Tuesday, December 31, 2013

hotpot

hotpot
CV 24/12/2013

overview
เปิดกิจการครั้งแรกในปี 1995 ชื่อ"coca fresh suki แล้วเปลี่ยนมาเป็นชื่อ "hot pot suki shabu restaurant" ในปี 2001 จากนั้นปี 2005 เริ่มเปิดบุตเฟ่ครั้งแรก แล้วซื้อไดโดม่อนเข้ามาในปี 2011 และเข้าตลาดหลักทรัพย์มาในชื่อ HOTPOT โดยคุณ สมพล เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 52.5%

ปัจจุบัน มีแบรนด์ทั้งหมด 7 แบรนด์ คือ
1.Hot Pot Inter Buffet
เน้นเมนูมากกว่า 100 เมนู โดยมีค่าบุตเฟ่ 339/159 บาทต่อหัว จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที มีทั้งหมด 44 สาขา
2. HOT POT Daidomon (HD)
เหมือน Hot Pot Inter Buffet แต่มี daidomon ด้วย และสามารถเลือกได้ว่า จะต้มหรือย่าง แต่ถ้าเอาทั้งต้มทั้งย่าง เพิ่มอีกคนล่ะ 30 บาทต่อหัว โดยมีค่าบุตเฟ่ 339+30/159+30 บาทต่อหัว (*ไม่แน่ใจ)  จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที  มี 3สาขา
3.Hot Pot Buffet Value
เมนูจะน้อยกว่า Hot Pot Inter Buffet สำหรับคนที่ต้องการราคาถูกกว่า โดยมีค่าบุตเฟ่ 319/149 บาทต่อหัว มีทั้งสาขาจำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที 34 สาขา และอีก 37สาขาไม่จำกัดเวลา รวมทั้งหมด 71 สาขา
4.Hot Pot Ramen Beffet
เป็นสาขาใหม่ ทำราเมงบุตเฟ่ โดยมีค่าบุตเฟ่ 289/149 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา มี 1 สาขา (เซ็นทรัล รามา2)
5.Hot Pot Prestige
เป็น Hot Pot ที่ อัพเกรดเป็นแบบดูดี เป้าหมายลูกค้าระดับบน อาหารจะเยอะกว่า โดยมีค่าบุตเฟ่ 499/259 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา มี 1 สาขา (เซ็นทรัล บางนา) และเพิ่มอีกสาขาในช่วงปลายปี (เซ็นทรัลเชียงใหม่)
6.Hot Pot Suki Shabu
เป็นแบบ A La Carte (แบบสั่งเป็นถาดๆ เหมือนพวก MK) เป็นแบบดังเดิมเลย ก่อนที่จะมาทำบุตเฟ่ ปัจจุบันมี 2 สาขา
7.Daidomon
Bar-B-Q และอาหารญี่ปุ่น (take over) มีทั้งหมด 21สาขา โดยมีค่าบุตเฟ่ 289/149 บาทต่อหัว ไม่จำกัดเวลา สำหรับร้านที่ยังไม่ได้ปรับปรุง และค่าบุตเฟ่ 339/159 บาทต่อหัว จำกัดเวลาที่ 1ชม 30นาที
*ข้อมูลทั้งหมดในวันที่ 30/09/2013

โดยสาขาทั้งหมด 143 สาขา อยู่ใน
กรุงเทพและปริมาทน 60สาขา
ภาคกลางที่เหลือ 4สาขา
ภาคเหนือ 23
ตะวันออก 13
อีสาน 25
ตะวันตก 8
ภาคใต้ 10

เป้าหมายที่ผ่านมา
เปิดร้านใหม่ 14 สาขา
renovation 6สาขา
*ข้อมูลทั้งหมดในวันที่ 30/09/2013

เป้าหมายอนาคต 5ปี
เปิดสาขาใหม่ราวๆ 20-25 สาขาต่อปี (ต้นทุนการเปิดสาขาราวๆ 7-9 ล้านบาท

งบการเงิน
ในปี 2012 ซื้อไดโดม่อนมา รายได้เลยพุ่งเยอะ
กำไรขั้นต้นราวๆ 53-56% (ในงบ 9เดือน กำไรขั้นต้นขึ้นไป 58% เข้าใจว่าทั้งเรื่องราคาวัตถุดิบถูก และไตรมาส 3 ขายดีมาก (ถ้าขายได้เยอะ waste จะต่ำ ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า)
กำไรขั้นต้นอยู่ราวๆ 2.5%
ส่วน cashflow มีเยอะพอสมควร (ปี2011 น้ำท่วม เลยมีการขอเลื่อนการจ่ายเงินกับเจ้าหนี้ทำให้กระแสเงินสดขึ้นมาเยอะมาก แต่ก็ต้องไปจ่ายในปี 2012 แทน ทำให้ cashflow เหมือนหายไปเยอะ)
SG&A (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) *คำนวนงวด 9เดือน 2013
ส่วนใหญ่เป็น ค่าใช้จ่ายในการขาย 87% โดยแบ่งเป็น
ค่าเช่า 27.4%
ค่าพนักงาน 32%
ค่าเสื่อม ค่าตัดจ่าย 12.6%
ค่าน้ำ ค่าไฟ 12.1%
ค่าการตลาด 6.9%
อื่นๆ 9%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 13%
SSSG
ในงวด 9 เดือน ยอดขายโต 6.46%

Q&A

เรื่องที่ซื้อ ไดโดม่อน เข้ามาทั้งหมด 25 สาขา โดยปิดไป 11สาขาเพื่อ renovated และ Rebranded เป็น HD อีก 4สาขา เหลือ 10สาขา ที่ยังเปิดบริการอยู่ โดย renovated เสร็จแล้ว 8สาขา และยังไม่ renovated 2 สาขา
มีค่าเสื่อม 2 ปี จากที่ซื้อไดโดม่อนมา แต่เมื่อหมดส่วนนี้ไป ก็จะมีค่าเสื่อมใหม่เข้ามาแทนที่เพราะต้อง Renovated ด้วย
โดยการ take over จ่ายเงินไปทั้งหมด 45 ล้านบาท รับหนี้เข้ามา 84ล้านบาท สรุปว่าต้องจ่าย 129 ล้านบาท
สิ่งที่ได้มา
สินทรัพย์คงเหลือ (พวกอาหาร) 3ล้านบาท (หมดแล้ว)
อุปกรณ์ 18.9ล้าน (2ปีที่จะหมดไป)
สิทธิ์การเช่า 106ล้าน (มีตั้งแต่ 2ปี - 17 ปี) มีราคาค่าเช่าที่ต่ำมาก ประหยัดต้นทุนได้เยอะ
เงินประกัน 9 ล้านบาท (ห้างเก็บค่าประกันเช่าที่ไว้)
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้า 3ล้านบาท
หนี้สินค่าชดเชยพนักงาน 4 ล้านบาท
รวม137 ล้านบาท (เข้าใจว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับหนี้สินค่าชดเชยพนักงาน ไม่นำมาคิดนะ)
สรุป ซื้อมาได้กำไร 7 ล้านบาท

Q : ค่าทำสาขาใหม่ 7-9ล้าน มีอะไรบ้าง

A : โดยเป็นค่าทำอุปกรณ์ประดับร้าน 4.5 ล้าน คิดค่าเสื่อม 6 ปี เพราะเวลาเช่าที่ก็จะเช่าได้ 3+3 ปี  (3ปีแรกเช่าปกติ อีก3ปีสำหรับให้ต่อสัญญาณ)
*ถึงครบ 6ปี ค่าเสื่อมหมด แต่ก็ต้อง renovated เรื่อยๆ ทำให้ค่าเสื่อมในส่วนนี้จะยังมี แต่อาจจะน้อยลงบ้าง
ที่เหลือ เป็นพวกตู้เย็น เครื่องทำอาหาร อื่นๆ คิดค่าเสื่อม 5 ปี (ถ้าสาขาไม่ดี ก็ปิดแล้วเอาอุปกรณ์พวกนี้ไปสาขาอื่นได้)

Q : ต้นทุนต่างๆ
A : ต้นทุนการขายราวๆ 45% ของรายได้
แบ่งเป็นต้นทุนอาหาร 90% ของต้นทุน
และอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าแพ็ตอาหาร ค่าผลิตของโรงงาน ค่าแปรรูป และค่าแรงของโรงงาน 10%
SG&A ราวๆ 50-53% ของรายได้ (ส่วนแยก จะคิดเป็น % กับรายได้อีกทีนึง
Labor ราวๆ 18% ปีที่ผ่านมา เพิ่มเยอะเพื่อให้พนักงานรู้สึกดี และบริการลูกค้าให้เต็มที่ นอกจากนั้นก็เรื่องค่าแรง 300 บาทด้วย ทำให้ในปีก่อนๆ มีการเพิ่มในส่วนนี้เยอะ
Facititer 6% โดยเป็นค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส เป็นค่าไฟเกือบ 70% ในส่วนนี้
Market 3% ค่าการตลาด
renral and service 14% (ค่าเช่าที่และบริการในพื้นที่ให้เช่า) เป็น fixcost
Depreciation 6.5% เป็นค่าเสื่อม
อื่นๆ 5% เป็น fixcost 50%
ค่าใช้จ่ายทีมบริหาร 0.7%

Q : มีอาหารผลิตเองเท่าไหร่ แล้ว จ้างผลิตเท่าไหร่ ผลิตเองนี่ถูกกว่าไม แล้วถ้าถูกกว่า ทำไมไม่ผลิตเองให้มากกว่านี้
A : อาหารผลิตเอง 40กว่า% เช่น แล่ หมัก
ที่เหลือจ้างผลิต เช่น อาหารสำเร็จรูปบางประเภท พวกผัก ผลไม้ 50กว่า%
โดยผลิตเองถูกกว่าจ้างผลิต (อยู่แล้ว)
อยากผลิตเองเพิ่ม แต่บางอย่างเราไม่สามารถผลิตเองได้ อย่างซาซึมิ เราไม่ถนัด เลยต้องจ้างผลิต

Q : อาหารในร้านมีอะไรบ้าง อันไหนขายดีบ้าง
A : อาหารในร้านมีหลักๆ 5 อย่าง
1.ชาบู กลุ่มนี้มี 50%
2.อาหารจานเดียว พวกอาหารญี่ปุ่น ยุโรป
3. ติ่มชำ
4. สลัด
*2,3,4 รวมกันประมาณ 10-20%
5.ขนม ผลไม้ ไอติม  ที่เหลือ

Q : จุดเด่นที่เหนือกว่าร้านอื่น?
A : ไม่อยากให้เน้นสุกี้ เลยเน้น นานาชาติแทน แล้วก็ลองอะไรใหม่ๆตลอดเวลา
ที่ลอง HD ที่มีทั้งต้มทั้งย่าง มี 15 สาขา ก็มีผลตอบรับดีมาก โดยลูกค้าที่เข้าไป 70% ทานทั้งต้มและย่าง (จ่ายเพิ่ม 30 บาท)
สาขาไหนที่ไม่ดี ก็พยายามปรับปรุงแก้ไขจนถึงที่สุด แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องปิด

Q : ทำไมไม่ทำแบบขายเป็นถาดๆ แบบ MK บ้าง เพราะมันคุมต้นทุน กำไรมากกว่า
A : ที่เราเปลี่ยนมาเป็นบุตเฟ่ 8-9ปี เพราะเคยทำแบบ MK แล้ว มันสู้ไม่ได้ เลยต้องมาเป็นบุตเฟ่แทน

Q : แนวโนมการเปิดสาขาในอนาคต
A : hotpot ตอนนี้มี 150 สาขา มีทั้งห้างใหม่ ห้างเก่าๆที่มีก็เยอะ เราก็ต้องไปเปิดตามเขาไป
*เราไปตามห้างใหม่ๆ แต่ถ้าร้านเก่าในห้างเก่าไม่ไหวก็ต้องปิด
น่าจะเปิดได้อีก 100 สาขา ก็จะเริ่มอิ่มตัว
ต่อไปก็คงไล่ซื้อแบรนด์อื่นมากกว่า เพราะ ง่ายกว่าทำเองเริ่มนับ 1 ใหม่ ซึ่งก็คงจะใช้วิธีกู้เงินมากกว่า จะเลี่ยงเพิ่มทุน อยากซื้อบริษัทที่มีกำไรเลยมากกว่า แต่ไดโดม่อน ซื้อเพราะถูก และช่วงว่าระยะยาวได้กำไร
เรื่อง AEC ก็มองหาพันธมิตรอยู่

Q : เรื่อง HD เป็นไงบ้าง
A : เป็น หน้าจอ 1080p
ล้อเล่นนะ

Q : เรื่อง HD เป็นไงบ้าง
A : สาขาแรกเพิ่มที่เซ็นทรัลลำปาง HDก็ดี แต่ไม่เข้าใจที่ต้นทุนเพิ่ม กำไรที่ควรจะเพิ่ม กลับไม่เพิ่มเท่าที่คิด
ลงุทน HD ไม่ถึงล้านบาท แต่ยอดขายดีขึ้นมากราวๆ 30% เลย แต่อัตรากำไรสุทธิไม่เพิ่มเยอะมาก (ผมเข้าใจว่า 1%กว่านะ)
(นักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าเพิ่มรายได้ 8% จากค่าบุตเฟ่ 339 เป็น 369 จากการได้ทั้งต้มและย่าง แต่ต้นทุนก็เท่าเดิม อัตรากำไรสุทธิน่าจะเพิ่มเยอะกว่านี้มาก แต่มันกลับไปเป็นแบบนั้น)
อย่างสาขาเซนทรัลสุราษฎ ก็ไม่ค่อยดี ทั้ง Hot Pot และ Daidomon เลยจับมารวมกัน ปรับระบบ ปรับงาน ทำให้ต้นทุนลดลง wasteลดลง เพราะใช้บาร์เดียวกัน พนักงานน้อยลง ผู้จัดการสาขาน้อยลง ประหยัดได้เยอะ แถมขายดีขึ้นด้วย

Q : มีวิธีลดต้นทุนยังไงบ้าง
A : เรื่องลดต้นทุน ก็พยายามแล้ว ตั้งแต่ทำโรงงาน คิดวิธีต่างๆ ตัดรายจ่ายไม่จำเป็นออก ซึ่งมันไม่น่าจะลดต่ำได้มากกว่านี้แล้ว อย่างอาหาร ถ้าลดต้นทุนลง อาหารก็แย่ลง ถ้าลดค่าพนักงานลง พนักงานก็ไม่ชอบ ลาออก หรือไม่บริการลูกค้า ตอนนี้พยายามหาวิธีลด food cost จาก waste อยู่
ตอนนี้มีคนงานทำสาขา (สร้างและrenovation 150 คน (เกือบ 100 คน อยู่มาเป็น 10 ปีแล้ว) มีการซื้อเครื่องตัดสแตนเรย์ (ส่วนของบาร์) เครื่องตัดอคิลิ(พวกป้าย) มาใช้เอง ทำให้ประหยัดค่าทำได้เยอะมาก (ประหยัดได้เกือบ 50%)

