Thursday, December 27, 2012

เกี่ยวกับ Sat TV

สำหรับหุ้นกลุ่มนี้นะครับ ถ้าจำไม่ผิด มี WORK RS NINE GRAMMY NMG SLC 
* มาร์จะเน้นบางตัวนะครับ ตัวอื่นไม่ค่อยอยากเน้น มาก

เรื่องของ SAT TV นี่ เป็นกรณีที่น่าสนใจ เพราะถ้ามีความสามารถในการหาผู้ชมได้มาก และได้โฆษณาที่ดีมา จะดีมากๆเลย 

ปัจจุบันค่าโฆษณา freeTV อยู่ราวๆ 1แสนบาทต่อนาที และถ้าเป็นช่้องที่คนดูเยอะ ในเวลาที่คนดูเยอะๆ อาจขึ้นไป 3-4แสนบาทต่อนาที  

อย่าไปหวังว่าค่าโฆษณาของ sat TV จะเยอะมาก เพราะช่องมันเยอะ โฆษณาเลยมีตัวเลือกมากอยู่ แต่ถ้าช่องไหน คนดูเยอะ ก็ต้องดูกันอีกที อย่าง ช่อง WORKPOINT TV ก็มีคนดูพอสมควร 

ตารางนี้เป็น ตารางที่สร้างรายได้ แล้วแต่ว่า กี่ ชม ต่อวัน 



อย่าง 6 ชม หรือ 8 ชม ก็จะมีฉายซ้ำอีกรอบนึง เรียกว่า rerun แต่ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ 
ตารางนี้ เป็นค่าโฆษณา 10นาที ต่อรายการ 1 ชม นะครับ อย่าง 6ชม ต่อวัน ก็ได้ โฆษณา 60 นาที ต่อวัน

ความคาดหวังก็ ช่องไหน คนดูเยอะ ก็จะได้ค่าโฆษณาเยอะกว่าเพื่อน 

ลองเอามาคาดการณ์กับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มดูนะครับ 




Tuesday, December 25, 2012

Five Force Sat TV (ทีวีดาวเทียม)

ตามที่เคยบอก
ไม่ค่อยอยากเขียน เพราะมันขึ้นแรงไปครับ

* ปัจจุบัน ปี55 มี Free TV หรือ ช่อง 3 5 7 9 11 ที่เราดูอยู่ทุกวัน (thaiPBS นี่ด้วยมั้ง)
* Sat TV หรือ ดาวเทียม จะมีช่องมากกว่าเยอะ ตอนนี้น่าจะเกือบ 100 ในอนาคต เห็นว่าเกือบ 300 เลยมั้ง
* ปี 56 เห็นว่าจะมี เคเบิ้ล TV ด้วย
* เยอะนะ


Five Force SAT TV 


1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

แข่งขันสูงมากกกกก เนื่องจาก คู่แข่งแต่ล่ะราย ย่อมต้องแย่งเรตติ้งกันอย่างหนัก ยิ่ง Sat TV ยิ่งช่องเยอะ เยอะสุดๆ 

เท่าที่เคยคุย การที่จะแข่งขันได้ ต้องดัง และมีชื่อเสียงมาก (ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ก็ได้) มีคนตามดูมาก ถึงจะได้เท่านั้น 

ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะมีแค่ ไม่กี่ช่องที่ดัง รวยเละ ส่วนช่องที่เหลือ ก็แค่อยู่ได้ เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ ไม่ต่างกันมาก ที่ต่างคือ บุคคลกรมากกว่า เป็นkeyของกลุ่มนี้เลย 

2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier

ถ้า ช่องไหน คนดูเยอะ อำนาจการต่อรองก็เยอะแน่นอน เพราะปัจจุบัน Free TV ก็แพงมาก นาทีละ แสน ช่วงที่คนดูเยอะ ก็ 3-4แสนเลย แต่ก็ต้องมีคนดูเยอะพอนะ 

ยังไงโฆษณา ก็ต้องการที่จะให้คนดูเยอะอยู่แล้ว เพราะบางครั้งมันก็คุ้ม อย่าง ช่องที่ฮิต ค่าโฆษณา แสนนึง แต่คนดูล้านคน กับ ช่องธรรมดา 5พัน แต่คนดู 500เอง มันก็ไม่คุ้ม นอกจากเป็นรายการเฉพาะเพื่อโฆษณาโดยเฉพาะ อย่างเช่น เสื้อกีฬาในรายการกีฬา รายการสำหรับเด็กกับ สินค้าแบบนี้นะ 

