Monday, January 14, 2013

แอบดู WORK


บรรทึกช่วยจำ WORK
ก็ตัวนี้ คิดว่าคนน่าจะรู้จักกันดีนะครับ WORK POINT ครับ







ก็ตัวนี้ ผมสนใจนานล่ะ แต่ไม่ได้เขียนสักที ดันมาขึ้นซะแรงเลย ไม่กล้าเขียนเลย 555+

link ที่เกี่ยวข้องครับ
http://panwasit-stock.blogspot.com/2012/12/sat-tv.html
http://panwasit-stock.blogspot.com/2012/12/five-force-sat-tv.html



WORK : บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)


ที่ผมสนใจนะครับ

  • พวกรายการ TV ค่อนข้างดี มีคนติดตามเยอะครับ รายการดังๆมีเยอะ 
  • ผบห มีแนวโน้มอยู่ฝั่งเดียวกับผู้ถือหุ้นสูง (คาดการ์ณเองนะครับ)
  • ส่วนของงบการเงิน ทำได้ละเอียด แยกเป็นสัดส่วนรายได้ต่างๆได้ดี 
  • ปันผลเยอะดี 
  • ธุรกิจ ต้นทุน ค่อนข้างคงที่ รายได้เพิ่มเท่าไหร่ กำไรก็ขึ้นเท่านั้นเลย (แต่%ขึ้นเยอะกว่า)

* ที่สำคัญ คือการทำช่องรายการของตัวเอง ที่ SAT TV ด้วยนะครับ ที่อาจทำให้รายได้เข้ามาเยอะ แต่ต้นทุนต่ำกว่า


แต่ก็มีความเสี่ยง ด้วย

  • รายได้หลักๆ มาจากการโฆษณา ถ้าโฆษณาไม่เต็ม รายได้จะหดตัวอย่างรุนแรง 
  • เรื่องของเศรษฐกิจก็เีกี่ยวข้องเยอะ ถ้าเริ่มแย่ บริษัทส่วนใหญ่คงตัดงบโฆษณาออกก่อนเลย 
  • พวกกลุ่มนี้ ต้องอาศัย connection เยอะ ถ้าสมมุติ คนที่เป็นส่วนนี้ ลาออก เสียชีวิตไป แย่แน่ๆ 
  • ธุรกิจ ต้นทุนคงที่ ถ้ารายได้หด อ๊วกแตกครับ 
  • ธุรกิจดาวเทียม เราไม่สามารถบอกได้ว่า จะขึ้นราคาได้แค่ไหน แล้วก็จะโฆษณาได้ขนาดไหนด้วย กฎหมายยังไม่ชัด 

===============================

มาดูหุ้นในแบบของผมล่ะักัน

ประเภทหุ้น

หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว

เชื่อว่า การมี Sat TV , cable TV จะเป็นตัวผลักดันรายได้และกำไรนะครับ

เรื่องของสินค้า การซื้อการขาย ลูกค้า คู่ค้า

1 สินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

โฆษณา รายการทีวี จัดงาน เป็นกลุ่มบริการอยู่แล้ว ยังไงก็ไม่เหลือ
*เน้นโฆษณาเป็นหลักนะครับ เพราะเป็นรายไ้ดหลักๆ

2 สินค้าทดแทน

ค่อนข้างเยอะ อย่างป้ายโฆษณาต่างๆ ก็ด้วย อินเตอร์เน็ตที่มากขึ้น การโฆษณาช่องทางอื่นอีกมากมาย
ส่วนนี้ผมเชื่อว่า ประเทศไทยยังมีการใช้ TV อยู่เรื่อยๆ ยังไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงเร็วมาก (มองไม่เกิน 5ปีนะ)

3 สินค้าที่มีแบรน และคนซื่อสัตย์ในแบรนด้วย

อันนี้ คงบอกยาก แต่ตามที่เคยบอก คนที่มาซื้อเวลาโฆษณา ส่วนใหญ่ ก็มักมี connection กับคนขายอยู่แล้วครับ มันไม่ใช่แบรน แต่เป็น Connection ครับ

4 อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

ไม่มีอำนาจเลย ขึ้นอยู่กับคนดู ว่าอยากดูช่องไหน เท่านั้นเอง

5 อำนาจการต่อรองจากลูกค้า

กลุ่มนี้ ถ้ารายการ TV ตัวไหน คนดูเยอะ ลูกค้า(คนซื้อช่วงเวลาโฆษณา) ก็ต้องซื้อล่ะ ไม่มีทางเลือกเลย ถ้าอยากโฆษณาให้คนดูเยอะๆ

