Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 12 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.การที่ fed ลดดอกเบี้ยจาก 6.5%ในปี 2000 ลงมาเหลือ 1% ในช่วงปี 2003
อ่านเจอว่า fed ลดเพื่อแก้ปัญหา dotcom bubble น่าจะเป็นแค่การซื้อหุ้นจน
overvalue และในที่สุดดัชนีก็ฟองสบู่แตกปะครับ ปัญหาเพียงแค่นี้ทำให้ fed ต้องลดดอกเบี้ยลงขนาดนั้นเลยหรือ

- เพราะเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้พึ่งการส่งออกมากนัก แต่ตัวแปรหลักคือ การบริโภค ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่กำหนดการบริโภค คือ wealth ซึ่งตอนนั้นมาจาก 2 ทางคือ การลงทุนในหุ้น และบ้าน ซึ่งเมื่อ ธ.กลาง และรัฐบาลต้องการไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวจากฟองสบู่ตลาดหุ้นแตก ก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นตลาดหุ้น และกระตุ้นให้เกิดการบริโภค แต่ก็ได้ผลพลอยได้คือ ราคาอสังหาฯ ก็ปรับเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้ wealth เพิ่มขึ้นและทำให้การบริโภคยังเติบโตดี ท้ายสุดผลกระทบจากฟองสบู่แตกจึงสามารถแก้ไขได้ แต่ได้ผลข้างเคียงระยะยาวคือ ฟองสบู่อสังหาฯ ซึ่งแรกๆ รัฐบาลและ FED อาจจะพอใจเพราะคิดว่าควบคุมได้ แต่ท้ายสุดแล้วมันควบคุมไม่ได้ แม้หลังๆ จะพยายามขึ้นดอกเบี้ยแต่ก็ไม่ทันแล้ว

2.gdp ของ usa ในช่วงนั้นก็เติบโตได้บ้าง
แต่ alan greenspan กลับลดดอกเบี้ยจนเกินไป การที่เขาออกมายอมรับ
ว่าเป็นคนทำให้เกิดปัญหา subprime เนื่องจากเขาไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปี
2003-2004 หรือป่าวครับ
ไม่ทราบว่าพี่ ih มีความเห็นอย่างไร

- จากข้อ 1 ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ก็อาจจะไม่ต้องลดดอกเบี้ยแรงขนาดนั้นหรือไม่ก็ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยให้เร็วกว่านี้ แต่รู้อะไรไม่สู้รู้งี้ครับ ดังนั้นถ้าตอนนั้น Greenspan ลดดอกเบี้ยช้า และขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเพื่อยับยั้งฟองสบู่อสังหาฯ แต่ก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตน้อยลง ตลาดหุ้นก็แย่ Greenspan ก็จะโดนด่า ตำหนิว่าไม่ยอมใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นว่าอนาคตจะเป็นยังไง หรือถ้าเห็นอนาคตเลาๆ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอยากที่จะ enjoy กับภาวะปัจจุบันมากกว่าที่จะมีใครเดินมาดึงปลั๊กไฟเพื่อให้งานเลี้ยงเลิกในเวลาที่ควรจะเป็นแต่แขกในงานยังสนุกสุดเหวี่ยงกับการเต้นอย่างเมามัน

คล้ายๆ กับเราเกิดมีนิมิตเห็นอนาคตว่าชายที่เดินข้างทางอยู่จะถูกรถพุ่งมาชน เราเลยวิ่งไปผลักชายคนนั้นตกข้างทางลงเลยทำให้ชายคนนั้นแขนหัก แต่เค้าเองไม่รู้ว่าถ้าถ้าเราไม่ผลักเค้าจะถูกรถชน เราก็จะโดนข้อหาว่าเป็นผู้ร้ายทำให้คนบาดเจ็บ ดังนั้นเช่นกันครับ ณ ปี 2003-2006 คนส่วนใหญ่ไม่เห็นภาพว่าปี 2008 จะเป็นแบบนี้ แม้ว่า Greenspan หรือ Policy maker จะเห็น แต่ใครจะยอมโดนด่าแบบคนที่วิ่งไปผลักชายที่กำลังโดนรถชนล่ะคัรบ

