Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 20 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.การดู spread bond ของ 2-10 spread
เพื่อดูว่าตลาดมองยังไงกับดอกเบี้ยของ fed ในอนาคต
เช่น ถ้า 2-10 spread สูงจะตีความว่า
expect aggrssive rate rise ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี
2004 ดังนั้น
เพราะว่าคนมองว่าดอกจะขึ้นทำให้ขายระยะยาวออกมา
ทำให้ slope ของมันชันขึ้น
อย่างตอนนี้ 2-10 spread ก็สูงมาก
ช่วงที่ผมดูอยู่วันที่โพสก็ประมาณ 2.5-2.6
ไม่ทราบว่า ถ้า spread สูงขนาดนี้พี่ ih มองว่า
จะส่งผลไม่ดีต่อตลาดหุ้นไหมครับ

- คำถามนี้ถามเมื่อ 1 เดือนกว่าๆ มาแล้ว ต้องขอโทษครับผมตอบช้า แต่นับจากที่ถามมานี้ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ยังเป็น sideway up แบบความชันน้อยๆ อยู่ ทั้งๆ ที่หลายคนอาจจะมองว่าตลาดควรจะปรับลงได้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากไม่มองเรื่อง bond spread ผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ fed จะขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้นๆ นี้ เพียงแต่ว่าตลาดอาจจะมองว่าดอกเบี้ย bottom แล้ว จึงขายพันธบัตรระยะยาวออกมาเพราะเห็นว่าไม่น่ามี upside ของราคาพันธบัตรแล้วและไม่ต้องการเห็น loss หากดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นซึ่งตลาดคาดว่าก็คงจะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว เว้นเสียว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ liquidity trap แบบญี่ปุ่น

2.gdp ของ usa ในรอบก่อนๆมักจะมี double dip
เช่นในปี 1974 ในไตรมาส 2 gdp usa กลับมาเป็นบวก
หนึ่งไตรมาสและกลับไปติดลบใหม่อีก 3 quarter
และในปี 1982 q2 ก็บวกและกลับไปลบใหม่
อยากถามว่าเหตุผลใดจึงมีการเกิด double dip ของ gdp ขึ้นได้
เป็นเพราะช่วงอัดฉีดเงินเยอะทำให้กลับมาบวก พออัดฉีดน้อยลง
เลยไปลบไหมใช่หรือไม่

- ช่วง 1974 และ 1982 ถ้าจำไม่ผิดเหมือนมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากเนื่องจาก supply shock รึเปล่านะครับ จึงทำให้เกิด cost push inflation ซึ่งน่าจะทำให้ GDP ตกต่ำ แต่เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจคนละเหตุผลกับครั้งนี้ครับ คุณ Hong คิดว่ารอบนี้จะมี double dip ไหมครับ?

3.ที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงประมาณปี 1990-2000 เป็นช่วงที่
เศรษฐกิจแทบจะไม่เติบโตเลย และตลาดหุ้นก็แถบไม่ไปไหนเลย
จนได้ขึ้นชื่อว่า the lost decade มีด.ร. บางท่านบอกว่า
การแก้ปัญหาของอเมริการอบนี้คล้ายๆกับญี่ปุ่นในช่วง the lost decade
ในแง่ของการอัดฉีดเงิน การเข้าช่วยเหลือแบงค์พาณิชย์
ไม่ทราบว่าพี่ ih มีมุมมองอย่างไร

- เศรษฐกิจญี่ปุ่นกับสหรัฐรอบนี้ก็มีทั้งแง่มุมที่อาจจะเหมือนและอาจจะต่างครับ ในแง่ที่เหมือนก็คือหนี้สาธารณะก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การใช้งบประมาณภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็อาจจะทำได้จำกัดเพราะสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP ยังน้อยกว่าการบริโภคและการลงทุนเอกชน รวมทั้งทั้ง 2 ประเทศก็มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นหมดแล้ว เช่น ถนน ไฟฟ้า รถไฟ ฯลฯ การกระตุ้นการบริโภคของญี่ปุ่นก็ทำได้ลำบากเพราะคนส่วนใหญ่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็นหมดแล้ว

