1.ผมไม่แน่ใจว่าคำว่า driver ในนิยามของพี่ ih คืออะไรนิยามของผม driver คือกำไรโตเยอะๆ , ตัดธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ธุรกิจที่ทำอยู่ได้รับผลดีจากปัจจัยภายนอก เช่น ราคาเหล็ก ข้าว
- ก็ประมาณที่ Hong เข้าใจครับ driver ก็มีได้หลายๆ อย่าง สำคัญที่สุดก็คงเป็นเรื่องที่มีผลต่อการเติบโตของกำไร ส่วนอื่นๆ ที่มีส่วนผลักดันราคาหุ้นก็เช่น การเข้ามา cover ออกบทวิจัยของ บ. หลักทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
1.1ระกว่างหุ้นราคาถูกในแง่ pe แต่ไม่มี driver กับหุ้นที่ราคาปานกลางแต่มี driver หรือราคาแพง แต่ driver แรงมาก ตัวอย่างที่ใกล้เคียงน่าจะเป็น ps ที่ขึ้นมาตลอดจนในแง่ pe ก็ไม่ถูกแต่ว่ามี presale historical new high หุ้นก็ขึ้นไม่หยุด คุณih จะเลือกแบบไหนครับ
- คงต้องดูหลายปัจจัยครับ เช่น growth ที่เกิดเป็น growth ที่จะ sustain หรือต่อเนื่องไหม เพราะถ้าเป็นการเติบโตของกำไรเพียงปีเดียว บางทีตลาดก็รับรู้และก็อาจจะไม่สนใจหุ้นตัวนั้นได้ เพราะเป็น one-time กลัวว่าซื้อแล้วจะขายไม่ทัน ผมคงจะสนใจหุ้นที่ถ้าโตแล้วโตเลย และโตต่อเนื่องมากกว่า ซึ่งหุ้นเหล่านั้นๆ ควรจะเป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโต และผู้บริหารมีการบริหารจัดการที่โดดเด่นกว่าผู้บริหารบริษัทคู่แข่งครับ
นอกจากนี้ ประเภทของ driver ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่น่าจะเกิดระยะสั้น หรือเป็น trend กลางหรือยาว ยกตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมัน เดิมเคยคิดกันว่าเป็นสิ่งที่น่าจะแพงชั่วคราว แต่ตอนนี้น่าจะเปลี่ยนเป็น trend ระยะกลางแล้วเพราะได้แพงมาต่อเนื่อง 2-3 ปีแล้วและมีโอกาสที่แพงอย่างนี้อีกอย่างน้อย 1-2 ปีจากนี้ และมีบางคนเริ่มคิดว่าจะเป็น trend ระยะยาวแล้ว แต่สำหรับสังกะสี ซึ่งตอนนี้ราคาลงจากจุดสูงสุดมากแล้ว ดังนั้น trend ของสังกะสีเป็น trend ระยะสั้น ดังนั้นสิ่งที่แตกต่างกัน มุมมองที่แตกต่างกันของนักลงทุนคือ การประเมินความต่อเนื่องของ driver เองด้วยครับ
2.เราจะสามารถวัดหุ้น cash cow ได้จากอะไรบ้าง
เช่นถ้าหุ้นตัวนั้นประกาศปันผล 100% ของกำไร ติดกันมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็น cash cow เลยไหม
- ก็มีความน่าจะเป็นซัก 99% ที่หุ้นที่ปันผล 100% ของกำไรจะเป็น cash cow นะครับเพราะแสดงว่ากระแสเงินสดดีและไม่จำเป็นต้องนำเงินสดไปลงทุนเพิ่มเติมทั้งการขยายหรือการ maintain ความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่วน 1% ที่เหลือไว้สำหรับบางบริษัทที่อาจจะจ่ายปันผลสูงๆ แต่ยังต้องลงทุนเพิ่มมากๆ ซึ่งอาจจะเป็นการจัดโครงสร้างเงินทุนที่ไม่เหมาะสมนักก็เป็นได้
2.1หุ้น cash cow จำเป็นต้องมี beta ต่ำกว่า 1 เท่าหรือไม่
- โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ อย่างหุ้นใหญ่ๆ ที่เป็น cash cow เช่น BEC ADVANC ผมไม่แน่ใจว่าต่ำกว่า 1 ไหม แต่ตามทฤษฎีควรจะเป็นอย่างนั้นเพราะหุ้น cash cow จะมีปันผลสูงและมีความสม่ำเสมอของกำไร
2.3หุ้น cash cow ควรมี pe ปานกลาง 9-11 เท่าเพื่อนสะท้อนการไม่เติบโตใช่หรือไม่
- ก็อาจจะไม่จำเป็นครับ ยกตัวอย่างข้างบนเลยคือ BEC ครับ รู้สึก p/e จะเกิน 20 ตลอด และหากดูย้อนหลัง 5-10 ปีก็จะเห็นว่าการเติบโตมีไม่มากเพราะธุรกิจหลักเหมือนเดิม สิ่งที่โตได้ไม่ใช่การเพิ่ม air time เพราะเพิ่มไม่ได้ หลักๆ คือต้องเพิ่มค่าโฆษณา
3.หุ้น asset play จะมี pe ที่สูงเพราะไม่ค่อยมีกำไรแต่ แง่ market cap / asset จะต่ำเพราะ asset เยอะเช่น
Brock ใช่หรือไม่
- ก็มีอยู่หลายๆ ตัวครับ ปัญหาของหุ้น asset play คือ p/bv ต่ำ แต่ ROE ก็มักจะต่ำครับ และบางที่ที่ asset เยอะ เพราะขาย asset นั้นไม่ได้หรือไม่รู้ว่าจะเอา asset นั้นไปทำอะไรดี เลยเป็นที่มาของ asset ที่มาก แต่เรานักลงทุนก็ไปเห็น asset ที่ว่านั้นก็เลยเป็นที่มาของ asset play แต่หุ้นที่มีรายได้หลักจากการขายแต่มี asset เยอะๆ แสดงว่ามี asset turnover ที่ต่ำนะครับ
3.1หุ้น asset play จะถือว่าเป็นหุ้น ? ใน bcg model ใช่หรือไม่ขึ้นอยู่กับการ unlocking value ถ้าสำเร็จก็เป็น star
- ปัญหาคงอยู่ที่ว่าจะ unlock ยังไงด้วยล่ะครับ ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนผู้บริหารและเป็นผู้บริหารเดิมคำถามก็คือ ทำไมเข้าเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าควรจะ unlock ส่วนถ้าเป็นเจ้าของใหม่ก็ต้องยอมรับว่ากฎระเบียบต่างๆ ของเมืองไทยไม่ค่อยได้เอื้อกับการที่บริษัทดีๆ มาทำ hostile takeover บริษัทที่มี Roa หรือ Roe ต่ำ ที่เห็นมี takeover กันก็มักจะเป็น friendly takeover ประเภทคนรู้จักกันเองมาเปลี่ยนมือกันไปมา ราคาหุ้นก็หวือหวา แต่ก็ไม่ได้มีการปรับปรุงการบริหารหรือ unlock อะไร สรุปคือเป็น star ในแง่การจัดตามองของตลาดในแง่ turnover list หรือ volume การซื้อขายมากกว่าครับ
4.คุณ ih คิดว่า port ที่ balance ควรมี bcg model อย่างไร เช่น cash cow 50% star 25% dog10%
(เผื่อ turnaround)
- แล้วแต่ economic cycle มากกว่าครับ ถ้าช่วงหลังเศรษฐกิจตกต่ำอาจจะมีหุ้น turnaround น่าสนใจหลายๆ ตัว แต่ภาวะที่เศรษฐกิจผ่านช่วงตกต่ำสุดขีดมาหลายปีแล้วผมคิดว่าไม่น่าจะมีพอร์ตที่ลงทุนหุ้น dog เท่าไหร่ครับเพราะหุ้นที่ควรจะ turn ก็น่าจะ turn ไปหมดแล้ว และบางตัวที่ turn มาช่วงหนึ่งแต่พอเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยก็ออกอาการไม่ค่อยดีเหมือนกัน เช่น หุ้นกระเบื้องบางตัว หรือหุ้นวัสดุก่อสร้าง รับเหมาบางตัว ส่วนพอร์ตที่ผมชอบคือ defensive growth ครับ คือ ควรจะมีทั้งลักษณะของ cash cow บวกกับ star ในบริษัทเดียว กล่าวคือ บริษัทๆ หนึ่งอาจจะมีบางธุรกิจที่เป็น cash cow เพื่อนำ cash เหล่านี้มาลงทุนเพิ่มในธุรกิจใหม่ๆ หรือสาขาใหม่ๆ ได้ครับ ซึ่งหุ้นค้าปลีก โรงพยาบาล โรงแรม ( MINT ) น่าจะเข้าข่ายตรงนี้อยู่