Q : ที่ไหนดีที่สุด
A : ที่ดีที่สุด เซ็นทรัลพระราม 2 เบอร์1

Q : อนาคตต่อไป มีแผนจะเพิ่มรายได้ยังไงบ้างจากร้านเดิม (เน้น SSSG)
A : จะยกเลิก Hot Pot Value แล้ว จะไม่ทำแบบไม่จำกัดเวลาแล้ว แต่ราคาเดิมไปก่อน เพราะ ทั้งสภาพร้าน สภาพบาร์ มันยังไม่ควรปรับราคาขึ้นเลย นอกจากนั้น บางที่กำลังซื้อต่ำด้วย

Q : สาขาที่ขาดทุนทำยังไง
A : บางที่ขาดทุน แต่ก็ต้องยอมเพราะเป็นพันธมิตรกัน ก็ต้องยอมขาดทุนบ้าง อาจจะต้องคุยกันว่าจะช่วยยังไง ลดค่าเช่า หรืออื่นๆ เพื่อให้อยู่ได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องปิด (แต่ถ้าเรื่องพันธมิตรจริงๆก็ต้องยอมเปิดขาดทุนด้วย)
โลตัสไชยา ก็ปิดไปหลังจากเปิดไม่ถึงปี
สาขาที่ดูไม่ค่อยดี ก็มีราวๆ 20 สาขา ต้องรอปรับปรุง
สาขาที่ร่วมมือกับ hmpro 15 สาขา (8สาขาลงทุนร่วมกัน) มี 3 สาขาที่ไม่ดีเลย  (อย่าไปมองว่าเสียหาย 3 สาขา อยากให้มองว่า สำเร็จ 12 สาขามากกว่า)
มีสาขาเปิดใหม่ แต่ก็มีปิดสาขาเก่าเรื่อยๆ
อย่าง ที่สกล โรบินสันมาเปิด คนก็ไปเดินโรบินสันแทน ทำให้สาขา hmpro ที่เคยดี ก็แย่
ปีนี้ปิดเยอะ แต่ก็โชคดีที่ไปเปิดสาขาใหม่ๆของห้างใหม่ๆเยอะ
แต่บางที่ ก็ยังมีกำไรก็ปิด อย่างที่นึง เปิดร้านที่ห้างเก่า สักพักก็มีโลตัสมาเปิด 2 สาขา เซ็นทรัลมาเปิดอีก 1 สาขา เลยต้องปิดสาขาเก่าทั้งทีกำไร เพื่อให้คนไปสาขาใหม่ แล้วกำไรดีกว่า

Q : ปีหน้าคาดว่ารายได้เท่าไหร่ แล้ว NPM จะยังไง มีเป้าไหม
A : ที่ผ่านมามีปัจจัยแปลกๆเยอะมาก daiaomon เข้ามาก็แย่เลยเพราะเงินไม่พอ ทั้งเรื่องค่าเสื่อม เรื่อง labor สารพัด แต่ก็แอบคิดไว้จะเปิดเพิ่มอีก 100สาขา

Q : เรื่องอาหารมีแผนยังไงบ้าง
A : เรื่องอาหารอันไหนขายไม่ดี มี wasteเยอะ ก็ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  จะให้มีเทศกาลอาหารเป็นช่วงๆ อาจจะไตรมาสนี้มีอะไรพิเศษแบบนั้น มีแผนอยากให้เซฟที่มีชื่อเสียงมาเป็นฟรีเซนเตอร์ทำอาหารให้ แต่เล่นตัวเกินนนน 3 เดือนแล้ว เสียเวลา เลยคิดว่าจะเปลี่ยนคนแทนแล้ว แล้วจะให้มีอาหารใหม่ๆทุก season เลย

Q : เสนออยากให้มีเมนูพิเศษ เมนูที่พอใครพูด hotpot ก็นึกถึง (อย่าง MK นึกถึง เป็ดย่าง อย่าง the pizza com ก็จะนึกถึงพิชช่าหน้าเยอะๆ แป้งหนาขอบชีส แบบนั้น) แล้วก็อยากให้คนที่เข้ามา นึกถึงบางอย่าง (อย่าง MK ก็นึกถึงครอบครัว)
A : เรื่องนี้นอมรับว่า เมื่อก่อนห่วย เด็กทำงานไม่ดี ทำให้มีเสียงสะท้อนแย่ๆ เยอะ เราก็พยายามมาโดยตลอด ทำตามเป้าหมายมาตลอด

Q : เงินเดือนพนักงานเท่าไหร่ แล้ว turn over เท่าไหร่
A : เงินเดือนราวค่าแรงขั้นต่ำ แต่ถ้าที่ไหนหาเด็กไม่ได้จริงๆ ก็ต้องเพิ่มค่าแรงไปอีก 10 บาท 20 บาท ให้มันมีเด็ก turnover ราว 10% ที่เด็กมันลาออก มันเป็นปกติ มันจะมีพวกที่ เท่าไหร่ก็ไม่พอ หางานไปเรื่อย โดนซื้อตัวไปอีก เยอะแยะ

Q : กรณีการฟ้องร้อง มายังไง แล้วจะมีอีกไม
A : เพราะซื้อ daidomon มา แล้วมันสาขานึง เซ็นทรัลปรับปรุงพอดี แล้วทางนู้นเขาเรียกเงินมา 7 แสนบาท แต่ daidomon เจ้าของเก่าไม่ได้จ่าย พอเราไป take มา เซ็นทรัลเลยมาเก็บกับเราแทน เลยต้องฟ้องร้องตามกฎหมายแทน อนาคตไม่มีแล้ว แค่ครั้งเดียวก็พอแล้ว

Q : เรื่องงบโฆษณา ยังไงบ้าง
A : line 5ล้าน มีโฆษณาช่องดาวเทียม อย่าง shop 88 ของ RS ก็ด้วย
งบส่วนนี้จะให้ราวๆ 3% ของรายได้ ปีหน้าก็คงสัก 100ล้านบาท
ปีหน้าก็จะเน้นโฆษณา online และ cabal TV เป้นหลักแทน

Q :คู่แข่งคือ
A : อันดับ 1 ก็ ชาบูชิ รองลงมาก็เรา hotpot แต่อย่าง ซูกิชิดูเหมือนเขาจะไม่เอาบุตเฟ่แล้วเห็นไปเน้น บุตเฟ่ถ่านแทน

Q : เวลาเช่าห้างยังไง
A : ปกติเช่า 3ปี โดยสัญญาณมักจะเป็น 3+3 หมายถึง เช่า 3 ปี แล้วให้สิทธิเช่าต่ออีก 3 ปี ถ้าไม่ยกเลิก

Q : เรื่อง renovate เพราะอะไร ยังไงบ้าง ต้องปิดร้านไม แล้วห้างให้ส่วนลดอะไรไม
A : จะ renovate เมื่อยอดขายตกเท่านั้น อย่างเซ็นทรัลเชียงใหม่เปิด เซ็นทรัล airplane ก็ยอดตกเลย
อย่าง daidomon พอ renovate ก็ยอดขึ้นมา 2เท่าเลย
มี 2 แบบ คือแบบ Major แบบนี้ปิดร้านเลย จะทำไม่เกิน 45 วัน (แต่บางที 2วันก็เสร็จแล้ว) ให้กรณีการทำงานที่มีผลกระทบกับลูกค้าโดยตรง
อีกแบบคือ Minoe เป็นแบบ ทำไปเปิดไป ส่วนใหญ่เป็นแบบเล็กๆน้อยๆ
ส่วนเรื่องการปิด renovate ห้างไม่สน ต้องจ่ายค่าเช่าต่อ พนักงานก็ต้องให้เงินเดือนเหมือนเดิม

Q : เรื่องเปิดสาขาใหม่ จะพิจารณายังไง อย่างพวกห้างที่เปิดใหม่เยอะๆ สนใจไม
A : จะเลี่ยงพวก ห้างคนรวย ห้างของคนที่มีที่ดิน แล้วอยากเปิดห้าง ห้างพวกนี้ค่าเช่าที่แพง ลงทุนหนักกว่า เพราะงานระบบไม่ดี อย่างเครื่องทำความเย็น ห้างปกติจะมีชิลเลอร์ทำงาน แต่ถ้าห้าง open air มักต้องคิดแอร์เอง เปลืองไฟกว่า เปลืองค่าติดแอร์ เปลืองกว่าเยอะมากๆ
เรื่อง location ดีๆ อย่างโซนอาหาร จุดที่ติดบรรไดเลื่อนเพราะคนเยอะ

Q : เรื่องร้านเก่า มีการวางแผนยังไง ที่จะให้ SSSG เติบโตขึ้น
A :ต้องบอกว่า ส่วนใหญ่อยากให้เน้น Grow มากกว่า SSSG มันรักษาการโตยาก เปิดสาขาใหม่ง่ายกว่า อย่างห้างเปิดใหม่ ปีแรกคนก็เยอะ แต่พอปีต่อมา คนก็ลดลงเป็นปกติ SSSG ก็ตก ของแค่ sssg ไม่ลดก็พอ เน้นขยายสาขา
ต่อไป จะเปิด HD 90% เป็นหลัก ต้อง renovate major สัก 10 สาขา (ราวๆ 2-7แสนบาท) minor คงทำทุกสาขา (ทยอยทำ สัก 2ปี น่าจะเสร็จ) แล้วก็จะได้ปรับราคาด้วย

Q : ครัวกลางรองรับได้อีกกี่สาขา
A : เต็มที่รับได้ 200สาขา โดยอาจจะย้ายสำนักงานมาด้านหน้าเพิ่มเนื้อที่ได้อีก ก็น่าจะรับได้อีก 50สาขาที่กำลังจะเปิดใหม่ ถ้าจะเปิดโรงงานเพิ่ม ก็มีที่ดินรอบๆอีก 4ไร่ ให้ซื้อได้เลย

*****ความคิดเห้นส่วนตัว*****

มี 3 อย่างที่ทำให้กำไรได้มากขึ้น คือ
1.การเปิดสาขาเพิ่มจากการที่มีอยู่ 150 สาขา แล้วคาดว่าเปิดได้อีก สบายๆ เกือบ 100สาขา ก่อนที่จะ เริ่มอิ่มตัว (เห็นว่าตั้งเป้าเปิดราวๆ 20-25 สาขาต่อปี) (เพิ่มรายได้)
2.การเพิ่มของ NPM ที่ควรจะมีสัก 5% ของรายได้  (ได้ยินว่า ชาบูชิ ได้ถึง 10% เลย) (ปีนี้ต่ำ เพราะปิดปรับปรุงเยอะมาก) (เพิ่มอัตรากำไร)
3.การยกเลิก Hot Pot Buffet Value (319บาท) เปลี่ยนมาเป็นแบบ Hot Pot Inter Buffet (339บาท) และจะupมาเป็น HOT POT Daidomon (HD) (339+30บาท) ในอนาคต น่าจะทำให้กำไรดูดีขึ้นมาก แต่ดันไม่เป็นไปตามที่คิด -*- เห็นว่า waste เยอะขึ้น ต้นทุนเลยเพิ่มขึ้นแทน แต่คิดว่าอนาคตน่าจะดีขึ้นนะ (เพิ่ม SSSG)

Thursday, December 26, 2013

บรรทึกช่วยจำ RS edit 27/12/2556

update เรื่อง DIGITAL TV

สรุป เกินคาด (ในทางที่แย่) คือต้นทุน digital TV สูงมาก ประมูลมาเกือบ 2300 ล้านบาท (ผมให้เป็น 2300ล้านบาทเลยนะ) อึ้งกิมกี่เหมือนกัน ก็สรุปคร่าวๆก่อนว่า เวลาจ่ายเงิน ให้ทะยอยจ่ายเป็นช่วงๆ ทั้งหมด 6 ปี

ปีที่ ค่าประมูลตั้งต้น 380 ส่วนเกิน 1920 รวม
1 50.00% 190 10.00% 192 382
2 30.00% 114 10.00% 192 306
3 10.00% 38 20.00% 384 422
4 10.00% 38 20.00% 384 422
5
0 20.00% 384 384
6
0 20.00% 384 384




รวม 2300

โดยรวมแล้ว ถือว่าโชคดี ที่ให้ทะยอยจ่าย ในสิ้นไตรมาส3/56 มีเงินสดราวๆ 502ล้านบาท  ก็อย่างน้อย จ่ายปีแรกไป ก็คงไม่จำเป็นต้องกู้เงิน มี RS-w2 อีก 140 ล้านหุ้นที่ หุ้นล่ะ 1.9 บาท ราวๆเกือบ 280 ล้านที่จะมาก่อนกลางปีหน้า ก็ไว้จ่ายปีที่ 2 ได้อยู่ ส่วนที่เหลือ คิดว่า กำไรก็น่าจะพอสำหรับการจ่ายแล้ว คงไม่จำเป็นต้นคิดถึงเรื่อง ต้นทุนทางการเงิน

ส่วนที่จะออกมาในงบการเงินคือ ต้นทุนค่าประมูล 2300ล้านบาท หาร 15ปี (เป็นเส้นตรง) คือ 153ล้านบาทต่อปี ต้นทุนค่าเช่า network 60ล้านบาทต่อปี ดังนั้น RS ต้องจ่าย 213 ล้านบาทต่อปี ส่วนค่าทำช่องไม่มี เพราะ เอาช่อง 8 มาลงต้นทุนต่ำ

อีกเรื่องที่น่าดีใจ ก็คงเรื่อง บอลโลก ที่ตอนนี้เราเป็น Free TV แล้ว น่าจะเอาบอลทุกรอบมาฉายในช่อง 8 ทั้งหมดเลย น่าจะเป็นตัวเร่งและทำให้คนรู้จักช่อง 8 ได้มากขึ้นอีก

โดยรวมแล้ว ยอมรับว่าค่าประมาณมันเยอะเกินไป ตอนแรกกะไว้ 1000ล้าน เกินมา 2 เท่ากว่าเลย T^T เศร้าเหมือนกัน แต่โดยรวมก็ถือว่ายังรับได้อยู่