อีกสิ่งทีเหมือนกันคือ เรื่องประชากร ในยุค 1990 การเพิ่มของประชากรญี่ปุ่นเริ่มลดลง และจำนวนประชากรเกิดใหม่น้อยลงมาก ประชาชนเริ่มเก็บออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณมากขึ้น เรื่องนี้ก็กำลังจะเกิดกับสหรัฐหลังปี 2010 เป็นต้นไปที่ประชากรในยุค baby boom คือกลุ่มที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะเข้าสู่วัยสูงวัย ทำให้การออมน่าจะเพิ่มขึ้นการบริโภคอาจจะชะลอลง อย่างไรก็ตาม สหรัฐดีกว่าญี่ปุ่นตรงที่สหรัฐเปิดรับแรงงงานที่มีฝีมือจากต่างประเทศได้มากกว่าญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นค่อนข้างจำกัดการเข้าทำงานของต่างชาติ และพื้นที่ประเทศค่อนข้างแคบไม่เอื้อต่อการเพิ่มของประชากรต่างชาติ ดังนั้นสหรัฐอาจจะชดเชยจำนวนประชากรในวัยแรงงานในประเทศที่ลดลงได้ด้วยแรงงานจากเอเชียหรือประเทศอื่นๆ ได้ครับ

สิ่งที่สหรัฐน่าจะทำได้ดีกว่าญี่ปุ่นคือ สหรัฐเข้าไปแก้ปัญหาได้เร็วกว่า และปล่อยให้บางสถาบันการเงินที่ขนาดไม่ใหญ่มากล้มไปบ้าง และสหรัฐไม่มีความสัมพันธ์และการปล่อยกู้ที่โยงใยระหว่างธนาคารกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แกะไม่ออกเหมือนญี่ปุ่น ตลาดทุนสหรัฐก็มีความยืดหยุ่นกว่า

นอกจากนี้ หลัง 1990 ผมคิดว่าสินค้าที่ญี่ปุ่นผลิต ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ มากนัก และเริ่มถูกคู่แข่งตีตลาดมากขึ้นด้วย ผมคิดว่าสหรัฐน่าจะมีโอกาสที่จะทำได้ดีกว่าญี่ปุ่น เพราะเป็นเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม จากเรื่อง aging economy และการชะลอตัวของนวัตกรรมทาง IT ของสหรัฐก็ทำให้ผมคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐในยุค 2010-2020 ก็น่าจะเติบโตช้ากว่าช่วง 1991-2008 พอสมควรครับ ดังนั้นเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรคิดว่าจีนและอินเดียคงจะมีบทบาทมากขึ้นครับ

5. ผมเคยได้ยินมาว่าถ้าลดดอกเบี้ยจะทำให้ pe ของ set สูงขึ้น
และถ้าขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ pe ของ set ต่ำลง
แต่รู้สึกว่ามันขัดกันเพราะว่า
ปกติถ้าเศรษฐกิจไม่ดีถึงลดดอกดังนั้น pe ของ set ไม่น่าจะสูงขึ้น
และถ้าเศรษฐกิจดีถึงขึ้นดอกดังนั้น pe ของ set ไม่น่าจะต่ำลง

ไม่ทราบว่าพี่ ih มีความเห็นยังไงครับ

- ถ้าเป็น cycle เศรษฐกิจปกติที่ไม่มีวิกฤติ การลดดอกเบี้ยก็ทำให้หุ้นขึ้นครับ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นก็ทำให้หุ้นลงครับ แต่ในช่วง crisis ดอกเบี้ยจะลงตามตลาดหุ้นครับก็คือ เศรษฐกิจแย่มากจึงต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครับ


6.พี่ ih มีความเห็นยังไงกับ earning yield gap
เท่าที่ผมดูมาถ้าใช้ forward earning yield gap
ตอนนี้คร่าวๆ(ประมาณว่ากำไรปีนี้โตกว่าปีที่แล้วซัก 15-20%)
สมมุติว่าตัวเลขออกมาซักประมาณ 3-4% คิดว่า gap น้อยไป
ไหมครับสำหรับสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

- เว้นเสียว่าเศรษฐกิจจะโตแบบ v shape ที่ทำให้ dividend yield สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ครับ แต่ดูจาก yield gap ตอนนี้ผมก็ยังคิดว่า valuation หุ้นหลายตัวก็เริ่มตึงๆ แล้วครับ

7.ปกติการขาดดุลงบประมาณเยอะๆจะทำให้ค่าเงินประเทศนั้นอ่อนค่าถูกหรือไม่ ถ้า usa เศรษฐกิจดีขึ้นแล้วขาดดุลน้อยลง
เงินดอลจะเริ่มอ่อนค่าน้อยลงหรืออาจแข็งค่าขึ้น
ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจ usa ดีจริง fundflow จากตปทจะน้อยลงหรือไม่ครับ

