******************update20/11/56**************************
กลับมาดูอีกรอบ หลังจากที่เห็นว่าเรื่อง พรบ เรียบร้อยแล้ว ^^"
Pato เป็นทั้งผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรู
โดยรูปแบบที่นำเข้ามี 2 แบบ
1.รูปเทคนิคอลเกรด (Technical Grade) (80%)- เป็นแบบเข้มข้น ต้องเอามาผสมอีกทีให้เป็นสูตรสำเร็จอีกที
2.รูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finished Product) (20%)- เป็นแบบพร้อมใช้งานเลย มักจะเอามา repack ให้เล็กลงอีกทีนึง
*การที่บริษัทนำเข้าแบบ เทคนิคอลเกรด เยอะ จะทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งรายอื่นมา
และสารที่นำเข้ามาเป็น
- สารกำจัดแมลงศัตรูพืช 40 %
- สารกำจัดวัชพืช 50 %
- สารกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ ที่ไม่ใช่แมลง 10%
** ไม่มีการผูกขาดการซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายรายใด และไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตเกิน 30%
สัดส่้วนการซื้อในประเทศ ราวๆ 20% ที่เหลือ 80% ต่างประเทศ
ส่วนผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ขาย มี 2แบบ (ในเชิงธุรกิจ)
1. Specialty Products :(30%) เป็นผลิตภัณฑ์มีการจดลิขสิทธิ์ไว้ หรือไม่มีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่คล้ายๆกัน
2. Commodity Products :(70%) คล้ายๆสินค้าโภคพันธ์ หมายถึง ยาที่ ใครผลิตออกมา ก็ไม่ต่างกัน ทำให้มีการแข่งขันสูง และแข่งขันด้านราคาด้วย และการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเลยขึ้นอยู่กับเครื่องหมายการค้าเป็นหลัก
โครงสร้างรายได้ ** ขอใช้ของปี 53 แทน เนื่องจากปี 54 และ 55 (56ด้วย) มีปันหาเรื่อง พรบ เข้ามา
รายได้มาจากในประเทศ 100% โดย
สารกำจัดแมลง ประมาณ 50%
สารกำจัดวัชพืช ประมาณ 35%
สารกำจัดเชื้อรา ประมาณ 10%
สารกำจัดไร ประมาณ 5%
รายได้หลักมาจากภาคกลาง ราวๆ 60%
รายได้หลักมากจาก การขายให้กับ นาข้าว 78%
บริษัท
พาโตเคมีอุตสาหกรรม จำกัด
(มหาชน)
นับได้ว่ามีกำลังการผลิตสารกำจัดศัตรูพืชชนิดเม็ดสูงที่สุดในประเทศ
คือมีกำลังการผลิตถึง 35,700
ตันต่อปี
แต่จากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
พรบ.
วัตถุอัตรายฉบับปัจจุบัน
ทำให้บริษัทไม่สามารถผลิตสารกำจัดศัตรูพืชชนิดเม็ดเลยในปี
2555
กลยุทธทางการตลาด
1. ผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพ ขายมานานกว่า 30ปี
2. กลยุทธ์ในการกำหนดผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าขาย โดยจะไม่ให้ซ้ำกับลูกค้าอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ป้องกันการตัดราคา**** (กลยุทธ์แปลกดี)
3. ส่วนใหญ่นำเข้าแบบ เทคนิคคอลเกรด ทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุน
4. ความสัมพันธ์ระดับ ผบ กับลูกค้า
5. ความเร็วในการบริการ ในรัศมี 200 กม ก็ส่งให้ แต่ถ้าไกลกว่านั้น จะพิจารณาอีกที โดยความรวดเร็วสำคัณมากเพราะต้องทันต่อฤดูกาลซึ่งบางทีสั้นมาก เช่นสารกำจัดวัชพืชก็ทันหน้าฝน (ฝนตกแปปๆหญ้าขึ้น) สารกำจัดแมลงต้องทันการระบาด (การระบาดจะเกิดเร็วมาก)
6. มีผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมากกว่า 80 ชนิด
การจำหน่าย และช่องทาง มี 3แบบ
1.ตลาดของบริษัทตัวแทนจำหน่าย (Distributors) 22%
กลุ่มนี้จะซื้อสินค้าบริษัท แต่เอาไปติดแบรนด์ตัวเอง หรือบริษัทเป็น OEM (รับจ้างผลิต)
** ดีที่ไม่เยอะ ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่
2.ตลาดของบริษัทแบ่งบรรจุ (Local Repackers) 2%
คล้ายๆ อันแรก แต่จะขอซื้อไปแบบขนาดใหญ่ๆ แล้วเอาไป repack อีกทีนึง เพื่อขายในแบรน์ของตัวเอง
** คล้ายๆแบบแรก
3.ตลาดของลูกค้าโดยทั่วๆไป (Dealers or Free Market) 76%
มีตัวแทนไปขายตามจังหวัดต่างๆ ในแบรนด์ของ PATO
** ดีครับ
สัดส่วนลูกค้ารายใหญ่ 10 รายแรก เกือบ 30% ของตลาด แต่ไม่มีลูกค้ารายไหนเกิน 10%
เรื่องการกำหนดราคา มักจะถูกกว่าของต่างประเทศ แต่แพงกว่าของในประเทศ โดยเทียบกับปริมาณการใช้ต่อไร่ กับสินค้าอื่นที่ใกล้เคียงกัน
บริษัทมีนโยบายที่จะขยายส่วนแบ่งตลาดให้มากขึ้น โดยมีความได้เปรียบคือ
- ต้นทุนต่ำจาก Technical Grade
- เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทข้ามชาติด้วยเหตุที่บริษัทมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ดังที่ ได้กล่าวมา แล้วข้างต้น บริษัทคาดว่าจะสามารถเข้าไปชิงส่วนแบ่งการตลาดในเบื้องต้นได้ปีละประมาณ 5-10% ของมูลค่าการจำหน่ายของบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และจะเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป
- บริษัทจะขยายตลาดเข้าไปในพื้นที่ใหม่ (Vergin) อันได้แก่ พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือพื้นที่ที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ของพื้นที่ของประเทศไทย โดยทำการส่งนักวิชาการเข้าไปแนะนำเกษตรกรให้รู้จักใช้ผลิตภัณฑ์สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นและผลิตผลที่ได้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
เรื่องกำลังการผลิต
ค่อนข้างเหลือเฟือ โดยในใช้ปีที่ใช้กำลังการผลิตสูงสุด (รวมทั้งหมดนะครับ)
- ชนิดน้ำ กำลังการผลิต 6,482 ใช้ไป 3,903
- ชนิดเม็ด กำลังการผลิต 35,700 ใช้ไป 15,912
- ชนิดผง กำลังการผลิต 4,060 ใช้ไป 659
โรงงานเป็นผู้รับจ้างผสมปรุงแต่งจึงไม่มีวัตถุดิบเหลือใช้
หรือของเสียจากขบวนการผสมปรุงแต่ง
มีเพียงแต่ภาชนะบรรจุที่อาจปนเปื้อน
โดยบริษัทได้ว่าจ้างผู้ชำนาญการกำจัดของเสียที่ได้รับใบอนุญาตในการขนย้ายภาชนะปนเปื้อนเข้าขบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือทำลายทิ้ง
ความเสี่ยง
1. ด้านธรรมชาติ ภาวะดิน ฟ้า อากาศ ที่มีผลต่อลูกค้าหรือเกษตรกร โดยตรง
2. ด้านการตลาด แต่เชื่อว่าน้อย เพราะมีคนขายทั้งประเทศ และการเลือกตัวแทนไม่ให้มีการขายสินค้าเหมือนกันในพื้นที่เดียวกัน ป้องกันไม่ให้ตัดราคาสินค้า และ สินค้ายังได้รับการยอมรับจากลูกค้ามานาน และถูกกว่าผลิตภัฑณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย
3. เรื่องเทคโนโลยยี ไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีรขั้นสูง