ใคร ใคร่ ซื้อ ก็ซื้อ ใคร ใคร่ ขายก็ขาย ผมเพียงเอาข้อมูลมาให้ดูเฉยๆ ไม่ได้หวังจะให้ซื้อตามหรือขายตาม วันนี้ผมอาจจะไม่มีแล้ว หรือผมอาจจะมีมากขึ้น ผมก็คงไม่พูดอะไร เพียงแต่เงินของคุณ ก็ขอให้มันขาดทุนด้วยตัวคุณเองล่ะกัน

***************************************************************************
เพิ่มเติม Q3/56


กำไรขั้นต้น
เพลง 114ล้านบาท ลดลง 13.9% สัดส่วน 33%
สื่อ 211ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% สัดส่วน 60%
โชว์บิต 26ล้านบาท ลดลง 46.24%สัดส่วน 7%
กำไรขั้นต้น +27.41%


กำไรสุทธิโต 56.1% (มีหุ้นแปลงสภาพจากวอแรน)
fin เลยครับ

ตอนนี้หุ้นเกือบ 1พันล้านหุ้นล่ะ คิดเป็น1พันล้านไปเลย ก็กำไรราว 0.124 บาท ในไตรมาส นี้นะ

CF
ก็มีที่น่าสนใจคือค่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้นจาก 61.3พันล้าน เป็น 168.4 พันล้าน เพิ่มขึ้นเยอะมาก (ส่วนนึงน่าจะมาจาก ลาลีก้า)

Oppday

สรุป ลาลีก้าไม่ค่อยดีนะครับบบบบสำหรับ season 1 ส่วน season2 คงก็คงไม่ดีเหมือนกัน
ตอนนี้้้ช่องดาวเทียมย้ายมาไทยคม 6แล้ว โดยเช่าเหมาช่องเอา
ตอนนี้ shop 77 เปิดมา ดูท่าปลายปีนี้ น่าจะทำกำไรได้เลย ก็ทำงงเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนดูช่องที่ขายของตลอดเวลาด้วย ต้นทุนก็ต่ำด้วย สบายเลย
ปีหน้าเตรียมเปิดดาวเทียมเพิ่ม 2-3 ช่อง และเรื่องการปรับค่าโฆษณาขึ้นด้วย

มีละครฟอร์มใหญ่ ผู้ชนะสิบทิศ มาด้วย เริ่มการฉายแล้ว






ส่วนตัว 

ถ้าให้เดาเล่นๆ ไตรมาส 1-2 ปีก่อน กำไร 0.2บาทมั้ง ไตรมาส 3-4 กำไรน้อยลง เหลือ 0.12บาท มั้ง น่าจะมาจาก ค่าลิขสิทธิ์ลาลิก้า ที่ทำให้ขาดทุน พอไตรมาส 3 ปีนี้ ค่าลิขสิทธิ์ก็โดนเหมือน ไตรมาส 3 ปีก่อน ทำให้กำไรมันเพิ่มเยอะ กลายเป็นลาลีก้าทำให้ต้นทุนพุ่งขึ้นมาแทน ถ้าหมด season3 เมื่อไหร่ ก็แสดงว่าตอนนั้น กำไรจะกลับมาดีอีกครั้งนึง (ให้เดาแย่ๆ ว่าseason 3 ขาดทุนนะ)

ถ้าสรุปจากข้อมูล แล้วเชื่อใน ผบ ก็คือ ไตรมาส 1/57 จะโดนกดกำไรจาก TV digital (ถ้าได้ประมูลนะ)  ไตรมาส 3/57 จะโดนกดกำไรจากเริ่มลาลีก้า season 3 (ช่วงแรกของลาลีก้า คนดูน้อย)

กำไรน่าจะดูดีหลังจากไตรมาส 3/57 ขึ้นไป เพราะไม่มีอะไรใหม่ๆมาเพิ่มแล้ว ก็จะได้ทั้ง ลาลีก้าหมดไป TVdigital ถึงจุดคุ้มทุน ด้วย

ส่วนไตรมาส 4 ปีนี้ ก็น่าจะดีกว่าปีก่อน เพราะเชื่อว่าปีก่อน แย่เพราะลาลีก้า ปีนี้ก็คงแย่เพราะลาลีก้าด้วย คิดว่าน่าจะโตไปในแนวทางเดียวกับไตรมาส 3 ปีนี้

แล้วก็รู้สึกดี ที่รู้ว่า กำไรที่หายๆไป เพราะลาลีก้านะ อย่างน้อยๆ ถ้าตัดลาลีก้าออก กำไรก็คงจะดีกว่านี้ ไตรมาส 2/56 ขาดทุนลาลีก้า 77ล้าน ส่วนไตรมาสอื่น ไม่รู้ ถ้าสมมุติขาดทุนเท่ากัน ทั้งปีก็ขาดทุนจากลาลีก้า 300กว่าล้านบาท เทียบกับกำไรทั้งปีของปีนี้ (เดาเล่นๆ 400ล้านบาท) ก็เหมือนกำไรหายไปก้อนใหญ่เลยทีเดียว 

และเรื่องสุดท้าย ยังไงถ้ารายได้โตระดับ 20-30% ได้ กำไรมันควรจะโตมากกว่านั้น จากรายจ่ายที่ไม่น่าจะโตมากกว่ารายได้ อัตรากำไรสุทธิต้องดีขึ้นอีกด้วย

***แนะนำ ขายทิ้ง สำหรับคนที่ไม่เข้าใจแล้วหวังจะได้กำไรนะครับ***

***************************************************************************
เพิ่มเติมเรื่อง DIGITAL TV
การแบ่งจ่ายค่าประมูล
ค่าประมูลเริ่มต้นที่ 380 ล้านบาท
** สมมุติสิ้นสุดที่ 1000 ล้านบาท

Reserve Price Payment คือ 380 ล้านบาท
Surplus Payment คือ 620 ล้านบาท (1000 - 380)
จะทยอยตัดตามสัดส่วนในปีนั้นๆ

*network coverage เป็นการครอบคลุมของประชากร

ค่า network ปีล่ะ 60 ล้านบาท

บริษัทที่ใช้วัดเรตติ้งจะเริ่มวัดเรตติ้งในปีแรกเลย เหมือน Sat TV ในอดีต
RS ตั้งใจจะให้ Breakeven ในปีแรกเลย

***************************************************************************

เพิ่มเติม Q2/56 (ช้าหน่อย ขี้เกียจพอดี)
รายได้เพิ่ม +13.14%
รายได้จากเพลง -13.93%
รายได้จากสื่อ +68.73%
โชว์บิซ -28.26%
อื่นๆ -93.93% (น้อยมาก)
โดยรวมแล้ว ธุรกิจสื่อ มีสัดส่วนรายได้ 57.54% เป็นธุรกิจเดียวที่ดึงรายได้รวมจนกำไรได้ ก็ตามคาด รายได้จากเพลงลดลงนิดหน่อย มากกว่าที่คิดหน่อย แต่เฉยๆ รายได้จาก โชว์บิทค่อนข้างแย่ แต่ไม่เป็นไร กำไรส่วนนี้น้อย

ต้นทุนขาย +4.44%  (สัดส่วน 56.87%)
ต้นทุนเพิ่มน้อยสบาย

ค่าใช้จ่ายในการขาย +104.89%  (สัดส่วน 7.39%)
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร +23.59%  (สัดส่วน 18.85%)
ค่าใช้จ่ายในการขายส่วนนี้ เพิ่มเยอะ แต่สัดส่วนยังไม่เยอะมาก

ต้นทุน + ค่าใช้จ่ายรวม เพิ่ม 13.36% เพิ่มมากกว่า รายได้อีก = ="

กำไรก่อนหักดอก หักภาษี +15.22%
กำไร +23.59% (เพิ่มจาก ภาษีลดลงจาก 30% > 23% )

โดยรวมแล้ว ถ้าไม่ดูรายละเอียด ค่อนข้างผิดหวัง กำไรโตน้อยมาก
แต่พอมาดู Opp day เลยเข้าใจ
มาขาดทุน ลาลีก้าหนักไปหน่อย (เท่าที่เข้าใจคือ ลาลีก้า ตัดค่าลิขสิทธิ์ไป แต่เก็บรายได้ไม่ได้ เพราะติดกฎ กสอช ทำให้่ผลออกมา ขาดทุนจากลาลีก้า 77ลบ)

มาดู EBITDA ดีกว่า
เข้าใจง่ายกว่าขึ้นอีกหน่อย ว่ากำไรมันหายไปไหนบ้าง

***************************************************************************

เพิ่มเติม Q1/56
รายได้เพิ่มตามคาด +22% 
รายได้สื่อ +53% 
พลาด เรื่องแรก ลืมไปรายได้จากสื่อปีก่อนมีรายได้จาก Free TV แต่ปีนี้ ไม่มีแล้ว 
รายได้จากเพลงที่ว่า น่าจะลดลง กลายเป็นว่าขาย MP3 ผ่านการดาวโหลดได้ดีขึ้นมาก 
นึกว่าธุรกิจสื่อโฆษณาทาง TV จะไม่มีเรื่องฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง (ยังชัวร์)
รายได้จากโชว์บิต ตามคาด 

ต้นทุนเพิ่ม +12% 
กำไรขั้้นต้น +41% 
ต้นทุนตามคาด 
กำไรขั้นต้น ต่ำกว่าคาด จากรายได้จากสื่อผิดคาด (เรื่อง Free TV)

ค่าใช้จ่ายในการขาย +73%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร +31%
รวมค่าใช้จ่าย +36%
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินคาด ไม่แน่ใจว่ามาจากส่วนไหนบ้าง ต้องลองเช็คดูอีกที

กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษ๊ + 31%
กำไร +24%
* มีหุ้นไดรูทอยู่
มีเงินกู้ก้อนใหญ่ ทำให้มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น... นึกไม่ถึง 


***************************************************************************

อ่านรายละเอียดคร่าวๆ
http://panwasit-stock.blogspot.com/2012/12/sat-tv.html

IR RS ใน Face book
https://www.facebook.com/pages/Rs-ir/256459961140733?fref=ts

*ราคาปัจจุบัน ค่อนข้างแพง ไม่สิ แพงเลยล่ะ ขอให้ใช้วิจารณาในลงทุนนะครับ

RS : บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)



เข้าใจว่าทุกคน น่าจะรู้จักบริษัทนี้ดี เพราะเป็น 2 ค่ายใหญ่ในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจเพลงมานาน สำหรับผมเองก็รู้จักจากเพลงนี่ล่ะ (อีกค่าย GMM) 

ส่วนตัวแล้ว ผมเข้าใจมาตลอดว่ามันทำเพลงขาย แล้วเก็บกำไรจากส่วนนั้น ซึ่งผมมองว่าไม่ค่อยจะดี (ที่จริงก็ไม่ค่อยดีจริงๆนะ) เพราะปัจจุบันนี้ มีทั้งแผ่นผี CD เถื่อนมากมาย ซึ่งทั้งคนซื้อคนขายต่างได้ผลประโยชน์ด้วยกัน ทำให้สินค้าลิขสิทธิ์มันขายไม่ได้ เพราะแพงกว่ามาก นอกจากนั้นการดาวโหลดในเวปเถื่อนต่างๆ กลายเป็นของฟรีไปเลย ก็มีเยอะมาก ผมเลยมองว่า ธุรกิจนี้ ทำไปแย่แน่

แต่ที่กลับมาสนใจในรอบนี้ มีสาเหตุหลักๆมาจากเรื่อง SAT TV นี่ล่ะ 

เอาเรื่องอื่นก่อนล่ะกัน

ปัจจุบัน RS ทำธุรกิจหลักๆ 3 ช่องทาง (ดูในงบการเงินดู) คือ ธุรกิจเพลง ธุรกิจสื่อ ธุรกิจโชว์บิซ 

ธุรกิจเพลง เป็นธุรกิจที่เก่าแก่มานาน ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้หวังรายได้จากธุรกิจนี้มากนัก ส่วนเรื่องรายได้เอง ก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ กำไรก็พอมีเรื่อยๆ พออยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 

โดยรายได้เองมาจาก
  • รายได้จากการขายผ่านระบบดิจิตอล เช่น download เพลง ผ่านทาง itunes WAP การฟังเพลงออนไลท์ ,การ Download Ringtone ,การใช้ Ring back tone (เพลงรอสาย)
  • รายได้จากการขาย CD DVD ทั้งเพลงใหม่ และเพลงเก่า คอนเสริ์ตต่างๆ
  • รายได้จากการบริหาร คอนเทนส์เพลง กับธุรกิจอื่นๆ อย่างสัมภาษณ์วิทยุต่างจังหวัด ทำกิจกรรมต่างๆ
  • รายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง ที่ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ต่างๆ

โดยมีศิลปิน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไทยสากล กับกลุ่้มไทยลูกทุ่ง

*ปล. R-SIAM นี่ ทำเพลงออกมา สนุกดีจริงๆ

*จาก Opp day 


ธุรกิจโชว์บิซ มีรายได้มาจาก
  • จัดคอนเสริ์ต และ อีเวนต์ รับจัดงานเท่าๆไปด้วย
  • บริหารศิลปิน นำศิลปินในเครือมาจัดคอนเสรื์ตบ้าง โชว์ตัวบ้าง เพื่อเพิ่มรายได้ในกับ ศิลปินเอง


*จาก Oppday

ในธุรกิจโชว์บิต กำไรค่อนข้างน้อย เข้าใจว่ารายได้ส่วนนึงแบ่งให้กับดารานักแสดงพอสมควร เพื่อให้เขาอยู่ได้ แต่ก็ดีนะ เพราะธุรกิจรับจ้างพวกนี้ คาดการณ์กำไรยาก ไม่แน่นอน ถ้ากำไรไม่เหลือ ก็เอาเถอะ 


รายได้จากธุรกิจสื่อ มาจาก สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อในธุรกิจโมเดิร์นเทรด สื่อสิ่งพิมพ์ รับจ้างผลิตละคร รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์โฆษณา ลาลีก้า

