Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 21 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.กรณีที่มีเรื่อง mbo อยาก case svi เข้าใจว่าเป็นผลดีเพราะว่า
ในแง่ของผู้ถือหุ้นเดิมนั้นได้ขายหุ้นเยอะและกดดันไม่ให้ราคาหุ้นไปได้
แต่กรณี svi ผู้ถือหุ้นรายใหม่อย่าง mfg น่าจะไม่มีแรงกดดันเรื่องนี้
อยากถามว่า case mbo ในต่างประเทศเวลาทำมักจะทำเพราะอะไรครับ เพราะว่าผู้ถือหุ้นเดิมไม่ถูกกัน หรือว่า เหตุผลอะไรบ้างครับที่จะทำให้เกิดการทำ mbo

- .mbo ในต่างประเทศ ที่ทำเพราะว่าผู้บริหารถือหุ้นอยู่น้อย แต่เห็นว่าราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานมาก และผู้บริหารมีความเข้าใจธุรกิจดีอยู่แล้ว และมีมุมมองที่ดีเกี่ยวกับอนาคตธุรกิจ จึงอยากเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจนั้น และประกอบกับผู้ถือหุ้นก็อาจจะอยากขายหุ้นอยู่ด้วย ผู้บริหารก็เลยทำ management buy out หรือ mbo ซึ่งเงินทุนก็จะมาจากการกู้ธนาคาร ซึ่งจะมีสถาบันการเงินที่สามารถปล่อยกู้ให้ผู้บริหารนำเงินไปซื้อกิจการได้ครับ หากผู้บริหารไหนมีเงินก้อนใหญ่ๆ มาทำ mbo โดยไม่กู้เงิน หากผู้บริหารกลุ่มนั้นๆ ไม่ได้ร่ำรวยมาแต่ก่อน ก็น่าแปลกใจว่าเอาเงินจากไหนมาซื้อ ดังนั้นส่วนใหญ่ mbo จึงต้องเป็นการกู้เงินครับ หรือที่เราอาจะเรียกว่า leverage buy out ครับ

Leverage buy out เดี๋ยวนี้ลามไปถึงวงการกีฬาครับ อย่างเจ้าของปัจจุบันของทีม Man Utd และ Liverpool ก็ทำ leverage buy out คือ กู้เงินมาซื้อหุ้นของสโมสรเหมือนกันครับ

อย่างไรก็ตาม การทำ mbo หรือ leverage buy out ก็มักจะทำให้หนี้ของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้นเพราะผู้บริหารที่ทำ mbo ก็อาจจะเปลี่ยนหนี้ส่วนตัวให้มาเป็นหนี้ของบริษัทแทน กล่าวคือ ก็อาจจะมีการกู้เงินมาจ่ายปันผลออกมาเพื่อให้ผู้บริหารนำเงินไปคืนหนี้ส่วนตัวที่กู้มาอย่างที่ SVI ทำได้ครับ

2.การทำ mbo ของตปท มักจะค่า d/e สูงมากใช่ไหมครับ
แล้วมีการเก็บสถิติไหมครับว่าหลังจากทำ mbo แล้วผลตอบแทนของหุ้นจะเป็นยังไง เพราะว่า roe จะสูง แต่ d/e ก็สูงฉะนั้นหลังจากทำ mbo เราต้องคอยดูว่าบริษัทจะจัดการกับหนี้สินยังไงถูกไหมครับ
แล้วมีอะไรเพิ่มเติมไหมครับ

- ถ้าเป็นบริษัทที่เดิมที d/e ต่ำอยู่แล้ว การที่ d/e เพิ่มขึ้นมาแต่ยังอยู่ในระดับที่พอรับได้ เช่น ไม่เกิน 1.5 เท่า ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากครับ ส่วนผลตอบแทนหลังจาก mbo ก็น่าจะมีการศึกษาอยู่ในต่างประเทศแต่ผมยังไม่มี paper ในมือครับ อย่างไรก็ตาม ตามทฤษฎีหรือหลักจิตวิทยา คนก็เชื่อว่าหลังทำ mbo แล้วกำไรหรือการเติบโตน่าจะดีกว่าตอนก่อนทำ mbo เพราะการที่ผู้บริหารเปลี่ยนรูปแบบการรับผลตอบแทนจากเงินเดือนและโบนัสในฐานะลูกจ้าง มาเป็นเจ้าของซึ่งได้รับเงินปันผลและกำไรหรือขาดทุนส่วนต่างของราคาหุ้นด้วย ก็อาจจะทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้นครับ

3.พี่พอจะเล่าได้ไหมครับว่า case mbo ของ phatra มีความต่างจาก case svi ยังไง ทำไม phatra ถึงทำ mbo

- ผู้บริหาร Phatra รวมตัวกันซื้อหุ้นจาก Merill Lynch ทั้งหมดครับ ซึ่งตอนนั้นเหตุผลที่ Merill ขายผมไม่ทราบเหมือนกัน แต่อาจจะมีมุมมองว่าธุรกิจหลักทรัพย์เมืองไทยอาจจะไม่ค่อยแจ่มใสนักเพราะมีเรื่องค่าคอมมิชชั่นเสรี ส่วนราคาที่ขายเท่าที่ทราบมาก็ยังต่ำกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่มาก ผมพอทราบราคาแต่มันเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นทางการจึงไม่อยากที่จะอ้างอิงตัวเลขครับ ผู้บริหารภัทรยุคปัจจุบันถือว่าเป็นคนเก่งมากของวงการทีเดียวครับ ทีมงานก็ค่อนข้างแข็งทั้งในส่วน Investment banking , Research , Sale สถาบัน หรือทีม marketing high net worth

4.ถ้าเราซื้อ prop fund ที่ราคาต่ำกว่า nav จะถือว่ามี mos ไหม บางคนอาจจะบอกว่าไม่ได้มีกฎอะไรที่ราคา prop fund จะต้อง trade สูงกว่า nav ดังนั้นจริงๆแล้ว nav บอกอะไรกับเราได้บ้างครับ

- NAV มันเป็นการหามูลค่าสินทรัพย์โดยวิธี Income approach หรือ NPV ซึ่งเกิดจากการประมาณค่าเช่าและอัตราการเช่าในอนาคตครับ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับตัวเลขสมมุติฐานและที่สำคัญคือ discount rate ครับ นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่อง free hold และ lease hold ก็มีผลต่อการคำนวณ NAV ค่อนข้างมากด้วยครับ คือ ถ้าเป็น leasehold จะใช้กระแสเงินสดถึงปีที่หมดอายุสัญญาเช่าและอาจจะบวกความน่าจะเป็นในการต่อสัญญาเช่าเข้ามาด้วยครับ

5.พี่ ih มองว่า mcs นั้นถูกเรื้อรังเหลือไม่เพราะว่าเป็นบริษัทที่ roe แทบไม่ต่ำกว่า 20%เลยเกือบทุกปีและมีปันผลสูงระดับเกือบ 10% pe ตัวนี้ก็เล่นกันแค่ 4-5 เท่า หนี้ก็ไม่มี มีเงินสดเยอะมาก

- ตัวธุรกิจของ mcs อาจจะเข้าใจยากครับ หากเปลี่ยน mcs เป็น mint cpall bh bgh แล้ว p/e 5 เท่าและ dividend 10% หากมีราคานี้ผมคิดว่านักลงทุน VI คงไล่เก็บไม่เหลือแล้วล่ะครับ ผมคิดว่านักลงทุนหลายคนอาจจะมองออกว่าธุรกิจอย่าง bh bgh makro hmpro bigc cpall se-ed อีก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่สำหรับ mcs ผมคิดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร หรือ mcs หากไม่มี ดร. ชิ แล้วจะเป็นอย่างไร หลายคนรวมทั้งผมอาจจะมองไม่ออก

p/e จะสูงหรือต่ำ อาจจะเปรียบเทียบเหมือนกับเราขับรถครับ ถ้าเรามองเห็นไปได้ไกล เราก็กล้าขับเร็ว เปรียบเหมือนหุ้นที่เราเห็นอนาคตได้ชัดและไกลกว่า เราก็กล้าให้ p/e สูงกว่า ส่วนถนนที่เราเห็นได้ไม่ไกล มีหมอก เราก็ไม่กล้าขับเร็ว ก็เหมือนหุ้นที่เรามองอนาคตยาวๆ ไม่ออก เราก็ให้ p/e ต่ำกว่าครับ

แต่เราจะได้กำไรมากๆ หากเรามองอะไรได้ไกลกว่าคนอื่นๆ ครับ บางธุรกิจคนอื่นๆ อาจจะไม่เข้าใจหรือมองภาพยาวๆ ไม่ออก หากเราเข้าใจและมองภาพยาวออกว่ามันดีกว่าคนอื่น เราก็จะได้กำไรสูงในหุ้นตัวนั้นได้ครับ


6.การคำนวณมูลค่าหุ้นประกันโดยใช้ embedded value =net worth+vin เห็นว่า nw เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือว่าสมเหตุสมผลหรือไม่เนื่องจากทุนจดทะเบียนคงไม่ค่อยเกี่ยวกับมูลค่าหุ้นเพราะไม่ยั้งงั้นบริษัทเพิ่มทุน net worth สูงขึ้นมูลค่าหุ้นประกันก็สูงขึ้นสิครับ

- บริษัทที่เพิ่มทุน แม้ net worth สูงขึ้น แต่จำนวนหุ้นที่เพิ่มก็ทำให้ net worth ต่อหุ้นอาจจะลดลงได้ครับ

7.การที่ aia มียอดขายประกันลดลงเป็นเพราะคนไม่เชื่อมั่นเนื่องจากมีปัญหาตอนวิกฤติสถาบันการเงินหรือไม่ถ้าใช้หลังจากผ่านวิกฤติไปแล้วเหตุการณ์คลี่คลายจะทำให้ aia เริ่มกลับมาแย่งแชร์ของประกันเจ้าอื่นๆกลับไปหรือไม่

- ก็เป็นไปได้ส่วนหนึ่งครับ แต่เหตุผลหนึ่งที่ส่วนแบ่งตลาดของ AIA ลดลงเป็นเพราะตอนนี้รูปแบบการขายประกันเป็นการขายแบบ saving มากขึ้น และการขายผ่านธนาคารเป็นช่องทางใหม่ในการเติบโตที่สูง ในส่วนของ AIA ไม่มีธนาคารในเครือจึงเสียเปรียบในการขายประกันแบบ saving ครับ