- ก็เป็นไปได้ครับ แต่การที่เศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นพอสมควร ดังนั้นนักลงทุนสถาบันอาจจะให้ weighting ในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นก็อาจจะมีเงิน flow เข้าตลาดหุ้นจากก้อนนี้มา offset เงินที่ไหลกลับสหรัฐได้ครับ


8.การที่ m2 ของไทยเป็น 110% ของ gdp
แต่ของ usa m2 เกินครึ่งของ gdp มาแค่นิดเดียว
แบบนี้เราจะตีความว่า usa มีการผลิตสูง
ถ้าเทียบกับปริมาณเงินแสดงว่าคนที่ฝากเงินไว้เฉยๆมีน้อย
แต่ไทยมีคนฝากไว้เฉยๆไม่ไปลงทุนภาคการผลิต
ทำให้ m2 สูงกว่า gdp ผมตีความผิดไหมครับ

- m2 เป็นประมาณเงินที่มีความสัมพันธ์กับระบบธนาคารและการปล่อยกู้ สำหรับคำถามนี้ผมตอบไม่ได้เหมือนกันครับ หากให้เดาอาจจะเพราะว่าตลาดทุนของสหรัฐนั้นมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเศรษฐกิจกว่าประเทศไทยรึเปล่าครับ


9.ได้ยินมาว่าต้นทุนในการขุดทองทุกวันนี้อยู่ที่ 400 เหรียญ
ราคาทองต้นนี้แพงกว่าต้นทุนการขุดมากกว่าเท่าตัว
แบบนี้จะเรียกว่า mos น้อยดีหรือไม่
ถ้าเทียบ concept นี้กับน้ำมันที่มีต้นทุนขุดเจาะ
60-70 เหรียญสำหรับหลุมใหม่ ดังนั้นราคาน้ำมันตอน 120-140
ก็ไม่มี mos ถ้าเทียบกับต้นทุน
ไม่ทราบมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

- ขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้การหาแหล่งทองใหม่ๆ นั้นยากง่ายแค่ไหนครับ ถ้าต้นทุน 400 เหรียญแต่หาแหล่งใหม่ๆ ไม่ได้ราคาก็อาจจะสูงกว่าค่าขุดเจาะเท่าตัวได้ครับ

10.แนวโน้มระยะยาว อัตราส่วน M2/มูลค่าตลาด มันมีแต่จะต่ำลง เพราะเมื่อเศรษฐกิจเจริญดีตลาดทุนจะขยายตัว จะมีบริษัทจดทะเบียนมากขึ้นๆ กำไรมากหุ้นก็ขึ้นอีก แต่เมื่อเศรษฐกิจดีปริมาณการจับจ่ายใช้สอยมาก ความต้องการเงินต่อผลผลิตก็จะลดลง อัตราส่วนก็มีแต่จะต่ำลง ไม่ทราบว่าเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือไม่ครับ

- m2 จะเติบโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วน market cap ในระยะยาวก็แปรผันตามภาวะเศรษฐกิจ และสัดส่วนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น หลังจากที่หุ้นขนาดใหญ่อย่าง PTT เข้าตลาดหุ้น ผมคิดว่าสัดส่วน m2 ต่อมูลค่าตลาดน่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นหากเศรษฐกิจเติบโต การจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เกิดการลงทุน การกู้เงิน การหมุนของเงินเพิ่มขึ้น ก็น่าทำให้ m2 เพิ่มขึ้นเช่นกันครับ อย่างไรก็ตาม หาก m2 / มูลค่าตลาด ลดลงอันเกิดจากการที่มูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ p/e เป็นเหตุผลสำคัญกว่าการเพิ่มขึ้นของกำไร ก็เป็นสัญญาณของตลาดที่ overvalue ได้ครับ