*Opp Day

แต่หลักๆ ก็เน้นไปที่ สื่อทีวีดาวเทียม และ วิทยุ 

*Opp Day

*Oppday 


ส่วนที่ผมสนใจ
  • รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นมาจาก ธุรกิจสื่อ Sat TV ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต ลองดูในรูปดู รายได้จาก SAT TV เพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ปัจจุบัน มีคนดู TV จาก SAT TV มากขึ้นเยอะ ประมาณ 70% แล้ว 
  • RS เป็นเจ้าของช่องรายการ SAT TV ติดอันดับต้นๆ คือ ช่อง 8 และช่องสบายดี TV ส่วนช่อง You channel ก็ทำได้ดี แต่ Star Max พึ่งเริ่มต้น เพราะในอดีต เป็นช่องที่ไม่ได้เรตติ้งเลย เลยเปลี่ยนรูปแบบช่องไปเลย 
  • ในส่วนของ WORK ผมสังเกตุว่า ช่อง Work Point TV สามารถทำรายได้ กำไรได้ค่อนข้างสูง คือ รายได้ 140ล้านบาท กำไร 45ล้านบาท แต่มีช่องเดียว ซึ่ง WORK ฐานกำไรค่อนข้างสูง ปี55 กำไร 400ล้านบาท 
  • ในส่วนของ RS ผมมองว่า มีช่อง 4 ช่อง (แต่คิดจริงๆ เอาแค่ 2 ช่องก็พอ) ซึ่งฐานกำไรในปี 281ล้านบาท (แต่กำไรมันหดลงเรื่อยๆ จนปี 54 เลยนะ เสียววุ๊ย) คิดว่าน่าจะมีโอกาสในการเพิ่มของกำไรมากกว่านั้น (ฐานกำไรต่ำกว่า แต่มีช่องมากกว่า)
  • ได้ฟังมา ช่อง 8 กับช่อง สบายดี มีเรตติ้งดีกว่าช่อง 5 และ ช่อง 9 อีก ซึ่งค่าโฆษณาของช่อง 5 กับ 9 นั้น อย่างต่ำก็ราวๆ 5หมื่นบาทต่อนาที แต่ช่องของ RS ค่าโฆษณาเฉลี่ย ราวๆ 8000บาทต่อนาที และค่าโฆษณาช่วงที่แพงที่สุด 2หมื่นบาทต่อนาที ซึ่งยังถูกกว่าขั้นต่ำมาก
  • ในส่วนของ ธุรกิจRadio นั้น ก็ถือว่าน่าจะดีในอนาคตอยู่ แต่ไม่ได้หวังในส่วนนี้มากนัก
  • *สนใจแต่เรื่อง SAT TV นี่ล่ะ

แต่ก็มีความเสี่ยง ด้วย
  • รายได้จากเพลง ที่ลดลงเรื่อยๆ กับรายได้จากโชว์บิต ที่ไม่ค่อยมีกำไร และได้งานมาเป็นครั้งคราวทำให้กำไรขึ้นๆลงๆ ทำให้เป็นความเสี่ยงอยู่ 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ค่อยข้างรุนแรง และสังคมไทยก็ยอมรับกันอีก กฎหมายก็ไม่รุนแรง แถมการบังคับใช้ก็ไม่ค่อยมีผลเลย 
  • ความเสี่ยงในตัวศิลปิน เรื่องย้ายค่าย (เท่าที่เห็นก็ไม่ค่อยมีปัญหานะ)
  • ความเสี่ยงของ SAT TV ในเรื่องของค่าสัมปทาน (ส่วนตัวว่าไม่มีปัญหา)
  • ความเสี่ยงที่ต้องประมูล digital TV 
  • เรื่องของเศรษฐกิจก็เีกี่ยวข้องเยอะ ถ้าเริ่มแย่ บริษัทส่วนใหญ่คงตัดงบโฆษณาออกก่อนเลย 
  • พวกกลุ่มนี้ ต้องอาศัย connection เยอะ ถ้าสมมุติ คนที่เป็นส่วนนี้ ลาออก เสียชีวิตไป แย่แน่ๆ 
  • ธุรกิจ ต้นทุนคงที่ ถ้ารายได้หด อ๊วกแตกครับ เพราะรายได้จากค่าโฆษณาTV มันจะนับเป็นนาที ถ้าหายไป กำไรจะลดแรงมาก 
  • ธุรกิจดาวเทียม เราไม่สามารถบอกได้ว่า จะขึ้นราคาได้แค่ไหน แล้วก็จะโฆษณาได้ขนาดไหนด้วย กฎหมายยังไม่ชัด 
===============================
ข่าวที่น่าสนใจ 



===============================

มาดูหุ้นในแบบของผมล่ะักัน

ประเภทหุ้น

หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว

เชื่อว่า การมี Sat TV จะเป็นตัวผลักดันรายได้และกำไรนะครับ จากที่เขียนไว้ข้างต้น และจากการคุยกับ IR RS ก็มีการบอกว่า Media Breakdown ก็ถือว่าสบายใจได้อยู่ รายได้ที่เพิ่มส่วนใหญ่จะมาลงที่กำไร ในปีนี้ มีการเพิ่มค่าโฆษณาค่อนข้างเยอะ และยังสามารถเพิ่มค่าโฆษณาได้อย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เมื่อเทียบกับค่าโฆษณาของ free TV 

เรื่องของสินค้า การซื้อการขาย ลูกค้า คู่ค้า

1 สินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

ธุรกิจเพลง จะจัดอยู่ในสินค้าใช้แล้วหมดไปดีไมน้า เพราะมันเป็นข้อมูล เดียวฟังหมดก็ยังไม่หมด แต่สำหรับตอนนี้ ผมมองว่า ให้มันทรงๆไปเรื่อยๆ ก็พอ

ธุรกิจโชว์บิต เป็นธุรกิจที่ทำขึ้นแล้วหมดไป แต่มีปัญหาในแง่ของ มันเป็นการจัดครั้งเดียวมากกว่า คาดการณ์กำไรค่อนข้างยาก 

ธุรกิจสื่อ โฆษณา รายการทีวีและวิทยุ เป็นกลุ่มบริการอยู่แล้ว ยังไงก็ไม่เหลือ
*เน้นโฆษณาเป็นหลักล่ะกัน เพราะผมชอบหุ้นตัวนี้เพราะเรื่องโฆษณานี่ล่ะ

2 สินค้าทดแทน

ธุรกิจเพลง น่าจะเป็นเพลงจากต่างประเทศมากกว่า ไม่ก็ค่ายอื่น แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าเป็นหลักอยู่ดี

ธุรกิจโชว์บิต เรื่องคอนเสริต ไม่แน่อนาคตอาจโชว์ผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ แต่ปัจจุบันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ธุรกิจสื่อ อันนี้มีสินค้าทดแทนค่อนข้างเยอะ เช่นป้ายโฆษณา หรือโฆษณาตามที่ต่างๆ แต่ตลาดใหญ่โดยรวมก็ยังเป็นของสื่อทีวีอยู่ (ในอนาคต สื่ออินเตอร์เน็ต จะมีบทบาทมากขึ้นแน่ๆ ต้องดูกันต่อไป)

3 สินค้าที่มีแบรน และคนซื่อสัตย์ในแบรนด้วย

ธุรกิจเพลง เป็นแบรนด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว

ธุรกิจโชว์บิต เป็นแบรนด้วยตัวเองเหมือนกัน (ดาราคือแบรน)

ธุรกิจสื่อ อันนี้ คงบอกยาก แต่ตามที่เคยบอก คนที่มาซื้อเวลาโฆษณา ส่วนใหญ่ ก็มักมี connection กับคนขายอยู่แล้วครับ มันไม่ใช่แบรน แต่เป็น Connection 

นอกจากนั้นธุรกิจสื่อ มันขึ้นอยู่กับว่า เรตติ้งช่องไหนดี ช่องนั้นก็มีอำนาจในการขึ้นค่าโฆษณามากที่สุด

4 อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

ธุรกิจเพลง ธุรกิจโชว์บิต
เข้าใจว่า ซัพพลายเออร์ คือ นักแสดง ดาราเป็นหลัก ก็คงจะมีอำนาจค่อนข้างน้อยในการต่อรอง (ดูจากธุรกิจโชว์บิต ที่มีกำไรน้่อยมาก) เพราะยังไงก็ต้องให้ดาราอยู่ได้ด้วย

ธุรกิจสื่อ ไม่มีอำนาจในการต่อรองเลย เพราะว่า ซัพพลายเออร์ที่แท้จริงคือ คนที่หน้าดูอยู่หน้าจอ อำนาจของเขาคือรีโมท เราไม่มีสิทธิ์ไปบังคับเลย แต่โดยรวมแล้ว ถ้าสามารถทำให้ช่องรายการเป็นที่น่าสนใจต่อคนกลุ่มใดๆ ก็จะสามารถเรียกคนดูได้ดีกว่า

5 อำนาจการต่อรองจากลูกค้า

ธุรกิจเพลง สำหรับรายย่อย เราไม่มีอำนาจในการต่อรองเลย แต่ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์การใช้เพลง ก็จะถูกเก็บลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เพลง หรือ ดารา มีชื่อเสียงมากแค่ไหนด้วย ถ้ามีมาก ก็จะได้อำนาจค่อนข้างดี

ธุรกิจโชว์บิต ขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของดาราด้วย อย่างคนดังมากๆ บัตรก็หมดอย่างเร็วเลย แต่ถ้าไม่ค่อยดัง ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ธุรกิจสื่อ กลุ่มนี้ ถ้ารายการ TV หรือ วิทยุ ช่องไหน คนดูเยอะ คนฟังเยอะ ลูกค้า(คนซื้อช่วงเวลาโฆษณา) ก็ต้องซื้อล่ะ ไม่มีทางเลือกเลย ต้องยอมจ่าย ถ้าอยากโฆษณาให้คนดูเยอะๆ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า จะทำยังไงให้คนดูเยอะ เรตติ้งดี

6 การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

ค่อนข้างดุเดือดครับ แต่สุดท้าย ผู้ชนะก็จะชนะไปเลย คนแพ้ก็จะแค่พออยู่ได้ แต่ก็กำไรนิดหน่อยเท่านั้นเอง ที่ต่างประเทศก็มี case study แล้ว จะเหลือไม่ถึง 10 ช่องจาก 200 ช่อง ที่กำไรดี และเติบโตอย่างงดงาม ส่วนที่เหลือ ก็พออยู่พอกินไปเรื่อยๆ

7 การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่

ง่ายมาก เข้า่ง่าย แต่ก็ออกง่ายครับ ธุรกิจมันลอยๆ ลงทุนไม่เยอะ ที่เยอะมักเป็นค่าสังคม กับค่าคนมากกว่าครับ

8 วัตถุดิบ การสินค้าโภคภัณฑ์

-

9 โอกาสการเติบโตของสินค้า บริการ

การเพิ่มขึ้นของค่าโฆษณาของกลุ่ม SAT TV การเพิ่มขึ้นของ digital TV ด้วยส่วนต่างของค่าโฆษณาที่ห่างมากจาก free TV 

ที่จริงก็เขียนไปแล้วนะ ตอนต้น 

เรื่องของงบการเงิน ก็คงต้องดูในรายละเอียดอีกทีนึง
*ไม่ืำทำการคาดการณ์อนาคตให้นะครับ ขอปิดไว้เป็นความลับ ลองไปคาดการณ์ดูเองนะครับ 



Monday, November 18, 2013

สอนงบการเงินให้แฟน รอบที่ 02

สอนงบการเงินให้แฟน รอบที่ 02
*ปล. ตรูก็มั่ว ตรงไหนผิดบอกด้วยยยยย...

งบกำไรขาดทุน

ที่จริงงบกำไรขาดทุน ก็คือ บริษัท ขายอะไรได้บ้าง ต้นทุนคืออะไรบ้าง แล้วเหลือกำไรเท่าไหร่ 

โดยรายได้ ก็มาจากเราขายของได้เท่าไหร่ 

ต้นทุน ก็เป็นต้นทุนของสินค้า รายจ่ายที่สร้างสินค้า ซื้อวัตถุดิบพวกนี้
ค่าใช้จ่ายในการขาย พวกอะไรสักอย่างที่ช่วยในการขาย อย่างเช่าที่ขาย ทำโปรโมต
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าอื่นๆ จิปาทะ อย่างค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าที่ในผู้บิรหาร

เงินเดือนของแรงงานที่สร้างสินค้า เข้าใจว่าอยู่ใน ต้นทุน
เงินเดือนของพนักงานขาย ค่าคอมมิชั่น เข้าใจว่าอยู่ใน ค่าใช้จ่ายในการขาย
เงินเดือนของคนอื่นๆ ผู้บริหาร รวมถึง พนักงานทำความสะอาด หรือคนอื่นๆ เข้าใจว่าอยู่ใน ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ต้นทุนทางการเงิน ที่จริงก็คือดอกเบี๊ย เงินกู้
ภาษี

เช่น บริษัทขายเสื้อ
รายได้จากการขายเสื้อมา 1000บาท
ต้นทุนคือ การซื้อเสื้อมาวางขาย 500บาท
ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าเช่าร้านที่ตลาดนัด 100 บาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น ค่าเหนื่อยของตัวเอง 100 บาท
ต้นทุนทางการเงินไม่มี เพราะไม่้ได้กู้
ภาษีไม่จ่าย เพราะรายได้ไม่ถึง
กำไร 300 บาท

ประมาณนี้

แต่งบกำไรขาดทุนที่ว่า มันจะเปรียบกันเป็น ปีๆนะ สำหรับหุ้นในตลาด

Sunday, November 17, 2013

สอนงบการเงินให้แฟน รอบที่ 01

สอนงบการเงินให้แฟน รอบที่ 01 
*ปล. ตรูก็มั่ว ตรงไหนผิดบอกด้วยยยยย...