8.การที่สามารถลดหย่อนภาษีประกันได้เพิ่มเป็น 100000 หมายความว่าถ้าผมทำประกันชีวิต1 แสนบาทแล้วผมต้องเสียภาษี 2 แสนบาทผมก็เสียเหลือ 1 แสนบาทเหรอครับ หมายความว่าเงินที่ทำประกันมูลค่าเท่าไหร่ผมก็สามารถเอามาลดภาษีได้เท่านั้นเลยใช่ไหมครับ

- ไม่ใช่ครับ 100,000 จะไปลดจากฐานที่ใช้คำนวณภาษีครับ เช่น หากรายได้ 800,000 บาทต่อปี เบี้ยประกันจะไปลดให้รายได้ที่ใช้คำนวณภาษีลดจาก 8 แสนเหลือ 7 แสนครับ ดังนั้นส่วนที่ประหยัดภาษีคือ 100,000 คูณด้วยฐานภาษีครับ

9.การที่ยอดของ bla ส่วนใหญ่เป็นแบบ endowment ตามที่ผมเข้าใจ มันคือแบบออมทรัพย์ที่ผมต้องจ่ายเบี้ยต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อย 7 ปีใช่ไหมครับถ้าใช่มีคำถามดังนี้
9.2ถ้าบริษัทไหนมีสัดส่วนของ endowment เยอะถ้าเทียบกับส่วนอื่นๆก็จะดีกว่าเพราะรายได้จะต่อเนื่องกว่า

- จำนวนปีการจ่ายเบี้ยของ endowment ยังน้อยกว่าประกันตลอดชีพหรือ whole life ครับ แต่จะยังต่อเนื่องกว่า single premium หรือแบบจ่ายครั้งเดียวครับ ดังนั้น ประกันที่มีสัดส่วน whole life มากจะมีลูกค้าต่อเนื่องไปจนถึงลูกค้าเสียชีวิตครับ

9.3แบบ endowment จะต้องเสียค่าคอมให้ตัวแทนน้อยกว่าหรือไม่ครับเพราะว่าทยอยจ่ายไม่เหมือนแบบจ่ายครั้งเดียวเยอะๆ ซึ่งตัวแทนน่าจะได้ค่าคอมเยอะกว่า

- จาก research ของ tisco บอกว่า แบบ saving ให้ margin สูงกว่า whole life และ group insurance ครับ ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะการขายผ่าน bank จะเสียค่าคอมมิชชั่นน้อยกว่าการขายแบบ whole life ที่ส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทน นอกจากนี้ การขายแบบ saving มักจะไม่พ่วงประกันสุขภาพเหมือน whole life ทำให้ margin สูงกว่าเพราะเบี้ยประกันสุขภาพเป็นเบี้ยที่บริษัทประกันจะไม่ค่อยได้กำไร หรือขาดทุนด้วยครับ


9.4ถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นบริษัทประกันจะได้หรือเสียประโยชน์เพราะว่าก็ต้องจ่ายผลตอบแทนมากขึ้นแต่ในทางเดียวกันก็เอาเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ได้มากขึ้นเหมือนกันแบบนี้ถือว่า offset หรือไม่ครับ

- หากดอกเบี้ยขึ้น บ. ประกันชีวิตจะได้ประโยชน์จากกรมธรรม์เก่าๆ ที่จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่จะได้รับผลกระทบตรงที่คนอาจจะทำประกันแบบ saving น้อยลงครับ

10.การเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นประกันอย่าง bla กับหุ้นประกันต่างประเทศนั้นจะเหมาะสมไหมเช่นบทวิเคราะห์บางที่บอกว่า pe pbv ของ bla สูงกว่าหุ้นประกันเมืองจีนแต่ว่า roe สูงกว่า ประเด็นคือผมไม่แน่ใจว่า growth นั้นจะเหมือนกันหรือไม่ และทางการของจีนจะสนับสนุนการทำประกันเหมือนของไทยหรือไม่

- การสนับสนุนของทางการจีนผมไม่มีข้อมูลเหมือนกันครับ ตอนนี้หุ้นประกันเมืองจีนมี p/e 25-30 เท่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดจีนมี p/e สูงกว่าตลาดบ้านเราค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ผมไปดูข้อมูลของ บ. China life insurance แล้วเห็นว่า growth ยังไม่ได้สูงกว่าประกันชีวิตในบ้านเราอย่าง BLA SCNYL มากนักครับ

11.พี่ ih คิดว่าเพราะอะไร persistency rate ของ bla ถึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมครับ สิ่งที่จะสื่อว่าตัวแทนขายมีคุณภาพกว่าหรือเปล่าครับ

- อืม ผมเองก็ไม่ทราบเหตุผลนี้เหมือนกันนะครับ ยังนึกหาเหตุผลไม่ออกเหมือนกันครับ มันก็น่าจะหมายความว่าตัวแทนน่าจะตามเบี้ยได้ดีกว่าที่อื่น แต่ผมเองก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นนะครับ

12.การคำนวณในแวลู่ในส่วนของ vif อย่างของ โบรกแห่งนึงซึ่งคุณก็รู้ว่าใครคิดnpv ของอีก 10 ปีข้างหน้าได้ออกมา 7.96 งงเล็กน้อยปกติ npv จะคิดเพียงแค่ 5 ปีเท่านั้นไม่ใช่หรือถ้าคิด 10 ปีมูลค่าหุ้นก็จะเพิ่มอีกเยอะเลยสิ

- npv จะคิด 5 ปีหรือ 10 ปีก็ควรจะได้ค่าไม่ต่างกันครับ เพราะหากคิด 5 ปีก็จะต้องคิด terminal value ด้วยครับ คล้ายๆ กับเราจะหา Npv ของหุ้นที่มีกระแสเงินสดที่แน่นอน เช่น makro cpall cpnrf การคิด 5 ปีหรือ 10 ปีไม่ควรได้ค่าที่แตกต่างกันมากครับ เพราะมันคือกิจการเดียวกันครับ

13.ในส่วนของ vnbโบรกที่คุณก็รู้ว่าใครว่าต่อไปว่าให้ใช้มูลค่าของธุรกิจปัจจุบัน * ตัวคุณ ซึ่งก็คือ roe-g /coe-g ซึ่ง long term growth ได้ออกมาที่ 8% ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นจนถึงปีที่ 99 หรือเปล่าถ้าใช้จะสูงเกินไปหรือไม่ครับ

- ผมไม่ค่อยเข้าใจที่มาของสูตรนี้เลยครับ ปกติในการคิด npv ไม่ควรใช้ g= 8% อยู่แล้วครับ เพียงแต่ผมรู้สึกว่าสูตรนี้ไม่น่าจะบอกอะไรเราได้เลยไม่ได้ให้ความสนใจกับการใช้ค่า g ในสูตรนี้ครับ

13.2และเขาใช้ coe ที่ 11.6% เพื่อสะท้อนความเสี่ยงในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดหรืออย่างไรเพราะว่ามันสูงกว่าหุ้นที่มีรายได้ stable ทั่วไปหรือเปล่าครับ

- coe ปกติแล้วแต่ละ broker อาจจะมีค่ากลางครับ ซึ่งบางทีมักจะ apply ใช้กับหุ้นทุก sector เลยก็มีครับ คือ บางทีผมเห็นใช้ coe เท่ากันระหว่างหุ้นอสังหาฯ กับค้าปลีกก็ยังมีครับ

13.3ในกรณีนี้ถ้าปีหน้า cash flow ต่อหุ้นที่ผมคำนวณได้ 1.5 ผมก็ใช้ 1.5 * ตัวทวีคูณ vnb ของปีหน้าจะได้เป็น 6.9 จาก 5.82 ในปีหน้าถ้าปีนี้ cashflow ต่อหุ้นทำได้แค่ 1.26 ถูกไหมครับ

- ถ้าใช้ตามวิธีที่ว่านี้ก็ใช่ครับ แต่ตามสูตรนี้ตัวคูณมันได้ 4.8 เท่า ซึ่ง value of new business ได้ประมาณ 5-6 บาท การที่ value of new business เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของ current business กำลังจะสื่อว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ใกล้จะอิ่มตัวแล้ว ซึ่งสำหรับธุรกิจประกันชีวิตยังไม่น่าเป็นอย่างนั้นครับ

อย่างไรก็ตาม research ที่พูดถึงนั้นเป็นของ ASP แม้ว่าอาจจะมีประเด็นต่างๆ ผมไม่เห็นด้วยอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็น research ที่มีการ valuation ได้ตรงตามหลักการมากที่สุดครับ มี research อีกเจ้าหนึ่งเอา p/e ของประกันชีวิตไปเทียบกับ p/e บ. ประกันภัย ซึ่ง 2 ธุรกิจนี้ growth ต่างกันเยอะมากครับ

13.4เวลาคำนวณในส่วนขของ cash flow per share ที่จะคูณ กับ multiple เราตั้งสมมุติฐานคร่าวๆว่า ค่านายหน้า 30% ค่าใช้จ่ายอื่น 10% ค่าสินไหม 30% แบบนี้ถูกต้องไหมครับ

- เค้าน่าจะใช้ cost structure ใกล้เคียงกับปัจจุบันอยู่ครับ cash flow ตามประมาณการก็เป็น

13.5ค่าใช้จ่ายอื่นนี้เช่นค่าเช่า ค่าน้ำไฟ ถูกไหมครับ

- ตรงนี้ไม่แน่ใจนะครับ แต่คิดว่าคงเป็นค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างซึ่งเป็นการรายย่อยๆ ที่ไม่สามารถแยกรายการออกมาได้ครับ

คุณ ih ครับ ภาค 22 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

หุ้นประเภท economic cycal นั้นไม่ได้มี five force model ที่ดีมากนักเนื่องจากจะถูกกดดันจากแรงบีบของลูกค้าเมื่อลูกค้าได้ order เพิ่มเพราะลูกค้ามักจะใหญ่กว่าตัวเอง
ที่นี้ หุ้นแต่ละตัวก็คงจะมี model ที่แตกต่างกันรวมไปถึง pe ที่แตกต่างกันด้วย
เท่าที่สังเกตุมีหุ้นที่ pe ค่อนข้างจะสูงอยู่สองตัวคือ stanly ,sat
ผมดูแล้วมีความคล้ายกันในแ่ง่ของ roe ที่สูงกว่า 20% เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีย้อนหลัง
คำถามคือ