3.ดัชนี ism manufacturing index ของเดือนมีนาคม ลงมาเหลือประมาณ
38.9 ลดจาก 43.5 เมื่อเดือนที่แล้ว
พี่ ih คาดว่า usa ตอนนี้เข้าขั้น recession ไปแล้วใช่ไหมครับ

- คำจำกัดความของ recession ถ้าผมจำไม่ผิดคือ GDP โตติดลบกัน 2 ไตรมาสติดกัน ซึ่งจากภาวะต่างๆ ในปัจจุบัน สหรัฐเข้าสู่ recession แน่นอนอยู่แล้วครับเพียงแต่จะเป็น depression หรือเปล่าเท่านั้นล่ะครับ

4.สิงคโปร์เศรษฐกิจอยู่ได้ด้วยการส่งออก การที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหา
จะนำไปสู่เศรษฐกิจสิงคโปค์ recesstion ใช่หรือไม่

- ก็เป็นไปได้ครับเพราะเศรษฐกิจสิงคโปร์เป็นระบบเศรษฐกิจเปิดมาก โดยดูได้จากสัดส่วน ( Export + Import ) / GDP ดังนั้นน่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม พื้นฐานทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้นค่อนข้างแข็งแกร่งจึงน่าจะรับแรงกระแทกจากเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น GDP ที่ติดลบ 2% แต่ละประเทศจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงต่างกันครับ อย่างเช่น ญี่ปุ่น ที่ GDP เค้าโต 1% มาหลายๆ ปี แต่คนในประเทศเค้าก็ไม่ลำบาก แต่ถ้า GDP จีน อินเดีย หรือไทย โต 1% ผมว่ารัฐบาลประเทศนั้นๆ เหนื่อยแน่ครับ

5.จากข้อ 4 ทำให้หุ้นที่รัฐบาล หรือ กองทุน สิงคโปร์ เข้ามาซื้อไว้
มีความเสี่ยงต่อการถูกเทขายใช่หรือไม่

- ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ให้กู้สุทธิ คือ มีเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้น สูงกว่าหนี้สินของประเทศ และมีเงินทุนสำรองสูง ดังนั้นเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ในต่างประเทศครับ และกลับกันผมคิดว่าสิงคโปร์น่าจะเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทที่มีปัญหาในสหรัฐหรือยุโรปเสียด้วยครับ แต่คำตอบข้อนี้เป็นคำตอบที่ผมเองไม่ได้ติดตามสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างใกล้ชิดนะครับเพียงแต่นำข้อมูลเบื้องต้นมาจับกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้นครับ

6. จากรูปไม่แน่ใจว่าทำไมดัชนี ism ต่ำสุดรอบที่แล้ว ประมาณ 1980 ค่าดัชนี
ประมาณ 30

ผมงงว่า น่าจะเกิดในช่วง 1970 stagflation มากกว่าไม่ใช่หรือ

ทำไมผ่านมาตั้ง 10 ปีแล้วเพิ่งจะมีปัญหาขึ้นมา

- ภาวะ stagflation เกิดขึ้นต่อเนื่องจาก 1970 ถึง 1980 ต้นๆ ครับ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยยาวนานทีเดียวครับ ภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้เป็นช่วงที่นักลงทุนที่ลงทุนแบบ buy and hold หลายคนถอดใจ แต่ก็ทำให้พลาดตลาดขาขึ้นรอบใหญ่ในช่วง 1980 กลางๆ จนถึงปี 2000 ครับ ดังนั้นหากลงทุนในตลาดหุ้นก็อาจจะต้องอยู่ให้ได้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยนานๆ ครับ แต่ช่วง 1970-1982 ก็ไม่ใช่ว่าหุ้นทุกตัวจะต้องให้ผลตอบแทนแย่นะครับ หุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีๆ ก็มีครับ เช่น หุ้นน้ำมัน หรือหุ้นบางตัวที่มีการเติบโตแข็งแกร่งสวนภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งบางตัวก็เป็นหุ้นที่ Buffet ลงทุนเช่นกัน

7.นิยามของคำว่า recession กับ depression ต่างกันประมาณนี้ใช่หรือไม่
recession คือ gdp ถดถอย การว่างงานเยอะขึ้น แต่ depression นั้น หมายถึง gdp ติดลบเยอะๆ คนว่างงานอาจจะสูงมากกว่า 10% มีปัญหาเรื่อง ค่าเงินด้วย