6 การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

ค่อนข้างดุเดือดครับ แต่สุดท้าย ผู้ชนะก็จะชนะไปเลย คนแพ้ก็จะแค่พออยู่ได้ แต่ก็กำไรนิดหน่อยเท่านั้นเอง

7 การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่

ง่ายมาก เข้า่ง่าย แต่ก็ออกง่ายครับ ธุรกิจมันลอยๆ ลงทุนไม่เยอะ ที่เยอะมักเป็นค่าสังคม กับค่าคนมากกว่าครับ

8 วัตถุดิบ การสินค้าโภคภัณฑ์

-

9 โอกาสการเติบโตของสินค้า บริการ

โอกาสการเติบโต คือการไปทางช่องทางของตัวเอง ดาวเทียม หรือเคเบิ้ล tv แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า คนสมัยใหม่ จะดูอะไรกันนะครับ


==========================งบการเงิน====================================
รายละเอียดส่วนนี้ เอาที่หลักๆมาให้ดูนะครับ



 รายได้หลัก มาจากการผลิตรายการโทรทัศน์นะครับ ประมาณ 80%
ส่วนตัวอื่นๆ ก็มีนิดหน่อย
* รายได้จากการจัดงาน ผมจะมองเป็นรายได้พิเศษไปนะครับ



อัตราทำกำไรขั้นต้น ของมาจากการผลิตรายการโทรทัศน์ นะครับ (ลองดู สูงกว่้าอัตรากำไรขั้นต้นทุกปีเลย)
บางอย่าง เช่น ตัดต่อภาพ ดูขาดทุนทุกปี แต่มันก็ต้องมี เพราะเป็นส่วนนึงของธุรกิจ ไม่ต้องตกใจครับ (ทำรายการTV แล้วไม่มีฝ่ายตัดต่อภาพ คงตลกน่าดู)


เอาของปี 54 มานะครับ อาจผิดพลา่ด ก็ขออภัยนะ
ก็ดูรายได้เลย 1,390 ลบ
เวลาที่ออกรายการ ประมาณ 83200 นาที ต่อปี
การโฆษณา ได้ ชม ล่ะ 10 นาที หรือ โฆษณาได้ 13,867 นาทีต่อปี
ก็จะตก นาทีล่ะ แสนบาทพอดี

ค่าโฆษณา แสนบาท ก็ใกล้เคียง ค่าโฆษณา ที่บทวิเคราะห์ ลงไว้ว่าประมาณนี้ ใช้ได้ครับ

กรณี ถ้า รายได้จาก Sat TV เข้า ก็คิดตาม

.
ตามลิ้งนี้เลย



ลองประเมินมูลค่าเองนะครับ




Monday, January 7, 2013

บรรทึกช่วยจำ MINT

ก็คงจะรู้จักกันดี สำหรับหุ้น Mint ผลิตลูกอม... เอ๊ย ไม่ใช่ๆ 



MINT : บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

ร้านอาหาร (หลักๆ ที่เห็นชัดๆ)

โรงแรม (ไม่รู้่อ่า)