1 roe ที่สูงโดยเฉลี่ยน่าจะมีส่วนที่ทำให้หุ้น pe สูงด้วยใช่หรือไม่เนื่องจากมันสะท้อนถึงโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมและผลตอบแทนที่กลับมาในส่วนของผู้ถือหุ้นได้ค่อนข้างดี

-   ครับ ควรจะเป็นอย่างนั้นครับ หุ้นที่มี roe ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นหลายตัวก็เกิดจากการไม่มีหนี้เลยและอีกทั้งอาจจะสะสมเงินสดไว้กับตัวมากเกินไปด้วยครับ รวมถึงหลายตัวก็มีประสิทธิภาพในการทำกำไร ( net margin ) และประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ ( ROA ) ที่ต่ำ

2.stanly มี roe ที่สูงและ d/e ที่ต่ำแต่ sat มี roe ที่สูงและ d/e ที่สูง
นั้นแสดงว่า roe ของ sat มีโอกาศเกิดจากการที่ใช้ equity น้อยเมื่อเทียบกับ debt
ดังนั้น roe ของ sat คุณภาพไม่น่าจะสู้ของ stanly ได้ ไม่ทราบว่าคิดว่าเกี่ยวหรือไม่

-  ถ้า ROE เท่ากัน หุ้นที่ D/E ต่ำกว่าจะน่าสนใจกว่าเพราะแสดงว่ามี ROA สูงกว่าครับ และมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่า ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือน port การลงทุน 2 พอร์ต ให้ผลตอบแทนการลงทุน 40% ต่อปีเท่ากัน พอร์ตแรกไม่ใช้ margin loan เลย แต่ port ที่ 2 ใช้ margin 70-80% พอร์ตแรกย่อมดีกว่าครับเพราะเสี่ยงน้อยกว่าและมี roa สูงกว่า

3.ในทางกลับกันถ้าเราเจอบริษัทที่ d/e ต่ำแต่ roe สูงในที่นี้ผมสมมุติคำว่าต่ำคือ น้อยกว่า 0.5 ลงไป เราจะสามารถพูดได้ไหมว่านี้คือบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ดีแต่มีโครงสร้างทางการเงินที่ conservative เกินไปเพราะถ้าบริษัทกู้มากขึ้นและใช้ส่วนของทุนน้อยลงจนทำให้ d/e สูงขึ้นไป .8-.9 บริษัทก็ยังไม่ถึงขั้นเสี่ยงแต่ผู้ถือหุ้นจะได้ return สูงขึ้น กรณีตัวอย่างบริษัทนี้คือ stanly

ต้องดูประเภทธุรกิจด้วยครับ ธุรกิจที่ high operation risk คือ พวกที่เป็น economic cyclical ไม่ควร take financial risk มากไปครับ อย่างกลุ่ม auto ก็ถือว่าเป็น economic cyclical ครับ คล้ายๆ กับว่าถ้าเรามีอาชีพที่มีรายได้สูงแต่ไม่มั่นคง ถ้าจะซื้อบ้านซื้อรถควรซื้อเงินสดหรือถ้าผ่อนควรจะผ่อนให้สั้นที่สุด ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาหรือดารา ไม่ควรซื้อบ้านเงินผ่อน 30 ปีครับ ธุรกิจที่จะ take D/E ได้สูงๆ คือธุรกิจที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น ( low economic cylical ) หรือหุ้นที่มีรายได้จากค่าเช่าที่ค่อนข้างมั่นคงเช่น CPN Ticon หรือ SF ครับ

อีกธุรกิจหนึ่งที่มี operating risk สูงแต่กลับมี D/E สูงซึ่งเสี่ยงมากคือ สถาบันการเงิน เพราะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะมี NPL เกิดขึ้นมากในขณะที่ D/E ของสถาบันการเงินสูงถึง 5-10 เท่า ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทีไรจะต้องมีสถาบันการเงินล้มละลายหรือปิดตัวไป แม้จะอยู่รอดได้แต่ราคาหุ้นก็ตกต่ำมากและจำเป็นต้องเพิ่มทุน แม้แต่สถาบันการเงินในสหรัฐก็หนีไม่พ้น ดังนั้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบถือลืมถือยาวไม่ควรไปถือหุ้นสถาบันการเงินครับเพราะเป็นหุ้นที่ไม่ปลอดภัยในภาวะวิกฤติ

อีกพวกที่ มี high operating risk แต่ high p/e ( financial risk ) ก็คือหุ้นโรงกลั่นและสายการบินครับ ถ้าไปดู track record หุ้นเหล่านี้จะไม่ค่อยให้ long term return ที่ดีเท่าไหร่ครับ

4.การดู roe ของหุ้นอสังหาริมทรัพย์นั้นดูเหมือนจะไม่ใช่ประเด็นที่ตลาดจะตีค่า pe ให้สูงเช่นบริษัท spali ที่มี pe ค่อนข้างต่ำแต่มี gm ที่สูงและ roe ที่สูงแต่พอไปดูตัวเลขเช่น inventory turnover แล้วค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทเช่น ps จุดนี้จะสะท้อนถึงงบกระแสเงินสดได้ใช่ไหมว่าบริษัท develop ที่มีการขายเร็วและ stock น้อยจะมีเงินสดสูงกว่าจึงทำให้ pe ของ ps สูงกว่า แบบนี้เราจะบอกได้หรือไม่ว่าหุ้น develop นั้น roe ,gm อาจจะเป็นประเด็นรองสำหรับตลาดในการให้ pe ถ้าเทียบกับความสามารถในการขายเร็วและบริหาร stock

- ถ้า Roe สูงแต่ inventory turnover ต่ำก็จะทำให้การเติบโตต้องใช้ working cap มากซึ่งก็จะทำให้ D/E สูงขึ้นและอาจจะนำมาซึ่งการจ่ายปันผลใน % ที่ลดลงและตามมาด้วยการเพิ่มทุนได้ครับ กรณีของ ps สามารถเติบโตได้ด้วยการพยายามลด inventory turnover ลงไปมากจึงทำให้เพิ่มยอดขายได้มากโดยที่ D/E เพิ่มไม่มากเกินไปและทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน


5.ในทางกลับกันการตีค่าของ pe ที่ตลาดให้ในหุ้นอิเล็กทรอนิก ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นอยู่กับประเด็นไหน เช่น kce มี gross margin ที่สูงระดับเกิน 20% มาจากความสามารถในการบริษัทจัดการที่ดีขึ้นของเสียลดลง แต่ดูเหมือนตลาดจะให้ pe ไม่สูงเท่าหุ้นพวก hana delta smt ซึ่งในกรณีนี้ผมเดาว่าตลาดคงเห็นว่าความสามารถในการทำกำไร และ roe ของ kce สู้หุ้นตัวอื่นที่กล่าวมาไม่ได้เพราะวัดจาก roe ย้อนหลังหลายๆปีแล้ว roe ของ kce เพิ่งจะมาดี ดังนั้นเราพอจะสรุปได้ไหมว่า หุ้นกลับตัวหรือมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นแม้ว่าอัตราการทำกำไรเช่น gm จะสูงมากแทบเรียกได้ว่าสูงที่สุดแต่ตลาดก็อาจมองว่าไม่ stable จึงไม่ปรับ pe
กรณีนี้นำมาซึ่งคำถามคือ

5.1ถ้า kce สามารถรักษาระดับกำไรขั้นต้นที่สูงต่อเนื่องได้พี่ ih คิดว่าเขาจะมีโอกาศได้ปรับ pe ไปเท่าตัวอื่นไหม หรือต้องดูว่าใครมี capex ในการรักษาความสามารถทางการแข่งขันสูงและต่อเพิ่มเติมหรือมีประเด็นไหนเพิ่มเติมอีก

- ที่ kce มี p/e ไม่สูงนัก น่าจะมาจาก 2 สาเหตุหลัก อย่างแรกคือ D/E ที่ 2 เท่ากว่าๆ สูงเกินไปสำหรับหุ้นในกลุ่มนี้ที่รายได้มีความผันผวนกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งการที่มี d/e สูงทำให้มี fixed cost คือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าหุ้นคู่แข่ง ซึ่งหากรายได้ลดลงก็เสี่ยงที่จะขาดทุนได้ สาเหตุที่ 2 ก็เกี่ยวข้องกับสาเหตุแรกอยู่บ้างคือ การที่ kce มีประวัติการทำกำไรที่เคยขาดทุนสลับกับกำไรมาก่อนเลยทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของการทำกำไรจึงไม่กล้าให้ p/e สูงขึ้นครับ นอกจากนี้การที่ d/e ของ kce สูงขนาดนั้นน่าจะสะท้อนว่า kce น่าจะเป็นหุ้นที่ต้องมีการลงทุนสูงเพื่อขยายการผลิตหรือเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันครับ

5.2ในทางกลับกันดูเหมือน smt จะ pe สูงมากทั้งๆที่เพิ่งเข้าตลาดได้ไม่นาน ผมคิดว่าอาจจเพราะเป็นบริษัทสามารถสื่อให้กับนักลงทุนเข้าใจว่าบริษัทอจะสามารถเจาะสินค้าที่เป็น high growth ได้ ไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรครับ

ดาราที่รับงาน presentor มากที่สุด อาจจะไม่ใช่ดาราที่หน้าตาดีที่สุดหรือนิสัยดีสุดก็ได้ครับ เรื่องการสร้างภาพลักษณ์และสร้างเสน่ห์ความตื่นเต้นก็สำคัญ จะเห็นได้เลยว่าดาราระดับ top ที่มีสินค้าในมือมากๆ จะต้องมีข่าวออกสื่อประจำไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวเมาท์ก็ตาม สำหรับหุ้นที่ถามมานี้ตั้งแต่เข้าตลาดก็มี growth ให้เห็นและผู้บริหารก็ทำการสื่อสารกับนักลงทุนได้ดีครับ หุ้นที่มี p/e สูงก็แสดงว่านักลงทุนคาดหวังการเติบโตอยู่พอสมควร ส่วนราคาหุ้นระยะยาวจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทจะ deliver growth ได้ตามที่นักลงทุนคาดหวังไว้ ( ค่อนข้างสูง ) ได้หรือเปล่า