แต่ท่าที่คิด ส่วนใหญ่อำนาจไม่เยอะ ถ้าช่องนั้นมีคนดูเยอะ ใครให้เงินเยอะ ก็ได้ไป นอกจากบางช่องที่โฆษณามาช่วยแต่แรก พอเรตติ้งดี เจ้าของก็ยังให้โฆษณานั้นอยู่ (เหมือนแทนบุญคุณ) เพราะธุรกิจนี้ ยังไงก็ต้องใช้ connection สุง (ถ้าเจ้าของตาย หายนะเกิดแน่)  

3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า

อำนาจอยู่ปลายนิ๊วครับ ที่กดรีโมท ก็ลูกค้าคือคนดู เขาจะดูอะไรก็เรื่องของเขา เราทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากทำให้ดี ให้ดัง น่าสนใจ คนดูเยอะๆ เท่านั้นเอง 

4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

ก็ตามที่เขียน สินค้าทดแทน สูงมาก ทั้ง Free TV  ,  Cable TV  ที่อยู่กลุ่มเดียวกัน 
แล้วอย่าง Internet TV หรือสื่ออื่นๆ ก็เยอะแยะด้วย 
แต่อย่างรายการ TV เองก็มีรายการที่คล้ายๆ เปิดมาแข่งกันก็เยอะ แต่ที่สำคัณคือ ถ้ารายการดี บุคลากรดี มันจะมีคนตามดูเอง

5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

การเข้ามาจะค่อนข้างง่ายมาก เพราะขอใบอนุญาติแปปเดียวก็เปิดใหม่ได้แล้ว แต่ก็มีข้อยากตรง การทำรายการให้มีคนดูมากๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันจะกลายเป็นตัวที่ทำให้ คู่แข่งรายใหม่เข้ามาได้ยากพอสมควร นอกจากคนที่มีชื่อเสียงแต่แรก แบบนั้นก็ เข้ามาได้เลย 

*ส่วนที่น่าสนใจ ผมจะเอาไปเขียนในกลุ่ม WORK RS NINE GRAMMY นะครับ 

Wednesday, December 19, 2012

บรรทึกประจำเดือน 11/55

เดือน 11/  2555 

หุ้นเดือนนี้ตอนต้นเดือน ทำท่าแย่น่าดูเลย ไม่มี New High มีแต่New low ทำใจลำบากเหมือนกัน ต้นเดือน 1297.99 แต่สัปดาห์หลัง จู่ๆก็ถูกลากขึ้นเยอะ 1332.92 ทะลุเลย 

ส่วนเดือนที่ผ่านมา ผมก็พึ่งเริ่มเล่น meta stock แล้วก็เอามาลงด้วย ตอนแรกก็เขียนสูตรเองเลย แต่ก็พบว่า ใช้สูตรคนอื่นดีกว่า แล้วดูย้อนหลังมา ก็ลองใช้เลย 

หุ้นที่ดูก็มีหลายตัว เพราะตัดสินใจ ใช้มาร์จิ้น กับระบบเต็มที่ เดียวการที่คิดว่า หุ้นแพง แต่ก็ไม่รู้จะแพงไปถึงไหน และหุ้นที่ดู เชื่อว่าอนาคต มีโอกาสจะขึ้นมากกว่าลง แต่ก็ต้องระวังเรื่อง Force Sell ด้วย 

มีเรื่อง 3 G ผ่าน หุ้น advanc intuch เลย สบายตัวเลย 
หุ้นตัวเล็กตัวน้อย วิ่งกันเยอะมาก เรียกได้ว่า มี Celling รายวันเลย 

ตอนนี้ผมเริ่มยอมรับเรื่อง หุ้นที่ดี ราคาแพง เพราะสมัยก่อน พยายามเอาแต่หุ้นถูกๆ

=====================================


Monday, December 17, 2012

Five Force สื่อสา่ร

Five Force: สื่อสาร



1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ในอดีต ค่อนข้างรุนแรงมาก ช่วงแรก ที่มี advanc เจ้าเดียว จน Dtac เข้า่มา orange (หรือ true) และ hatch ที่มาตามสุดท้าย แต่ก็สู้ไม่ไหว และขายให้กับ true  ส่วน TOT TT&T พวกนี้ ตัดทิ้งนะครับ เพราะเล็ก และไม่ได้เรื่อง 