งบการเงินมี 3 งบหลักๆ ตือ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด

งบดุล
งบดุลเริ่มจากไหน
สินทรัพย์ = ส่วนของเจ้าของ

สินทรัพย์ ก็เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง เครื่องจักร โรงงาน 
ส่วนของเจ้าของ ก็เป็นทุนที่ลงไป ลงไปกี่บาท

ถ้าสินทรัพย์นั้น ทำกำไรได้ กำไรก็จะมาเป็นส่วนของเจ้าของด้วย

นอกจากนั้น
สินทรัพย์ = หนี้สิน

หนี้สินก็เหมือนส่วนของเจ้าของ แต่เราไปกู้เขามา ต้องจ่ายเป็นดอกเบ๊๊ยแทน
ถ้าสินทรัพย์นั้น ทำกำไรได้ กำไรก็จะมาจ่ายดอกเบี๊ยของหนี้สินด้วย

ดังนั้นสมการคือ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + เจ้าของ
(สร้างกำไร) = (จ่ายดอกเบ๊๊ย + คืนเจ้าของเป็นปันผล)

พูดไป แฟนงง ผมก็งง ช่างมันเถอะ

งบดุลคือ งบที่บอกว่า ณ วันที่ทำ เรามีอะไรบ้าง
เช่น วัน 18/11/2556
งบดุลผมมี
สินทรัพย์
เงินสด 5,000 บาท
มีเงินลงทุนในหุ้น 10,000 บาท
ที่ดิน อสังหา 0 บาท
รวม 15,000 บาท

หนี้สิน
หนี้บัตรเครดิต 5,000 บาท
หนี้จากเงินกู้มาร์จิ้น 5,000 บาท
รวมหนี้ 10,000 บาท

ส่วนเจ้าของ
เหลือเงิน 5,000บาท

แต่วันพรุ่งนี้ งบดุลก็เปลี่ยนแล้วนะ

เอ้า อย่าพึ่งหลับสิ 

Sunday, September 15, 2013

PE PEG ซื้อที่เท่าไหร่ดี

เคยสงสัยไม ว่าทำไมเราซื้อหุ้นกันที่ PE สูงๆ แล้ว PEG ทำไมต้องน้อยกว่า 1 ใครตั้ง เพื่ออะไร 

* หลังจากนี้ไป เป็นความเข้าใจส่วนบุคคลนะคร้าบบบ
** อันนี้ เฉพาะ นักลงทุนระยะยาวนะครับ 

สมมุติ กรณีที่ 1 
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20
หุ้น C ปันผล 2 บาท ราคา 100 บาท PE 50
ให้แค่นี้ แน่นอน หุ้น A ดีสุด

สมมุติ กรณีที่ 2
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 3.3 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% ทุกปี PEG =1
ถ้ากำไรโต X % ทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ กำไรจะมาจาก ปันผล + การเติบโตของกำไรเลย
หมายความว่า สิ้นปีที่ 1
หุ้น A ราคา 100 บาท ปันผล 10บาท รวมกำไร 10 บาท
หุ้น B ราคา 100 บาท ปันผล 5บาท รวมกำไร 5 บาท
หุ้น C ราคา 100 บาท ปันผล 3บาท รวมกำไร 3 บาท
สิ้นปีที่ 2 (ปรับ PE ให้เท่าเดิม พอกำไรเพิ่ม ราคาก็ต้องเพิ่ม)
หุ้น A ราคา 110 บาท ปันผล 11 บาท กำไรจากปีที่1 10 บาท รวมกำไร 31บาท
หุ้น B ราคา 120 บาท ปันผล 6 บาท กำไรจากปีที่1 5 บาท รวมกำไร 31บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
หุ้น C ราคา 130 บาท ปันผล 4.3บาท กำไรจากปีที่1 3.3บาท รวมกำไร 37.6บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
ดังนั้น กรณีที่ 2 ถ้าการเติบโต เป็นไปตลอดชีวิต หุ้น C จะกลายเป็นหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุด เพราะเป็นหุ้นที่มีการเติบโต ทั้งด้านกำไรและราคา สูงสุด

ดังนั้น ทั้ง 2 กรณีนี้ ทำให้ หุ้นบางตัว ปันผลต่ำตลอดชีวิต (เพราะมันเติบโต) หุ้นบางตัวปันผลเยอะมาก (เพราะไม่โต) นั่นเอง

แต่ก็มีปัญหาต่อ คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกินทั้งโลก)
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี 

=================================================================
*** ขอเปลี่ยนแปลง หุ้น PE 30 ปันผล 3.33% เป็น PE40 ปันผล 2.5%
**** ปันผลเอาออกไปเลยนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการคิด 

ปัญหาต่อมา คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกินทั้งโลก) 
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี 

สมมุติกรณีที่ 3
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1
แต่ เรามามองในปีที่ 5
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 207.36 รวมกำไร 144.57บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 384.16 รวมกำไร 311.52บาท
จะเห็นว่า ถ้า A B C ยังสามารถโตได้ในระดับเดิม หุ้นที่มีการฌตมากสุด ก็จะกำไรมากสุด

สมมุติกรณีที่ 4
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา 5ปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
เรามามองในปีที่ 5 เหมือนกรณีที่ 3
แต่ในปีที่ 5 หุ้น B และ C ดันโตเหลือ 10% เท่าหุ้น A ทำให้ PE ของหุ้น B และ C ลงมาทันที เหลือ 10
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 103.68 รวมกำไร 40.89บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 96.04 รวมกำไร 23.4บาท
ถือมา 5 ปี PE กลับมาเท่าเดิม กลายเป็นหายนะทันที

สมมุติกรณีที่ 5
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
ให้เป็น X ปี เพื่อที่เราต้องการจากหาว่า "ถ้าเราต้องการหุ้นที่ PEG 1 PE สูง การโตสูง เราจะต้องหาต่อเนื่องอีกกี่ปี

อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 11 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 25.94 ปันผลรวม 185.31 ราคา 259.37 กำไร 344.69
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 30.96 ปันผลรวม 160.75 ราคา 309.59 (ที่ PE 10)กำไร 370.34
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 19.49 ปันผลรวม 114.36 ราคา 194.87 กำไร 209.23
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 26.35 ปันผลรวม 85.99 ราคา 263.53 (ที่ PE 10)กำไร 249.52
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 12.44 ปันผลรวม 49.65 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 74.07
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.45 ปันผลรวม 40.81 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 75.27

กรณี 6 เป็นกรณีปันผล 50%
หุ้นส่วนใหญ่ ไม่สามารถปันผล 100% ได้ เราควรคิดปันผล 50% แทนบ้าง
หุ้น A กำไรต่อหุ้น 10บาท ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B กำไรต่อหุ้น 5บาท ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C กำไรต่อหุ้น 2.5บาท ปันผล 1.25 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10

อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 11.79 ปันผลรวม 79.69 ราคา 235.79 กำไร 215.48
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 12.9 ปันผลรวม 64.9 ราคา 222.89 (ที่ PE 10)กำไร 222.89
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 9.74 ปันผลรวม 57.18 ราคา 194.87 กำไร 152.05
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.18 ปันผลรวม 42.99 ราคา 206.53 (ที่ PE 10)กำไร
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 6.22 ปันผลรวม 24.82 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 49.24
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 6.72 ปันผลรวม 20.4 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 54.86

กรณีสุดท้ายล่ะ ขี้เกียจล่ะ
ถ้าเรามองเฉพาะปันผลอย่างเดียว (ปันผลสะสม) โดยไม่สนใจเรื่องราคา
หุ้น A B C เหมือนเดิม

หุ้น B จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 14 หุ้น B ปันผลสะสม 147.99 หุ้น A ปันผลสะสม 139.87
หุ้น C จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 10 หุ้น C ปันผลสะสม 87.27 หุ้น A ปันผลสะสม 79.69
หุ้น C จะแซง หุ้น B ที่ปีที่ 8 หุ้น C ปันผลสะสม 42.99 หุ้น B ปันผลสะสม 41.25

แสดงว่า การที่คนยอมซื้อที่ PE สูงๆ เพราะอ้างว่า มีการเติบโตที่สูงมากๆ จะต้องรู้ว่า จะโตได้สูงๆแบบนี้ อีกนานขนาดไหน ถึงจะคุ้มที่จะซื้อนะครับ

**** นี่ยังไม่รวมการเอาปันผลที่ได้ มาซื้อหุ้นกลับอีกทีนะครับ 


=======================================================================
สรุป

  1. ถ้าจะซื้อหุ้น PE สูงๆ โดยอ้าง PEG ว่า =1 ซื้อได้  ต้องมั่นใจว่าหุ้นที่เติบโตยาวนานพอ อย่างน้อย 5ปีขึ้นไป แล้วต้องยังโตได้อีกถึงจะโตน้อยลงก็ตาม 
  2. อันตรายจริงๆของหุ้น PE ระดับสูงมากๆ คือการปรับ PE ลง กลับมาอยู่ในจุดที่ควรอยู่ 
  3. ถ้าเป็นกรณีเอาปันผลมาซื้อหุ้นกลับด้วย จะน่าสนใจมากกว่านี้ เพราะหุ้น PE ต่ำ ปันผลสูง จะเพิ่มผลตอบแทนอีก ทำให้หุ้นเติบโต PE สูง เอาชนะได้ยากขึ้น ต้องใช้เวลามาขึ้นอีก 
ข้อควรระวัง
  1. เป็นเพียงทฎีษดี เท่านั้น (เขียนไม่ถูก)
  2. หุ้นแต่ล่ะตัวไม่เหมือนกัน ต้องระวังด้วย 



Thursday, August 15, 2013

ทดลอง Short MAKRO

เห็นมีคนถามถึงกรณี ที่ผม short MAKRO อยู่บ้างในเฟสบุ๊ค ก็เลยมาขออธิบายในนี้ล่ะกัน ไม่ได้เขียนมานานล่ะ

ทำไมถึง short MAKRO

สำหรับ MAKRO ที่ผม short ไป ด้วยเหตุผลหลักๆ ง่ายๆ คิดว่ามันจะลง เพราะราคาที่ CPALL ซื้อไป ผมดูว่ายังไงก็แพงเกินไป (PE เกือบ ราวๆ 50เท่า) ประกอบกับตลาดเข้าสู่ช่วงลงพอดี (จาก 1650 ลงมา 1400 โดยประมาณ) 

ตอนทีขึ้นไป 1014 เป็นราคา Celling ขาดทุนหนักมาก ทำไมไม่ขาย ใจแข็งมาก

ตอนนั้นขึ่นไป ผมก็ช๊อคเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่รู้สึก แต่คิดว่า ถ้ามันขึ้นไปขนาดนั้น คนซื้อจะได้อะไร PE65 มันเป็นไปไม่ได้ มีความรู้สึกอยาก short MAKRO เพิ่มอีก
กลัวขาดทุนนะ แต่คิดว่า ยังไงโอกาสลงมีสูงกว่าแน่ๆ เราก็เลยอดทนต่อไป แต่ก็เตรียมเงินไว้ เพื่อแล้ว

ทำไมไม่บอกคนอื่น

ทำถามยอดฮิตเลย ที่ผมไม่อยากบอกคนอื่น เพราะ
  1. ต้องเปิดบัญชี ยืมและให้ยืมหุ้น เพิ่ม 
  2. มีเรื่องดอกเบี๊ยเข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. มีโอกาสที่จะขาดทุนสูง จากการที่ผู้ให้ยืมหุ้น ขายหุ้น เราต้องซื้อคืนทันที 
  4. ความเสี่ยงเรื่องราคา (ขึ้นไปขนาดนั้น ถ้ามีคนตามผม ผมคงโดนด่าเละแล้ว) 
  5. ความเสี่ยงในเรื่องการเล่นข่าว อย่างข่าวที่ว่า หุ้นจะแตกพาร์ ก็เอาซะผมแย่เลย
  6. ความเสี่ยงในเรื่องที่ ราคาอาจจะไม่ลง หรือลงช้ามากๆ 
  7. ความเสี่ยงในเรื่องการตั้งกองทุน
เพราะเห็นว่าอันตรายกว่าการเล่นหุ้นลงทุนธรรมดาที่ผมใช้ ผมเลยไม่แนะนำดีกว่า 


สำหรับผมแล้ว ส่วนตัวผมมองว่า MAKRO PE น่าควรเกิน 40 อย่างดีๆ ก็ 35 ด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้ผมมองว่า มันน่าจะลงมากกว่านี้ สำหรับทุกวันนี้ ผมเองก็คงเพียงรอเวลาเท่านั้นเอง

Tuesday, June 4, 2013

เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ขอนอกเรื่องบ้าง ปกติชอบเขียนแต่เรื่องหุ้น

ค่้อยๆเปลี่ยนวิธีการดู

หลังจากที่ลงทุนมาระยะเวลานึง ไม่นานมาก ผมก็พบว่า ผู้บริษัท เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ในการเลือกบริษัทเลย

จากตอนแรกๆสุด ผมเน้นดูกราฟ (ช่วงที่พึ่งเล่น) โดยดูแนวโน้มว่า ราคานอกเส้นนู้นเส้นนี่ แต่สุดท้ายเหมือนจะหลงทาง เพราะมีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แล้วก็รู้สึกไม่เหมาะกับตัวเอง

ต่อมาผมก็มาดูเรื่องของ งบการเงิน โดยเชื่อว่าบริษัทที่งบดี น่าจะอนาคตดี อาจต้องรอต่อไปอีกพักใหญ่ๆก็ได้ แต่ก็คุ้มค่า แต่สุดท้าย ก็เจอทั้งหุ้นโภคภัทธ์ หุ้นที่ธุรกิจดีบางช่วงเล่นงานเอา ทำให้เกิดความเสียหายพอสมควร

ต่อมาผมก็มาดูเรื่องของ ธุรกิจ เป็นหลัก โดยคิดว่า ถ้าธุรกิจที่ดี ทุกอย่างมันจะดีไปเอง แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็เจอระเบิดที่ซ่อนอยู่ โดยผู้บริหารที่ ไม่ยอมบริษัทธุรกิจให้ดี แต่กลับไปบริษัืทราคาหุ้นให้ขึ้นลงตามที่เขาต้องการ

มาถึงสุดท้าย ผมก็พึ่งเ้ข้าใจ เวลาดูหุ้น ที่เขาแนะนำกันมา เขาบอกไว้ ให้ดู ธุรกิจ ดูงบ ดูรอบๆ ถ้าผ่านหมดเลย ให้มาดูผู้บริหารทีหลัง ถ้าผู้บริหารไม่ดี ทุกอย่างเป็นอันจบ



Wednesday, May 29, 2013

แอบดู SE-ED

==================================================================
update 3/6/2556

เรื่องหุ้น SE-ED มันเป็นหุ้นที่ปันผล คนที่ซื้อก็เน้นซื้อเพราะปันผล แต่ปัญหาคือ พอเพิ่มสาขา รายได้กลับไม่เพิ่มตาม ทำให้กำไรมันเริ่มลดลง แล้วปันผลก็ลดลงด้วย วิธีแก้ไขคือการเพิ่มปันผลโดยจ่าย pay out เพิ่ม แล้วก็เอากำไรสะสมมาจ่ายแทน แต่สุดท้ายแล้ว หุ้นที่ปัีนผลผิดปกติ (ปันผลมากกว่ากำไร) มันก็เป็นไปไม่ได้ และการที่ต้องการสร้างธุรกิจใหม่ ทำให้ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ต้องเอาเงินมาลงทุน สุดท้ายเลยงดจ่ายปันผล คังนั้น คนที่ซื้อเพราะหวังปันผล ย่อมผิดหวัง ทำให้เกิดแรงเทขายอย่างหนัก เท่านั้นเอง

ที่เหลือก็ดูว่า ธุรกิจนี้จะทำยังไงให้กลับคืนมา จะทำให้ร้านหนังสือกลับมาขายดี รายได้เพิ่ม อัตรากำไรดีขึ้นเมื่อไหร่ หรือโรงเรียนธุรกิจใหม่จะทำให้กลับมาดีหรือเปล่า
==================================================================

หุ้นตัวนึง ที่เคยถูกเรียกว่า "หุ้น VI" และปัจจุบันกลายเป็นตัวแทนสำหรับคนที่ลงทุนแนวอื่นๆ เช่นเทคนิค ข่าว ไสยาศาสตร์ ต่างๆ เอามายกตัวอย่างกันว่า

ลงทุนแบบ VI ด้วยหุ้น VI แล้วแบบนี้ หมายความว่ายังไง??