6.กรณีหุ้น cpf นั้นทำให้ได้เห็นว่าหุ้น cycle ในยุคหลังได้เปลี่ยนไปเพราะ cycle เกษตรใครๆก็บอกว่าสั้น cpf ไม่เคยทำกำไรได้ดีติดต่อกันสองปี แต่ปรากฏว่าหักปากกาเซียนก็คือ ราคาหมูไก่ของปี 2010 สูงต่อเนื่องและกำไรก็ทำ new high ซ้ำพร้อมกับราคาหุ้นที่ขึ้นไปต่อจากจุดที่ทุกคนมองว่าแพงแล้วอีกเป็นเท่าตัว

ในทางกลับกันบริษัทแพ็คเกจจิ้งอย่าง ptl aj นั้นถ้าคนซื้อซื้อตอน pe ต่ำมากๆช่วงที่หุ้นลงไป bottom ปลายปี 2008-ต้นปี2009 ตอนนั้น pe จะต่ำมากแต่ได้ราคาต่ำและราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปแรงมากและถ้าขายที่จุดพีค pe ก็ค่อนข้างสูง สูงในที่นี้นับทั้งกำไร 4 ไตรมาสย้อนหลังและกำไรคาดการณ์จบปี 2553

ดูเหมือนกับว่าหลักการซื้อหุ้น cycle ที่ ลินบอกว่าซื้อตอน pe สูงๆขายตอน pe ต่ำๆจะใช้ไม่ได้กับหุ้น cycle รอบล่าสุด

ไม่ทราบมีความเห็นอย่างไรครับ


-  CPF ถ้ามอง 5-10 ปีย้อนหลังจะเห็นว่ารายได้เติบโตมาตลอด และตัวธุรกิจเองก็มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งก็ควรจะดีมานานแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ CPF ไม่ perform มาตลอดก็คือ net margin ที่ต่ำและผันผวนทำให้เกิดความไม่มั่นคงของกำไร แต่ตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นมา CPF มี net margin ที่สูงขึ้นตามลำดับและเริ่มมีความมั่นคงของกำไรมากขึ้น รวมถึงทางผู้ถือหุ้นใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญของราคาหุ้นหรือ wealth ในตลาดหุ้นมากขึ้นมาก จึงทำให้นักลงทุน re-rated p/e มาเป็น p/e ของหุ้นจากหุ้น cyclical ที่มีกำไรไม่แน่นอนที่มักจะได้ p/e ต่ำมาเป็นหุ้น food ที่มีกำไรค่อนข้างแน่นอนและได้ p/e สูงขึ้นตาม แต่ระยะยาวๆ ก็คงต้องดูความสม่ำเสมอของกำไรอีกทีครับว่าสิ่งที่นักลงทุนคิดจะเป็นไปตามนั้นไหม แต่การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่สนใจเรื่อง wealth มากขึ้นนั้นช่วยได้เยอะเลยครับ ตามที่ผมเคยเขียนบทความเรื่อง “ Wealth หลักของผู้ถือหุ้น น่ะครับ



7.ในมุมกลับกันหุ้น psl ที่ต้นปี 2003 มีกำไรปี 2002 ประมาณ 400 กว่าล้าน market cap 500 เศษๆ pe ก็แค่ 1 เท่าเศษและหุ้นขึ้น 20 กว่าเด้งในปีเดียว ถึงแม้กำไรปี 2004 จะโตต่อจาก ปี 2003 แต่หุ้นก็ไม่ได้ขึ้นต่อแล้ว ซึ่งก็กลายเป็นว่าขายปี 2003 ปลายปีดีกว่า ซึ่งก็เข้าข่ายซื้อหุ้น cycle pe ถูกไปขายตอน pe แพงเช่นกัน
ซึ่งต่างจากหลักการที่คนส่วนใหญ่พูด
ไม่ทราบมีมุมมองว่าอย่างไรครับ

- Psl นั้นมาจากจุดที่นักลงทุนแทบจะลืมไปแล้วว่ามีหุ้นกลุ่มเรือในตลาดหุ้น และไม่มีใครสนใจทำการวิเคราะห์จริงจังเลย ดังนั้น psl จึง trade ที่ p/e ต่ำในช่วงที่ธุรกิจกำลัง bottom out จึงทำให้คนที่ลงทุนในช่วงนั้นจึงได้กำไรค่อนข้างมากและหลังจากนั้นหุ้นกลุ่มเรือก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ถ้าเรามาดูในปัจจุบันแม้ว่าหุ้นกลุ่มเรือจะอยู่ในวัฎจักรขาลง แต่หุ้นเรือก็ยังถูกติดตามในระดับหนึ่งและยังมีบทวิเคราะห์ติดตามอยู่พอสมควร ถึงทำให้ p/e หุ้นเรือในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงคือประมาณ 20 เท่า ( คิดเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานโดยไม่รวมกำไรจากการขายเรือ ) เพราะนักลงทุนเชื่อว่าเมื่อกำไรดีขึ้น p/e ก็จะลดลงมาเอง ดังนั้นขาลงรอบนี้ต่างจากรอบที่แล้วเพราะรอบนี้ยังมีคนสนใจอยู่พอสมควรเพราะภาพการทำกำไรหลายๆ เท่าของขาขึ้นรอบก่อนยังติดตาติดใจอยู่ครับจึงทำให้ราคาหุ้นและ p/e ไม่ได้ลดลงไปมาก แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าวัฎจักรเรือยังห่างไกลจากจุดต่ำสุดเยอะครับเพราะค่าระวางเรือต่อวันในปัจจุบันยังอยู่ที่ 9,000-10,000 เหรียญต่อวันซึ่ง bottom รอบก่อนค่าระวางเรือลงไปถึง 4,000-5,000 ต่อวัน ซึ่งค่าระวางเรือในปัจจุบันที่ 1 หมื่นเหรียญนั้นยังไม่ได้ทำให้เรือเก่าที่มีอายุ 30 ปีปลดระวางเลยเพราะ cash operating cost ของการเดินเรืออยู่ที่ 4-5 พันเหรียญจึงทำใหเรือเก่าๆ ที่หมดภาระค่าเสื่อมและดอกเบี้ยแล้วสามารถวิ่งได้สบายๆ เมื่อเรือเก่าไม่ปลดระวางในขณะที่เรือที่สั่งต่อใหม่ยังเข้ามาเรื่อยๆ ก็ทำให้ค่าระวางเรือก็ไม่สามารถเป็นขาขึ้นได้ครับเพราะยังอยู่ในภาวะ oversupply

8 ไม่ทราบว่าคุณ ih มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการฟื้นตัวของหุ้นหลังจากปลายปี 2008 ครับ คือเนื่องจากว่าหุ้นในหลายๆกลุ่มที่ตัวฟื้นตัวแรงที่สุดก็คือตัวที่มี d/e สูงกว่าตัวอื่นค่อนข้างมาก

ผมยกตัวอย่างนะครับ sat ตอนนั้น d/e 1.48 เท่าในขณะที่ stanly มี d/e 0.24 เท่าสำหรับงบปี 2551 แต่ sat ขึ้นจาก bottom 10 เด้ง stanly 4 เด้งกว่า
พอมาดูในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิก kce ขึ้นเยอะสุดเลยครับ 13 เด้ง แต่ตอนนั้น kce มี d/e 3 เท่าถือว่าสูงที่สุดเช่นกัน
หรืออย่างการบินไทย ตอนนั้นสภาพคล่องแทบเอาตัวไม่รอดแต่ขึ้นจาก bottom ขึ้นมาได้ถึง 8 เด้ง

โดยส่วนตัวผมคิดว่าในเวลาที่เราไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะแย่นานแค่ไหนเราควรเลือกหุ้นที่งบแข็งแกร่งไว้ก่อนแต่เมื่อเราเห็นสัญญาณฟื้นตัวเราควรย้ายตัวไปเล่นตัวที่มี d/e สูงแทนเนื่องจากหุ้นพวกนี้ตอนยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ราคาหุ้นจะลงลึกกว่าพวกงบการเงินดีแต่เมื่อมีสัญญาณฟื้นตัวมันก็ทะยานได้ไกลกว่า และเมื่อยอดขายกลับมาดีการที่หุ้นพวกนี้คืนหนี้ได้ ก็มี room ในการ improve ตัวเองได้มากกว่าหุ้นที่งบการเงินดีด้วย

ไม่ทราบว่าคุณ ih มีความเห็นอย่างไรในประเด็นนี้ครับ

-   การขายหุ้น defensive ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้อยและปรับตัวลงน้อยไปซื้อหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากและปรับตัวลงมากก็เป็นกลยุทธ์ที่สร้างผลตอบแทนได้สูงในช่วงที่ตลาดผ่านจุดที่ลงหนักๆ มาแล้ว ซึ่งก็เป็นสิ่งที Buffet ก็ทำครับ Buffet ก็ขายหุ้นอุปโภคบริโภคมาซื้อหุ้นสถาบันการเงินในช่วง subprime ครับ อย่างไรก็ตามก็มีข้อแม้อยู่ว่าบริษัท high d/e ที่ราคาตกต่ำลงมากๆ จะต้องไม่เจ๊งหรือโดนลดทุน หรือจะไม่ต้องโดนแปลงหนี้เป็นทุนจนทำให้ dilute มากเกินไปด้วยนะครับ อย่าง crisis ครั้งที่ผ่านมาแม้ว่าหุ้นจะลงลึกแต่ก็ฟื้นเร็วและเป็นสิ่งที่อยู่นอกประเทศผลกระทบมาที่บ้านเราจึงไม่มากเท่าตอนปี 40 ครับ

9.เรื่องของ model dcf ที่แปลงเป็นค่า pe เช่น
ถ้าบริษัทได้เจ้าหนี้การค้านานก็จะมี cash flow ที่ดีและทำให้ model dcf ได้มูลค่าสูง และทำให้ pe สูงแต่จริงๆแล้วพอเราทำ dcf ในระยะยาวบริษัทก็ต้องคืนเงินเจ้าหนี้อยู่ดีและบริษัทที่มี กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเยอะๆเพราะมีรายการเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถปันผลได้มากกว่ากำไรเพราะจะทำให้ส่วนของทุนลดลงจนถึงจุดนึงก็จะปันผลไม่ได้ ถูกไหมครับ