ก็สมัยที่ orange มา ได้เกิดสงครามราคาแบบบ้าเลือดเลย เสียดายตอนนั้นผมอยู่ มัธยม เลยไม่รู้เรื่องอะไรมากนัก แต่ก็น่าจะพอรู้ว่า อัตรากำไรคงจะแย่น่าดูเลยทีเดียว 

ในปัจจุบัน การแข่งราคาเริ่มไม่ค่อยจะมีผลมากแล้ว อาจจะเป็นทั้งเรื่องของคุณภาพของสัญญาณด้วย 
ที่น่าแปลกใจเล็กน้อยคือ AIS โดนสัมปทานมา 20%ต้น Dtac โดน เกือบ 30% แต่ ค่าบริการ AIS แพงกว่า

ในอนาคต การแข่งขันที่เกิดขึ้นคือการใช้ดาต้า ซึ่งเป็นรายได้ 3 เท่าของ เสียง (อ่านๆมานะ) แน่นอน เนื้อชิ้นใหญ่ใครๆก็ต้องแย่งกันเต็มที่ล่ะครับ

2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier
แบ่งเป็นกลุ่มๆนะครับ

กลุ่ม กสทช มั้ง กลุ่มที่ให้ใบอนุญาติ ซึ่งถ้าใครจะเข้ามา ก็ต้องขอใบอนุญาติด้วย ส่วนนี้ผมว่าไม่มีปัญหามาก แค่เล่นข่าวไปเรื่อยๆ เพราะเรื่องผลประโยชน์ (ขอหยุดแค่นี้ เดียวผมหัวหาย) แต่สุดท้าย ประชาชนและเศรษฐกิจ จะทำให้มันผ่านไปเอง

กลุ่มผู้ผลิตมือถือ ก็ไม่มีปัญหา เพราะสุดท้าย ถ้าผู้ผลิตมือถือไม่ออกแบบมาให้ใช้ได้ในประเทศไทย คนในประเทศ มันก็ไม่ซื้อ ดังนั้นผ่านไปเลย

กลุ่มผุ้รับเหมา อันนี้เขาก็เป็นลูกค้าเราด้วย แถมเราจะจ้างใครก็ได้ ไม่มีปัญหา

3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า

ประชาชนรายย่อย หมดอำนาจเลย นอกจากต้องระวังเรื่องการย้ายเบอร์ย้ายเครื่อง เท่านั้นเอง

กลุ่มองค์กร อันนี้ผมไม่มีข้อมูลนะครับ

4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

อันตรายที่สุดของกลุ่มนี้ สมัยนู้นนนนน ที่มี เพจเจอร์ ที่ส่งข้อความกันได้ จู่ๆโทรศัพท์ส่งข้อความได้ เจ็งเลย

ในอนาคต ถ้า่มีการสื่อสารแบบใหม่ๆได้ ก็อันตราย ต้องดูไปเรื่อยๆได้ แต่คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพรา่ะเราเองก็เป็นทั้งลูกค้าและหาการสื่อสารใหม่ๆอยู่ตลอดอยู่

ที่จริงแล้ว ก็กลัวเรื่อง skype นะครับ ที่โทรศัพท์ผ่านเน็ต แต่ถ้าคนเอามาใช้ ก็ต้องใช้เน็ตบนมือถืออีก ดีๆ 

5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

ตัดทิ้งไปได้เลย เรื่องคู่แข่งหน้าใหม่ true ก็เกือบไม่รอด หรือไม่รอดก็ไม่รู้ แต่ back ใหญ่อยู่ เลยยังยืนได้ แม้ขาดทุนตลอด

ส่วน hatch ก็ไปแล้ว ไปรวมกับ true แล้ว

การที่คู่แข็งจะเข้ามา ก็ต้องไปแย่งประมูลใบอนุญาติ ต้องไปตั้งเสาอีก ต้องไปโฆษณาอีก แถมลูกค้าก็มีเครือข่ายอื่นใช้หมดแล้ว จะแข่งเรื่องราคาก็ยาก (ต้นทุนสูง ลงทุนสูง) แข่งเรื่องบริการ ก็เหนื่อย