มีอื่นๆอีกนะครับ แต่สัดส่วนไม่เยอะ เลยไม่ได้ใส่ใจมาก

ที่ผมสนใจนะครับ
  • ร้านอาหารในเครือ ค่อนข้างมีชื่อเสียงและคุณภาพมาก คนรู้จักเยอะ เชื่อมือผู้บริหารได้ (ดูจาก the pizza company)
  • โรงแรมในเครือค่อยข้างชื่อเสียงดี ฟังจากคนอื่นๆมา (ส่วนตัวไม่เคยพัก พักแต่โรงแรมจิ้งหรีด)
  • ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ต่างต้องใช้ชื่อเสียงมา ในการจะอยู่รอดบนธุรกิจ และมีคนรู้จักมากๆได้ทั้งนั้น ซึ่งที่เห็น ผมคิดว่าเป็นสิ่งยืนยันที่ดีนะครับ 
  • น่าเสียดายที่ผมเคยไม่ชอบ ไม่ยอมซื้อ เพราะมี วอแรน (เมื่อก่อนเชื่อว่า ถ้ามีวอแรนต์ นั้นคือหุ้นตัวนั้นแย่แน่นอน) 
  • ผบห มีแนวโน้มอยู่ฝั่งเดียวกับผู้ถือหุ้นสูง ดูจากการซื้อมาเรื่อยๆ
  • ส่วนของงบการเงิน ทำได้ละเอียดมาก บางคนอาจมองข้าม แต่ผมว่า สำคัญนะ
แต่ก็มีความเสี่ยง ด้วย
  • โรงแรม เป็นธุรกิจที่อ่อนไหวมาก กับเหตุการณ์ต่างๆ มีข้อดีข้อเสียในตัวเอง อย่างเรื่องค่าเสื่อมราคา ถ้าโรงแรม คนพักน้่อยกว่า การขาดทุนจะค่อนข้างจะรุนแรง แต่ถ้าคนเยอะ กำไรก็พุ่งปริ๊ดๆเลย 
  • การผุดขึ้นของโรงแรมขนาดเล็ก (ห้องพัก ประมาณ10ห้อง) ที่เยอะมาก ราคาค่อนข้างทุก ทำให้โรงแรมใหญ่ๆ เหนื่อย
  • การแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ของร้านอาหารต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นอย่างเยอะแยะ 
  • เรื่องขอการทำเสียชื่อ สมัยนี้ คนมันฟ้องกันง่าย แกล้งกันง่ายขึ้น แค่ทำอะไรไม่ถูกใจ โพสด่าผ่านเน็ตไม่ เพียงเท่านี้ หายนะเลยนะครับ 
  • การที่มีธุรกิจส่วนนึงอยู่ต่างประเทศ ทำให้เราไม่รู้ และปัญหาอย่างเรื่องค่าเงินพวกนี้
  • เงินกู้พอสมควร
  • ธุรกิจ เยอะมาก ทำให้ค่อนข้างเหนื่อยในการดู
  • บางคนไม่ชอบแขก -*- (ผมว่าแขกหลายๆคนก็นิสัยดีนะ)

* เป็นหุ้นที่ผมคิดว่า จะถือได้สบายใจในระยะยาวเลยนะครับ แค่ปันผลไม่ค่อยอิ่มเท่านั้นเอง
ว่าไป หุ้นตัวนี้ ก็ดูมานานมากแล้ว แต่ว่าดันติดที่มี warant ทำให้นึกว่าเป็นหุ้นไม่ดีหรือเปล่า (ตอนนั้น อ่านหนังสือมา เห็นบอกว่า หนีั้เยอะก็ไม่เอา PE สูงไม่เอา ปันผลไม่เอา Wไม่เอา) 
ถึงตอนนี้ เสียดายมากมายเลยอ่า เศร้า

สัดส่วนรายได้โดยประมาณ ผมเอาของปี 54 มานะ เพราะว่า ธุรกิจโรงแรมมันเป็นรอบๆ มักไปพีค ไตรมาส 1 (มั้ง) 

โรงแรม รายได้ประมาณ 35% 
เครื่อง อาหาร รายได้ประมาณ 46% 
การขายและผลิต สินค้า รายได้ประมาณ 13%
(ตัดรายได้พิเศษออกหมดเลยนะ)


ต้นทุน โรงแรมจะเยอะหน่อย ประมาณ 50% 
ต้นทุน อาหารจะต่ำ ประมาณ 33% (เนื่องจาก ค่าเช่าที่ ไปอยู่ค่าใช้จ่ายอื่น)
ต้นทุนการขายและผลิต ประมาณ 60%

ยังไงก็ดู อาหาร กับ โรงแรมเป็นหลักนะครับ 

================================

มาดูหุ้นในแบบของผมล่ะักัน

ประเภทหุ้น

หุ้นแข็งแกร่ง (Stalwarts) บริษัทที่แข็งแกร่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 10 - 20% ต่อปี  เหมาะที่จะถือระยะยาว

ส่วนตัวเชื่อว่า mint จะสามารถเติบโตได้เรื่อยๆ และในอนาคต เชื่อว่าต้ิองมีการขายโรงแรมสร้างกองทุนเพื่อเอาเงินมาลงทุนเพิ่มแน่ๆ 
ปล. การจะกู้เงินทำโรงแรม ค่อนข้างยาก เพราะรายได้ไม่ค่อยมั้งคง ดอกเบี้ยมักสูง และกู้ได้ไม่ 100%


