200 ช่อง ที่กำไรดี และเติบโตอย่างงดงาม ส่วนที่เหลือ ก็พออยู่พอกินไปเรื่อยๆ

7 การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่

ง่ายมาก เข้า่ง่าย แต่ก็ออกง่ายครับ ธุรกิจมันลอยๆ ลงทุนไม่เยอะ ที่เยอะมักเป็นค่าสังคม กับค่าคนมากกว่าครับ

8 วัตถุดิบ การสินค้าโภคภัณฑ์

-

9 โอกาสการเติบโตของสินค้า บริการ

การเพิ่มขึ้นของค่าโฆษณาของกลุ่ม SAT TV การเพิ่มขึ้นของ digital TV ด้วยส่วนต่างของค่าโฆษณาที่ห่างมากจาก free TV 

ที่จริงก็เขียนไปแล้วนะ ตอนต้น 

เรื่องของงบการเงิน ก็คงต้องดูในรายละเอียดอีกทีนึง
*ไม่ืำทำการคาดการณ์อนาคตให้นะครับ ขอปิดไว้เป็นความลับ ลองไปคาดการณ์ดูเองนะครับ