5.หุ้นที่มี barry to entry เหมือนกัน แต่มีในคนละรูปแบบ เช่น โทรศัพท์ มือถือ มี barry to entry คือสัมปทาน แต่อย่าง ps ก็มี barry ในตลาดล่างเหมือนกันเพราะสร้างบ้านได้ราคาต่ำเนื่องจากทำเร็ว และคนอื่นก็ไม่ค่อยทำระบบ precast พราะว่าค่ายอื่นไม่มีฐานลูกค้าไม่คุ้มทุนที่จะทำ (น้อยเกินไปไม่ break even)
ในประเด็นนี้เป็นการป้องกันคู่แข่ง แบบได้ สัมปทาน (อาจจะหมายถึงเส้นสาย) หรือการได้ bte แบบมีความเก่งส่วนตัว เช่น brand แข็งแกร่ง มีฐานลูกค้ามากพอ
คุณ ih คิดว่า bte ในแบบที่สามารถสร้างได้ด้วย management ที่เก่งกว่าคุ่แข่ง ควรจะมี premium หุ้นสูงกว่า bte แบบที่ได้สัมปทานปะครับ
- ผมคิดว่า barrier to entry ที่ PS มีในตลาดบ้านต่ำกว่า 1 ล้านนั้นก็เป็นความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีมากทีเดียว ส่วน premium จะมากกว่าพวกสัมปทานหรือไม่มันขึ้นกับหลายปัจจัย ตัวอุตสาหกรรมที่อยู่ก็มีผลครับ อย่าง BEC ADVANC ก็มี p/e สูงกว่าเพราะอยู่ในธุรกิจที่มีรายได้มั่นคงและเสี่ยงน้อยกว่า PS แต่หุ้นสัมปทานบางตัวก็อาจจะไม่มี premium นักหากมีการบริหารที่ไม่ active เท่าไหร่ เช่น EASTW เป็นต้นครับ
6.หุ้นที่จะเพิ่มทุนถ้ามี pbv ใกล้เคียง 1 เท่าจะทำให้ผู้บริหารมีแรงจูงใจในการเพิ่มทุนน้อยกว่าเพราะผู้ถือหุ้นใหม่จะได้ต้นทุนเดี่ยวกับเจ้าของเดิม พี่ ih มองยังไง
- ขึ้นกับว่าจะเพิ่มทุนยังไงด้วยครับ ถ้าเพิ่มแบบ PP ( Private placement ) คือการขายเฉพาะเจาะจง หรือ PO ( Public offering ) สามารถกำหนดราคาขายใกล้เคียงกับราคาตลาดที่เป็นราคาที่สูงกว่า book value มากได้ครับ เช่นในกรณีของ Ticon Snc เป็นต้น
6.2หุ้นที่ปันผลเยอะจะมีโอกาสเพิ่มทุนน้อยกว่าเพราะถ้าจะเพิ่มทุนก็สุ้จ่ายปันผลให้น้อยลงดีกว่าจริงหรือไม่
- ก็มีหลายๆ ตัวที่ควรลดการจ่ายปันผลมาเพิ่มทุน หรือควรจะกู้หนี้มาขยายแทนที่จะเพิ่มทุนนะครับ เช่น PB
6.3หุ้นที่เพิ่งคืนเงินกู้แบงค์ ก็จะมีโอกาสเพิ่มทุนน้อยกว่าใช่ไหม เพราะก็กู้ได้ใหม่อีก
- บางบริษัท หรือบางช่วงของธุรกิจ อาจจะคืนเพราะครบกำหนดหรือแบงค์ประเมินแล้วไม่อยากปล่อยกู้ต่อก็มี ดังนั้นอาจจะยิ่งเพิ่มโอกาสการเพิ่มทุนก็ได้นะครับ
7.เรื่องของ roa หลายคนบอกว่าให้ใช้ ebit / total average asset เพราะเขาต้องการวัดว่าถ้า asset เท่ากัน
ทำผลตอบแทนได้เท่าไหร่โดยไม่เกี่ยวว่าจะเป็นเจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นอย่างละเท่าไหร่ แต่ผมมองกลับกันได้ไหมครับว่า ถ้า a มี roa ในรูปแบบ ebit/aa สูงกว่า b แต่ว่าเจ้าหนี้ a เยอะกว่า b มาก ทำให้ ปันผลได้น้อยกว่า
