Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 17 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.มีนักวิเคราห์บางท่านคาดการณ์ว่าถ้า eu ลดดอกเบี้ยลงจะทำให้ usd index สูงขึ้น เพราะค่าเงืน eu
อ่อนลง และทำให้หุ้นลงเพราะ usd index มี negative correlation กับ set index สูง
ไม่ทราบว่ามองอย่างไร

- SET index มักจะอ่อนเมื่อดอลล่าร์แข็งเทียบบาท เพราะเวลาหุ้นลงมักจะเกิดจากการที่ต่างชาติขายหุ้นและนำเงินออก หรือหุ้นลงในช่วงที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มแย่ ดังนั้นถ้าดอลล่าร์แข็งเทียบกับยูโรนั้นผมคิดว่าอาจจะไม่มีผลอะไรกับ SET มากเท่าการที่ดอลล่าร์แข็งเทียบบาทครับ

2.ตอนนี้เริ่มมีแรกแสเรื่อง decoupling ว่ามีความหวังจากฝั่งตะวันออก เพราะว่าจีนมี
Stimulus package ต่อ gdp สูงมากถึง 14% ซึ้งสูงกว่า usa และ eu พอสมควร ตัวอย่าง usa มีสัดส่วนประมาณ 7% โดยมีสัญญาณฟื้นตัวเช่น 2-10 yrs bond spread สูงขึ้น ไม่ทราบว่ามองอย่างไร

-ตอนนี้สิ่งที่หายไป คือ ส่งออก บริโภค การลงทุนเอกชนเป็นสิ่งที่หายไปแล้วในเวลาปัจจุบัน แต่การใช้จ่ายภาครัฐจะมี lag time ซึ่งจะกินเวลาซักระยะหนึ่งเงินจะไปถึงมือผู้บริโภค กว่าจะเริ่มเห็นผลก็คงเป็นช่วงกลางปีเป็นต้นไป ดังนั้นเศรษฐกิจฝั่งตะวันออกปีนี้คงจะแย่ค่อนข้างแน่ แต่จะแย่มาก ( GDP ติดลบเกิน 5% ) หรือแย่น้อย ( คือ 0 ถึง ลบ 5 ) หรือดีกว่าที่คิดมาก ( 0 ถึงบวก 2 ) ก็ต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ อย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดียครับ

3.ถ้า decoupling มาแรงจริงน่าจะทำให้หุ้นทางเอเชียไม่คอ่ยตกตามตกวันตกใช่หรือป่าวครับ

- ตอนนี้หุ้นฝั่งเอเชีย แม้กระทั่งไทยก็ outperform Dow Jones นิดๆ แล้วแต่ก็ยังหนี trend เดียวกันไม่ค่อยพ้นครับ แต่ถ้าเกิด decoupling ได้จริงๆ หุ้นเอเชียก็คง outperform ครับ

4.การที่บริษัทจะล้มละลายเป็นเพราะไม่มีเงินจ่ายหนี้สินเป็นหลักใช่ไหมครับ ไม่ใช่เรื่อง
ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ เพราะเห็นหลายบริษัทติดลบก็ยังอยู่ได้ตั้งนาน

-  การล้มละลายเกิดขึ้นก็ต้องเมื่อถูกเจ้าหนี้ฟ้องครับ ถ้าส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบแต่เป็นธุรกิจที่มีเงินสดหมุนดีก็อาจจะพอมีเงินจ่ายหนี้ได้อีกระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายมันก็สัมพันธ์กันครับคือถ้าส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอีกไม่นานก็คงต้องไม่มีเงินจ่ายหนี้ และบางครั้งสัญญาเงินกู้ก็จะมีเขียนเกี่ยวกับการรักษา D/E ratio ไม่ให้เกินเท่านั้นเท่านี้เท่าด้วยถ้าเกินจะถูกบังคับให้ชำระหนี้ก่อนกำหนด แต่การล้มละลายก็เกิดขึ้นได้กับบริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกได้เช่นกันถ้าบริหารกระแสเงินสดไม่ดีและเงิน short ครับ

5อ่านเจอว่า ภาวะ deflation จะทำให้มูลค่าหนี้สินของบริษีทเพิ่มขึ้น ซึ้งอ่านแล้วงงเล็กน้อย
ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหม ถ้าเงินเฟ้อคนเป็นหนี้ได้เปรียบ ถ้ากลับกันเงินฝืดคนเป็นหนี้จะเสียเปรียบหรือ

