1.คุณ ih พอจะรู้ไหมครับว่าทำไม หุ้นรับเหมา ขนาดใหญ่ถึงมี pe สูงมาก itd ck
นักลงทุนคาดหวังอะไรในบริษัทพวกนี้เหรอครับ ถ้าได้โครการใหญ่ๆ พื้นฐานจะเปลี่ยนเลยหรือครับ
- ก็อาจจะคาดหวังโครงการใหญ่ๆ อยู่เหมือนกันมั้งครับ อย่างโครงการรถไฟฟ้าก็ได้คาดหวังกันมาตั้งแต่ปี 45-46 แล้ว แต่บางทีโครงการใหญ่ๆ ที่ได้มานั้นก็มีความเสี่ยงจากราคาวัสดุก่อสร้างและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงค่าปรับกรณีส่งมอบงานช้าอยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างกรณี stecon กับโครงการ airport link ซึ่งเสร็จช้ากว่ากำหนดและน่าจะต้องเจอกับต้นทุนการก่อสร้างที่แพงขึ้นมาก โดยรวมผมคิดว่าหุ้นรับเหมาคงไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวรับเงินปันผล แต่คงเหมาะกับการลงทุน style หนึ่ง และเป็นการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่สนใจเรื่องข่าวการประมูลงานซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นมากกว่ากำไรหรือเงินปันผลที่ได้รับ
2.หุ้น ที่ขึ้นมาเป็น 10 เท่า( ยกเว้นเรือ ) ถ้าเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน ก็คือ banpu ptt ผมสังเกตว่า 2 บริษัทที่ว่านี้มีกลยุทธ์ที่เหมือนกัน ก็คือ การไปซื้อกิจการที่แย่สุดๆแล้ว กำลังจะฟื้น เช่น
Banpu ไปซื้อเหมืองที่อินโด ตอนราคาถ่านหิน แค่ 20 เหรียญ และไปซื้อ atc ตอนราคาต่ำๆ
หรือ ptt ก็ซื้อ top atc ตอนราคา floor มากๆ พอเลยมีคำถามดังนี้ครับ
2.1หุ้นที่ market cap จะขึ้นได้เป็น 10 เท่า ในเวลา4-5 ปีนั้น คงจะไม่สามารถทำได้ด้วยกำไรของตัวเอง
เท่านั้น ก็เลยใช้วิธี ซื้อกิจการที่กำลังจะ turn around เป็นการเพิ่มมูลค่าให้หุ้นตัวเอง ไปด้วย บวกกลับกำไร
ของตัวเองที่เพิ่ม ก็เลยได้สองเด้ง พี่ ih เห็นด้วยไหม
- เห็นด้วยครับ การเติบโตของกำไรมาได้หลักๆ จาก
1 ตลาดรวมโตขึ้น
2 market share เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการขยายตลาดด้วยตัวเองหรือไป take over คู่แข่งมา
3 margin ดีขึ้น
ดังนั้นหุ้นที่จะเพิ่มขึ้นได้ 5-10 เท่าส่วนใหญ่น่าจะต้องมีการเติบโตของกำไรมาจากหลายๆ ทาง
2.2ในรอบ 1-2 ปีนี้มีหุ้นที่ไปซื้อกิจการแย่ๆ อยู่ไหมครับ หรือว่าตอนนี้ใครๆ ก็ turn around หมดแล้ว
เลยไม่มีใครทำแบบนี้ได้
- ล่าสุดก็กรณี SCC ไปซื้อ TGCI ครับ สำหรับกรณีนี้ผมเองก็ยังประเมินไม่ได้ว่าเป็นการซื้อที่ดีหรือไม่ แต่ประเมินได้อย่างเดียวว่าเป็นการซื้อที่ใจถึงทีเดียวเพราะ TGCI มีหนี้เยอะและมี non-performing asset เยอะทีเดียวครับ
ก่อนหน้านี้ก็มี major ไปซื้อ TRAF ครับ กรณีนี้ผมเองไม่ทราบจะให้ความเห็นอย่างไรเหมือนกัน
2.3การที่ mint เริ่มไป take ร้านอาหาร ต่างประเทศ มากขึ้น คุณ ih มองว่าก็เป็นกรณี คล้ายๆกับที่