4. เรื่องสินเชื่อ
5. ความเสี่ยงในการแลกเปลี่ยนเงินตรา เต็มๆเลย เพราะนำเข้าเป็นหลัก
6. ความเสียงจาก พรบ วัถตุอันตราย
เรื่องของงบการเงิน
**ปี 55 มีปัญหาเรื่อง พรบ
งบดุล ปี54
ทรัพย์สิน
เงินลงทุนชั่วคราวเยอะจัง 33%
ลูกหนี้การค้า 24%
*หนี้สงสัยจะสูญ ต่ำมาก ราวๆ 0.3%
สินค้าคงเหลือ 19%
*ส่วนใหญ่เป็น วัตถุดิบและบรรจุพัน เกือบ 80%
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 8%
สินทัพย์ไม่มีตัวตน (ทะเบียนยา) 5%
หนี้สิน เทียบกับทรัพย์สิน 16% (หนี้น้อยมาก)
ส่วนใหญ่เป็น เจ้าหนี้การค้า 57%
และเงินกู้ยืม 21%
ที่เหลือเป็นส่วนผู้ถือหุ้น
*มี ESOP นิดหน่อย 2%
งบกำไรขาดทุนโดยรวม ปี 53-55
ต้นทุนราวๆ 65-70% ของรายได้่
ค่าใช้จ่ายในการขาย ราวๆ 5%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ราวๆ 4%
NPM ราวๆ 20% ของรายได้
งบ 3 เดือน 3/56
ต้นทุน 63% ของรายได้
กำไรขั้นต้น 37%
กำไร(ขาดทุน)จากการลงทุน ประมาณ 5% ของกำไรสุทธิ
* ต้องระวังเรื่องรายได้ที่ไม่มีต้นทุนด้วย
ค่าใช้จ่ายในการขาย 5%
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 4%
ภาษี 20%
ค่าเสื่อมต่ำมากๆ
**ปันผลราวๆ 85% ของกำไรสุทธิ
สิ่งที่เน้น คือ ไม่ควรเอา ROE มาเป็นหลักในการด เนื่องจากบริษัทมีการปันผลเยอะมาก ทำให้ ROE ดูค่อนข้างจะสูงมาก แต่ที่น่าสนใจเป็นเรื่องของการเติบโต ถ้าบริษัทสามารถโตได้ 5-10% อีก โดยที่ปันผลออกมาเยอะขนาดนี้ ก็ถือว่าน่าสนใจ
เรื่องกำลังการผลิตที่เหลือเฟือ ก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากมายด้วย
****************************************************************************
ส่วนนี้เขียนเมื่อนานมาแล้ว
Pato พาโต จริงๆ
ตัวนี้เป็นตัวที่ผมได้มาจากการหาหุ้นด้วยวิธี ROE สูง PE ต่ำ
เหตุผลในตอนนั้นเกิดจากการคิดว่า ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูง เราก็จะได้สูงตามไปด้วย แล้วถ้าเราได้หุ้นในราคาถูก ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ ดีมากๆ ทำให้ไปพบตัวนี้ (ตัวอื่นก็มี อย่าง MCS)
ถ้าเราซื้อหุ้นที่ PE ต่ำ เราจะได้กำไรในปีนั้นเท่ากับ E/P และเมื่อระยะเวลาผ่านไป กำไรที่ได้จะได้เท่ากับ ROE
ปัญหาคือ ถ้า Book ไม่เพิ่ม กำไรที่ได้ก็จะได้แค่ PE เท่านั้น (พวกปัญผลมากๆ)
เข้าเรื่องเลยล่ะกัน ตัวนี้ขาย ยาฆ่าแมลง ลองไปถามเกษตรกรมาล่ะ รู้จักดี แถมชอบด้วยเพราะใช้แล้วแมลงตาย เห็นผลทันตาเลย
ส่วนเรื่อง market share ก็อันดับ 7 มั้ง ไม่แน่ใจ แต่อันดับ 1 - 10 ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก (คล้ายเครื่องสำอาง) ที่ไม่มีรายใดที่ได้ตลาดไปครอบครองอย่างมีนัยยะ
เรื่องธุรกิจ นำเข้าสารเคมี ผสมสารเคมีเป็นยาฆ่าแมลง ขาย
ปัญหาที่เกิดในปีก่อนคือ พรบ หมดอายุ ทำให้ผลิตยาฆ่าแมลงไม่ได้ แต่เหมือนว่าตอนนี้จะผ่านแล้วมั้ง ไม่ได้ติดตาม
1 สินค้าที่ใช้แล้วหมดไป
ยาฆ่าแมลง ถ้าดูแบบคนรักธรรมชาติ มันไม่หมด มันตกค้างนะ แต่เราเป็นนักลงพุง เอ๊ย ลงทุน ดังนั้นยาฆ่าแมลง ใช้แล้วหมดแน่นอน
รู้จักกับเกษตรกรท่านหนึ่งมา ว่าการใช้ยาฆ่าแมลง มักใช้ช่วง ต้นอ่อน กับ ช่วงกำลังออกลูก มาก แต่ช่วงอื่นก็ใช้บ้าง