- เรื่องนิยามผมเองก็ไม่แม่นเท่าไหร่ครับ คิดว่า Google อาจจะพอช่วยเรื่องนี้ได้ครับ โดยหลักการแล้ว depression จะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงลึกและกินเวลายาวนาน ซึ่งกรณีของ 1930 จะเข้าข่ายนี้ครับเพราะว่าตกต่ำลึกและยาวนาน แต่กรณีช่วง 1970-1982 นั้นยาวนานก็จริงแต่ไม่ได้ลงลึกมากครับ คือ การว่างงานไม่เลวร้ายขนาดปี 1930 และไม่มีภาวะ deposit run และการล้มของสถาบันการเงิน

8.วิกฤติ เศรษฐกิจครั้งนี้ทั่วโลกมีปัญหาอยู่เรื่องนึงคือ balance of payment crisis เข้าใจว่าประเทศที่บริหาร reserve ไม่เก่ง ไปเข้าโรงเรียน imf แล้วเช่น ไอแลน ยูเครน ฮังการี พี่ ih คิดว่าประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหา balance of payment crisis มากแค่ไหน เมื่อเทียบกับประเทศที่กล่าวมา

- เศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ยังเล็กครับไม่ได้ส่งผลอะไรกับเศรษฐกิจโลกครับ แต่ยังไงประเทศที่จะมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแรงในอนาคตควรจะเข้าโรงเรียน IMF ซัก 1 ครั้งครับ จะได้เป็นบทเรียนที่ดีของประเทศนั้น อย่างอังกฤษก็ยังเคยเข้ามาแล้วเลยครับ

ดูจากตัวเลข International reserve ของเราตอนนี้ที่ 100 พันล้านเหรียญ หรือ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งยังสูงกว่าหนี้ต่างประเทศค่อนข้างมาก คิดว่าตอนนี้เรายังมีความเสี่ยงเรื่อง balance of payment crisis ต่ำนะครับ เว้นเสียว่าเราจะขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดสูงๆ ซัก 3-4 ปีติดต่อกันคิดว่าน่าจะมีความเสี่ยงตรงนี้ครับ ในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่เราเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงก็เป็นเพราะเราเกินดุลบัญชีบริการมาก ซึ่งตัวหลักที่เราเกินดุลคือ รายได้จากการท่องเที่ยว ดังนั้นขอความกรุณาอย่าได้มีการปิดสนามบินอีกเลยครับเพราะถ้ามีอีกเรื่อยๆ เราจะมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะ balance of payment crisis ตามที่คุณ Hong กลัวครับ

9.จากข้อ 8 มีความเป็นไปได้ที่ค่าเงินอาจจะอ่อนไปที่ระดับ 37-38 มากแค่ไหนครับ

- การที่เราใช้นโยบายแบบ manage float ก็ดีอย่างคือ เมื่อขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากๆ และมีเงินทุนไหลออกมากๆ เราควรให้ค่าเงินอ่อนลงเพื่อเป็นการปรับให้ภาวะเข้าสู่สมดุลมากขึ้น เพราะเมื่อค่าเงินอ่อนก็ทำให้การส่งออกน่าจะสูงขึ้นหรือการนำเข้าจะลดลง ดังนั้นหากดูตัวเลขเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่เราเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแล้ว และการที่ต่างชาติยังขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทก็น่าจะมีโอกาสอ่อนค่าลงไปอีกจากระดับปัจจุบันครับ ดังนั้นหุ้นส่งออกที่เป็นสินค้าจำเป็น เช่น ส่งออกอาหาร อย่าง TUF ก็เริ่มมีความน่าสนใจครับ

10. หุ้นกลุ่มโรงบาลนั้นน่าจะมีผลกระทบในแง่ negative มากขึ้นใช่ไหมหลังจากที่
obama ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจาก การกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศของโอบาม่าดูแล้วมากกว่า แมคเคน เห็นว่าอาจจะมีการเพิ่มภาษีนำเข้าอะไรต่างๆด้วย ไม่แน่ใจว่าจะทำให้คน usa รักษาใน ประเทศมากขึ้นไหม หรือว่าไม่เกี่ยว หุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าน่าจะเป็นส่งออกเช่น tuf และอิเล็กทอนิก