ความเสี่ยงสูงกว่า ฉะนั้นแบบนี้ ratio ebit /aa คงสู้ net profit /aa(average asset)
- ถ้าใช้ EBIT / asset นั้นจะดูเฉพาะความสามารถในการจัดการบริหารสินทรัพย์อย่างเดียวเลย โดยไม่ได้ดูเรื่องความเสี่ยงทางการเงิน เพราะจะไม่นำเรื่องดอกเบี้ยจ่ายมาคิด ดังนั้นการใช้ EBIT / asset จะดูเฉพาะความสามารถของฝ่ายปฎิบัติการ แต่จะยังไม่ดูเรื่องการจัดโครงสร้างทางการเงินและความสามารถในการบริหารต้นทุนทางการเงิน ( ดอกเบี้ย ) สรุปแล้วใช้ได้ทั้ง 2 ตัวครับขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้
8.เดี่ยวนี้รู้สึกว่าหาหุ้นยากเพราะหุ้นส่วนใหญ่ชอบสะท้อนราคาเป้าหมายเร็ว พี่ ih มองว่ามองว่า การที่มีเว็บบอร์ดให้ความรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็ว การมีการอบรมของ tsi tia บ่อยๆ ทำให้หาหุ้น undervalue ยากมากขึ้นเยอะเพราะมี
แต่คนแย่งกันซื้อหุ้น พี่ ih คิดว่าแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไปสำหรับการหาหุ้น undervalue อีกหน่อย ราคาคงจะสะท้อนข่าวดีข่าวร้ายเร็วมากๆๆ ทำให้พวกเราได้ผลตอบแทนกันน้อยลง
- ผมเห็นด้วยถ้าจะเอากำไรระยะสั้นนะครับคงยากขึ้น แต่ถ้าจะหาหุ้น undervalue จริงๆ คงต้องมองให้ยาวขึ้น มองภาพให้ใหญ่ขึ้นครับ การมี internet ก็ทำให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ข่าวสารแพร่กระจายเร็วขึ้น ทั้งข่าวดีข่าวร้าย บางทีข่าวร้ายที่ถูกแพร่กระจายเร็วๆ แต่เป็นข่าวร้ายที่ไม่มีผลกระทบต่อพื้นฐานระยะยาว ก็อาจจะเป็นข่าวร้ายที่ทำให้เกิดโอกาสที่ดีในการซื้อหุ้นได้ครับ เพราะแม้จะมีจำนวน VI มากขึ้นแต่จำนวนคนที่ขี้ตกใจอาจจะไม่ได้ลดลงก็ได้ครับ
9.หุ้น makro หลุดออกจาก ดัชนี msci มีผลทำให้หุ้นลงจริงหรือ จริงๆแล้วไม่เกี่ยวกับพื้นฐานของกิจการเลยไม่ใช่เหรอ case นี้ คุณ ih จะให้ราคาเป้าหมายลดลงหรือไม่ครับ
- ก็คล้ายๆ กับ SET50 ครับ กองทุนในประเทศก็มีหลายๆ กองทุนที่เป็นกองทุน SET50 หรือ index fund คือ ซื้อหุ้นที่อยู่ใน SET 50 โดยไม่จำเป็นต้องดูพื้นฐานเลย ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเข้า ออก SET50 ก็จะมีเรื่อง mkt cap สภาพคล่องการซื้อขาย ดังนั้นการที่หุ้นเข้า ออก SET 50 จะทำให้เกิดแรงซื้อ ขายของ index fund เหล่านี้เพื่อปรับพอร์ต ซึ่ง MSCI index ก็คล้ายๆ SET50 คือจะมีกองทุนต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่เป็น index fund และใช้ MSCI เป็น benchmark แต่ถ้ามองในแง่เราที่ไม่ใช่กองทุนดัชนี เราก็คงไม่ได้ซื้อหรือขายหุ้นตัวหนึ่งๆ เพราะเพียงเหตุผลว่าหุ้นตัวนั้นเข้าหรือออกจาก SET50 ครับ ดังนั้นผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานไม่มีแต่จะกระทบกับ demand supply ของหุ้นในระยะสั้นครับ