11.เคยอ่านเจอมาว่า ปริมาณเงินจะแปรผันตามผลผลิตและดัชนีราคาผลผลิต
แต่แปรผกผันกับอัตราการจับจ่ายใช้สอยเงิน
ผมอ่านแล้วไม่ค่อย get นักเลยลองบอกสิ่งที่ผมคิดแล้วให้พี่
Ih ช่วยดูให้หน่อยนะครับ
คำว่า ปริมาณเงินจะแปรผันตามผลผลิตและดัชนีราคาผลผลิต ก็คือว่า ถ้าปริมาณผลิตได้เยอะขึ้นจะมีปริมาณเงินเยอะขึ้นเหรอครับ หรือว่าขึ้นราคาสินค้า ปริมาณเงินก็เยอะขึ้น แต่ว่าผมงงว่า ถ้าเราผลิตสินค้าเยอะขึ้น เราไม่ได้ผลิตเงินเยอะขึ้นนี้นา ทำให้ ปริมาณเงินถึงสูงขึ้นตามล่ะครับ

- ปริมาณเงินแปรผันตาม GDP และเงินเฟ้อครับ ตามทฤษฎี ยกตัวอย่างเหมือนเวลาเราเล่นเกมเศรษฐีสมัยเด็กๆ ครับ หากทุกคนพร้อมใจกันซื้อบ้าน โรงแรมให้เช่า กันมากๆ เมื่อทุกคนแย่งกันซื้อที่ดินและบ้านก็ทำให้ค่าเช่าสูงขึ้น รายจ่ายค่าเช่าก็เพิ่มขึ้นมา ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเริ่มมีเงินกับตัวน้อยลง หากเงินในเกมเท่าเดิม เงินก็จะเริ่มหมดไปจากผู้เล่นทุกคน เพื่อแก้ปัญหานี้ ธนาคารจึงต้องปล่อยกู้ออกมามากขึ้นครับ

ดังนั้นเมื่อวงจรเศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดี จะเกิดการหมุนของวงจรทางเศรษฐกิจที่ครบ loop คือ มีการบริโภค มีการออม มีการฝากเงิน ธนาคารปล่อยกู้ มีการลงทุนเพิ่ม ดังนั้น m2 จะขยายตัวครับ ส่วนที่บอกว่าแปรผกผันกับอัตราการใช้สอยเงินผมไม่เคยอ่านตรงนี้มาก่อนและไม่เข้าใจเหมือนกันครับ

11.2ปริมาณเงินจะแปรผันตามดัชนีราคาผลผลิต หมายความว่า ถ้าทุกคนที่ขายของอยู่พร้อมใจกันขึ้นราคาสินค้า
ปริมาณเงินก็จะเพิ่มขึ้นตามเหรอครับ
แต่ถ้าไม่มีคนพิมพ์เงินเพิ่ม ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นได้ไงครับ

- เนื่องจาก value = price คูณด้วย quantity ( จำนวน ) ดังนั้นหาก price เพิ่ม แต่ value ยังเท่าเดิมก็จะทำให้ จำนวนลดลงครับ ดังนั้นคนที่พิมพ์เงินเพิ่มน่าจะเป็นธนาคารกลางครับ ดังนั้นหากการขึ้นราคาสินค้าเพราะ demand เพิ่มก็ควรจะพิมพ์เงินเพิ่มครับ แต่หากเป็นการขึ้นราคาสินค้าเพราะฝั่ง supply จำกัด ควรจะคุมปริมาณเงินไว้เพื่อลด quantity ลงเพื่อปรับสมดุลระหว่าง demand supply ครับ ไม่งั้นจะเกิดภาวะ hyperinflation ครับ

11.3 แต่แปรผกผันกับอัตราการจับจ่ายใช้สอยเงิน
หมายความว่า ถ้าคนจับจ่ายเงินน้อย เงินจะหายไปจากระบบเหรอครับ เพราะ m2 คือ m1*multiple จับจ่ายน้อย
Multiple จะลดลงไปใช่ไหมครับ

- การจับจ่ายใช้สอยเงินน้อย ก็ทำให้ gdp โตลดลง ซึ่งควรจะทำให้ multiple ลดลงด้วยครับ ดังนั้นปริมาณเงินควรจะแปรผันตามการจับจ่ายใช้สอยเงินมากกว่าครับ

12.ถ้าเราดู balance sheet ของ fed สูงขึ้นเราจะอนุมานว่า
มีปริมาณเงินมากขึ้นเลยหรือไม่เพราะ fed ก็ต้องไปรับของเน่าๆมาจากคนอื่น หรือไม่ก็ให้รัฐบาลกู้จึงทำให้ balance sheet สูงขึ้น
ถ้าเราจะบอกว่า balance sheet สูงขึ้น เท่ากับสภาพคล่องสูงขึ้น
และสภาพคล่องตรงนี้อาจะทำให้หุ้นขึ้นได้เนื่องจากปริมาณเงินเพิ่ม
พี่ ih คิดว่าไงครับ