- ปัจจัยหนึ่งที่ซ้ำเติมภาวะ depression ในช่วงปี 1930 คือการที่สหรัฐกีดกันทางการค้าด้วยการเพิ่มภาษีนำเข้าในอัตราสูงมาก และส่งผลให้ประเทศคู่ค้าใหญ่ๆ ก็ขึ้นภาษีตอบโต้ เมื่อการค้าระหว่างประเทศลดลงก็ทำให้เศรษฐกิจโลกยิ่งแย่ลงไปอีก เท่าที่ผมทราบ โอบามา อ่านหนังสือมาค่อนข้างมากและน่าจะอ่านประวัติศาสตร์ด้วย ดังนั้นเรื่องนี้ผมเองที่ไม่ใช่คนสหรัฐยังทราบและโอบาม่าก็เก่งกว่าผมหลายสิบเท่า ดังนั้นคงจะไม่ทำอะไรที่ทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงมากกว่าครับ

ส่วนกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ ปีหน้าคงจะแย่ ไม่ได้เป็นเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าแต่เป็นเรื่องคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่วน TUF นั้นปลากระป๋องที่สหรัฐนั้นกระป๋องหนึ่งประมาณ 1 เหรียญ บางช่วงที่มี promotion ก็ต่ำกว่าอีก ในขณะที่แฮมเบอร์เกอร์ซึ่งเปรียบเหมือนข้าวแกงบ้านเขาราคา 5 เหรียญ ปลากระป๋องก็ไม่ต่างอะไรกับมาม่าเมืองไทยที่ราคาห่อละ 6 บาทในขณะที่ข้าวแกงจานละ 25 บาทครับ

ส่วนหุ้น รพ. ที่รับคนไข้ต่างชาตินั้นก็น่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจครับ เพราะว่าคนไข้ต่างชาติส่วนหนึ่งก็มา check up และท่องเที่ยวต่อ ซึ่งส่วนนี้น่าจะลดลงไป และที่มาผ่าตัดบ้านเรามักจะไม่ใช่ case ที่เร่งด่วน จำเป็น แต่จะเป็น case ที่พอจะชะลอการรักษาได้ เช่น ศัลยกรรมความงาม หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก หรือโรคที่เกี่ยวกับกระดูกซึ่งสามารถเลือกที่จะผ่าตัดรักษา หรือรักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ แต่ยังไงถ้าเราต้องการเป็น medical hub ก็ต้องให้ประเทศมีความสงบด้วยครับเพราะไม่งั้นต่างชาติอาจจะกลัวว่ามาผ่าตัดได้ข้อสะโพกใหม่ ผ่าหัวใจได้ความแข็งแรงขึ้นมาใหม่ หรือกระทั่งได้เพศใหม่ แต่โดนระเบิดเสียขาไปข้างหนึ่ง ก็คงไม่มีใครอยากมาครับ

11.นาย obama นั้นมีนโยบายจะ ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อทำให้
แรงงานชาวus มีกำลังบริโภคมากขึ้น
แต่การทำแบบนี้ก็น่าจะทำให้การขาดดุลงบประมาณมากขึ้น
และสุดท้ายก็ต้องหันไปเก็บภาษีเยอะขึ้นอยู่ดี
เหมือนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปพร่างๆก่อนหรือป่าว ไม่แน่ใจ

- โดยทั่วไป นโยบายการคลังจะต้องเป็น counter cyclical ในช่วงเศรษฐกิจแย่ก็ต้องขาดดุลการคลังให้มากขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจดีจะต้องขาดดุลการคลังน้อยลงหรือเกินดุลการคลัง ดังนั้นสิ่งที่โอบาม่าจะทำนั้นก็เหมาะสมแล้ว แต่ประเด็นก็คือ ที่ผ่านมาก่อนวิกฤตินโยบายการคลังสหรัฐนั้นขาดดุลมากไปหน่อยรึเปล่า? และหลังจากนี้หากเศรษฐกิจฟื้นตัวรัฐบาลสหรัฐจะกล้าใช้นโยบายการคลังเกินดุลเพื่อลดหนี้ภาครัฐแต่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ( และเสี่ยงต่อการเสียคะแนนนิยม ) หรือไม่ครับ