-  ก็เป็นประเด็นที่ดีครับ เต็มที่ก็ปันผลได้เท่ากับกำไรครับ หรือมากกว่ากำไรได้เป็นบางปีครับ ไม่มีบริษัทใดสามารถปันผลได้มากกว่ากำไรในระยะยาวๆ ครับเพราะจะทำให้ equity ลดลงเข้าใกล้ 0 ครับ ดังนั้น model DCF ของหุ้นค้าปลีกถ้าเอาแบบ conservative ก็ควรจะ discount net profit ไปเลย หรือใช้เป็น dividend discounted model ครับ

แต่สิ่งที่ตลาดให้ pe กับหุ้นค้าปลีกก็คือให้สูงซึ่งดูสอดคล้องกับ model ที่ว่ามา
สิ่งที่ผมคิดคือการที่บริษัทได้เจ้าหนี้การค้าสูงๆนั้นสะท้อนถึงอำนาจต่อรองที่มีมากและสะท้อนถึงความเสี่ยงที่น้อยกว่าในเรื่องของ cash cycle และบริษัทก็บริหารได้ง่ายกว่า เพียงแต่มองดูแล้วการได้เจ้าหนี้การค้าที่พอเข้า dcf model แล้วสุดท้ายก็ต้องคืนเงินเจ้าหนี้และปันผลจากส่วนนี้ไม่ได้ก็เลยอยากฟังความเห็นของคุณ ih ในเรื่องนี้ดูบ้างน่ะครับ

ผมคิดว่า p/e ของหุ้นค้าปลีกที่ได้สูงๆ นั้นน่าจะสะท้อน growth มากกว่า ถ้าจะสังเกตหุ้นค้าปลีกที่ได้ p/e ค่อนข้างสูงอย่าง CPALL HMPRO Robins ก็ไม่ใช่หุ้นที่ปันผลสูงมากนัก แต่มี growth ที่ดีมากระดับ 20-40% ต่อปีในช่วงนี้ และหุ้นที่ปันผล 100% ของกำไรแต่โตไม่มากก็ไม่ได้ p/e สูงเท่าไหร่ครับ แต่ใครสนใจคิดจะลงทุนหุ้นเหล่านี้ที่ p/e 25-30 เท่าก็คงจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นครับเพราะแทบไม่มีหุ้นตัวไหนที่จะโตได้ 20-30% ต่อปีได้ตลอดไปครับ

10.ในมุมกลับกัน model dcf ที่ว่าถ้ามีลูกหนี้การค้าน้อยจะทำให้มีกระแสเงินสดดีเมื่อเทียบกับบริษัทที่มีลูกหนี้การค้าเยอะๆซึ่งจะส่งผลให้ fcf สูงและ pe สูง แต่อีกมุมนึงถ้าบริษัทอยากที่จะเติบโตเร็วในแง่ของยอดขายและกำไรการที่ยอมมีลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นบ้างคงจะทำให้บริษัทเติบโตได้ง่ายกว่า การเข็มงวดกับการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้ามากเกินไป เรื่องลูกหนี้การค้า่ถ้าในภาวะที่เศรษฐกิจดีโอกาศที่จะมีหนี้สูญมากๆคงจะน้อย ดังนั้นหุ้นที่ยอมมีลูกหนี้เยอะหน่อยแต่ยอดขายโตได้เร็วกำไรโตเร็วหุ้นคงมีโอกาศขึ้นในเร็วกว่าหุ้นที่ conservative เรื่องลูกหนี้มากเกินไป

ผมเลยมองว่าถ้าดูจาก model dcf ลูกหนี้เยอะเป็นสิ่งที่จะกดให้ fcf ต่ำ
แต่ในแง่ของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ชอบเห็นกำไรโตเร็วๆ การที่มีลูกหนี้การค้ามากขึ้นเท่ากับยอดขายหรือโตกว่ายอดขายเล็กน้อยราคาหุ้นน่าจะขึ้นได้เร็วกว่าหรือไม่ในาภวะที่เศรษฐกิจไม่แย่และหนี้ไม่กลายเป็นหนี้เสีย
หรือพูดแบบนี้ได้ไหม ถ้าเศรษฐกิจไม่แย่-->เก็บหนี้ได้-->กำไรโตเร็ว-->หุ้นขึ้นเยอะ
เศรษฐกิจไม่แย่-->หนี้สูญ-->กำไรหดหาย-->หุ้นลงเยอะ

สรุปคือในภาวะที่เรามองว่าไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจหุ้นที่มีลูกหนี้เยอะก็สามารถเป็นการลงทุนที่ upside เยอะได้เมื่อเทียบกับ downside และตลาดอาจจะให้ pe สูงด้วยถ้าหุ้นนั้น high growth

- ธุรกิจที่ขยายตัวโดยที่มีลูกหนี้การค้าเยอะหรือมีระยะเวลาเก็บหนี้นาน เมื่อขายถึงจุดหนึ่งจะต้องใช้ working cap เพิ่มเรื่อยๆ ซึ่งจะนำมาซึ่ง D/E ที่สูงขึ้น ปันผลลดลงและอาจจะเพิ่มทุน แต่ปัญหานี้จะลดลงไปมากหากอีกขาหนึ่งคือบริษัทก็สามารถมีระยะเวลาการจ่ายเงินให้กับ supplier ที่นานตามไปด้วย ซึ่งก็จะ match กันพอดี แต่ตัวที่ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้นานๆ แต่ต้องจ่าย supplier เร็วอย่างนี้ก็จะลำบากครับ นอกจากนี้การมีลูกหนี้การค้ามากๆ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ในงบดุลหรือเทียบกับกำไรก็จะเสี่ยงมากหากเกิดวิกฤติแบบปี 40 ครับเพราะจะเกิดหนี้เสียจำนวนมาก และปกติลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นมักจะถูก finance ด้วยเงินกู้ระยะสั้น bank O/D ซึ่งในช่วงวิกฤติดอกเบี้ยมักจะสูงขึ้นมากจึงทำให้ต้นทุนการมีลูกหนี้การค้ามากๆ นั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีกครับ

11.กรณีของ advanc ที่สมัยก่อนนานมากแล้วเคยมี pe 30-40 เท่าแต่ยอดใช้โทรศัพท์ในประเทศไทยน้อยมาก พอคนหันมาใช้โทรศัพท์กันเยอะขึ้นก็ทำให้หุ้น advanc ขึ้นมาเยอะมากๆแม้ว่า pe จะแพงมากแล้วก็ตาม จนถึงจุดนึงหุ้น advanc กำไรก็แทบไม่โตอีกเลย ประเด็นคือหลังจากที่กำไรแทบไม่โตตลาดควรจะให้ pe ของ advanc ที่เท่าไหร่นั้นคงขึ้นอยู่กับ

payout ratio เนื่องจากว่ามันเป็นตัวการันตีผลตอบแทนให้กับนักลงทุนถ้าตลาดให้ pe 15 ปันผลต่อปีก็ 6.6% ผมคิดว่าถ้า advanc ไม่มีปันผลแบบนี้หนุนเอาไว้ สำหรับหุ้นที่ไม่โตตลาดคงให้ pe ไม่ถึง 10 เท่า

ที่นี้คำถามต่อมาก็คือ หุ้นเช่น cpall bgh ที่ถือว่าเป็นหุ้นเติบโตที่ได้ปันผลไม่ค่อยเยอะ เช่นได้ปันผลน้อยเลยเมื่อเทียบกับหุ้น advanc แต่ตลาดให้ pe สูงกว่าเมื่อถึงจุดที่ cpall bgh หยุดโต ถ้าสองตัวนี้ไม่หันมา pay out ระดับ 100% เหมือน advanc คงจะมีโอกาศได้ pe ต่ำกว่า 10 เท่าไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรครับ

-  ก็เป็นไปได้ครับ แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นที่จะโตได้มาจาก 2 ทางครับ คือ volume growth กับ price growth ซึ่ง advanc ในช่วงอิ่มตัวมากๆ ก็อาจจะไม่สามารถโตได้ทั้ง 2 ทาง ทำให้กำไรอาจจะคงที่ไปเลยเหมือนหุ้นพวก utility เช่น โรงไฟฟ้าทำให้มีสภาพคล้ายๆ bond ในขณะที่หุ้นอย่าง cpall หรือ bgh ในจุดที่ไม่ขยายหรือ volume ไม่โตแล้วแต่ก็ยังสามารถปรับราคาขายหรือค่าบริการได้ในอัตราเดียวกับเงินเฟ้อหรือมากกว่า จึงทำให้อาจจะสามารถโตเท่ากับหรือมากกว่า inflation ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ในช่วงอิ่มตัวของ cpall หรือ bgh ก็ยังอาจจะมีการเติบโตของกำไรมากกว่าครับ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ 1-2% ต่อปีครับ โดยเราจะเห็นได้จากโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่มีการขยายเลยแต่ก็ยังมีการเพิ่มขึ้นของกำไรได้จากการปรับราคาค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น อย่างเช่นกรณีของ NTV เป็นต้นครับ

ตอบคำถามในรูปนะครับ ต้องขออภัยด้วยครับที่ผมเองก็ยังไม่ทราบคำจำกัดความของทั้ง 3 ตัวเท่าไหร่ครับ อาจจะพอเดาได้แต่เกรงว่าจะเดาไม่ถูกน่ะครับ เลยรบกวนขอคำจำกัดความจากคุณ Hong เป็นความรู้และเผื่อจะได้พอคาดเดาคำตอบได้ด้วยครับ