เรื่องของสินค้า การซื้อการขาย ลูกค้า คู่ค้า

1 สินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

อาหาร 
ส่วนนี้หมดแน่นอน ครับ คงไม่มีเหลือนะ (แต่ข้อเสียก็คงเป็นเรื่อง ของสด อยู่ได้ไม่นานด้วยล่้ะ) 
โรงแรม 
เป็นส่วนของการบริการ ก็หมดไปเรื่อยๆล่ะ ไม่มีปัญหาครับ
การขายและผลิต สินค้า 
- เสื้อผ้า่
- เครื่องสำอาง
- หนังสือ
- เครื่องใช้สแตนเลน
- น้ำหอม น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ
โชคดี รายได้ส่วนนี้น้อยนะ อย่างเสื้อผ้า เครื่องสำอาง น้ำหอม ก็ใช้นาน หนังสือยิ่งนาน ครั้งเดียวจบ เครื่องใช้สแตนเลน ก็นับปีเลย (ถ้าไม่้ไปทุบเล่นนะ)

2 สินค้าทดแทน

อาหาร 
อาหารทดแทน อาหารเสริม ?? คิดว่้าไม่น่าจะทดแทนได้นะครับ 
โรงแรม 
เริ่มมีมากขึ้น ตั้งแต่ โรงแรมขนาดเล็กๆที่คนฮิตกัน หอพักที่เนียนๆ ทำห้องพักรายวัน และก็พวกโรงแรมแปลกๆ หรือเฉพาะกลุ่มบุคคล 
การขายและผลิต สินค้า 
-ส่วนนี้เยอะ ไม่พูดถึงนะ

3 สินค้าที่มีแบรน และคนซื่อสัตย์ในแบรนด้วย

ในธุรกิจนี้ แบนด์สำคัญมาก ชื่อเสียงมี ลูกค้ามา ถ้าพลาดหน่อยนี่แย่เลย ลองคิดง่ายๆ ร้านพิชช่าที่ไม่รู้จัก กับ ร้านพิชช่า the pizza company คนส่วนใหญ่ ก็น่าจะเข้าร้านที่ 2 มากกว่า (แต่มันต้องมีคนที่อ่านแล้วคิดในใจแน่ ว่าตูจะลองกินร้านแรก ฮืมๆ) 

อย่างโรงแรม ถ้าคนมีตัง ก็คงจะหาโรงแรมมีชื่อเสียง ดังหน่อย เพื่อความสะดวก ปลอดภัย ของตัวเองด้วย 

เป็นที่น่าเสียดาย ผมเน้นประหยัด นอนโรงแรมจิ้งหรีด 555 TT^TT (ดูโฆษณากันหน่อย เผื่อผมจะรวยขึ้นบ้าง) 

อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

อาหาร 
ในส่วนของสินค้าอาหารสด เชื่อว่า มีอำนาจการต่อรองเยอะมากนะครับ เพราะสินค้าพวกนี้ เก็บไม่ได้ ทำให้เกษตรกร ไม่มีทางเลือก ถ้าใกล้วันเน่า เท่าไหร่ก็ขาย 
(มีญาติทำการเกษตร เลยพอรู้มาบ้าง)
ส่วนเรื่องคนงาน คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะ MINT เน้นทำอาหารตามสูตรมากกว่า (กินที่ไหนก็ไม่ต่างกันมาก ถ้าจะมีปัญหา ก็เรื่องคนงานไม่พอมากกว่า 555+ 

โรงแรม 
ก็เรื่องคนงานมั้ง อย่างอื่นก็คงเป็น ที่ดิน ที่เจ้าของเก่าไม่ยอมขาย แต่ให้เช่า ส่วนซัพพลายเออร์อื่น นึกไม่ออก 
ส่วนอาหารในโรงแรม เครื่องนอน เครื่องห่ม พวกนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาในการต่อรองกับซัพพลาย์เออร์นะ

การขายและผลิต สินค้า 
ค่อนข้างน้อย ต่อรองคงจะยาก 

อำนาจการต่อรองจากลูกค้า

อาหาร 
ไม่มีอำนาจเลย ลูกค้าเดินเข้าออกร้านได้ทุกร้านเลยครับ บางทีก็เซงแทนนะ เวลาคนไม่มี ก็ว่าง เวลาคนกิน ก็กินพร้อมกันอีก ที่นั่งไม่พออีก -*- เซงแทน (ยืนกินข้าวกล่้อง 7-11 มองอยู่ ไม่มีคนเลี้ยง)