ช่วงที่เป็นพีค ก็น้ำฝน เพราะคนเริ่มทำนา
2 สินค้าที่อาจมีการทดแทนได้ง่าย
ยาฆ่าแมลงแบบรักษาธรรมชาติ อย่างเช่นพวก สารสกัดจากใบไม้ พวกนี้อนาคตน่าจะมาแรง
เครื่องดักจับแมลง ที่เคยเห็นก็แมลงวันทอง จะมีน้ำยาล่อแมลงวัน ก็เอาไปใส่ขวดน้ำ เจาะรูเล็กๆ พอแมลงวันได้กลิ่น ก็เข้ามาตอม แต่ออกไม่ได้ ตายเต็มเลย
มุ้งครอบสวนผัก พวกนี้ราคาค่อนข้างสูง
อื่นๆอีกเยอะ
ปัญหาคือ ยาฆ่าแมลง ในอนาคตคงจะแย่ลงเพราะว่า คนต่างชาติ ต่อต้านกันเยอะ อย่างผมก็เลือกผักแพง แต่ชัวร์นะ
3 สินค้าที่มีแบรน และคนซื่อสัตย์ในแบรนด้วย
สำหรับชาวบ้าน ถ้ายาตัวไหนใช้ได้ ก็ใช้ตัวนั้น จนกว่าจะใช้ไม่ได้ (ดื้อยา) ก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สำหรับ ขึ้นอยู่กับว่า คนขายแนะนำอะไรให้มากกว่า
ที่เหลือก็แค่ PATO จะทำยาให้มีคุณภาพคงที่สม่ำเสมอ และใช้ได้ผลตลอดเวลา
4 คู่ค้า
เป็นบริษัทอื่นๆ แต่ราคาสารเคมี ค่อนข้างจะมีราคากลางอยู่แล้ว จึงไม่น่ามีปัญหาในเรื่องราคา บางครั้งอาจจะได้เปรียบด้วยซ้ำ เพราะที่ไหนก็เหมือนกัน
5 ลูกค้า
ส่วนนี้ เชื่อว่าเป็นพ่อค้าคนกลางจะเป็นคนรับไปขาย ทำให้ต้องขายส่ง กำไรอาจจะได้น้อยกว่าที่ควร แต่ก็ยังได้กำไรที่สูงอยู่
6 คู่แข่ง
บริษัทใหญ่ๆ ในตลาดมีน้อย แล้วแต่ละรายก็ไม่ได้กินตลาดมากไปกว่ากันนัก นอกจากนั้น พรบ ยังเป็นตัวป้องกันที่ทำให้ บริษัทใหม่ๆ เข้ามาได้ยาก
7 วัตถุดิบ การสินค้าโภคภัณฑ์
เรื่องราคา สารเคมี แต่ที่ผ่านมาเหมือนไม่มีปัญหานะ
8 โอกาสการเติบโตของสินค้า บริการ
ส่วนนี้ผมคิดนะ
ข้อเสีย
ลูกเกษตรกรส่วนใหญ่ เริ่มออกมาหางานทำมากขึ้น อาจทำให้เกษตรกรมีน้อยลง
สินค้าเกษตรเริ่มต้องการสินค้าทีปลอดภัย ไร้ยาฆ่าแมลง
พรบ ที่มีเยอะ รวมไปถึงระบบ ราชการที่ห่วย
ข้อดี
แต่อนาคตคนมากขึ้น อาหารย่อมต้องมากขึ้นตาม
การใช้วิธีอื่น จะมีต้นทุนที่สูงกว่า การใช้ยาฆ่าแมลง
พรบ ที่มีเยอะ รวมไปถึงระบบ ราชการที่ห่วย >> ทำให่้รายใหม่เข้ามายาก และช้าจะระบบราชการ
เรื่องของตัวบริษัท งบการเงิน
1 สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินแบบนี้ ไม่มีเลยดีกว่า 1 ในบริษัทไม่มีวันล้ม ส่วนกำไรที่ไม่โต มาจากการปันผล เกือบหมดเลยนี่ล่ะ
2 รายได้ กำไร ROA ROE อัตรากำไรสุทธิ
รายได้ต่อสินทรัพย์เยอะอยู่ เพราะไม่มีโรงงาน (มีแค่พื้นที่ผสมสารเคมี)
กำไรสุทธิ ขึ้นทุกๆปีเลย ค่อนข้างแข็งแรง
ROE เพิ่มทุกปี จากกำไรที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนผู้ถือหุ้นไม่เพิ่ม ถือว่าดีเพราะไม่ต้องลงทุนเลย
3 รายได้ และ รายจ่าย
ต้นทุนส่วนใหญ่มากจากการผลิต (นำยามาผสม)
ส่วนอื่นๆน้อยมาก ทำให้กำไรที่ได้สูงด้วย
เรื่อง ผบ
เงียบมาก แทบไม่มีข่าวเลย อยากไปฟังประชุมเหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาไป เสียดาย
1 บริษัทที่พึ่งเจ้าของมากเกินไป
อันนี้ไม่รู้ แต่เชื่อว่า เปลี่ยนเจ้าของไป บริษัทก็ยืนอยู่ได้ ด้วยแบรน์
2 บริษัทที่ทำหลายอย่างเกินไป ออกนอกความถนัดเกินไป ชอบทำตามคนอื่น ขยายตัวรุนแรง
ไม่มีปัญหาเลย เพราะว่าทำแต่ยาฆ่าแมลงเป็นหลักๆ