พร้อมตบท้ายด้วยเรื่องของวิธีการเล่นหุ้นในแบบขอตัวเองกัน ซึ่งก็ถูกกล่าวถึงเยอะมากๆ

ส่วนตัวแล้ว หุ้นVI มีจริงๆ แต่มันหมายถึงหุ้นที่มี มูลค่าสูงกว่าราคา ซึ่งหุ้นตัวเดียวกัน แต่ถ้า คนล่ะเวลาและคนล่ะราคากัน มันก็อาจเป็นหุ้น VI หรือหุ้นที่แพงเกินไปก็ได้แล้ว

ดังนั้นต้องบอกก่อนว่า หุ้น VI ที่น่าลงทุน จะเป็นช่วงเวลานึงในช่วงราคานึงเท่านั้น จะมาเหมาว่า หุ้นVI พร้อมซื้อได้ทุกราคา มันก็ผิดตั้งแต่แรกแล้ว

ช่างมันเถอะ มาดูหน่อยดีกว่า เห็นลงมาซะ หนาวเลยนะนี่


SE-ED : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)


มาดูธุรกิจกันดีกว่า 
  1. หนังสือ แน่นอน se-ed ก็ต้องเป็นหนังสือกับร้านหนังสืออยู่แล้ว สำหรับคนทั่วๆไปที่เดินผ่านไปมาก็ต้องเห็นอยู่ ในกลุ่มนี้ ก็จะผลิตหนังสือเป็นหลัก รวมไปถึงพวก CD ด้วย
  2. วารสาร มีทั้งหมด 7 ฉบับ เป็นรายเดือน
  3. การรับจัดจำหน่ายหนังสือ นอกจากพิมเองแล้ว บริษัทยังรับหนังสือที่อื่นมาขายด้วย 
  4. ธุรกิจร้านหนังสือ SE-ED BOOK CENTER ทั้งที่เปิดเองและที่รับบริษัทงานให้
  5. SE-ED Learning Center เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ อาคาร จตุีรัส จามจุรี (แถวจุฬา)
  6. โรงเรียนเพลินพัฒนา ตั้งแต่ อนุบาล - มัธยม
  7. ธุรกิจอื่นๆ ผลิตรายการ TV ด้วย 
ก็น่าสนใจดีเหมืิอนกัน แต่ก็ต้องดูรายได้หลักๆ
รายได้จากธุรกิจหนังสือ 95.45% 
แบ่งเป็น ขายปลีก 82.82% ขายส่ง 12.61% รับจ้างพิม 0.02%
รายได้วารสาร 0.93%
รายได้โรงเรียน 2.09%
รายได้อื่นๆ 1.53% 
* จากปี 55

เท่าที่ดู คงต้องดูการขายหนังสือเป็นหลักนะ

*Kiok หมายถึงแผงหนังสือขนาดเล็ก

เท่าที่เข้าใจ ยิ่งเปิดร้านมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งขายหนังสือได้มากขึ้นเท่านั้นนะ 
ปล. คิดง่ายๆ simple is best 
ปล2. คิดได้แค่นี้อ่ะ 



ไปขุดๆงบในอดีตดูก็พบว่้า หุ้นก็เติบโตได้เรื่อยๆ  แต่ไม่ได้สวยงามมากนัก สงสัยถ้าจะดูกันจริงๆ คงต้องดูก่อนหน้านี้อีก 2534 - 2548 จากกราฟจุดที่ขายทั้งหมด ขึ้นมาเยอะมากๆ งบการเงินน่าจะดูดีกว่านี้เยอะเลย ทั้งสาขาที่เปิดเยอะมาก อัตราการเพิ่มของสาขาสูงด้วย แต่ตั้งแต่ปี 2550-2553 ก็ยังดีอยู่ จนปี 2554 - 2555 ก็เริ่มดูไม่ดี แม้รายได้เพิ่ม

2554 ภาษีเงินได้ เสียมากขึ้น จาก 25% -30% เีรื่องน้ำท่วม เรื่องเพิ่มค่าแรง เป็นหลัก
2555 ยังมีปัญหาน้ำท่วมตามมา ค่าจ้างเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นใน 7 จังหวัดและปรับเงินเดือนเพิ่มในจังหวัดอื่นๆ 39.5% และรายได้ระดับ ปริญญาตรี 15000 บาทด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงหลังที่ผมเห็นนะ

  • ร้านหนังสือในเครือที่ SE-ED เปิดไป ค่อนข้างเยอะมากแล้ว การที่ยังเน้นขยายธุรกิจด้วยวิธีเดิมจะทำให้มันตันเอง (แต่ที่เห็นก็มีการเอาของเข้าไปขายนู้นขายนี่เพิ่มด้วย อย่างอุปกรณ์โทรศัพท์ พวกนี้ ก็น่าสนใจดี)
  • ร้านหนังสืออย่างของ B2S ของเซ็นทรัสที่ OFM กำลังลุย ร้านนายอิน ร้าน Asia book ของเสี่ยเจริญ (หรือเปล่า) ร้านไพรินขายหนังสือถูกๆ แล้วก็ร้านอื่นๆอีกมากมาย ที่ตอนนี้แข่งกันอย่างหนัก 
  • การเข้ามาของ E-book และคนไทยชอบของฟรีมากกว่า โหลดฟรีกันเลย
  • ค่าแรง 300 ปี 2556
งบไตรมาส 1/56


 ที่เขียนรายละเอียด
รายได้ลด จากธุรกิจค้าปลีก SSSG -10.48% รายได้หลัก
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าเช้า ค่าบริการ ค่าอื่นๆ เิพิ่ม 10.1%
ค่าจ้างที่เพิ่มต่อ
แม้จะลดกำไรสุทธิ ลง ก็ไม่ไหว

มาดูกัน รายได้จากการขายลดลง -3.5% เป็นรายได้หลักถึง 96.76%
แต่ต้นทุนลดลง -5.71% (***ปล. ตรงกำไรขั้นต้น ผมเขียนผิด)

ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหารเพิ่มขึ้น 10% โดยประมาณ

กำไรเลยหด -54.7%
กำไรสุทธิ -47.87%

ก็ถ้าตามที่ดูนะ

รายได้

  • ถ้าสามารถเปิด ธุรกิจใหม่ได้ โดยที่ทำให้รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นพอที่จะเปลี่ยนสัดส่วนรายได้ ก็จะน่าสนใจมาก

รายจ่าย

  • ถ้า SE-ED สามารถจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งบริหาร และการขายได้ 
  • เฉพาะเรื่องค่าแรง คิดว่าคงจะไม่เพิ่มไปอีกสักพักใหญ่ๆ 2-3 ปี มั้ง ก็อาจจะดีก็ได้ ถ้าได้ในราคานี้ 
อื่นๆ
  • ถ้าสามารถทำอัตราการทำกำไรให้เท่าเดิมได้ ก็จะดีมากเลย ที่ผ่านมาก็มีอัตรากำไรที่เดิม แต่พอเจอเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากๆ ก็ทำให้ควบคุมไม่ทัน ก็เลยทำให้กำไรสุทธิลงไปเยอะเลย 

ส่วนตัวแล้ว ก็น่าสนใจ แต่รู้สึกว่า อัตราการเติบโต ค่อนข้างจะยากอยู่เหมือนกัน

ปล. ความเห็นส่วนตัวล้วนๆนะครับ ศึกษาดู อย่าไปเชื่อผมมาก ผมแค่ไร้สาระไปวันๆ



Tuesday, May 14, 2013

บรรทึกช่วยจำ CPALL MAKRO

แหมเขียนกันเยอะ เอาบ้าง ตามกระแส

เรื่อง CPALL ซื้อ MAKRO เท่าที่เห็น ส่วนใหญ่จะเขียนเป็นระยะสั้นกันมากกว่า (ระยะ 2ปี) จากในบทความต่างๆและบทวิเคราะห์ และผลลัพธ์คือปรับประมาณการ เป้าหมายลงมา ไม่ก็แนะนำขาย หรอถือกันเป็นส่วนใหญ่

ส่วนคนเท่าไปที่คุย ก็มักจะบอกว่า หนี้เยอะปีนี้กำไรจะไม่ขึ้นในปีหน้า ไม่ก็กลัวเพิ่มทุน

เรื่องเพิ่มทุนก่อน

ส่วนตัวผมมองว่า ถ้าไม่เพิ่มทุนก็ดี เพราะจะได้ไม่มีตัวหารเพิ่ม แต่ถ้าเพิ่มทุน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าราคาเท่าไหร่มากกว่า แต่เชื่อว่าไม่น่าเพิ่มทุน อย่างน้อยผู้บริษัทก็เชื่อถือได้มากกว่าหลายๆตัว และถ้าเพิ่มจริงๆ CPF จะขนเงินมาจากไหนดี

แต่เอาเข้าจริงเรื่องการเพิ่มทุนที่คนกลัวกัน ผมรู้สึกขำมากเลย อย่างหุ้นตัวอื่น (ไม่ขอเอ๋ยนาม) หลายๆตัว พอประกาศเพิ่มทุน แต่หุ้นขึ้นไป แถมขึ้นแบบติด celling ด้วย คนแห่ซื้อกันใหญ่ บอกว่าดีอย่างนู้นดีอย่างนี้ ส่วนใหญ่ก็เพิ่มทุนเพื่อล้างหนี้ เพื่อทำธุรกิจใหม่ (ที่ไม่รู้จะดีหรือเปล่า) ก็คนก็แย่งกันซื้อแย่งกันเอา แต่CPALL ซื้อ MAKRO โดยรวมแล้ว มันน่าจะดีกว่า อย่างน้อยซื้อ MAKRO ที่ PE 50-60 ก็ยังดีกว่าหลายๆคนไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่แม้แต่กำไร ยังไม่เคยเห็นเลยนะ

ตกลงคนกลัวเพิ่มทุน หรือกลัวเพราะราคาหุ้นมันลงมาแรงกันแน่

เรื่องของหนี้เยอะ กำไรจะไม่ขึ้นในปีหน้า

มีความหมายคือ คุณมองสั้นๆใน ปี 2ปีเท่านั้น ซึ่งมันก็คงจะเป็นจริงล่ะ ถ้ากำไรไม่ขึ้นคงไม่ดี แต่ลองมองในแง่ถือยาวหลายปีดู สมุมติว่า CPALL ทำให้หนี้หมดได้ (เช่นจัดกองทุนอสังหา) ก็จะทำให้ กำไรจาก MAKRO เข้ามาเท่าไร CPALL ก็กำไรเพิ่มเท่านั้นเลย จากที่ต้องเปิดแต่ 7-11 กลายเป็นเปิดห้างใหญ่ได้อีก ลองมองไป 5 ปีดู ผมว่ามีอะไรดีๆอีกเยอะ แล้วอัตราการเพิ่มของกำไรเฉลี่ยผมว่าจะสูงขึ้นเยอะ

ส่วนตัวแล้วคิดว่า deal นี้ดีเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับว่า มองมุมไหน


Monday, April 29, 2013

-talk show ความคาดหวัง จิตวิทยา อยากเป็นมาร์

โหลดที่นี่  (ข้างบนทางขวา กด download)

ต้องขอบอกก่อนนะที่นี่ ผมไม่ได้เรียนจบสาขาจิตวิทยา ผมก็ไม่ได้รู้จริงรู้ลึกในเรื่องนี้

ที่ผมเขียน เกิดจากความเข้าใจส่วนตัว และเห็นว่ามันดี เลยขอเอามาพูด ในงานสัมมนา มุ่งเรียนรู้ สู่ความมั่นคั่ง และเอามาลงในบล็อคส่วนตัวด้วย

ในอนาคต ก็อาจจะได้ไปพูดให้มือใหม่ที่เข้ามาในตลาดได้อีก


ในส่วนนี้ผมหวังว่า

  • คนจะเข้าใจในเรื่องความคาดหวังที่น่าพอใจ
  • ความผิดพลา่ดที่เกิดขึ้นจากจิตใจตัวเอง (จิตวิทยา) ในมุมต่างๆ
  • คนที่คิดว่า มาร์ หรือ นักวิเคราะห์ได้เปรียบ รายย่อย จะเข้าใจได้ถูกต้อง 

สำหรับการพูด ผมไม่ได้คิดตังค์นะครับ เพราะผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญขนาดนั้น เป็นเพียงคนที่อยากแบ่งปันความรู้เท่านั้นนะครับ

*จะให้สนุก ก็ลองอ่านไป นึกถึงตัวเองไปนะครับ



----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความคาดหวัง จิตวิทยา Part 1
บทความสำหรับมือใหม่

เข้ามาในตลาด หวังอะไรกันบ้างครับ?
ทุกคนที่ผมรู้จัก รวมทั้งผมเอง หวังกำไรแน่นอน (มองกระจกตาก็เป็นเงินแล้ว) ไม่มีใครเข้ามาอยากแจกเงิน อยากจนหรอกครับ
มีคำถามมากมายที่ถูกถามขึ้น "มีเงินแสนนึง ขอกำไรวันล่ะพัน ก็อยู่ได้แล้ว" "ขอกำไรวันล่ะช่องได้ไม"
ต้องขอกล่าวถึงคนเก่งๆก่อน
บัตเฟต์ได้ 22% ต่อปีมา40ก่าปีแล้ว
ปีเตอร์ลินได้29% ต่อปีมา13ปี
ดร.นิเวศน์ ได้ 40%ต่อปีมา 16ปี
*ผิดพลาดขออภัยครับ

เงินฝากออมทรัพย์ 1-2%
ฝากประจำ 2ปี 2-3%
ดอกเบี๊ยราวๆ 6-7%

ซึ่งลองคิดเล่นๆดู ถ้าได้ 24%ต่อปี คิดว่าทำได้ไม ส่วนใหญ่ทุกคนที่ฟังผม มักบอกว่าไม่ได้ เพราะ ขนาดเซียนยังได้แค่นั้น
ลองมาแตกดูเป็นช่วงเวลาที่แคบลง
24%ต่อปี 2%ต่อเดือน 0.5%ต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 1ช่องต่อสัปดาห์