9.2มีบางท่านบอกว่า makro ไม่สามารถปรับ margin ได้ถ้เทียบกับ bigc เพราะ bigc มีรายได้จากค่าเช่าซึ้งปรับขึ้นได้ และ makro ต้องเหลือ margin ให้โชว์ห่วยไม่เหมือน bigc ที่ขายถึงลูกค้ายังหาทางเพิ่ม margin
ง่ายกว่า แต่ดู makro ก็จะเหนือกว่าในแง่ sss growth
- การที่ SSS growth ( Same store growth = ยอดขายของสาขาเดิม ) เพิ่มก็ควรจะทำให้ margin ในระยะยาวดีขึ้นครับ หากดู presentation slide จะเห็นว่า SSS growth ของ BigC อยู่ระดับ 2-3% ต่อปี ในขณะที่ Makro อยู่ที่ 5-6% ดังนั้นการที่ BigC จะสร้างกำไรของสาขาเดิมๆ ให้เพิ่มขึ้นได้หลักๆ ก็ต้องทำโดยปรับค่าเช่าร้านเช่าต่างๆ ครับ ดังนั้นโดย model ธุรกิจที่ makro ไม่มีพื้นที่ให้เช่าเท่าไหร่ทำให้ Makro จะต้องมุ่งเน้นไปในเรื่องการสร้าง SSS ให้ได้มากๆ ซึ่งก็เป็นแรงกดดันที่ดีกับผู้บริหารครับ และที่ผ่านมา Makro ก็ทำได้ดีครับเพราะ SSS ก็สามารถโตระหว่าง 5-6% มาหลายปีแล้วครับ
10.ถ้าหุ้นสองตัวราคา 10 บาทเท่ากันและมีราคาเป้าหมาย 13 บาท ทั้งสองตัว ตัวแรกราคาลงมาจาก 13 บาทเหลือ
10 บาท อีกตัวนึงขึ้นจาก 7 บาท มา 10 บาทถ้าให้เลือกลงทุนได้ตัวเดียว ผมเลือกตัวที่สองมากกว่าตัวแรก เพราะตัวแรกมีคนติดหุ้นไปแล้ว น่าจะมีแรงขายมากกว่าตัวที่จะ มี new high คุณ ih มองว่าอย่างไร
- ก็เป็นความเป็นจริงที่หุ้นที่ทำ new high จะมีแรงขายน้อยกว่าหุ้นที่ลงมาจาก high แต่ผมก็เห็นนักลงทุนหลายๆ คนก็ชอบหุ้นที่ลงมาจาก high เยอะๆ และไม่กล้าซื้อหุ้นที่ทำ high เช่น ตอนนี้คนอาจจะรู้สึกสะดวกใจที่จะซื้อ TOP PTTAR PTT มากกว่า PTTEP หรือ BANPU ดังนั้นเหตุผลทั้ง 2 ส่วนมันก็อาจจะหักล้างกันไป แต่แบบไหนน่าซื้อกว่าคงตอบด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้ไม่ได้คงจะต้องดูปัจจัยอื่นๆ หลายอย่างประกอบครับ
11.พี่ ih ครับ เพื่อนของผมไปงานสัปดาห์หนังสือมา
ไปเพื่อไปขอลายเซ็นคุณ วิกรม กรมดิษ เพื่อนผมบอกว่า
ตอนไปขอลายเซ็น คุณวิกรมบอกว่า เขาได้กำไรจากการเขียน
หนังสือถึง 20 ล้านซึ้งดูๆไปแล้ว เขาภูมิใจมาก
ผมว่าหุ้น amata ขึ้นแค่ 1 ช่องเขาก็ได้มากกว่า 20 ล้านแล้ว
แต่ไหงเอาเวลามานั่งเขียนหนังสือแล้วภุมิใจกับ 20 ล้าน
พี่คิดว่า เข้า สัจธรรม การหาเงินเป็นเรื่องท้าทายในตอนต้น
แต่น่าเบื่อในตอนปลายไหมครับ
ทำไมคนรวยหลายคน เข้าวัด ทำเพื่อสังคม
แล้วแบบนี้หุ้นของเขาจะน่าสนใจน้อยลงไหม
- เป็นเรื่องแรงจูงใจ หรือ motivation ครับ ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารเหล่านี้มอบหมายงานสำคัญในบริษัทให้ใครดูแลต่อ เป็นญาติ เป็นลูกน้องที่ยังมี motivation ไหม รวมไปถึงผู้บริหารบางรายแม้อาจจะมีเวลาในบริษัทน้อยลง แต่ถ้าระบบต่างๆ ถูกวางไว้ดีก็อาจจะทำให้มีเวลามาทำงานเพื่อสังคมได้มากขึ้นก็ได้ครับ