-    Deflation คือ เงินฝืด หรือเงินเฟ้อติดลบ ดังนั้นเท่ากับว่าค่าของเงินเพิ่มขึ้น กล่าวคือ เงิน 100 บาทซื้อสินค้าได้มากขึ้น ดังนั้นคนเป็นเจ้าหนี้ เช่น ผู้ฝากเงินธนาคาร ( ฐานะเป็นเจ้าหนี้ของแบงค์ ) หรือผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ ที่ได้ดอกเบี้ยเป็นบวกเท่าไหร่ก็ตาม ก็จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ในขณะที่คนที่เป็นลูกหนี้หรือกู้เงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะกู้ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ก็จะเสียเปรียบเพราะเงินฝืดทำให้ราคาสินทรัพย์นั้นลดลง หรือถ้ากู้เงินไปทำธุรกิจก็อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่ราคาสินค้าคงคลังหรือวัตถุดิบลดลงจากการที่เงินเฟ้อติดลบครับ

6.ผมอ่านนิยามของ depression จาก column สลับมุมคิดในฐานเศรษฐกิจ เขาบอกว่า
Gdp ต้องปรับลดลงอย่างน้อย 10% จาก peak to trough ผมคิดว่าตอนนี้ usa เป็นแค่ recession และตลาดหุ้นก็รับข่าวว่าเป็นแค่ recession เท่านั้น ส่วนตัวมองว่าไม่เกิน depression ไม่ทราบว่า
พี่ ih มองยังไง

-  ตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่า GDP จะติดลบถึง 10% จาก peak ไหม หากดูจากตัวเลขส่งออกเดือนมกราคมที่ติดลบกัน 20-40% ก็จะเห็นได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงไปมาก ดังนั้นจะเป็น depression หรือ recession คงขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลแต่ละประเทศจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มีประสิทธิผลแค่ไหน และสหรัฐจะแก้ปัญหาสถาบันการเงินอย่างไร

7.มีผู้ประมาณการว่า การที่ fed อัดฉีดเงินเข้าไปเยอะๆจะทำให้
หนี้สาธารณะต่อ gdp ของ usa เพิ่มจาก 30%ปลายๆ (จำไม่ได้เป๊ะๆ)
ขึ้นมาเป็น50% อยากทราบว่าระดับ 50% จะเยอะไปไหมและจะส่งผลไม่ดีอะไรบ้าง เข้าใจว่าสมัยต้มยำกุ้งของไทยก็ 50%

- อาจจะฝากให้ตรวจสอบข้อมูลหน่อยครับว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ของสหรัฐตอนนี้อยู่ 30% ปลายๆ เองหรือครับ ขนาดออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมากให้จีน ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ถือเป็นเงินทุนสำรองจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ยิ่งน้อยก็ยิ่งดีเพราะประเทศมีความเสี่ยงน้อย ถ้ามากก็แปลว่ามีความเสี่ยงที่รัฐจะต้องใช้เงินงบประมาณในแต่ละปีไปกับดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ยกตัวอย่างถ้าหนี้สาธารณะ 100% ของ GDP หากดอกเบี้ยพันธบัตรคือ 5% ก็เท่ากับว่ารัฐบาลต้องใช้งบประมาณถึง 5% ของ GDP เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถ้าภาระดอกเบี้ยต่องบประมาณมากก็ทำให้รัฐมีเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นน้อยลง และมีแนวโน้มทำให้รายจ่ายมากกว่ารายได้และขาดดุลงบประมาณซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP มากขึ้นไปอีก

การเพิ่มอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ควรทำในภาวะที่มีเศรษฐกิจถดถอย และควรลดสัดส่วนลง ( คือการใช้งบประมาณเกินดุล ) เมื่อเศรษฐกิจเติบโตดี

อย่างไรก็ตาม หลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ก็มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่า 100% ครับ เพราะเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึมเซามาเป็น 10 ปี การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่ำ และรัฐใช้เงินในการอุ้มสถาบันการเงินไปมาก แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของญี่ปุ่นก็ต่ำมากซึ่งสะท้อนว่านักลงทุนยังเชื่อมั่นในความสามารถชำระหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ ( ส่วนหนึ่งเพราะญี่ปุ่นมี reserve จำนวนมาก และมีรายได้และสินทรัพย์ในต่างประเทศจากเงินลงทุนจำนวนมาก ) ดังนั้นหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศประเทศหนึ่งที่อัตราส่วนเดียวกันก็มีผลที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ด้วยครับ อย่างของไทยถ้ามีหนี้สาธารณะต่อ GDP เกิน 100% แบบญี่ปุ่นผมคิดว่าพันธบัตรรัฐบาลของเราคงถูก downgrade โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตแล้วเหมือนกันครับ