ที่กลับมาเรื่องคำถามในตอนแรก "มีเงินแสนนึง ขอกำไรวันล่ะพัน ก็อยู่ได้แล้ว" "ขอกำไรวันล่ะช่องได้ไม"
มีเงินแสน กำไร พัน ก็คือวันล่ะ 1% ส่วนทำกำไรวันล่ะช่อง คือวันล่ะ 0.5%
ซึ่งถ้าเปลี่ยนเป็นกำไรต่อปีแบบไม่ทบต้น จะได้ประมาณ 200% กับ 100% ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่คนที่เข้ามาในตลาดใหม่ๆ ตั้งเอาไว้ (รวมทั้งผม)
*แต่ในอีกหลายๆคน ก็เข้ามาด้วยความหวังที่ต่ำกว่านั้นเยอะก็มีนะ

ซึ่งความคาดหวังระดับนี้ ไม่ได้รวมค่าคอมไว้ด้วย

ถ้าคนที่ไม่ได้อ่านบทความนี้ คงบอกว่า ค่าคอมนิดเดียวเอง ประมาณ 0.2 %ต่อครั้งเอง
ลองคิดดีๆ ถ้า 0.2%ต่อครั้ง วันนึงซื้อไปกลับ ก็เสีย 0.4%ต่อวัน หรือประมาณ 80% ต่อปี

แค่ซื้อขายทุกวัน จนสิ้นปี ถ้าคนกลุ่มนี้กำไรได้ แสดงว่าเขาทำกำไรได้มากกว่า 80%ต่อปี ซึ่งต้องบอกว่า เซียนจริงๆนะครับ แต่ผมเชื่อว่ามีจริง เพียงแต่พอหักค่าคอมอาจจะเสมอตัว เลยดูธรรมดาไปหน่อย

ในช่วงนี้ก็ต้องยอมรับหน่อย หลายๆคนได้กำไรทำให้มีความสุขกันทุกคน เงินก็ไหลเข้ามาจากความโลภของคน เพราะตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น การที่คนบางคนจะซื้อๆขายๆ จนได้กำไรทุกวัน เลยเป็นเรื่องปกติไป และดูเหมือนว่าจะทำได้

ยังไงก็ตาม ก็อยากฝากเรื่องความคาดหวังกันไว้ อย่าคาดหวังกันเยอะเกินไป เพราะหลายๆคนมองแค่เป็นวันๆเท่านั้นนะครับ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความคาดหวัง จิตวิทยา Part 2
บทความสำหรับมือใหม่

เรื่องการลงทุนของหน้าใหม่ หลายคนชอบพูดว่า "มีเงินน้อย ขอลงทุนแบบง่ายๆได้ไม" "ไม่อยากศึกษามากเพราะเงินน้อย" "ขอหุ้นเลยได้ไม ตัวไหนขึ้น"

เรื่องมีเงินน้่อย เลยขอลงทุนแบบง่ายๆ หรือไม่อยากศึกษามาก เพราะเงินน้อย ต้องบอกตรงๆว่าเรื่องนี้เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนกลุ่มนี้รวยยาก

ผมพบคนหลายคนที่รวยไปแล้ว แต่เขาเริ่มจาก 0 เลย มีหลายๆคนเริ่มจากติดลบด้วยซ้ำ แต่ทุกคนล้วนพยายาม ศึกษา อดทน อย่างหนักเป็นช่วงเวลานึง จนเจอแนวทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นนักลงุทนระยะยาว หรือระยะสั้น (ในที่นี้ระยะสั้นหมายถึง ไม่ถึงปี) นักเทคนิคต่างๆ

คนหลายคนต้องเริ่มจากการคลำทางหาช่องทางเองด้วยซ้ำ หลายคนเอาชีวิตเข้าแลกกันทีเดียว (เอาเิงินที่มีทั้งหมดในบ้าน มาลงทุนในตลาด ถ้าพลาดก็จบ) กว่าพวกเขาจะมาถึงจุดที่เขาอยู่กันได้ทุกวันนี้ ก็ช้ำไปทั้งตัวเหมือนกัน

ต้องบอกว่าคนสมัยนี้ได้เปรียบ มีหนังสือดีๆมากกว่า(มีแปลไทยด้วย) บทความดีๆในอินเตอร์เน็ต มีเวปไซด์การลงทุนที่ดี มีการเปิดสอนเรื่องหุ้นเรื่องการลงทุนต่างๆ* มีทุกรูปแบบเท่าที่มนุษย์จะสรรหาได้ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนระยะยาว การลงทุนระยะสั้น(รายไตรมาส) การลงทุนจิตวิทยา การลงทุนเทคนิคที่แตกสาขาได้อีกเยอะ (เช่น EMA MACD RSI แต่ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่) การลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคพันธ์ การลงทุนด้วยญาณทิพย์(พวกเอาดวงเอาดาวมาดู ซึ่งผมก็ไม่ขอพูดอะไรมากในส่วนนี้)
*ต้องระวังเรื่องการเปิดสอนเรื่องต่างๆด้วย บางครั้งอาจทำให้เราเสียเงินโดยใช่เหตุ สำหรับผม การเปิดโอกาสไปหาเพื่อนๆร่วมลงทุนน่าจะดีกว่า ตามงานต่างๆ มีมติ้ง หรือมีการจัดสอนฟรี

นอกจากนั้นก็ยังมีคนเก่งๆ ที่ออกมาบอกตามเฟสบุ๊ค เพจ เวปไซด์ต่างๆอย่าง pantip หรือเวปอื่นๆ ที่ออกมาแนะนำหุ้นต่างๆในช่วงนั้นๆ (แต่ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงว่า ทุกท่านจะเข้าไปหาหุ้นเด็ด หรือขอหุ้นคนอื่นนะครับ แต่อยากให้ไปดูความคิดของเขาดู ว่าเขาคิดยังไง ทำไมถึงเป็นแบบนั้นมากกว่า)

นั่นทำให้ผมรับรองเลยว่า คนสมัยนี้ สบายกว่าสมัยก่อนเยอะ ในเรื่องการหาข้อมูลต่างๆ แต่ก็มีปัญหานิดหน่อย บางทีข้อมูลมันเยอะเกินไป ทำให้เกิดปัญหาในแง่ข้อมูลเสียบ้าง แต่ก็ต้องฝึกฝนกันต่อไป

ยังไงถ้าอยากจะรวย ก็ต้องศึกษาว่าจะรวยยังไง ไม่มีใครมาป้อนอาหารเราตลอดหรอกนะครับ แต่ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ หาคนที่ไว้ใจได้จริงๆ หรือไปหากองทุน ด้วยตัวเองก็ยังดีนะครับ การที่ไม่อยากศึกษา ก็เหมือนกับการจะทำธุรกิจ แต่ไม่รู้อะไรเลย สุดท้ายเงินทั้งหมดที่ลง ไม่ว่าจะเยอะหรือน้อย มันก็จะค่อยๆสูญเสียจนหมดไป

ส่วนกรณีขอหุ้นเลยได้ไม ส่วนตัวแล้ว ผมมองแยกเป็น 3 กรณี

1.มีหุ้น ให้หุ้นไป กรณีนี้ มันเหมือนว่า อยากให้คนซื้อเยอะๆ หุ้นจะได้ขึ้น ก็กลายเป็นเรื่องปั่นหุ้นไป ซึ่งแน่นอน ส่วนใหญ่หลายคนที่เชียร์หุ้น ให้หุ้น ก็น่าจะเป็นแบบนี้เยอะ

2.ไม่มีหุ้น แต่ให้หุ้นไป กรณีนี้มีน้อย มันแปลกๆ ไหนว่าหุ้นดี ทำไมคุณไม่มีล่ะ น่าคิดเหมือนกัน แล้วทำไมไม่ให้หุ้นที่มี แสดงว่ามันอาจจะดี แต่เราก็ไม่มั้นใจ จะเห็นบ่อยๆ ในรายย่อยทั่วไป คือรู้มาว่าดี แต่ไม่กล้าซื้อ หรือเพราะไม่มีเงิน ก็เป็นได้

3.ไม่บอกหุ้น กรณีนี้มีน้่อย ที่จริงมันก็ดี แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบ ประมาณว่ามีอะไรดีๆเก็บไว้คนเดียว แต่ที่จริงแล้วกรณีนี้่ เป็นอะไรที่ดีที่สุดในระยะยาวมากกว่า

หลายๆคนคงตั้งคำถาม ว่าทำไม ถึงไม่ยอมบอกหุ้นกัน ต้องบอกว่า แต่ละคนมองไม่เหมือนกัน ผมเองก็เคยโดนด่า เพราะเขามาถามหุ้นว่าแนะนำอะไร ผมก็แนะนำตามปกติ (ถือเป็นปี) แต่พอเขาซื้อปัป มันลงปุ๊ป ในวันนั้นเลย เขาเลยมาต่อว่าผม ซึ่งผมเชื่อว่า หลายๆคนที่เลิกให้หุ้นไป เพราะเรื่องนี้นี่ล่ะ มุมมองไม่เหมือนกัน

แล้วการขอหุ้นที่ผมเห็นบ่อยๆ คือขอหุ้นที่ขึ้นเลย ขอหุ้นที่ติด celling ขอหุ้นที่จะขึ้นในไม่กี่วัน(ปกติมักไม่เกิน 2วัน) ต้องอธิบายก่อนว่า นอกจากคนที่มีเงินเยอะจริงๆ ที่เขาต้องการซื้อหุ้นอย่างหนัก ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็ไม่มีใครสามารถบอกได้แล้วว่า หุ้นตัวไหนจะขึ้นแรง หรือขึ้นเมื่อไหร่ หลายคนคิดว่าเซียนๆ หรือคนที่อยู่ห้องค้ามานาน สามารถบอกได้ เพราะหลายครั้งเขาก็บอกถูก แต่ถ้าดูดีๆ เขาบอกเมื่อหุ้นขึ้นแล้ว หรือเขาบอกผิดแล้วคุณก็ลืมไปอย่างรวดเร็ว

เขียนมาเยอะเริ่มออกทะเล ก็ขอสรุปในส่วนนี้นะครับ

ถ้าอยากรวย ให้เริ่มศึกษา ขยัน ในช่วงแรก ลองผิดลองถูก เหนื่อยหน่อย อดทนอดออม เก็บตังค์ไปเรื่้อยๆ ถ้ามาถูกทาง รวยแน่นอนครับ ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้นหลายๆปีนะครับ

อีกนิด หลายคนก็คงเชื่อว่า อย่าง วอแรน บัตเฟต เขาคงรวยอยู่แล้ว เขาเลยรวยที่สุดในโลก ผมอยากให้ลองอ่านประวัติเขาดูนะครับ อย่าง ดร.นิเวศ ก็เหมือนกัน หนังสือเล่มนึงที่ผมแนะนำของคุณ skyforever ก็น่าสนใจ เรื่อง 1ล้านบาทแรก ในชีวิต อยากให้อ่านดู



ก่อนจบเรื่อง ความคาดหวัง ในบทต่อไป เรื่องจิตวิทยา (ไม่เครียดครับ ขำๆ)

อยากให้คิดเล่นๆ ถ้ามีเงิน 100 บาท ฝากให้บัตเฟต์ช่วยทำกำไรปีล่ะ 22% ต่อปี เป็นเวลา 40ปี จะได้เท่าไหร่
สำหรับคนที่ตอบ 500 ,1000 ,2000 หรือ 1หมื่นบาท ผิดหมดเลยนะครับวิธีคิด เอา 1.22ยกกำลัง 40 คุณ 100 ก็จะได้คำตอบครับ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความคาดหวัง จิตวิทยา Part 3
บทความสำหรับมือใหม่

ความมั่นใจเกินขนาด overconfidence

เป็นความมั่นใจเกินไปของมนุษย์ที่มักจะมองตัวเองในแง่ดีซะส่วนใหญ่ อย่างตั้งคำถามง่ายๆ ตลาดหุ้นมีผลตอบแทยเฉลี่ยประมาณ 12% ต่อปี (เริ่มจากปี 1975 เจอในเน็ต) และถ้าถามทุกคนที่เข้ามาในตลาด ว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ เชื่อว่าทุกคนคิดว่าตัวเองจะได้มากกว่า 12%ต่อปีแน่นอน จาก part 1 ส่วนใหญ่คาดหวังประมาณ 100% ต่อปี ด้วยซ้ำ (วันล่ะ 0.5-1%)

เปลี่ยนคำถามหน่อย ถ้าเกิดถามคนที่ขับคนอยู่ ว่าตัวเองขับรถดีกว่าค่าเฉลี่ยหรือเปล่า แน่นอน 70-80% ตอบว่าขับดีกว่าค่าเฉลี่ย แต่ในความจริงแล้ว คนที่จะดีกว่าค่าเฉลี่ยได้ ก็ควรมีไม่เกิน 50%เท่านั้น แสดงว่าทุกคนมีความมั่นใจเกินขนาด

รู้ไมธุรกิจเกิดใหม่ มักจะล้มใน 5ปีแรก 90% แต่เวลาคุยกับเจ้าของธุรกิจ เกือบทุกคนจะบอกว่าธุรกิจของจะไม่ล้มใน 5ปีแรกแน่นอน และจะกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แปลกแต่จริง

กลับมาเรื่องหุ้น ลองถามคนที่เข้ามาในตลาดอีกครั้ง "มั่นใจว่าเข้ามาในตลาดจะได้กำไรหรือเปล่า" แน่นอนทุกคนที่เข้ามาในตลาดย่อมหวังกำไรอยู่แล้ว แล้วใครขาดทุน? ถ้าคนส่วนนึงได้กำไร ต้องมีคนส่วนนึงขาดทุนแน่นอน

 นอกจากนั้น การมั่นใจเกินขนาด ยังทำให้นักลงทุน ซื้อขายบ่อยขึ้นด้วย ด้วยความเชื่อที่ว่า จะสามารถซื้อถูกขายแพงได้ตลอดเวลา

ผมเคยเอากราฟให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ดู ดูกราฟจากอดีต เกือบทุกคน แทบจะบอกเหมือนกันว่า ให้ซื้อจุดนี้ ขายจุดนี้ ซื้อๆ ขายๆ และผลลัพธ์ออกมาคือ ทุกคนทำกำไรมากกว่าการถือหุ้นนิ่งๆเป็นเท่าตัวเลย