- ผมไม่แน่ใจว่า balance sheet ของ fed กับสภาพคล่องมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันหรือไม่ แต่สิ่งที่ทำให้สภาพคล่องสูงขึ้นก็เพราะ fed เข้าซื้อพันธบัตร เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง การซื้อพันธบัตรเป็นการใส่สภาพคล่องเข้าระบบครับ ดังนั้นเมื่อสภาพคล่องเข้าระบบแต่คนไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้นำสภาพคล่องนี้ไปลงทุนหรือบริโภคเพิ่มมากนัก สภาพคล่องนี้จึงเข้าไปซื้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุนแทนครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ หุ้นครับ ดังนั้นหุ้นขึ้นรอบนี้ปัจจัยหลักก็มาจากสภาพคล่องที่มีมากในระบบครับ

13.ปกติการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเพราะหมายถึงกิจการทางเศรษฐกิจที่ดีและค่าเงินจะมี
ค่ามากขึ้นถ้าเราเกินดุล เพราะความต้องการเงินของประเทศที่เกินดุลจะมากขึ้น
แต่ประเด็นคือทำไม usa ขาดดุลเยอะและค่าเงินตัวเองก็อ่อนค่าแต่หุ้นยังขึ้น
ผมหมายถึงก่อนปี 2008 นะครับ

- เพราะ usa ไม่ต้องมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสกุลเงินของตัวเองครับ หาก usa เป็นประเทศอื่นแล้วขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแบบนี้เงินทุนสำรองคงหมดไปแล้ว ในทางกลับกัน ประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าก็ยินดีที่จะเก็บเงิน usa เป็นเงินทุนสำรอง ดังนั้นตราบใดที่ usa ยังคุมเงินเฟ้อได้ usa ก็จะยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เรื่อยๆ โดยจำนวนเงินที่ขาดดุลนี้ประเทศที่เกินดุลก็ยินดีที่จะเก็บเงินส่วนนี้เป็นเงินทุนสำรองครับ

14.เคยศึกษามาว่าถ้าเงินเฟ้อจากสูงเป็นติดลบหรือต่ำมากๆ
จะทำให้หุ้นขึ้นซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในตอน
ปี 2542 ที่หุ้นขึ้นจาก 200 กว่าไป 400
และ q2 ในปีนี้ ผู้รู้บอกว่าเพราะว่าเงินเฟ้อลดลง
จะทำให้กำลังซื้อของคนสูงขึ้นและสะท้อนไปที่
กำไรของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น
พี่ ih คิดว่าแนวคิดนี้ make sense หรือไม่ครับ

- ผมคิดว่าการที่เงินเฟ้อต่ำลงทำให้ ธ. กลาง ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำได้ เมื่อดอกเบี้ยต่ำ สภาพคล่องในระบบดีขึ้น และทำให้เงินไหลจากพันธบัตรมาที่หุ้นครับ ปี 42 ผมจำได้ว่าหุ้นขึ้นแต่ gdp ปีนั้นหรือผลประกอบการก็ยังไม่ได้ดีขึ้นมาก แต่ปี 42 ขึ้นเพราะความกังวลเรื่องสถาบันการเงินลดลงจากการเพิ่มทุนโดยกระทรวงการคลังให้สถาบันการเงินโดยการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ( SCB Tisco ) เข้าโครงการนี้ และธนาคารอื่นๆ เพิ่มทุนโดยการออก Slip กับ Cap ( หุ้นกู้บวกหุ้นบุริมสิทธิที่นับเป็น tier 1 ได้ ) นอกจากนั้น รัฐบาลตอนนั้นก็กู้เงินจากญี่ปุ่นมากระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการมิยาซาวา ซึ่งรัฐบาลตอนนั้นก็เป็นพรรคเดียวกับรัฐบาลปัจจุบันที่ใช้เงินกระตุ้นตามเศรษฐกิจในโครงการ ไทยเข้มแข็ง เลยครับ แต่ตอนปี 43 หุ้นก็ลงจาก 400 จุด เหลือ 260 จุดอีกครั้งครับเพราะฟองสบู่ dot com แตกและปัญหา npl ของไทยที่ยังแก้ไม่จบ