12. พี่ ih มีความเห็นยังไงกับการเล่น option เช่น
การ long call option และ long put option ทำให้เรา limit loss and unlimit gain
แต่ไม่น่าใจว่าสภาพคล่องเป็นยังไง
อยากถามว่าพี่ ih เคยเล่น option ไหม และมีอะไรแนะนำรุ่นน้องเพิ่มเติมไหมครับ
ว่าควร long option ในจังหวะไหน

- ผมเองไม่มีประสบการณ์การเล่น option เลยครับ เคยเรียนแต่เมื่อไม่ได้ใช้จะลืมไปหมดแล้วครับ หลักชีววิทยาเค้าเรียนกว่า law of use and disuse ครับ คือ อะไรที่เราใช้บ่อยๆ จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ใช้จะค่อยๆ อ่อนแอและเสื่อมประสิทธิภาพลง เช่น แขน ขา สมอง ฯลฯ ดังนั้นคำถามข้อ 13-14 ผมจึงไม่สามารถตอบได้เช่นกันครับ

ดังนั้นเรื่อง long-put อะไรนี่ผมลืมไปหมดแล้วล่ะครับ แต่ถ้าเป็นพรีเมียร์ ลีก ผมว่าเล่นบอล รอง ( long ) น่าจะมีโอกาสได้มากกว่าต่อมั้งครับ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบต่อ

15. มีนักลงทุนบางท่านบอกว่า
ดอกเบี้ย r/p 1 วันอาจจะลด
แต่ว่าแบงค์พาณิชย์ในเมืองไทยอาจไม่ลดดอกเบี้ย
เนื่องจากไม่มั่นใจเศรษฐกิจอยากเก็บเงินไว้กับตัว
จึงปล่อยกู้น้อยลง และคิดดอกแพงขึ้น
ถ้าเป็นแบบนี้จริง จะมีดอกเบี้ยนโยบายไปทำไมครับ
แบบนี้ ใครๆอยากทำอะไรก็ทำโดยไม่ต้องสนใจดอกเบี้ย นโยบายเหรอครับ


- เป็นคำถามที่ดีครับ ธปท. เมื่อลดดอกเบี้ย R/P แล้วจะนอนตีพุง นั่งถักไหมพรมไม่ได้ครับ จะต้องมี action เพื่อให้ดอกเบี้ยในท้องตลาดลดลงไปตามดอกเบี้ยอ้างอิงด้วยครับ เช่น อัดฉีดเงินเข้าไปในระบบด้วยการเข้าไปซื้อพันธบัตร ธปท. หรือพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง เมื่อมีแรงซื้อพันธบัตรก็ทำให้ราคาพันธบัตรเพิ่มซึ่งหมายความว่า yield หรือดอกเบี้ยพันธบัตรก็ลดลง เมื่อสถาบันการเงินขายพันธบัตรก็จะทำให้มีเงินสดมากขึ้นความจำเป็นจะต้องระดมเงินฝากก็น้อยลง ก็จะลดดอกเบี้ยเงินฝากลง

นอกจากนี้ตลาด R/P นั้นเป็นตลาดที่ทดแทนการกู้แบบ interbank ได้ครับ เพียงแต่โดยปกติแล้วธนาคารจะนิยมการกู้ interbank มากกว่า แต่เมื่อภาวะไม่ดีธนาคารไม่อยากปล่อยกู้ระหว่างกัน ธนาคารก็จะนำพันธบัตรรัฐบาลที่ถือครองอยู่มาขายให้แก่ธปท. ในอัตราดอกเบี้ย R/p หรือ repurchasing rate ดังนั้นในภาษาทางการเงินเค้าถึงเรียกธนาคารกลางว่า lender of last resort ครับ ( resort ที่นี่แปลว่า ทางออก หรือหนทางครับ ไม่ใช่โรงแรมนะครับ )