จากนั้นผมเปลี่ยนรูป เอาหุ้นที่ ถ้าถือยาว ได้กำไรพอๆกับหุ้นก่อนหน้านี้ แต่ค่อยๆเลื่อนทีละวัน ให้เลือกซื้อ หรือขาย วันล่ะ 5วินาที สุดท้ายทุกคน ไม่มีใครได้กำไรเท่ากับการถือหุ้นเฉยๆเลย พอขึ้นหน่อยก็ขายกัน ยิ่งเพื่อนขาย ก็ยิ่งขายกันใหญ่ พอขึ้นแรงๆ ก็แห่ซื้อ มีคนพยายามเอาเทคนิคมาใช้ด้วย แล้วก็มาคุยกันตอนจบว่า รู้งี้ไม่ขายดีกว่า หรือรู้งั้ ขายตรงนี้ ซื้อตรงนี้ดีกว่า

สุดท้ายผมเอาหุ้นมาอีก 2 แบบ คือหุ้นที่ ไม่ไปไหนเลย กับหุ้นที่ แย่ลงเรื่อยๆ ผลลัพธ์ก็ค่อนข้างจะเสียหายอย่างหนักในหลายๆคน

*คนที่ลองมีประมาณ 10 คน แต่คนล่ะรอบกัน และไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อนด้วยซ้ำ

ในตรงนี้ผมยังไม่ได้ให้รวม ค่าคอม ค่าเคาะซื้อเคาะขายด้วยซ้ำ
*ค่าคอมประมาณ 0.2% ไปกลับ 0.4%
*ค่าเคาะซื้อเคาะขาย ประมาณ 0.5-1% หมายถึง ถ้าจะซื้อ คุณมักจะเคาะซื้อที่ offer และถ้าคุณจะขาย ก็มักจะเคาะขายที่ Bid เลย ซึ่งโดยปกติ จะต่างกัน 1 ช่อง

เรื่องความมั่นใจเกินขนาด ยังทำให้หลายๆคน เลือกซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงมากขึ้น (เช่นหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าบาท เพราะ%ในการขึ้นลงจะสูงกว่าหุ้นราคามากกว่าบาท หุ้นที่มีข่าว มีการปั่นของราคา) หรืออนุพันธ์ เพราะเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากส่วนต่างของช่วงที่ขึ้นแรงลงแรง และการเล่นหุ้นกลุ่มนี้ มักทำให้เห็นกำไรเยอะๆในระยะอันสั้น ซึ่งทำให้นักลงทุนรู้สึกดี แต่ในระยะยาวแล้ว การเล่นหุ้นกลุ่มนี้มักจะทำลายผลตอบแทนระยะยาวมากกว่า

เป็นเรื่องน่าสนใจ หุ้นที่พึ่งขึ้นแรงๆ มักจะมีคนหันมามองกันเยอะ และมีบทความเยอะ เชียร์หุ้นตัวนั้นๆ ซึ่งในระยะสั้นๆ มักจะดูดีเพราะได้กำไรกันส่วนใหญ่ แต่ในระยะแล้ว การซื้อหุ้นที่ลงแรงๆ มักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการซื้อหุ้นที่ขึ้นแรงๆ (ว่าเป็นปีต่อปี)

ความมั่นใจเกินขนาดยังทำให้เกิด "ภาพลวงตาอีกด้วย" ทำให้คนคิดว่า เขามีพลังวิเศษ

อย่างกรณีเราเลือกซื้อหุ้นเอง เรามักคิดว่าหุ้นที่เราซื้อ จะขึ้นมากกว่าที่คนอื่นซื้อให้ (กองทุน) กรณีนี้ถ้าจะเห็นให้ชัดๆ คือ หวย หลายคนชอบฝัน ชอบคิด เลขขึ้นมา แล้วไปซื้อด้วยความมั่นใจว่า เลขนี้ มีโอกาสถูกกว่าเลขอื่น ก็มีให้เห็นบ่อยๆ

เรื่องลำดับผลลัพธ์ ว่าถ้าหุ้นตัวนึงขึ้น อีกตัวต้องขึ้น เช่นช่วงนึงที่ SSC เปลี่ยนผบ เปลี่ยนธุรกิจ ทำแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา เลยขึ้นมาเยอะมาก แต่หุ้น HTC ก็ขึ้นมาด้วย เพราะเห็นว่าธุรกิจคล้ายกัน หรืออย่างกรณี เสี่ยเจริญที่หุ้นตัวไหนขึ้น ตัวที่เหลือจะตามกันหมดเลย BJC SSC OISHI GOLD UV พวกนี้

เรื่องความคุ้นเคยของเหตุการณ์ เช่น ถ้าดอกเบี๊ยลด ธนาคารจะแย่ อสังหาจะดี มีQE ทองจะขึ้น หุ้นจะขึ้น

บางครั้งอย่างกรณีลำดับผลลัพธ์ ความคุ้นเคยมันก็กลายเป็นจริงได้ เพราะพอทุกคนคิดเหมือนกัน ซื้อพร้อมกัน หุ้นก็จะขึ้นจริงๆ ก็ยิ่งทำให้ทุกคนมั่นใจเหมือนกันว่า ลำดับผลลัพธ์ หรือความคุ้นเคยของเหตุการณ์จะเป็นจริง กลายเป็นภาพลวงตาที่เป็นจริงขึ้นมา ก็มีให้เห็นบ่อยๆ

หลังจากภาพลวงตาเป็นจริง ทุกคนก็จะยิ่งมั่นใจกันมากขึ้น ภาพลวงตายิ่งหนักขึ้น เป็นผลลัพธ์ทำให้คนทุ่มเงินกับหุ้นหนักขึ้นไปอีกเรื่อยๆ (ถ้ามองในแง่มูลค่า คุณกำลังซื้อหนักขึ้น ในราคาที่แพงขึ้นเรื่อยๆ)

สรุปเรื่องความมั่นใจเกินขนาด
คนทุกคนมักจะคิดว่าตัวเองอยู่เหนือค่าเฉลี่ย เป็นผลให้หลายๆคนพยายามเพิ่มผลตอบแทนจนเสียหาย และการที่มีความมั่นใจเกินขนาด ก็ทำให้เกิดภาพลวงตาขึ้นมา ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายในการลงทุนระยะยาวด้วย


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความคาดหวัง จิตวิทยา Part 4
บทความสำหรับมือใหม่


ความภาคภูมใจ และความเสียใจ (Pride & Regret)

ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของความดีใจและความเสียใจตามหัวข้อเลย ซึ่งเพราะเรื่องความดีใจและเสียใจทำให้หลายคนขาดทุนมากเลย ถ้าเรามาลองเข้าใจตัวเองดู เราอาจจะลงทุนได้ดีขึ้นก็ได้

ลองสมมุติง่ายๆดู ถ้าผมถือหุ้น A อยู่นาน สักพัก มีคนมาแนะนำหุ้น B จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ถ้าผมยังเลือกหุ้น A ต่อ แต่หุ้น B ดันขึ้นจริงๆ ผมจะเสียใจแน่นอน เรียกว่า "ความเสียใจจากการละเลย" คือมีคนมาแนะนำ แต่ผมไม่ทำ ผมเลยพลาด

แต่ถ้าผมขายหุ้น A ทิ้ง แล้วมาเลือกหุ้น B แทน แล้วหุ้น A ที่ผมถือมานาน ดันขึ้น ผมก็เสียใจอยู่แล้ว เรียกว่า "ความเสียใจจากการลงมือทำ"

โดยพื้นฐานแล้ว ไม่ว่าผมจะอดกำไรหุ้น B จากข้อแรก หรืออดกำไรจากหุ้น A จากข้อสอง ผมก็ควรจะเสียใจเท่ากัน ถ้าอดกำไรเท่ากัน

แต่ไม่ใช่เลย เรื่องของจิตใจจะทำให้คุณรู้่สึกเสียใจจากการลงมือทำ มากกว่า เสียใจจากการละเลย ลองดูตัวเองดู เวลาคนอื่นมาบอกหุ้น แล้วหุ้นเขาที่บอกขึ้นตอนเราไม่มี หรือ หุ้นเราดันขึ้นเมื่อขายไปแล้ว อันไหนเจ็บกว่ากัน

เหตุการณ์นี้ทำให้คนกลุ่มนึง ที่ถือหุ้นบางตัวมาอย่างยาวนาน ไม่อยากขายหุ้นที่ถือ แม้ว่าธุรกิจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม เพราะเขากลัวที่จะ เสียใจจากการลงมือทำ หรือเสียใจเมื่อขายแล้วขึ้น

เรื่องของความภูมิใจ และความเสียใจ ก็ยังมีมากกว่านั้น

คนส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงความเสียใจ และพยายามหาความภูมิใจมากกว่า เขียนแบบนี้คงจะงงกันหมดล่ะ

สมมุติ ผมมีหุ้น A กำไรอยู่ 20% และหุ้น B ขาดทุน 20% คิดว่าผมจะขายตัวไหนเอ๋ย?

นักลงุทนส่วนใหญ่มักจะขายหุ้น A ทำกำไรไปก่อน และเก็บหุ้น B ที่ขาดทุนไว้ เพราะการขายหุ้น A ออกมาทำให้นักลงทุนกลุ่มนั้นเกิดความภูมิใจ ได้กำไรแล้ว แต่หุ้น B ที่ขาดทุน เขาจะไม่ยอมขาย เพราะเขากลัวว่ามันจะขาดทุนจริง ดังวลีที่ว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" เป็นผลลัพธ์ทำให้ นักลงทุนกลุ่มนี้ เก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้มากในพอร์ท

นอกจากนั้น ในจำนวนเงินเท่าๆกัน ที่กำไร และขาดทุน คนจะให้ความรู้สึกเสียใจจากการขาดทุนรุนแรงกว่า ภูมิใจจากกำไร เท่าตัว (มีคนไปศึกษามาแล้ว)

และความภูมิใจ และความเสียใจในเรื่องกำไร หรือ ขาดทุน ยิ่งมาก ความรู้สึกจะขึ้นน้อยลงเรื่อยๆ
เช่น ความรู้สึกเมื่อมีเงิน 1แสนบาทแรก คุณจะรู้สึกดีใจ หลังจากนั้น พอคุณเก็บเงินได้ 1ล้านบาท คุณก็จะดีใจมากกว่าคุณเก็บเงินแสนบาทแน่นอน แต่มันไม่ได้ภูมิใจเป็น 10 เท่า มันแค่มากกว่าเท่านั้น
*ลองดูในภาพนะครับ



ในส่วนนี้ก็เป็นเหตุผลที่จะบอกเรื่องแรก ทำไมไม่ขายหุ้น B ที่ขาดทุน 20% ไปด้วยพร้อมหุ้น A ที่กำไร 20% เพื่อให้ผลลัพธ์ ไม่ขาดทุน ไม่กำไร

เพราะคนส่วนใหญ่ รู้สึกขาดทุนรุนแรงกว่ากำไร ทำให้ไม่กล้าขายออกมา

เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของ จุดอ้างอิง Reference Points

สมมุติ คุณมีหุ้น A คูรซื้อที่ ราคา 50 บาท ไม่นานนักหุ้นตัวนี้ วิ่งไปถึง 100 บาท จากนั้นไม่นาน มันก็ค่อยๆไหลลงมา ที่ 75 บาท ถ้าคุณขายหุ้น A ไป จะรู้สึกยังไง

ตามหลักการแล้ว ควรจะดีใจ เพราะว่าคุณขายได้กำไร 25 บาท แต่ผลจริงๆกลับไม่ใช่ เพราะคุณกำลังเสียใจว่า "ขาดทุนกำไรไป 25 บาท" เพราะมันเคยขึ้นไปถึง 100 บาท แต่กลับไม่ได้ขายไป ทั้งที่ในความเป็นจริง แทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย ที่จะขายได้จุดสูงสุด

*การที่จะขายได้จุดสุงสุด ซื้อที่จุดต่ำสุด มีทางเดียว คือคุณต้องเงินเยอะมากๆ เลยถล่มซื้อ ถล่มขายได้ นอกนั้น ฟลุ๊ค

นักลงทุนส่วนใหญ่มักเอาจุดสูงสุดของหุ้นตัวนั้นๆ มาเป็นจุดอ้างอิงเสมอ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า แนวต้านนั้นเอง (ทุกคนอยากจะขายที่จุดสูงสุด เลยตั้งๆกันไว้)

ผลของจุดอ้างอิงจะทำให้ คนพยายามขายหุ้นที่ จุดสูงสุดให้ได้ ทำให้ขายเร็วเกินไปในหุ้นที่ new high หรือหุ้นบางตัวราคาขึ้นไปตลอดเวลา ก็จะทำให้ คนส่วนใหญ่ ขายไปกันหมดอย่างรวดเร็วมาก

นอกจากนั้น จุดอ้างอิงยังมีผลในเรื่องของการพยายามซื้อด้วย โดยคนมักจะอ้างอิงจุดต่ำสุดเสมอ ในส่วนนี้ ทำให้คนหลายๆคน มักเข้าไปซื้อเวลาหุ้นตกแรงๆ เพราะรู้สึกว่า มันต่ำสุดแล้ว โดยรวมก็คล้ายๆกับ จุดอ้างอิงเวลาขาย ทำให้คนหลายคน ซื้อเร็วเกินไป เพราะคิดว่าตัวเองจะซื้อที่จุดต่ำสุดมากกว่า

สรุปเรื่อง ความภูมิใจ และความเสียใจ
ผลลัพธํที่เกิดขึ้นคือ คนมักจะรีบขายหุ้นที่มีกำไรไปเร็วมาก ทั้งเรื่องของความดีใจ และ พยายามขายในจุดที่คิดว่าจะได้กำไรมากที่สุด (ราคาสูงสุดจากราคาในใจ) ในรอบเล็กๆนั้น แต่จะเก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้ เพราะไม่อยากเสียใจเวลาขาดทุน และมักจะซื้อหุ้นที่กำลังลงมา (อาจจะเกิดจากราคารายวัน หรือธุรกิจเปลี่ยน เข้าสู่สถาวะที่แย่ลง) อย่างรวดเร็ว ทำให้ขาดทุนอย่างหนัก

โดยเท่าไปแล้ว จะทำให้ผลตอบแทนแย่ลงเรื่อยๆ และจะได้ยินคำว่า "ถ้าหุ้นขึ้นไปที่ .... อีกรอบ ผมจะขาย" หรือ "ถ้าหุ้นลงไปที่ ... อีกรอบ ผมจะซื้อ" ซึ่งเป็นเรื่องของจุดอ้างอิง