Ptt banpu ทำไหมครับ ก็คือซื้อธุรกิจที่กำลังจะเป็นขาขึ้น
- ถ้าจะให้มั่นใจผมต้องเดินทางไปประเทศที่ MINT เข้าไปซื้อกิจการ คือ ออสเตรเลียและสิงคโปร์และลองใช้บริการร้านอาหารที่ MINT เข้าไปซื้อดูครับ แต่ตอนนี้ผมยังไม่มีโอกาสได้เดินทางไป 2 ประเทศดังกล่าว คล้ายๆ กับว่าถ้าผมจะถือหุ้น 7-11 ผมอาจจะต้องหาโอกาสเดินทางไปเมืองจีนเพื่อเปรียบเทียบระหว่าง Walmart Carrefour และ Lotus ว่า Lotus ที่จีนนั้นมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพื่อประเมินว่าทางกลุ่ม CP มีแรงจูงใจมากแค่ไหนที่จะซื้อกลับไปบริหารเอง และกรณีของ MINT ต่างกับ PTT Banpu ก็คือร้านอาหารที่ mint ไปซื้อน่าจะเป็นร้านที่ไปได้ดีพอประมาณและมีกำไรอยู่แล้ว ไม่ได้ไปซื้อกิจการที่มีปัญหามา ดังนั้นอนาคตคงขึ้นกับว่าหลัง MINT เข้าไปซื้อแล้วจะทำให้ร้านเหล่านี้มีการเติบโตของรายได้และกำไรอย่างไรครับ และคงต้องดูว่าสภาพการแข่งขันของธุรกิจอาหารของประเทศเหล่านี้เป็นอย่างไรด้วยครับ
3.เรื่องการเกิดฟองสบู่แตกของตลาดหุ้นน่ะครับ คือ อย่างตอนดัชนี 1700 นั้น หุ้นตัวใหญ่ๆ อย่างปูนซีเมนส์
ทีพีไอ สมัยก่อนมี d/e เยอะๆ ใช่ไหมครับ แต่เดี่ยวนี้หุ้น blue ship บ้านเรา d/e ค่อนข้างต่ำ ทำให้ไม่น่าเกิดวิกฤติ และอีกอย่างตอนดัชนี 1700 pe ตลาดก็ 30 เท่า ฉะนั้นถ้าจะดู bubble ตลาดหุ้น ดูจาก pe กับ de ก็พอแล้วปะครับ
- จะว่าไปวิกฤติก็มีหลายแบบครับ นอกเหนือจากวิกฤติทางเศรษฐกิจก็อาจจะมีวิกฤติอื่นๆ ได้ เช่น วิกฤติการเมือง สงคราม โรคระบาด ภัยธรรมชาติ โรคร้อนฯลฯ ตอนปี 40 เราเจอวิกฤติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นจะลดลงมากๆ ก็อาจจะเกิดจากวิกฤติอื่นๆ ซึ่งก่อนหุ้นลงมากๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องก่อตัวเป็นฟองสบู่ก่อนก็ได้ครับ ดังนั้นยังไงเราเองก็ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและจัดการลงทุนให้มีการกระจายและบริหารความเสี่ยงที่ดี รวมไปถึงพยายามใช้ชีวิตและวางตนให้มีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงต่อวิกฤติในอนาคต เช่น ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่จำเป็น ช่วยเหลือสังคม การศึกษา การรักษาพยาบาลในรูปแบบต่างๆ ตอนนี้ผมคิดว่าสังคมโลกและสังคมไทยจะใช้วิธีต่างคนต่างอยู่ไม่เบียดเบียนใครไม่พอแล้วล่ะครับ ต้องพยายามช่วยเหลือสังคมด้วยครับเพราะปัจจัยคุกคามโลกและประเทศไทยมันมาได้จากรอบด้านทีเดียว