แต่ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ในช่วง 2000-2002 ซึ่งดัชนีค่าระวางเรือยังอยู่ในช่วง bottom คือประมาณ 1,000-1,600 นั้น แต่ค่าระวางเรือของเรือเทกองขนาดเล็กคือ handysize ที่ PSL และ TTA เดินเรืออยู่นั้นอยู่ที่เพียง 4,000-5,000 เหรียญต่อวัน แต่ปัจจุบัน ดัชนีอยู่ที่ 1,000 กว่าๆ เหมือนกันแต่ค่าระวางต่อวันของเรือ handysize ก็ยังอยู่ที่ 9,000-10,000 เหรียญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าค่าระวางเรือขนาดที่ตกต่ำลงไปมากคือเรือเทกองที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 50,000 – 100,000 เดทเวทตัน เพราะในช่วงที่ค่าระวางสูงมากๆ นั้นบริษัทเดินเรือส่วนใหญ่จะสั่งต่อเรือขนาดใหญ่และอู่ต่อเรือส่วนใหญ่ก็จะรับ order เรือใหญ่มากกว่าเรือเล็กเพราะได้รายได้มากกว่า จึงทำให้เรือขนาดใหญ่อยู่ในภาวะ oversupply และค่าระวางเรือตกต่ำกว่าเรือเล็กมาก

คุณ ih ครับ ภาค 20 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.การดู spread bond ของ 2-10 spread
เพื่อดูว่าตลาดมองยังไงกับดอกเบี้ยของ fed ในอนาคต
เช่น ถ้า 2-10 spread สูงจะตีความว่า
expect aggrssive rate rise ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี
2004 ดังนั้น
เพราะว่าคนมองว่าดอกจะขึ้นทำให้ขายระยะยาวออกมา
ทำให้ slope ของมันชันขึ้น
อย่างตอนนี้ 2-10 spread ก็สูงมาก
ช่วงที่ผมดูอยู่วันที่โพสก็ประมาณ 2.5-2.6
ไม่ทราบว่า ถ้า spread สูงขนาดนี้พี่ ih มองว่า
จะส่งผลไม่ดีต่อตลาดหุ้นไหมครับ

- คำถามนี้ถามเมื่อ 1 เดือนกว่าๆ มาแล้ว ต้องขอโทษครับผมตอบช้า แต่นับจากที่ถามมานี้ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ยังเป็น sideway up แบบความชันน้อยๆ อยู่ ทั้งๆ ที่หลายคนอาจจะมองว่าตลาดควรจะปรับลงได้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากไม่มองเรื่อง bond spread ผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ fed จะขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้นๆ นี้ เพียงแต่ว่าตลาดอาจจะมองว่าดอกเบี้ย bottom แล้ว จึงขายพันธบัตรระยะยาวออกมาเพราะเห็นว่าไม่น่ามี upside ของราคาพันธบัตรแล้วและไม่ต้องการเห็น loss หากดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นซึ่งตลาดคาดว่าก็คงจะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว เว้นเสียว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ liquidity trap แบบญี่ปุ่น

2.gdp ของ usa ในรอบก่อนๆมักจะมี double dip
เช่นในปี 1974 ในไตรมาส 2 gdp usa กลับมาเป็นบวก
หนึ่งไตรมาสและกลับไปติดลบใหม่อีก 3 quarter
และในปี 1982 q2 ก็บวกและกลับไปลบใหม่
อยากถามว่าเหตุผลใดจึงมีการเกิด double dip ของ gdp ขึ้นได้
เป็นเพราะช่วงอัดฉีดเงินเยอะทำให้กลับมาบวก พออัดฉีดน้อยลง
เลยไปลบไหมใช่หรือไม่

- ช่วง 1974 และ 1982 ถ้าจำไม่ผิดเหมือนมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากเนื่องจาก supply shock รึเปล่านะครับ จึงทำให้เกิด cost push inflation ซึ่งน่าจะทำให้ GDP ตกต่ำ แต่เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจคนละเหตุผลกับครั้งนี้ครับ คุณ Hong คิดว่ารอบนี้จะมี double dip ไหมครับ?

3.ที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงประมาณปี 1990-2000 เป็นช่วงที่
เศรษฐกิจแทบจะไม่เติบโตเลย และตลาดหุ้นก็แถบไม่ไปไหนเลย
จนได้ขึ้นชื่อว่า the lost decade มีด.ร. บางท่านบอกว่า
การแก้ปัญหาของอเมริการอบนี้คล้ายๆกับญี่ปุ่นในช่วง the lost decade
ในแง่ของการอัดฉีดเงิน การเข้าช่วยเหลือแบงค์พาณิชย์
ไม่ทราบว่าพี่ ih มีมุมมองอย่างไร

- เศรษฐกิจญี่ปุ่นกับสหรัฐรอบนี้ก็มีทั้งแง่มุมที่อาจจะเหมือนและอาจจะต่างครับ ในแง่ที่เหมือนก็คือหนี้สาธารณะก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การใช้งบประมาณภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็อาจจะทำได้จำกัดเพราะสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP ยังน้อยกว่าการบริโภคและการลงทุนเอกชน รวมทั้งทั้ง 2 ประเทศก็มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นหมดแล้ว เช่น ถนน ไฟฟ้า รถไฟ ฯลฯ การกระตุ้นการบริโภคของญี่ปุ่นก็ทำได้ลำบากเพราะคนส่วนใหญ่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็นหมดแล้ว

อีกสิ่งทีเหมือนกันคือ เรื่องประชากร ในยุค 1990 การเพิ่มของประชากรญี่ปุ่นเริ่มลดลง และจำนวนประชากรเกิดใหม่น้อยลงมาก ประชาชนเริ่มเก็บออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณมากขึ้น เรื่องนี้ก็กำลังจะเกิดกับสหรัฐหลังปี 2010 เป็นต้นไปที่ประชากรในยุค baby boom คือกลุ่มที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะเข้าสู่วัยสูงวัย ทำให้การออมน่าจะเพิ่มขึ้นการบริโภคอาจจะชะลอลง อย่างไรก็ตาม สหรัฐดีกว่าญี่ปุ่นตรงที่สหรัฐเปิดรับแรงงงานที่มีฝีมือจากต่างประเทศได้มากกว่าญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นค่อนข้างจำกัดการเข้าทำงานของต่างชาติ และพื้นที่ประเทศค่อนข้างแคบไม่เอื้อต่อการเพิ่มของประชากรต่างชาติ ดังนั้นสหรัฐอาจจะชดเชยจำนวนประชากรในวัยแรงงานในประเทศที่ลดลงได้ด้วยแรงงานจากเอเชียหรือประเทศอื่นๆ ได้ครับ

สิ่งที่สหรัฐน่าจะทำได้ดีกว่าญี่ปุ่นคือ สหรัฐเข้าไปแก้ปัญหาได้เร็วกว่า และปล่อยให้บางสถาบันการเงินที่ขนาดไม่ใหญ่มากล้มไปบ้าง และสหรัฐไม่มีความสัมพันธ์และการปล่อยกู้ที่โยงใยระหว่างธนาคารกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แกะไม่ออกเหมือนญี่ปุ่น ตลาดทุนสหรัฐก็มีความยืดหยุ่นกว่า

นอกจากนี้ หลัง 1990 ผมคิดว่าสินค้าที่ญี่ปุ่นผลิต ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ มากนัก และเริ่มถูกคู่แข่งตีตลาดมากขึ้นด้วย ผมคิดว่าสหรัฐน่าจะมีโอกาสที่จะทำได้ดีกว่าญี่ปุ่น เพราะเป็นเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม จากเรื่อง aging economy และการชะลอตัวของนวัตกรรมทาง IT ของสหรัฐก็ทำให้ผมคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐในยุค 2010-2020 ก็น่าจะเติบโตช้ากว่าช่วง 1991-2008 พอสมควรครับ ดังนั้นเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรคิดว่าจีนและอินเดียคงจะมีบทบาทมากขึ้นครับ

5. ผมเคยได้ยินมาว่าถ้าลดดอกเบี้ยจะทำให้ pe ของ set สูงขึ้น
และถ้าขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ pe ของ set ต่ำลง
แต่รู้สึกว่ามันขัดกันเพราะว่า
ปกติถ้าเศรษฐกิจไม่ดีถึงลดดอกดังนั้น pe ของ set ไม่น่าจะสูงขึ้น
และถ้าเศรษฐกิจดีถึงขึ้นดอกดังนั้น pe ของ set ไม่น่าจะต่ำลง

ไม่ทราบว่าพี่ ih มีความเห็นยังไงครับ

- ถ้าเป็น cycle เศรษฐกิจปกติที่ไม่มีวิกฤติ การลดดอกเบี้ยก็ทำให้หุ้นขึ้นครับ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นก็ทำให้หุ้นลงครับ แต่ในช่วง crisis ดอกเบี้ยจะลงตามตลาดหุ้นครับก็คือ เศรษฐกิจแย่มากจึงต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครับ


6.พี่ ih มีความเห็นยังไงกับ earning yield gap
เท่าที่ผมดูมาถ้าใช้ forward earning yield gap
ตอนนี้คร่าวๆ(ประมาณว่ากำไรปีนี้โตกว่าปีที่แล้วซัก 15-20%)
สมมุติว่าตัวเลขออกมาซักประมาณ 3-4% คิดว่า gap น้อยไป
ไหมครับสำหรับสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

- เว้นเสียว่าเศรษฐกิจจะโตแบบ v shape ที่ทำให้ dividend yield สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ครับ แต่ดูจาก yield gap ตอนนี้ผมก็ยังคิดว่า valuation หุ้นหลายตัวก็เริ่มตึงๆ แล้วครับ

7.ปกติการขาดดุลงบประมาณเยอะๆจะทำให้ค่าเงินประเทศนั้นอ่อนค่าถูกหรือไม่ ถ้า usa เศรษฐกิจดีขึ้นแล้วขาดดุลน้อยลง
เงินดอลจะเริ่มอ่อนค่าน้อยลงหรืออาจแข็งค่าขึ้น
ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจ usa ดีจริง fundflow จากตปทจะน้อยลงหรือไม่ครับ

- ก็เป็นไปได้ครับ แต่การที่เศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นพอสมควร ดังนั้นนักลงทุนสถาบันอาจจะให้ weighting ในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นก็อาจจะมีเงิน flow เข้าตลาดหุ้นจากก้อนนี้มา offset เงินที่ไหลกลับสหรัฐได้ครับ


8.การที่ m2 ของไทยเป็น 110% ของ gdp
แต่ของ usa m2 เกินครึ่งของ gdp มาแค่นิดเดียว
แบบนี้เราจะตีความว่า usa มีการผลิตสูง
ถ้าเทียบกับปริมาณเงินแสดงว่าคนที่ฝากเงินไว้เฉยๆมีน้อย
แต่ไทยมีคนฝากไว้เฉยๆไม่ไปลงทุนภาคการผลิต
ทำให้ m2 สูงกว่า gdp ผมตีความผิดไหมครับ