โรงแรม 
ไม่มีอำนาจเหมือนกัน ลูกค้าอยากจองที่ไหนก็ได้ (มองจากช่องลมโรงแรมจิ้งหรีด)  (ที่จริงที่ผมไม่พักโรงแรม Mint ไม่ใช่ไม่มีตังค์นะ กลัวไปแย่งห้องลูกค้ามากกว่า 555)

ทั้งอาหารและโรงแรม ต้องหวังพึ่งชื่อเสียงทั้งนั้นครับ 

การขายและผลิต สินค้า
อันนี้ถ้าดูผ่านๆ คงจะไม่มีอำนาจ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า สินค้าพวกนี้ คงขายให้กับบริษัทในกลุ่มมากกว่า

- เสื้อผ้า่
- เครื่องสำอาง
- หนังสือ
- เครื่องใช้สแตนเลน
- น้ำหอม น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ


การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

หนักทุกกลุ่มครับ เหนื่อยครับ
อาหาร
คู่แข่งค่อนข้างเยอะ เลียนแบบกันง่ายมาก ที่เหลือกก็คือการครองทำเลให้มากที่สุด ใครใหญ่กว่าได้เปรียบ
กรณีมิ้น พิชช่า ชนะขาดอยู่ ส่วน ziller มองคู่แข่งโดยตรงไม่ออก (บุตเฟ่สลัด สเต็ก) แต่ถ้าแยกย่อย ร้านสเต็ก คู่แข่งก็เยอะมากอยู่นะ ส่วนร้านแยกย่อย แต่ยังไงก็ตามผู้ชนะ ก็จะได้ลูกค้าไปหมด ส่วนลูกค้าที่มากินแล้วทนรอไม่ไหว ก็จะไปร้านอื่นแทน (อืม Bias ไปหน่้อยวุ๊ย)

โรงแรม
อันนี้แทบไม่รู้เลย เพราะไม่เคยเข้า แต่เท่าที่เห็น ถึงเวลา High Season ก็เห็นว่าจองกันเต็มจองกันเยอะมากนะครับ แต่คนมันไม่เคยเข้าอ่า

การขายและผลิต สินค้า
เหนื่อยครับ ใครก็ทำได้ ที่นี้ผมมองว่า Mint ขายให้กับตัวเองมากกว่าในส่วนนี้นะครับ

การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่


อาหาร
กลุ่มนี้ใครจะเข้ามาก็ได้ แต่ก็ออกง่ายเช่นกัน ตัดพวกร้านค้าย่อยไปนะ (พวกร้านที่เจ้าของทำเองขายเอง) เท่าที่เห็น ร้านที่เปิดใหม่ ไม่นานก็ไป คนมันไม่มี แรกๆคนอาจเยอะ ลองดู แต่สุดท้ายก็กลับไปกินร้านเก่าๆ ยิ่งคนกินน้อย อาหารก็ไม่สดอีก ก็ยิ่งแย่ ร้านเลยอยู่ได้ไม่นานกันมาก (แต่ถ้าเปิดมาแล้วคนติดใจ ก็อีกเรื่องนึง)
สรุป เข้าง่ายออกง่าย การทำให้คนเต็มร้าน ไม่หมูอย่างที่คิดครับ

โรงแรม
ส่วนนี้ ถ้าโรงแรมหรูขนาดใหญ่ รายใหม่ไม่น่าเข้ามาได้ง่าย ไหนจะลงทุนหนักมาก
แต่ที่เห็นช่วงนี้คือ โรงแรมขนาดเล็กๆมากกว่้า ที่บูมกันมาก (แต่ตอนนี้กำลังแย่จะการบูมอยู่)

8 วัตถุดิบ การสินค้าโภคภัณฑ์

อาหาร
เต็มๆครับ แต่ส่วนนี้ ไม่น่าจะมีผลมาก เพราะอัตรากำไรจากอาหาร ค่อนข้างสูงพอสมควร ส่วนถ้าวัตถุดิบไหน แพง ก็เงียบๆ ไม่ก็เอาออกจากเมนู  อันไหนวัตถุดิบถูกมากๆ ก็จัดโปรส่งเสริมการขายเลย ได้เงินอีก 555+ คิดๆแล้ว ขายอาหารสำเร็จ ง่ายกว่าอาหารสดนะ (สงสัยต้องไปอ่าน S&P ล่ะ)