อย่างไรก็ตาม ก็มีเกณฑ์คร่าวๆ หรือ rule of thumb ( ในกระทู้ข้างล่างเร็วๆ นี้ผมเคยพูดถึงคำว่า rule of thumb ทีหนึ่งแล้ว ) ว่าหนี้สาธารณะไม่ควรเกิน 50% ของ GDP ส่วนเหตุผลว่าทำไมเป็น 50% ก็ไม่แน่ชัดครับ คล้ายๆ กับที่ VI อาจจะบอกว่าหุ้นที่ p/e ต่ำกว่า 10 เท่าคือถูก อะไรทำนองนั้นครับ

7) ตอบ ผมไม่เข้าใจเรื่อง Reflexivity ของ Soros เลยครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าอ่านเข้าใจแล้วจะนำไปประยุกต์กับการลงทุนได้ดีและสร้างกำไรหรือไม่เพราะ Soros ไม่น่าจะเผยสิ่งที่ตัวเองมีออกมาหมดเพราะมิเช่นนั้นโอกาสการทำเงินในอนาคตของตนเองคงจะลดลง

ผมเองยังเชื่อว่ามีทฤษฎีอีกจำนวนไม่น้อยที่อาจจะสร้างความสำเร็จในการลงทุนได้ เพียงแต่ทฤษฎีแต่ละอย่างอาจจะมีผู้ที่ใช้และประสบความสำเร็จจำนวนหนึ่ง ยกตัวอย่าง ไม่ใช่นักลงทุนที่ใช้ technical หรือ fund flow ทุกคนจะประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ครับ

อย่างไรก็ตาม ผมยังชอบแนวทางอะไรที่ simple อยู่ครับ และสามารถลงทุนได้โดยที่ไม่ต้องดูหน้าจอทั้งวันและสามารถแบ่งเวลาไปทำงานประจำได้ซึ่งแนวทางการลงทุนแบบ VI น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ แต่อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนในแนวทางอื่นๆ สามารถหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะกับตัวเองได้และประสบความสำเร็จก็เป็นเรื่องที่ดีไม่จำเป็นต้องยึดว่าต้องเป็นแนวทาง VI เท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จครับ

8. มีคนบอกว่าตามหลักการทั่วไป สิ่งที่ทำยากที่สุด ย่อมเป็นสิ่งที่ได้
สิ่งตอบแทนเยอะสุด
เช่น คนเก่งสุด ฉลาดสุด ได้เงินเยอะ
มีนักลงทุนบางท่านมีความเห็นว่า
แนวทาง vi เป็นแนวทางที่ยากที่สุด คนเล่นแล้วสำเร็จจึงรวยที่สุด
(buffet) แต่แนวทางอื่นๆ เช่น money management ,techinc
ประยุกต์ใช้ง่ายกว่า แต่ได้ตังค์น้อยกว่า แต่คนส่วนใหญ่ที่ได้ตังค์
ก็ไม่ดังและรวยเท่าแนวทาง vi
และคนส่วนใหญ่ก็ไปมองว่า vi รวยสุด แต่ไม่ได้หมายถึงทำกันได้ง่ายๆ
มีความเห็นว่ายังไงครับ

- ผมคิดว่าทุกแนวทางมีคนที่ทำสำเร็จและล้มเหลวครับ ผมยังไม่แน่ใจนักว่าแนวทาง money management หรือเทคนิคนั้นคนส่วนใหญ่จะได้ตังค์นะครับ

การประสบความสำเร็จในการลงทุน ผมคิดว่าความเก่ง ฉลาดคงเป็นปัจจัยหนึ่งครับ แต่สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญกว่าคือ ความขยัน ทุ่มเท และจิตใจที่มุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จครับไม่ว่าจะลงทุนในแนวทางไหนก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น คน 2 คนไปดูหนังเรื่องเดียวกันแต่อาจจะได้อะไรไม่เท่ากัน คนแรกอาจจะได้แค่ความบันเทิง แต่คนที่สองได้ทั้งความบันเทิงและแง่คิดต่างๆ คน 2 คนเล่นกีฬา คนแรกได้แค่ออกกำลังกาย แต่คนที่ 2 ได้ทั้งออกกำลังกายหรือทักษะการทำงานเป็นทีมและน้ำใจนักกีฬากลับมาด้วย หรือ VI 2 คน เดินทางไปต่างจังหวัด คนแรกอาจจะได้แค่ไปเที่ยว แต่อีกคนอาจจะถือว่าได้ไปสำรวจธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ต่างจังหวัดไปด้วยก็ได้ครับ

ดังนั้นเวลาที่มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ใครจัดสรรเวลาได้ดีกว่า และในกิจกรรมเดียวกันใครใช้ให้เป็นประโยชน์มากกว่า ก็อาจจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าครับ 

No comments:

Post a Comment