เรื่องฟองสบู่นั้น ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ยังห่างไกลจากฟองสบู่ ก่อนวิกฤติ ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารคือ 15% ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ( ตอนนั้นตลาดยังไม่ค่อยใหญ่ ) น่าจะประมาณ 10-12% แต่หุ้นมี p/e 30 เท่า การที่ p/e 30 เท่านั้น คิดเป็น earning yield ( E/P หรือส่วนกลับของ p/e ) = 1/30 3.3% ดังนั้นการซื้อหุ้นให้ yield 3.3% แต่ต้นทุนเงินทุนคือดอกเบี้ยคือ 15% ดังนั้น earning yield spread ซึ่งคือ e/p ลบด้วยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ติดลบไปกว่า 10% หุ้นแทบทุกตัวแม้ว่าจะปันผล 100% ของกำไรก็ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินฝากธนาคาร ดังนั้นคนซื้อหุ้นหวังได้อย่างเดียวคือ growth ถ้าหยุด growth เมื่อไหร่เสร็จเมื่อนั้น
มาดูปัจจุบัน ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลคือ 4.5% แต่ p/e หุ้นในตลาดเฉลี่ยประมาณ 15 เท่า ดังนั้น earning yield หรือ E/P คือ 1/15 = 6/6% ซึ่ง earning yield spread เป็นบวกประมาณ 2% ดังนั้นหมายความว่า ผลตอบแทนของหุ้นในตลาดสูงกว่าต้นทุนเงินทุน ( ดอกเบี้ย ) แสดงว่าตอนนี้หุ้นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นที่มีปันผลค่อนข้างดี ยังให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่าเงินฝากธนาคาร
ข้างบนจะเห็นว่า ที่หุ้นนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร หรือโดยเปรียบเทียบหุ้นยังไม่แพงนัก เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยในท้องตลาดอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในรอบหลายๆ ปี ซึ่งเป็นผลจากดอกเบี้ย FED นั้นอยู่ที่ 2% ดังนั้นถ้ามีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ FED fund rate เพิ่มเป็น 5% หรือกระทั่ง 10% ดอกเบี้ยประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นจะขึ้นตามไป 10% ถึงตอนนั้นหุ้นไทย p/e 15 เท่าก็ถือว่าแพงทันทีครับ เพราะ e/p ที่ 6.6% จะต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ 10% ไปแล้ว ดังนั้นในระยะยาวๆ การลงทุนในหุ้นอย่าชะล่าใจว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำแบบนี้ไปตลอดครับ
4.คุณ ih ครับ กระทู้ที่คุณ ih พูดถึง gc คุณ ih บอกว่า ถ้า gc เน้นเพิ่มมาร์จินก็จะไม่ทำให้กระแสเงินสดติดลบมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเน้นเพิ่มยอดขายเงินสดน่าจะแย่ลงเพราะว่า การเพิ่ม sale ต้องเพิ่ม ยอดขายเยอะ
เราสามารถพูดได้ไหมครับว่าถ้าหุ้นที่ workingcap ต่อ sale ยิ่งเยอะเท่าไหร่ กลยุทธ์ที่ถูกต้องคือการ หาสินค้าเพิ่ม margin มากกว่า เพิ่ม sale แต่ถ้า workingcap ต่อ sale น้อยๆ หรือ ติดลบ ไปเลยเช่นค้าปลีก เราควรเน้นเพิ่มยอดขายมากกว่าเน้นเพิ่ม margin เพราะเงินสดจะได้เยอะกว่า ถูกต้องไหมครับ
