Sunday, January 12, 2014

สรุปหนังสือ วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ

สรุป วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ



การปั่นหัวคนมี 3 วิธี 1โกหก 2ตอแหล 3ใช้สถิติ

การใช้สถิติโกหก มีหลายแบบ
อย่างการหาตัวอย่างที่แย่ คนที่ดูไม่ดีก็คงไม่มีใครอยากคุย คนส่วนใหญ่ก็มักพูดให้ตัวเองดีไว้ก่อน แต่คนที่รวยมากๆ ก็อาจไม่กล้าบอกความจริงเพราะกลัวโดนหลอกถาม ทำให้ข้อมูลไม่ตรงเพี้ยน

ค่าเฉลี่ยมี 3 แบบ ฐานนิยม มัธยฐาน เลขคณิต ถ้าข้อมูลเป็นกราฟธรรมดา มันก็ ok เพราะค่าพวกนี้ มันจะใกล้เคียงกัน แต่ถ้ากราฟเบ๊ อย่างเช่นรายได้ของคนทั้งประเทศ คนที่รวยที่สุดในประเทศคนเดียว ก็มีเงินมากกว่าคนจนเป็นแสนเป็นล้านคนเลย แบบนี้ อย่างนี้ สมมุติ รายได้เฉลี่ยของเลขคณิตก็จะได้ 5หมื่น (เอารายได้มาเฉลี่ย) มัยธฐาน 1หมื่น (เอาคนที่อยู่ตรงกลางมาคิดว่ารายได้เท่าไหร่) ฐานนิยม 9พันบาท (คนส่วนใหญ่ได้ 9พันบาท) ค่าเฉลี่ยก็เปลี่ยนแล้ว

การใช้กลุ่มตัวอย่างเล็กๆ บางทีก็เกิด error ได้ เช่น ใครๆก็รู้ว่า โยนหัวก้อย มัน 50:50 แต่ถ้าให้โยนสัก 10 ครั้ง โอกาสจะออกหัว 10ครั้งมันก็มีอยู่แล้ว อย่างยาสีฟันที่หมอแนะนำ 90% มันก็มาจาก 10คน ที่บังเอิญ 9 คนเห็นด้วยก็ได้

บางทีใช้ค่าเฉลี่ยมากเกินไป ก็มีปัญหาเหมือนกัน อย่างเช่น โดยเฉลี่ยแล้ว ครอบครัวมี 3.5 คนต่อครอบครัว มันไม่ได้หมายถึง ส่วนใหญ่มี 3-4 คน แต่อาจจะมี 1-2 คนเยอะมาก แล้วก็มีครอบครัวใหญ่ 5-10 คนอยู่บางส่วน(แต่มันดึงค่าเฉลี่ยขึ้นมา) ซึ่งอาจทำใหักราฟเป็นรูปยกทรงได้ (ตรงค่าเฉลี่ยดันเป็นจุดต่ำสุดก็ได้) หรืออย่างเรื่องอุณหภูมิ บอกค่าเฉลี่ยอากาศว่า 25 องศา มันอาจจะ 15-35 องศา หรือ -10-60 องศาก็ได้

การใช้ค่าเฉลี่ยกับ ค่าต่ำสุด เช่น ตอนแรกคนประเทศนี้ มีเงินต่ำสุด 100 บาทต่อวัน แต่พวกพัฒนาแล้ว คนจะมีเงินเฉลี่ย 300 บาทต่อวัน ซึ่งแบบนี้ ตอนแรกใช้ค่าต่ำสุด ต่อมาก็ใช้ค่าเฉลี่ยแทน ซึ่งสุดท้ายแล้ว ไม่ทำอะไรมันก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี

ค่าที่แม่นเกินไป อย่าง IQ 100 เป็นค่ากลาง คนที่ได้ 99 โง่เลย คนที่ได้ 101 อัจฉะเลยก็มี งี่เง่า