- m2 เป็นประมาณเงินที่มีความสัมพันธ์กับระบบธนาคารและการปล่อยกู้ สำหรับคำถามนี้ผมตอบไม่ได้เหมือนกันครับ หากให้เดาอาจจะเพราะว่าตลาดทุนของสหรัฐนั้นมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเศรษฐกิจกว่าประเทศไทยรึเปล่าครับ


9.ได้ยินมาว่าต้นทุนในการขุดทองทุกวันนี้อยู่ที่ 400 เหรียญ
ราคาทองต้นนี้แพงกว่าต้นทุนการขุดมากกว่าเท่าตัว
แบบนี้จะเรียกว่า mos น้อยดีหรือไม่
ถ้าเทียบ concept นี้กับน้ำมันที่มีต้นทุนขุดเจาะ
60-70 เหรียญสำหรับหลุมใหม่ ดังนั้นราคาน้ำมันตอน 120-140
ก็ไม่มี mos ถ้าเทียบกับต้นทุน
ไม่ทราบมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

- ขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้การหาแหล่งทองใหม่ๆ นั้นยากง่ายแค่ไหนครับ ถ้าต้นทุน 400 เหรียญแต่หาแหล่งใหม่ๆ ไม่ได้ราคาก็อาจจะสูงกว่าค่าขุดเจาะเท่าตัวได้ครับ

10.แนวโน้มระยะยาว อัตราส่วน M2/มูลค่าตลาด มันมีแต่จะต่ำลง เพราะเมื่อเศรษฐกิจเจริญดีตลาดทุนจะขยายตัว จะมีบริษัทจดทะเบียนมากขึ้นๆ กำไรมากหุ้นก็ขึ้นอีก แต่เมื่อเศรษฐกิจดีปริมาณการจับจ่ายใช้สอยมาก ความต้องการเงินต่อผลผลิตก็จะลดลง อัตราส่วนก็มีแต่จะต่ำลง ไม่ทราบว่าเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือไม่ครับ

- m2 จะเติบโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วน market cap ในระยะยาวก็แปรผันตามภาวะเศรษฐกิจ และสัดส่วนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น หลังจากที่หุ้นขนาดใหญ่อย่าง PTT เข้าตลาดหุ้น ผมคิดว่าสัดส่วน m2 ต่อมูลค่าตลาดน่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นหากเศรษฐกิจเติบโต การจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เกิดการลงทุน การกู้เงิน การหมุนของเงินเพิ่มขึ้น ก็น่าทำให้ m2 เพิ่มขึ้นเช่นกันครับ อย่างไรก็ตาม หาก m2 / มูลค่าตลาด ลดลงอันเกิดจากการที่มูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ p/e เป็นเหตุผลสำคัญกว่าการเพิ่มขึ้นของกำไร ก็เป็นสัญญาณของตลาดที่ overvalue ได้ครับ


11.เคยอ่านเจอมาว่า ปริมาณเงินจะแปรผันตามผลผลิตและดัชนีราคาผลผลิต
แต่แปรผกผันกับอัตราการจับจ่ายใช้สอยเงิน
ผมอ่านแล้วไม่ค่อย get นักเลยลองบอกสิ่งที่ผมคิดแล้วให้พี่
Ih ช่วยดูให้หน่อยนะครับ
คำว่า ปริมาณเงินจะแปรผันตามผลผลิตและดัชนีราคาผลผลิต ก็คือว่า ถ้าปริมาณผลิตได้เยอะขึ้นจะมีปริมาณเงินเยอะขึ้นเหรอครับ หรือว่าขึ้นราคาสินค้า ปริมาณเงินก็เยอะขึ้น แต่ว่าผมงงว่า ถ้าเราผลิตสินค้าเยอะขึ้น เราไม่ได้ผลิตเงินเยอะขึ้นนี้นา ทำให้ ปริมาณเงินถึงสูงขึ้นตามล่ะครับ

- ปริมาณเงินแปรผันตาม GDP และเงินเฟ้อครับ ตามทฤษฎี ยกตัวอย่างเหมือนเวลาเราเล่นเกมเศรษฐีสมัยเด็กๆ ครับ หากทุกคนพร้อมใจกันซื้อบ้าน โรงแรมให้เช่า กันมากๆ เมื่อทุกคนแย่งกันซื้อที่ดินและบ้านก็ทำให้ค่าเช่าสูงขึ้น รายจ่ายค่าเช่าก็เพิ่มขึ้นมา ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเริ่มมีเงินกับตัวน้อยลง หากเงินในเกมเท่าเดิม เงินก็จะเริ่มหมดไปจากผู้เล่นทุกคน เพื่อแก้ปัญหานี้ ธนาคารจึงต้องปล่อยกู้ออกมามากขึ้นครับ

ดังนั้นเมื่อวงจรเศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดี จะเกิดการหมุนของวงจรทางเศรษฐกิจที่ครบ loop คือ มีการบริโภค มีการออม มีการฝากเงิน ธนาคารปล่อยกู้ มีการลงทุนเพิ่ม ดังนั้น m2 จะขยายตัวครับ ส่วนที่บอกว่าแปรผกผันกับอัตราการใช้สอยเงินผมไม่เคยอ่านตรงนี้มาก่อนและไม่เข้าใจเหมือนกันครับ

11.2ปริมาณเงินจะแปรผันตามดัชนีราคาผลผลิต หมายความว่า ถ้าทุกคนที่ขายของอยู่พร้อมใจกันขึ้นราคาสินค้า
ปริมาณเงินก็จะเพิ่มขึ้นตามเหรอครับ
แต่ถ้าไม่มีคนพิมพ์เงินเพิ่ม ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นได้ไงครับ

- เนื่องจาก value = price คูณด้วย quantity ( จำนวน ) ดังนั้นหาก price เพิ่ม แต่ value ยังเท่าเดิมก็จะทำให้ จำนวนลดลงครับ ดังนั้นคนที่พิมพ์เงินเพิ่มน่าจะเป็นธนาคารกลางครับ ดังนั้นหากการขึ้นราคาสินค้าเพราะ demand เพิ่มก็ควรจะพิมพ์เงินเพิ่มครับ แต่หากเป็นการขึ้นราคาสินค้าเพราะฝั่ง supply จำกัด ควรจะคุมปริมาณเงินไว้เพื่อลด quantity ลงเพื่อปรับสมดุลระหว่าง demand supply ครับ ไม่งั้นจะเกิดภาวะ hyperinflation ครับ

11.3 แต่แปรผกผันกับอัตราการจับจ่ายใช้สอยเงิน
หมายความว่า ถ้าคนจับจ่ายเงินน้อย เงินจะหายไปจากระบบเหรอครับ เพราะ m2 คือ m1*multiple จับจ่ายน้อย
Multiple จะลดลงไปใช่ไหมครับ

- การจับจ่ายใช้สอยเงินน้อย ก็ทำให้ gdp โตลดลง ซึ่งควรจะทำให้ multiple ลดลงด้วยครับ ดังนั้นปริมาณเงินควรจะแปรผันตามการจับจ่ายใช้สอยเงินมากกว่าครับ

12.ถ้าเราดู balance sheet ของ fed สูงขึ้นเราจะอนุมานว่า
มีปริมาณเงินมากขึ้นเลยหรือไม่เพราะ fed ก็ต้องไปรับของเน่าๆมาจากคนอื่น หรือไม่ก็ให้รัฐบาลกู้จึงทำให้ balance sheet สูงขึ้น
ถ้าเราจะบอกว่า balance sheet สูงขึ้น เท่ากับสภาพคล่องสูงขึ้น
และสภาพคล่องตรงนี้อาจะทำให้หุ้นขึ้นได้เนื่องจากปริมาณเงินเพิ่ม
พี่ ih คิดว่าไงครับ

- ผมไม่แน่ใจว่า balance sheet ของ fed กับสภาพคล่องมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันหรือไม่ แต่สิ่งที่ทำให้สภาพคล่องสูงขึ้นก็เพราะ fed เข้าซื้อพันธบัตร เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง การซื้อพันธบัตรเป็นการใส่สภาพคล่องเข้าระบบครับ ดังนั้นเมื่อสภาพคล่องเข้าระบบแต่คนไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้นำสภาพคล่องนี้ไปลงทุนหรือบริโภคเพิ่มมากนัก สภาพคล่องนี้จึงเข้าไปซื้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุนแทนครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ หุ้นครับ ดังนั้นหุ้นขึ้นรอบนี้ปัจจัยหลักก็มาจากสภาพคล่องที่มีมากในระบบครับ

13.ปกติการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเพราะหมายถึงกิจการทางเศรษฐกิจที่ดีและค่าเงินจะมี
ค่ามากขึ้นถ้าเราเกินดุล เพราะความต้องการเงินของประเทศที่เกินดุลจะมากขึ้น
แต่ประเด็นคือทำไม usa ขาดดุลเยอะและค่าเงินตัวเองก็อ่อนค่าแต่หุ้นยังขึ้น
ผมหมายถึงก่อนปี 2008 นะครับ

- เพราะ usa ไม่ต้องมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสกุลเงินของตัวเองครับ หาก usa เป็นประเทศอื่นแล้วขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแบบนี้เงินทุนสำรองคงหมดไปแล้ว ในทางกลับกัน ประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าก็ยินดีที่จะเก็บเงิน usa เป็นเงินทุนสำรอง ดังนั้นตราบใดที่ usa ยังคุมเงินเฟ้อได้ usa ก็จะยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เรื่อยๆ โดยจำนวนเงินที่ขาดดุลนี้ประเทศที่เกินดุลก็ยินดีที่จะเก็บเงินส่วนนี้เป็นเงินทุนสำรองครับ

14.เคยศึกษามาว่าถ้าเงินเฟ้อจากสูงเป็นติดลบหรือต่ำมากๆ
จะทำให้หุ้นขึ้นซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในตอน
ปี 2542 ที่หุ้นขึ้นจาก 200 กว่าไป 400
และ q2 ในปีนี้ ผู้รู้บอกว่าเพราะว่าเงินเฟ้อลดลง
จะทำให้กำลังซื้อของคนสูงขึ้นและสะท้อนไปที่
กำไรของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น
พี่ ih คิดว่าแนวคิดนี้ make sense หรือไม่ครับ