- การเพิ่มประเภทสินค้าที่สามารถทำให้ margin เพิ่มได้ก็เป็นกลยุทธ์ที่ดี ล่าสุด HMPRO แม้จะมี same store sale ลดลงมา 2 ปีแล้วแต่ก็ยังมี margin เพิ่มขึ้นได้จากการปรับปรุงกระบวนการจัดหาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จัดหามาขายเอง บริษัทจดทะเบียนที่ดี ผู้บริหารและกรรมการควรมองรอบทิศครับ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย margin กำไร กระแสเงินสด เพื่อกำหนดกลยุทธ์ บางทีไปเน้นยอดขายมากไป แต่ margin และกระแสเงินสดแย่ลงก็ไม่ดีครับ
หุ้นที่ working cap ต่อ sale เยอะๆ ทางที่จะช่วยได้มากคือต้องลด inventory day และ account receivable day ลงให้มาก โดยเฉพาะเรื่อง inventory day เพราะเป็นปัจจัยภายในที่พอบริหารเองได้มากกว่าครับ
5.เคยอ่านเจอมีการประเมินมูลค่าหุ้นบางกลุ่มโดยใช้ ev เป็นตัวตั้งหารด้วยรายละเอียดตามอุตสาหกรรมต่างๆเช่น cable tv ใช้ eb/number of subscribers = value per subsubcriber
Air line .ใช้ ev/annual passenger miles = value per passenger mile
ค้าปลีก ev/store
คุณ ih คิดว่าการประเมินมูลค่าหุ้นแบบนี้ สามารถสะท้อนมุมมองอะไรเพิ่มเติมจากวิธีเดิมๆอย่าง pe pbv ครับ
- EV = Market cap + debt ครับ ดังนั้น EV จะสะท้อนหนี้สินของบริษัทด้วย เพื่อเป็นการปรับบริษัทที่มีหนี้และไม่มีหนี้ให้อยู่ในตัวเทียบวัดเดียวกัน เช่น ธุรกิจหนึ่งใช้เงินลงทุน 1 แสนล้าน บริษัท A ใช้ d / e 2 เท่า บริษัท B ใช้ 1 เท่า ถ้าหลายๆ อย่างใกล้เคียงกันบริษัท B น่าจะมี mkt cap สูงกกว่า เพราะหนี้น้อยกว่าดอกเบี้ยจ่ายน้อยกว่า กำไรน่าจะมากกว่า ดังนั้นถ้าเทียบ p/e หรือ mkt cap / sale หรือ mkt cap / subscriber นั้น บริษัท B จะแพงกว่า A ทั้งๆ ที่บริษัท B ก็มีเหตุผลที่จะแพงกว่า ดังนั้นการใช้ EV จึงเป็นการปรับการใช้หนี้ที่ต่างกัน
อีกอย่าง บางทีที่เราใช้ EV เผื่อการเข้าซื้อกิจการด้วยเพราะถ้าบริษัทเราจะซื้อกิจการใดๆ ก็จะต้องรับผิดชอบภาระหนี้ของบริษัทนั้นด้วย
ประเด็นสุดท้าย ในแง่นักลงทุน การดู EV ก็เป็นการคำนึงถึงหนี้ของบริษัทด้วย การซื้อหุ้นที่มีหนี้มากๆ ผลก็คือปันผลต่ำเพราะต้องนำเงินไปคืนเงินต้นให้ได้พอสมควรก่อนครับ
6.ผมอ่านเจอว่า lpn มี key of success คือ ไม่สะสมที่ดินเพื่อเก็งกำไร และจะสร้างจำนวนยูนิต
ครั้งละเยอะๆ เพื่อต่อรองกับ supply เพื่อลดต้นทุนก่อสร้าง และสร้าง blue ocean เก่ง
ส่วน ps หนี้น้อย สร้างเร็ว เป็นเจ้าตลาดกระแสเงินสดดี
อยากถามพี่ ih ว่า ผมเช็กราคาหุ้นกลุ่มอสังห ตัวที่มี pbv มากกว่า 3 เท่า ก็มี ps lpn ap lh
ผมเองไม่รู้ว่า คุณภาพของ ap เป็นยังไงถึงมี pbv สูงขนาดนี้ด้วย พี่ ih ช่วยสรุป key of success ของ ap สั้นๆให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ
- การที่ p/bv สูง แสดงว่า ROE ต้องสูง การที่ ROE สูงก็มาจากการจัด capital structure ที่เหมาะสม ( ไม่กู้มากไป และไม่ใช่ว่าไม่กู้เลย ) และที่สำคัญคือ ROA ต้องสูง ดังนั้น ROA สูงหลักๆ ต้องมาจาก inventory turnover เร็ว และ net margin สูงพอ ธุรกิจอสังหาฯ เป็นลักษณะเงินต่อเงิน ดังนั้น inventory turnover เป็นเรื่องสำคัญที่จะปล่อยให้เงินส่วนใหญ่ไปจมกับบางโครงการใหญ่ๆ ไม่ได้ การที่ inventory turnover เร็วก็ต้องมาจากการที่เลือกทำเล ออกแบบ ตั้งราคาเหมาะสมที่ทำให้แต่ละโครงการที่เปิดใหม่นั้นมียอดขายหมดได้เร็ว และการบริหารการก่อสร้างต้องทำได้ดีเพื่อให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาที่เร็วกว่าคู่แข่ง เช่น ถ้าทำคอนโดฯ 30 ชั้น ต้องสร้างเสร็จและขายหมดภายในไม่เกิน 2 ปี และถ้าได้ 1.5 ปีก็จะยิ่งดีมาก หรือถ้าคอนโดฯ low rise ก็ต้องภายใน 1 ถึง 1.5 ปี ถ้าเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ควรขายให้หมดภายใน 2 ปีนับจากเปิดโครงการ ลองสังเกตโครงการที่มี p/bv ต่ำดูนะครับ โครงการส่วนใหญ่ของเค้าเปิดมาแล้ว 5 ปี หรือ 10 ปีบางทียังขายไม่หมด
7.โดยส่วนตัวผมค่อนข้างสนใจ oishi เพราะชอบคุณตัน แต่ติดตรงประเด็นว่าผมไม่รุ้ว่าเมื่อไหร่จะออก product โดนๆอีก ผมเลยอยากคุยกับพี่ ih เรื่องตัว product ของ oishi หน่อยน่ะครับ
รู้ว่าว่าน้ำส้ม เซกิ เนี้ย ออกมาแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ การออก promotion เอาฝา oishi ไปดูหนังได้ก็ไม่โดน
ล่าสุดเรื่องไปเที่ยวญี่ปุ่นกับคุณตัน ไม่แน่ใจว่า success แค่ไหน แต่ก็ชอบตรงที่เราติดตามได้ง่ายดี
ก็เลยจะขอถามพี่ ih ว่า คิดยังไงกับสินค้าใหม่อย่าง coffio ที่ขาย 25 บาทในปริมาณ 230 มล คิดว่าได้ผลดีแค่ไหน และการที่เริ่มออก product ไม่ต้องกับของเดิมคือ ร้านอาหาร หรือชาเขียว พี่ ih มองยังไง
- สินค้าใหม่ๆ ถ้าไม่โดน ก็มี limit loss คือ ค่าโฆษณาช่วงออกสินค้า ถ้าขาดทุนติดต่อกันนานๆ ก็ยกเลิกสินค้าหรือลดการผลิตลงได้ แต่ถ้าสำเร็จเมื่อไหร่ upside ก็เปิดกว้างทันทีและสามารถเก็บเกี่ยวกินยาวได้ ยกตัวอย่างก็เหมือนสินค้าชาเขียวนั่นเอง ถ้าเป็นไปได้ Oishi คงอยากออกแคมเปญฝาละล้านอีกแต่ติดที่ทางการมีกฎห้ามไว้ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นชิงโชคแทน ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคหลังๆ ไม่ชอบการชิงโชคเพราะเสียเวลาและขี้เกียจรอ จึงชอบโชคซึ่งๆ หน้ามากกว่า ดังนั้นสมัยที่เป็นฝาละ 1 ล้านจึงเหมือนการซื้อล็อตเตอรี่ราคา 20 บาท รู้ผลทันทีแถมยังได้กินชาเขียวฟรีปลอบใจถ้าไม่ถูกรางวัลอีก กลยุทธ์ดังกล่าวจึงประสบความสำเร็จอย่างมาก