และเมื่อดอกเบี้ยเงินฝากลดลงก็จะทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดตามลงด้วย แต่ถ้าแบงค์เอกชนลดแต่ดอกเบี้ยเงินฝากแต่ไม่ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ ทางรัฐต้องช่วยเหลือด้วยการเร่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธ.ออมสิน ธ. อาคารสงเคราะห์ ธกส. เร่งลดดอกเบี้ยเงินกู้และเร่งปล่อยกู้ให้มากขึ้นครับ

16.คำถามสุดท้ายครับ เรื่อง accounting
อยากให้พี่ ih ตรวจการบ้าน หรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้หน่อยครับ
ผมลองเปรียบเทียบการบันทึกบัญชีแบบ
operating lease กับ financial lease
ได้ดังนี้
การบันทึกบํญชีแบบ operating lease
เช่นผมเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ trade ทุกวันก็เสียค่าคอมให้โบรกเยอะสิเจ๊
ถ้าผมเช่ารถทำบะหมี่มา ผมทำสัญญา เช่าจ่ายรายเดือนทุกวัน เดือนละ 5000
ทำสัญญาเช่า 5 ปี ถ้าเช่าเสร็จ รถทำบะหมี่ก็ไปเป็นเจ้าของเดิม
สรุปว่า สินทรัพย์ผมจะเยอะในช่วงที่อยู่ในการเช่า แต่พอหมดอายุเช่า
ผมต้องคืนสินทรัพย์ไปให้คนที่มาเช่า แต่ถ้าเป็นแบบ financial lease

สมมุติมีร้านบะหมี่ชื่อ ขี้ตกใจตามตลาด
ใช้วิธีเช่าเหมือนกัน แต่ว่า financial lease นั้น จะไม่บันทึกสิ่งที่เช่าเป็น
สินทรัพย์ ทำให้ roa สูงกว่า และ d/e ต่ำใช่หรือไม่

เห็นมีคนเคยเล่าว่ามีบริษัทสิ่งพิมพ์บางแห่งที่ขายสินทรัพย์ตัวเองแล้วไปเช่ากลับมา ทำให้ ratio ทางการเงินดูดี
แต่ผมไม่ค่อย get
อยากให้พี่ ih ช่วยเพิ่มเติมให้หน่อย

- ตรงนี้เข้าใจสลับกันครับ
Operating lease คือ การเช่าครับ เมื่อหมดสัญญาสินทรัพย์เป็นของผู้ให้เช่าครับ เปรียบเทียบก็เหมือนการเช่าที่ดิน เช่าโรงงาน เช่ารถครับ แม้เราใช้สินทรัพย์นั้นๆ อยู่แต่เราไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สินทรัพย์นั้นครับ


Financial lease คือ สัญญาเช่าทางการเงิน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายสุด คือ การซื้อรถยนต์จาก finance ครับ คือ สินทรัพย์เป็นของเรา แต่เราจะเป็นหนี้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้เราครับ

ดังนั้น Operating lease จะไม่บันทึกสินทรัพย์นั้นในส่วนสินทรัพย์ในงบดุล และไม่มีหนี้สินเกิดขึ้น มีแต่ค่าเช่า ดังนั้นจึงทำให้ ROA สูง และ D/E ต่ำกว่ากรณี Financial lease

ส่วน Financial lease นั้นจะบันทึกสินทรัพย์ในส่วนสินทรัพย์ และบันทึกหนี้สินที่ยังผ่อนชำระไม่หมดในรายการหนี้สิน ทำให้ ROA จะต่ำกว่า และ D/E จะสูงกว่า

ดังนั้นจึงมีหลายๆ บริษัทจึงนิยม Operating lease เช่น การเช่าที่ดิน โรงงาน หรือรถยนต์ เพราะต้องการให้ ROA สูง และ D/E ต่ำครับ เพราะการที่ D/E ต่ำนั้นหมายถึงว่าบริษัทนั้นๆ จะมีศักยภาพในการกู้เงินเพิ่มในการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุนการเช่าที่ดิน โรงงานหรือรถยนต์ครับ



ผมทราบมาว่าคุณ Hong ได้เริ่มสละเวลาเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการลงทุนและด้านบัญชีให้แก่เพื่อนๆ ชาว VI เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ VI ที่เริ่มมีความรู้แตกฉานแล้ว จึงขอสนับสนุนและชื่นชมนะครับ 

No comments:

Post a Comment