- ผมคิดว่าการที่เงินเฟ้อต่ำลงทำให้ ธ. กลาง ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำได้ เมื่อดอกเบี้ยต่ำ สภาพคล่องในระบบดีขึ้น และทำให้เงินไหลจากพันธบัตรมาที่หุ้นครับ ปี 42 ผมจำได้ว่าหุ้นขึ้นแต่ gdp ปีนั้นหรือผลประกอบการก็ยังไม่ได้ดีขึ้นมาก แต่ปี 42 ขึ้นเพราะความกังวลเรื่องสถาบันการเงินลดลงจากการเพิ่มทุนโดยกระทรวงการคลังให้สถาบันการเงินโดยการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ( SCB Tisco ) เข้าโครงการนี้ และธนาคารอื่นๆ เพิ่มทุนโดยการออก Slip กับ Cap ( หุ้นกู้บวกหุ้นบุริมสิทธิที่นับเป็น tier 1 ได้ ) นอกจากนั้น รัฐบาลตอนนั้นก็กู้เงินจากญี่ปุ่นมากระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการมิยาซาวา ซึ่งรัฐบาลตอนนั้นก็เป็นพรรคเดียวกับรัฐบาลปัจจุบันที่ใช้เงินกระตุ้นตามเศรษฐกิจในโครงการ ไทยเข้มแข็ง เลยครับ แต่ตอนปี 43 หุ้นก็ลงจาก 400 จุด เหลือ 260 จุดอีกครั้งครับเพราะฟองสบู่ dot com แตกและปัญหา npl ของไทยที่ยังแก้ไม่จบ

15.สมัยปี 97-99 ผมไปดู pe ของ set อยู่ที่
5-12 ถ้าผมจะตั้ง assumption ว่าปีนี้
Gdp ก็ติดลบเหมือนกัน set น่าจะมี pe ใกล้เคียงกับสมัยนั้นก็คือ trade อยู่ที่ 5-12 เท่าพี่ ih คิดว่า
แนวคิดนี้ไม่ make sense ยังไงบ้างครับ
เบื้องต้นคือผมว่าดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำกว่าตอนนั้นเยอะ
อีกอย่างคือหนี้สินตอนนี้น้อยกว่าตอนนั้นเยอะ
นอกจาก 2 ข้อนี้พี่ ih คิดว่าต่างกันอย่างไรอีก
หรือว่าคิดว่า pe ของหุ้นในปีนี้ควร trade ที่
5-12 เหมือนแต่ก่อน

- ดอกเบี้ยตอนนี้กับตอนนั้นรู้สึกจะพอๆ กันครับ ตอนนี้จะต่ำกว่านิดหน่อย สิ่งที่ต่างกันคือ ตอนปี 97-99 นั้นเศรษฐกิจโลกยังดีครับ ปัญหาอยู่บ้านเรา แต่ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจเกิดนอกบ้าน แต่บ้านเราก็มีปัญหาการเมือง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างกันคือ ตอนปี 99 นั้น หุ้นตัวเล็กๆ ที่ p/e 2-5 เท่ามีเกลื่อนตลาด เพราะยังไม่ค่อยมีนักลงทุนแบบ vi ครับ


16.ถ้าตัวเลข capu น้อยเช่น 50 กว่าๆจะสะท้อนว่าเศรษฐกิจไม่ดีใช่ไหม เพราะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น capu เพิ่มขึ้น แต่ไม่ต้องสร้างโรงงานใหม่ สร้างเครื่องจักรใหม่ แต่ถ้า capu 100 น่าจะดีกว่า

-   ปกติจะมีการลงทุนเพิ่มเมื่อ capacity utilization เกิน 80% ครับ

17.มีผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจประเมินค่า การทำ stress test นั้นมีเงื่อนไข ที่ไม่รุนแรงมาก ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาพื้นฐานก็คือ
การถือครองสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ คือ cdo ดังนั้นถ้าแก้ที่ถูกคือ
แยก bad bank good bank และให้ธนาคารพาณิชย์ขาย
สินทรัพย์ ให้ bad bank ไปบริหาร พี่ ih เห็นว่าไง

-   Bad bank ที่เคยมาบริหารหนี้เสียของไทยตอนนั้นคือ Lehman Brother ก็เจ๊งไปเสียแล้วน่ะครับ ในการแก้ปัญหา NPL ของไทยตอนนั้น ในกรณี bank เอกชน จะตั้งส่วนบริหารหนี้เสียออกมาเอง ในขณะที่ bank รัฐจะขายหนี้เสียให้บสท. ครับ กรณีของสหรัฐ ผมไม่แน่ใจทางสถาบันการเงินอาจจะอยากบริหารหนี้เสียเองรึเปล่านะครับ เพราะถ้าบริหารเอง หาก recover เร็วก็จะได้กำไรกลับมาครับ

18.ทำไมตัวเลข monetary base ของ usa ขึ้นจาก
8 ล้านๆ ขึ้นมาเป็น 18 ล้านๆ แต่ว่าตัวเลขเงินเฟ้อกับยังไม่ค่อยจะขึ้นเลขทั้งๆที่ปริมาณเงินเพิ่มมากกว่า 100% แล้ว
เงินพวกนี้ไม่ได้เข้าสรุประบบหมดหรือครับ

- เงินเฟ้อจะต้องเกิดจาก demand ไปซื้อสินค้า ( goods ) หรือบริการครับ ดังนั้นเงินที่เพิ่มรอบนี้มันไปซื้อสินทรัพย์หมดครับไม่ได้ไปซื้อสินค้า และซื้อแต่สินทรัพย์ทางการเงินด้วย สินทรัพย์อื่นๆ อย่างอสังหาฯ หรือกิจการก็ไม่ได้ไปซื้อ ตอนนี้เลยเกิดภาวะ asset inflation หรือ overvalue ในตลาดหุ้นหลายประเทศในโลกครับ

19.ตอนนี้ gdp ทั่วโลกกระเตื้องขึ้นมาเพราะว่าการใช้จ่ายของภาครัฐแต่ภาคการลงทุนยังไม่ฟื้นตัว ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
จะทำให้ภาครัฐเงินหมดกระสุนในการอัดฉีดหรือไม่
และถ้าภาคการลงทุน การบริโภคยังไม่ฟื้นจะกลับไปแย่มากได้หรือไม่ เพราะว่รัฐบาลทั่วโลกคงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้
มากเหมือนก่อนหน้านี้ แบบนี้ความเสี่ยง double dip ก็มีในระดับนึงหรือไม่

- ปีนี้เศรษฐกิจจีนแม้ว่าการส่งออกจะติดลบ 20-30% แต่ GDPเติบโต 8% เพราะการลงทุนภาครัฐเพิ่มกว่า 30% ดังนั้นหากเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ผมก็ไม่แน่ใจว่าจีนหรือหลายๆ ประเทศจะสามารถมีการลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นในปีหน้าได้อีกรึเปล่านะครับ ปีหน้าอาจจะมีโครงการ จีนเข้มแข็ง ขึ้นมาก็ได้ครับ

20.พี่ ih คิดว่าราคาหุ้นตอนนี้สะท้อนความหวังว่าเศรษฐกิจจะเป็น v shape แล้วหรือไม่ครับ เพราะ pe ของหุ้นค่อนข้างจะสูง และถ้าเป็น u หรือ w นักลงทุนที่ลงทุน(วันที่เขียน set ปิด 641 จุด) มีโอกาสติดหุ้นสูงไหมครับ

- ผมตอบกระทู้นี้อีก 1 เดือนให้หลัง ตอนนี้หุ้นขึ้นไป 750 แล้วครับ ผมคิดว่าราคาหุ้นตอนนี้มันไม่ค่อยได้สะท้อน u หรือ v อะไรมากน่ะครับ มันเกิดจากสภาพคล่องจากต่างประเทศมันไม่มีที่ไปครับ ดูจากราคาน้ำมันที่ยังแทบอยู่ที่เดิมตั้งแต่ 2-3 เดือนก่อนตอนที่ดัชนียัง 550 ผมคิดว่าถ้านักลงทุนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะเป็น v ราคาน้ำมันน่าจะไปได้มากกว่านี้ครับ การที่เงินไหลเข้าหุ้น big cap และทอง ผมคิดว่ามันสะท้อนเรื่องเงินที่ไหลเข้ามาเพราะเรื่องดอลล่าร์อ่อน และสภาพคล่องในระบบที่ไม่มีที่ไปมากกว่าครับ ถ้าเศรษฐกิจมีสัญญาณว่าเป็น w เมื่อไหร่ ดอลล่าร์ก็จะแข็งและจะเงินทุนเหล่านี้ก็จะไหลกลับไปอย่างรวดเร็วครับ

21.พี่ ih คิดว่าถ้าเกิดเงินเฟ้อ fed จะลดสภาพคล่องแบบไหนได้บ้างครับ นอกจากการขึ้นดอกเบี้ย fed fund rate

- ก็ต้องทำตรงข้ามกับที่เคยทำครับ คือ จะต้องขายพันธบัตรออกมาในระบบครับ ซึ่งก็ทำคู่กับการขึ้น fed fund rate ครับ

แต่ตอนนี้ real sector ก็ยังไม่ค่อยเห็นสัญญาณฟื้นเด่นชัดครับ หาก fed ดึงสภาพคล่องกลับหรือขึ้น fed fund ตอนนี้ ก็คงทำให้ตลาดหุ้นอาจจะลงหนักได้ FED ตอนนี้เลยเหมือนภาวะขี่หลังเสือ ไม่รู้ว่าจะหาทางลงยังไงครับ

เราอาจจะเคยดูพวกหนังตลกที่มีมุขว่า ถ้าไม่อยากให้รถติดก็เปิดไฟเขียวมันทุกแยกเลย หรือนักการเมืองสมัยก่อนที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจบอกว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ให้พิมพ์แบงค์ออกมาเยอะๆ แต่วันนี้ FED ก็ทำอย่างนั้นอยู่น่ะครับ

หลังตอบจบแล้วเลยขอความเห็นคุณ Hong ด้วยครับว่า คุณ Hong มองอย่างไรบ้างครับ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดหุ้นในปีหน้าครับ