ส่วนสินค้าใหม่คือ coffio นั้นผมได้ทานประมาณ 10 ขวดแล้ว ข้อดีคือเวลาซื้อทานในรถนั้นไม่ต้องกลัวมันหกเหมือนเวลาซื้อกาแฟกระป๋องหรือกาแฟเป็นแก้วๆ เพราะแบบขวดมีฝาปิดมิดชิด รสชาตคงแล้วแต่คนจะชอบ สำหรับผมๆ คิดว่ามันก็อร่อยกว่ากาแฟกระป๋องระดับหนึ่งและน่าจะอนามัยกว่าเพราะกาแฟกระป๋องบางทีมักจะมีคราบๆ ตรงฝาเปิดเวลาทานแล้วอาจจะต้องไปล้างน้ำก่อน เท่าที่ถามพนักงาน 7-11 ก็เห็นว่าขายดีพอใช้ได้ แต่ในระยะยาวๆ ที่ผมไม่มั่นใจคือ ราคาขายที่ 25 บาทนั้นจะสูงไปหรือไม่ และเป็นราคาที่ไม่น่าจะเจาะตลาด mass เท่าไหร่นัก กาแฟต่างจากชาเขียวตรงที่ชาเขียวเจาะตลาดวัยรุ่น แต่กาแฟจะเจาะตลาด mass กว่าคือจะเจาะตลาดกลุ่มคนขับรถ นักเดินทาง ซึ่งมากกว่าครึ่งของคนขับรถต่างจังหวัดเป็นการขับรถเป็นอาชีพ ( ไม่ใช่เดินทางท่องเที่ยว ) จึงมีรายได้ไม่มากนัก แต่ก็ไม่แน่ครับผมเพิ่งทราบมาว่าคนขับรถ 10 ล้อเดี๋ยวนี้เค้าทานซุปไก่แบรนด์กันแล้ว แก้ง่วง และแก้ง่วงได้นานกว่าการทานกาแฟกระป๋องหรือเครื่องดื่มชูกำลัง บางที coffio อาจจะต้องขึ้นไปแข่งกับแบรนด์กันก็ได้นะครับ
8.คุณ ih คราวที่แล้ว ยก case study ของ ah เรื่องการไปสิน asset ใหม่ที่ roa สูงแล้ว
คราวนี้อยากทราบว่ามีกรณี เพิ่มทุนแล้วเอาเงินไปใช้หนี้ แต่ eps เพิ่มขึ้นเพราะ ลดดอกเบี้ยจ่ายได้มากกว่า
Eps ที่สูงขึ้นไหม ไม่แน่ใจว่าอย่าง irpc จะใช่หรือป่าว
- EPS อาจจะไม่สูงขึ้นมากหรือลดลงนะครับ เพราะการเพิ่มทุนแสดงว่าจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ตัวหารก็ต้องเพิ่มครับ แต่การเพิ่มทุนไปคืนหนี้ ที่แน่ๆ คือ ROE ลงแน่ครับสำหรับหุ้นที่มี ROE ค่อนข้างสูง เช่นถ้า ROE ประมาณ 20% แล้วเพิ่มทุนไปคืนหนี้ที่ดอกเบี้ยจ่าย 7% ก็เท่ากับว่าผลตอบแทนของเงินทุนส่วนที่เพิ่มก็เท่ากับดอกเบี้ยที่ลดลง นั่นคือ 7% ของเงิน ถ้า ROE เดิมคือ 20% ผลตอบแทนของเงินเพิ่มทุนใหม่ คือ 7% ดังนั้นเฉลี่ยแล้ว ROE จะลดลงครับ
9. จากกระทู้ที่แล้วที่เคยถามเรื่อง หุ้น turn around นั้นสามารถสรุปได้ว่า หุ้น ที่จะ turn นั้น
Price/ Replacement cost จะต้องถูกเพราะไม่มีผู้สร้างใหม่ถูกปะครับ สรุปว่า sign ที่เราจะดูก็คือ
ถ้าหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆ หลายตัวต่ำกว่า replacement cost แถมไม่มีข่าวการสร้างโรงงานใหม่
แสดงว่า downside ของหุ้นก็จะน้อยเพราว่า ยังไงก็ไม่มี supply เข้ามา ส่วนถ้า demand เข้ามา
กว่าจะสร้างโรงงานเสร็จพอก็อาจใช้เวลาเป็นปี แสดงว่าหุ้นพวกนี้ ยังไงถ้า demand เข้ามาเราก็ร้องเพลงรอได้เลย เพราะว่ากว่าคุ่แข่งจะเข้ามาได้ (สร้างโรงงาน) ก็ตั้งนานอยู่แล้ว พี่ ih ช่วยให้ความเห็นหน่อยครับ