15.สมัยปี 97-99 ผมไปดู pe ของ set อยู่ที่
5-12 ถ้าผมจะตั้ง assumption ว่าปีนี้
Gdp ก็ติดลบเหมือนกัน set น่าจะมี pe ใกล้เคียงกับสมัยนั้นก็คือ trade อยู่ที่ 5-12 เท่าพี่ ih คิดว่า
แนวคิดนี้ไม่ make sense ยังไงบ้างครับ
เบื้องต้นคือผมว่าดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำกว่าตอนนั้นเยอะ
อีกอย่างคือหนี้สินตอนนี้น้อยกว่าตอนนั้นเยอะ
นอกจาก 2 ข้อนี้พี่ ih คิดว่าต่างกันอย่างไรอีก
หรือว่าคิดว่า pe ของหุ้นในปีนี้ควร trade ที่
5-12 เหมือนแต่ก่อน

- ดอกเบี้ยตอนนี้กับตอนนั้นรู้สึกจะพอๆ กันครับ ตอนนี้จะต่ำกว่านิดหน่อย สิ่งที่ต่างกันคือ ตอนปี 97-99 นั้นเศรษฐกิจโลกยังดีครับ ปัญหาอยู่บ้านเรา แต่ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจเกิดนอกบ้าน แต่บ้านเราก็มีปัญหาการเมือง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างกันคือ ตอนปี 99 นั้น หุ้นตัวเล็กๆ ที่ p/e 2-5 เท่ามีเกลื่อนตลาด เพราะยังไม่ค่อยมีนักลงทุนแบบ vi ครับ


16.ถ้าตัวเลข capu น้อยเช่น 50 กว่าๆจะสะท้อนว่าเศรษฐกิจไม่ดีใช่ไหม เพราะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น capu เพิ่มขึ้น แต่ไม่ต้องสร้างโรงงานใหม่ สร้างเครื่องจักรใหม่ แต่ถ้า capu 100 น่าจะดีกว่า

-   ปกติจะมีการลงทุนเพิ่มเมื่อ capacity utilization เกิน 80% ครับ

17.มีผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจประเมินค่า การทำ stress test นั้นมีเงื่อนไข ที่ไม่รุนแรงมาก ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาพื้นฐานก็คือ
การถือครองสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ คือ cdo ดังนั้นถ้าแก้ที่ถูกคือ
แยก bad bank good bank และให้ธนาคารพาณิชย์ขาย
สินทรัพย์ ให้ bad bank ไปบริหาร พี่ ih เห็นว่าไง

-   Bad bank ที่เคยมาบริหารหนี้เสียของไทยตอนนั้นคือ Lehman Brother ก็เจ๊งไปเสียแล้วน่ะครับ ในการแก้ปัญหา NPL ของไทยตอนนั้น ในกรณี bank เอกชน จะตั้งส่วนบริหารหนี้เสียออกมาเอง ในขณะที่ bank รัฐจะขายหนี้เสียให้บสท. ครับ กรณีของสหรัฐ ผมไม่แน่ใจทางสถาบันการเงินอาจจะอยากบริหารหนี้เสียเองรึเปล่านะครับ เพราะถ้าบริหารเอง หาก recover เร็วก็จะได้กำไรกลับมาครับ

18.ทำไมตัวเลข monetary base ของ usa ขึ้นจาก
8 ล้านๆ ขึ้นมาเป็น 18 ล้านๆ แต่ว่าตัวเลขเงินเฟ้อกับยังไม่ค่อยจะขึ้นเลขทั้งๆที่ปริมาณเงินเพิ่มมากกว่า 100% แล้ว
เงินพวกนี้ไม่ได้เข้าสรุประบบหมดหรือครับ

- เงินเฟ้อจะต้องเกิดจาก demand ไปซื้อสินค้า ( goods ) หรือบริการครับ ดังนั้นเงินที่เพิ่มรอบนี้มันไปซื้อสินทรัพย์หมดครับไม่ได้ไปซื้อสินค้า และซื้อแต่สินทรัพย์ทางการเงินด้วย สินทรัพย์อื่นๆ อย่างอสังหาฯ หรือกิจการก็ไม่ได้ไปซื้อ ตอนนี้เลยเกิดภาวะ asset inflation หรือ overvalue ในตลาดหุ้นหลายประเทศในโลกครับ