ผมเข้าใจว่ารายได้จากหนังสือของคุณวิกรมจะเป็นเงินที่จะไปทำสาธารณประโยชน์ต่างๆ ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงเหมือนเด็กนักเรียนที่เป็นลูกคนรวย ไปทำงานพิเศษ หรือขายของเล็กๆ น้อยๆ แล้วนำเงินทีได้ซัก 1,000 บาทไปทำบุญบ้านเด็กพิการ ก็คงจะมีความภูมิใจมากกว่าที่จะนำเงินที่บ้าน 1,000 บาทไปทำบุญ
ผมเห็นด้วยและชื่นชมครับที่คุณวิกรมประสบความสำเร็จแล้วก็มีความตั้งใจทำประโยชน์และสิ่งดีๆ ต่างๆ ให้สังคม ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือให้ความรู้ จัดรายการ CEO vision 9.00-10.00 ทาง FM 96.5 ให้ความรู้กับผู้ฟังในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นประวัติบุคคลสำคัญ มุมมองต่างๆ รวมถึงการตอบคำถาม และที่สำคัญคือการก่อตั้งมูลนิธิอมตะ ที่มอบหุ้น amata ให้กับมูลนิธิ
ประเด็นก็คือ ผมคิดว่าสำหรับคนที่รวยจนพอแล้ว หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ตอนนี้มีเงิน 1 พันล้าน หรือหมื่นหรือแสนล้าน ถ้ามีเงินเพิ่มอีกเท่าตัว จะมีความสุขเพิ่มอีกเท่าตัวหรือเปล่า จะกินอาหารได้เพิ่มอีก 2 เท่าหรือเปล่า จะซื้อบ้านซื้อรถอีกเท่าตัวหรือเปล่า ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้มีความสุขในชีวิตเพิ่มขึ้นไม่น่าจะเป็นการบริโภควัตถุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายคนอาจจะเลือกที่จะหาความสุขด้วยการทำอะไรดีๆ ให้กับสังคมมากขึ้นครับ
11.1 พี่ ih คิดว่ากรณี คุณ วิกรม คล้ายๆ คุณตันไหมครับ
- หมายถึงคล้ายในเรื่องไหนครับ ที่ Hong ถามแสดงว่าต้องเห็นว่ามีประเด็นไหนคล้ายหรือครับ? ถ้าหน้าตาก็คงไม่คล้ายแน่ครับ คุณตันเจ้าเนื้อกว่าหน่อยเข้าใจว่าอาจจะได้รับน้ำตาลในชาเขียวมากไป ถ้าจะหาประเด็นที่คล้ายก็คงเป็นเรื่องที่ผมเห็นทั้งคู่ออกสื่อบ่อยๆ เหมือนกันครับ
เอาเป็นว่าผมให้ข้อมูลไปแล้วกันนะครับ เอาเฉพาะที่ข้อมูลที่เป็นข้อมูลทั่วๆ ไปที่อ่านได้จากสื่อต่างๆ แล้วกัน
คุณตันขายธุรกิจได้เงินสดออกมา แต่คุณวิกรมยังไม่ขายแต่บริจาคหุ้นให้มูลนิธิ คุณวิกรมไม่มีครอบครัวแต่คุณตันมีครอบครัวและมีลูกจึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณวิกรมเลือกที่จะบริจาค คุณวิกรมทำ Amata เป็นหลักอย่างเดียว คุณวิกรมไปอยู่ในแพที่เขาใหญ่ 6 วันต่อสัปดาห์ ส่วนคุณตันยังอยู่บ้านในกรุงเทพฯ ส่วนคุณตันมีข่าวว่าหลังขาย Oishi ออกมาแล้วก็สนใจไปลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ โดยซื้อที่ดินที่ ถ. เพลินจิต ปราณบุรี ฯลฯ ไว้แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นการแก้มือจากสมัยที่เคยทำที่ชลบุรี คุณวิกรมไม่ค่อยได้บริหารงานใน Amata แล้วแต่ให้น้องๆ ดูแลแทนและคุณวิกรมมาดูภาพรวมอย่างเดียว ส่วนคุณตันดูเหมือนว่ายังหาตัวตายตัวแทนใน Oishi ยังไม่ได้ แต่อนาคตคงไม่แน่เพราะคุณตันอาจจะค่อยๆ ลดการถือหุ้นใน Oishi ลงไปอีกครับ
No comments:
Post a Comment