- น่าจะตามนั้นครับ ยกเว้นธุรกิจที่มันกำลังถูกทดแทนโดยสินค้าใหม่ๆ เช่น โรงงานผลิต TV จอ CRT หรือเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในประเทศที่สูญเสียความสามารถการแข่งขัน เช่น สิ่งทอในไทย อย่างโรงงานทอผ้าที่ใช้เครื่องปั่นแบบกระสวยในไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นคงจะต่ำกว่า replacement cost มากและไม่มี supply ใหม่ แต่ก็คงแทบไม่มีโอกาส turnaround ครับ อุตสาหกรรมที่เป็น commodity บางตัวผมก็เห็นว่าไม่รู้จะ turn ได้รึเปล่า อย่างหุ้น tuntex ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะธุรกิจไม่ดีหรือมีปัญหาเรื่องการจัดการ หรือทั้งสองอย่าง
10.การ replacement cost ผมเคยอ่านเจอว่า ของ hmpro จะใช้ มูลค่า leasing ระยะยาวทุกสาขารวมกัน
ลบหนี้ หารเป็นจำนวณหุ้น อยากทราบว่าถ้าจะคิด replacement cost ของ tpipl หรือ irpc จะคำรวณประมาณไหน สังเกตว่าตอนนี้ tpipl ดูจาก market cap แล้วรู้สึกว่าถูก
- TPIPL กับ IRPC คงจะหา replacement cost ลำบากโดยเฉพาะตัวของ IRPC เพราะธุรกิจมีหลายอย่าง แต่หากดูด้วยตาเปล่า จาก mkt cap เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตของธุรกิจหลักๆ นั้นก็เห็นว่าน่าจะต่ำกว่า replacement cost มากพอสมควร สำหรับ IRPC ก็น่าจะมีโอกาสที่จะปรับปรุงการดำเนินงานได้เรื่อยๆ ในอนาคต แต่สำหรับ TPIPL คุณ hong ก็พอจะทราบเหมือนที่ผมทราบว่าปัญหาของหุ้นนี้คืออะไรและการคิด replacement cost ไปก็อาจจะเปล่าประโยชน์ครับ
11.คราวที่แล้วเคยคุยเรื่อง lotiboy ไป คราวนี้ขอคุยเรื่อง swenzen กับ baskin robins บ้างนะครับ
ผมเคยเข้าไปกินทั้งสองที่ ปรากฏว่าผมชอบ baskin robins เพราะเนื้อมันเข้มข้นกว่า และละลายช้ากว่า
แต่น่าแปลก รู้สึกว่า baskin robins จะขายไม่ดีจนกระทั่งต้องมา มี promotion ซื้อหนึงแถมหนึ่งตั้ง 31 ครั้ง
คุณ ih ดูแล้วทำไม swenzen (mint) ถึงภาษีเหนือกว่าล่ะครับ
- คนไทยไม่ค่อยถูกปากกับไอศกรีมที่มีสัดส่วนของนมสูงอย่าง Baskin ครับ แต่จะถูกปากกับ Swensen มากกว่า ซึ่งหลังๆ ทั้งสองยี่ห้อก็น่าจะมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน แรกๆ ตอนทำการตลาด Baskin จะแพงกว่า Swensen ในระดับหนึ่งโดยเฉพาะการสั่งจำนวนหลายๆ ลูกซึ่ง Swensen มี menu ที่ดึงคนระดับ mass ได้ด้วย menu Earthquake ซึ่งคิดเฉลี่ยต่อลูกแล้วเพียง 10 กว่าบาท ( สมัยก่อนนะครับ ) ส่วนด้านการบริการนั้น Swensen ทำได้ดีกว่าอยู่หน่อยแต่หลังๆ Baskin ก็ปรับปรุงมาได้ดี ตอนนี้หากไปเทียบราคาก็เห็นว่าราคา Swensen ก็ไม่ได้ถูกกว่า Baskin มากแล้วแต่ถึงปัจจุบัน Swensen ก็ยึดหัวหาดไปยังห้างใหญ่ๆ และห้างค้าปลีกได้มากแล้วซึ่ง Baskin ก็คงแทรกเข้าไปแข่งลำบากครับ
หลายๆ สินค้าที่ประเทศไทยมี mkt share ที่ต่างจากต่างประเทศ เช่น ที่เมืองนอก Mcdonald จะมียอดขายสูงกว่า KFC แต่เมืองไทย KFC ดีกว่า Mc เยอะ เพราะคนไทยคุ้นกับการทานไก่มากกว่าทานเนื้อ หรือกรณีของเบนซ์กับ BMW โค้กกับเป๊ปซี่ ฯลo
No comments:
Post a Comment