เรื่องการนำเสนอ อย่างแผนภูมิ ทำให้ดูดีไม่ยาก เช่น สมมุติ ผมได้รายได้ เพิ่มจาก 100 เป็น 110 บาท (10%) แต่ถ้าผมอยากให้มันน่าสนใจ เปลี่ยนจากกราฟที่เริ่มจาก 0 มา 110 เป็น 100 มา 110 แล้วก็เพิ่มความสูงเข้าไป กราฟจะชันมาก ทำให้กราฟดูน่าตื่นเต้นดี แต่ถ้าไม่อยากให้คนอื่นสนใจ ก็ใช้กราฟ 0 มา 200 แล้วทำให้แบนๆ เส้นกราฟก็จะแบนๆ เหมือนไม่ขึ้นเลย ก็ทำได้เหมือนกัน หรืออย่างรูปภาพ อย่างคนจนแทนด้วยเงิน 1 ถุง คนรวยแทนด้วยเงิน 2 ถุง ก็ธรรมดา แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถุงที่ใหญ่กว่า 2 เท่า มันจะดูใหญ่กว่ามาก (กว้างเพิ่ม 2 เท่า สูงเพิ่ม 2เท่า ทำให้ดูเหมือนเพิ่ม 4 เท่ามากกว่า)

บางอย่างที่ไม่เกี่ยวกัน อย่าง กินน้ำไก่จะฉลาดขึ้น เอาคนที่กินน้ำไก่กับคนที่ไม่กินน้ำมาสอบแล้วบอกว่า คนกินนำไก่ เก่งกว่า ก็บอกยาก เพราะ คนที่พยายามจะฉลาด อ่านหนังสือมากมาย กะแค่กินน้ำไก่เพิ่ม มันก็ไม่ยากเลย แล้วอีกคนที่มาแข่งด้วย ใครก็ไม่รู้ แบบนี้ก็แพ้ตั้งแต่เริ่มแล้วก็เป็นได้ (แต่น้ำไก่มันอาจมีผลจริงๆก็ได้นะ ก็ไม่รู้สินะ)

บางอย่างที่ไม่ควรเอามาอ้าง อย่างเช่นเรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เพิ่มอย่างต่อเนื่องในช่วงวันหยุดยาว ไม่ได้หมายถึงคนขับรถแย่ลง แต่รถมันเยอะขึ้นทุกปี แถมมีรถคนแรกอีก อุบัติหตุเลยเพิ่มตามมากกว่า หรืออย่างคนเรียนสูงจะรวย ซึ่งมันไม่เกี่ยว คนที่เรียนไม่จบรวยกว่าเยอะแยะ คนเรียนมาก จมอยู่กับที่ เตะฝุ่นก็มีเยอะแยะ ก็ด้วย

อย่างเรื่องไม่เห็นด้วย เวลาพนักงานในบริษัท ไม่เห็นด้วยกับบริษัท อาจจะคนล่ะเรื่อง เช่น เรื่องเงิน เรื่องเวลา เรื่องงาน เรื่องจิปาถะต่างๆ แต่ก็ชอบเอามารวมกันเพื่อบอกว่า ไม่พอใจบริษัทก็ได้

ตัวเลขที่แอบซ่อน อย่างงบการเงิน กำไรที่ออกมาทุกปี บางทีก็หายไปกับค่าเสื่อม ค่าตอบแทนผู้บริหาร สำรองต่างๆ ซึ่งพวกนี้คือตัวเลขที่ซ่อนอยู่

เรื่องของ % อย่างเช่น ถ้าปีนี้ผมได้กำไร 10% แต่ตลาด ขึ้นมา 5% ผมสามารถบอกได้ว่า ผมกำไรมากกว่าตลาด 2 เท่าเลย (10% มากกว่า 5% 2เท่า) ก็ได้ แต่ถ้าคนอื่นได้กำไร 12% ผมก็อาจบอกว่า เขากำไรมากกว่าตลาด7% เอง ก็ได้เหมือนกัน การให้ส่วนลดอย่างต่อเนื่อง เช่น ถ้าซื้อเลย ลด 50% แล้วถ้าจ่ายเงินสดลดอีก 40% ฟังไปเหมือนลด 90% แต่ที่จริงเรายังต้องจ่ายอีก 30%นะ (100บาท ลด 50% เหลือ 50บาท แล้วลดอีก 40% ของ50% ก็จะเหลือ 30 บาท ไม่ใช่ 10บาทนะ)

การใช้ตัววัดที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ทำหอยจ้อ ใช้เนื้อปู ต่อเนื้อหมู 1:1 ก็อาจจะหมายถึงใช้ปู 1กิโล กับหมู 1 กิโล หรืออาจจะ ปู 1 ตัว และ หมู 1 ตัว ก็ได้

วิธีป้องกันตัว
ใครเป็นคนบอก เขารู้ได้ไง มันขาดอะไรไป ผิดเรื่องไหม สมเหตุสมผล

ไปซื้อมาอ่านกันนะครับ จะได้ไม่โดนหลอก แล้วไปหลอกคนอื่นต่อ

No comments:

Post a Comment