โรงแรม
เป็นธุรกิจที่เป็นโภคภัณฑ์อยู่แล้ว เดียวคนเยอะ เดียวคนน้อย เวลาดูก็ต้องดูทั้งปี แต่ก็ไม่น่ามีปัญหามากนะครับ

การขายและผลิต สินค้า
ขอผ่านนะครับ

9 โอกาสการเติบโตของสินค้า บริการ

อาหาร
ส่วนนี้ผมมองว่ายังไปได้เรื่อยๆนะครับ จากการไปดูต่างจังหวัด ต่างประเทศที่ยังไม่เจริญมากนัก ห้างที่ยังสร้างไปเรื่อยๆ
บางทีก็แปลกใจ ร้านยิ่งใหญ่ ต้นทุนยิ่งลด แต่ราคาดันเพิ่มได้อีก (ร้านเล็กๆแข่งกันลดราคา แต่ร้านใหญ่ๆดันแข่งกันเพิ่มราคา) งง

โรงแรม
ถ้าตามที่คนอื่นบอก ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางอะไรไม่รู้ ก็น่าจะดี
แต่ส่วนตัว ผมมองว่า การที่ประเทศเข้าสู่ ประเทศพัฒนาแล้ว การท่องเที่ยว จะเป็นตัวนำพาเศรษฐกิจมากกว่า อย่างที่เห็น ยุโรป ก็เป็นกลุ่มที่ ผลิตสินค้าขายแข่งไม่ไหว (ค่าแรงแพงมาก) ที่อยู่ได้ก็มาจากการท่องเที่ยวนี่ล่ะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมว่า มันไปได้เรื่อยๆล่ะครับ


การขายและผลิต สินค้า
ขอผ่านนะครับ


==========================งบการเงิน====================================

ขอเอาปีเก่ามาใช้นะครับ ของปี 2554 เนื่องจากโรงแรมมีเรื่องฤดูกาลมาเกี่ยวข้องเยอะ ถ้าไม่ใช้ทั้งปี อาจดูยากหน่อย


ลูกหนี้ กับสินค้าคงเหลือ เพิ่มเยอะ น่าจะมาจากการเข้าซื้อ S&P ทำให้งบในส่วนนี้เพิ่ม นะครับ 
ปล. ผมไม่แน่ใจนะ 


มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในกิจการร่วม เพิ่มขึ้น จากการไปซื้อหุ้นอื่นๆ
ส่วนเงินลงทุนระยะยาว ที่ลดไปมากๆ เกิดจากการปรับบัญชี ก็คือย้ายไปอยู่ในเงินลงทุนแทน
ที่ดินและโครงการ ขายไปเยอะมาก จากการสร้างพัฒนาที่ดินแล้ว เลยโอนไป ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์


 เงินกู้เพิ่มเต็มเลย เจ้าหนี้ก็ด้วย ไม่แน่ใจว่า มาจากการซื้อ S&P หรือเปล่า
หุ้นกู้บานเบย -*- เสี่ยวๆวุ๊ย

เห็นเงินกู้แล้วเหนื่อย



โดยรวมแล้ว ก็ดี ละเอียด ดูคู่กับ note ได้เลยครับ อ่านง่ายกว่าที่คิด


รายได้จากโรงแรมบวมแตกโป๊ะ ครับ
ส่วนอื่นๆ ก็โตพอสมควร
* เวลาดูหรือคิดงบ ตัด รายได้จากการขายอสังหา รายได้อื่นออกด้วยนะครับ 

โรงแรม รายได้ประมาณ 35% 
เครื่อง อาหาร รายได้ประมาณ 46% 
การขายและผลิต สินค้า รายได้ประมาณ 13%
(ตัดรายได้พิเศษออกหมดเลยนะ)

ต้นทุน โรงแรมจะเยอะหน่อย ประมาณ 50% 
ต้นทุน อาหารจะต่ำ ประมาณ 33% (เนื่องจาก ค่าเช่าที่ ไปอยู่ค่าใช้จ่ายอื่น)
ต้นทุนการขายและผลิต ประมาณ 60% 



ดีครับ โตดี

เดียวพรุ่งนี้มาต่อ งบกระแสเงินสด
ปวดตา