19.ตอนนี้ gdp ทั่วโลกกระเตื้องขึ้นมาเพราะว่าการใช้จ่ายของภาครัฐแต่ภาคการลงทุนยังไม่ฟื้นตัว ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
จะทำให้ภาครัฐเงินหมดกระสุนในการอัดฉีดหรือไม่
และถ้าภาคการลงทุน การบริโภคยังไม่ฟื้นจะกลับไปแย่มากได้หรือไม่ เพราะว่รัฐบาลทั่วโลกคงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้
มากเหมือนก่อนหน้านี้ แบบนี้ความเสี่ยง double dip ก็มีในระดับนึงหรือไม่

- ปีนี้เศรษฐกิจจีนแม้ว่าการส่งออกจะติดลบ 20-30% แต่ GDPเติบโต 8% เพราะการลงทุนภาครัฐเพิ่มกว่า 30% ดังนั้นหากเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ผมก็ไม่แน่ใจว่าจีนหรือหลายๆ ประเทศจะสามารถมีการลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นในปีหน้าได้อีกรึเปล่านะครับ ปีหน้าอาจจะมีโครงการ จีนเข้มแข็ง ขึ้นมาก็ได้ครับ

20.พี่ ih คิดว่าราคาหุ้นตอนนี้สะท้อนความหวังว่าเศรษฐกิจจะเป็น v shape แล้วหรือไม่ครับ เพราะ pe ของหุ้นค่อนข้างจะสูง และถ้าเป็น u หรือ w นักลงทุนที่ลงทุน(วันที่เขียน set ปิด 641 จุด) มีโอกาสติดหุ้นสูงไหมครับ

- ผมตอบกระทู้นี้อีก 1 เดือนให้หลัง ตอนนี้หุ้นขึ้นไป 750 แล้วครับ ผมคิดว่าราคาหุ้นตอนนี้มันไม่ค่อยได้สะท้อน u หรือ v อะไรมากน่ะครับ มันเกิดจากสภาพคล่องจากต่างประเทศมันไม่มีที่ไปครับ ดูจากราคาน้ำมันที่ยังแทบอยู่ที่เดิมตั้งแต่ 2-3 เดือนก่อนตอนที่ดัชนียัง 550 ผมคิดว่าถ้านักลงทุนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะเป็น v ราคาน้ำมันน่าจะไปได้มากกว่านี้ครับ การที่เงินไหลเข้าหุ้น big cap และทอง ผมคิดว่ามันสะท้อนเรื่องเงินที่ไหลเข้ามาเพราะเรื่องดอลล่าร์อ่อน และสภาพคล่องในระบบที่ไม่มีที่ไปมากกว่าครับ ถ้าเศรษฐกิจมีสัญญาณว่าเป็น w เมื่อไหร่ ดอลล่าร์ก็จะแข็งและจะเงินทุนเหล่านี้ก็จะไหลกลับไปอย่างรวดเร็วครับ

21.พี่ ih คิดว่าถ้าเกิดเงินเฟ้อ fed จะลดสภาพคล่องแบบไหนได้บ้างครับ นอกจากการขึ้นดอกเบี้ย fed fund rate

- ก็ต้องทำตรงข้ามกับที่เคยทำครับ คือ จะต้องขายพันธบัตรออกมาในระบบครับ ซึ่งก็ทำคู่กับการขึ้น fed fund rate ครับ

แต่ตอนนี้ real sector ก็ยังไม่ค่อยเห็นสัญญาณฟื้นเด่นชัดครับ หาก fed ดึงสภาพคล่องกลับหรือขึ้น fed fund ตอนนี้ ก็คงทำให้ตลาดหุ้นอาจจะลงหนักได้ FED ตอนนี้เลยเหมือนภาวะขี่หลังเสือ ไม่รู้ว่าจะหาทางลงยังไงครับ

เราอาจจะเคยดูพวกหนังตลกที่มีมุขว่า ถ้าไม่อยากให้รถติดก็เปิดไฟเขียวมันทุกแยกเลย หรือนักการเมืองสมัยก่อนที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจบอกว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ให้พิมพ์แบงค์ออกมาเยอะๆ แต่วันนี้ FED ก็ทำอย่างนั้นอยู่น่ะครับ

หลังตอบจบแล้วเลยขอความเห็นคุณ Hong ด้วยครับว่า คุณ Hong มองอย่างไรบ้างครับ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดหุ้นในปีหน้าครับ 

No comments:

Post a Comment