สรุป โดยรวม ผมว่า ถ้าไม่มีเรื่องการเมือง เรื่องการให้ใบอนุญาติมาบีบหัวใจ ผมว่า มันเป็นกลุ่มนึง ที่น่าสนใจมาก แต่ต้องระวังเรื่องการพัฒนาของเทคโนโลยี ในอนาคตให้มากๆนะครับ 

Tuesday, December 11, 2012

Five Force โรงพยาบาล


Five Force: โรงพยาบาล


1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ทุกโรงพยาบาลมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ในเรื่องของบริการ และการโฆษณาคุณภาพ แต่เท่าที่เห็น แข่งขันทางด้านราคาน้อยมาก ถึงว่าเป็นเรื่องดี 

การแข่งขันที่ขนาดของโรงพยาบาล 
โรงพยาบาลขนาดเล็ก จะแข่งกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ยากกว่า เนื่องจาก อุปกรณ์ ทางการแพทย์หลายชิ้น ราคาสูง ถ้าคนไข้น้อย มันจะไม่คุ้มเลย  เรื่องการทำมาตราฐานอีก ต้องลงุทนพอสมควรเลย
แต่ข้อดีของโรงพยาบาลเล็กๆ คือ ประหยัดต้นทุน ลงทุนต่ำกว่า และสามารถขยายได้ง่าย ในต่างจังหวัด พื้นที่คนไม่หนาแน่นมาก ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเขตพื้นที่คนหนาแน่นมาก 

สุดท้ายแล้ว ผมเชื่อว่า โรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็จะมาเปิดโรงพยาบาลขนาดเล็กแข่งแน่นอน เพราะจะได้กระจายโรงพยาบาลไปทั่ว แถมสามารถ ส่งคนไข้หนักมาโรงพยาบาลใหญ่ได้อีก  
ส่วนโรงพยาบาลเล็กๆ ก็จะหันไปทำโรงพยาบาล เฉพาะทางโดยตรงเพื่อให้อยู่รอดเรื่อยๆ

การแข่งขันระหว่าง โรงพยาบาลเอกชน กับ โรงพยาบาลรัฐ 
โดยหลักๆ โรงพยาบาลรัฐ จะรับคนชั้นล่าง ส่วนเอกชน จะรับคนชั้นบน เป็นส่วนใหญ่ แต่ในอนาคต โรงพยาบาลรัฐก็จะเปิด คลินิคพิเศษนอกเวลา นอกจากนั้น โรงพยาบาลรัฐ มักจะเอานักศึกษาแพทย์มาทำงานด้วย 
ส่วนนี้ผมว่าอนาคตไป คนชั้นบน กับ คนชั้นล่าง ก็คงยังจะแยกกันเข้าโรงพยาบาลอยู่ดี เป็นไปได้ยาก ถ้าจะให้ทุกคนเข้ามาโรงพยาบาลเดียวกัน 


2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier

บุคลากร 
พวกหมอชื่อดัง นี่ ผมมองเป็น Supplier นะ เพราะเป็นผู้ให้บริการที่สำคัญของโรงพยาบาล ยิ่งในอนาคต หมอคนเดียว อาจดึงคนเข้าโรงพยาบาลมาได้เยอะมากๆ และถ้าหมอคนเดียวกัน ลาออก คนไข้ก็พร้อมไปหาหมอคนนั้น คนไข้มองโรงพยาบาล เป็นเพียงสถานที่อำนวยความสะดวกเท่านั้น 
ดังนั้นการจะดึงหมอชื่อดังมา และทำให้อยู่นานๆ ก็เป็นส่วนสำคัญของโรงพยาบาลเลย แต่ส่วนนี้ ผมไม่ได้ในวงการ ไม่รู้จริงๆ 

เครื่องมือทางการแพทย์ และยา
โรงพยาบาลที่ใหญ่มาก จะมีอำนาจสูงมากในการต่อรองราคาพวกนี้ มีความสามารถในการซื้ออุปกรณ์ที่ดีได้สูง และยังสามารถ เลือกยาที่ให้คนไข้ได้เสมอ ทำให้อำนาจต่อรองค่อนข้างสูงมาก 

3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า

คนไข้
แทบจะไม่มีทางให้ต่อรองเลย สำหรับรายย่อย นอกจากหาโรงพยาบาลถูกๆ แทนไปก่อน 

กลุ่มประกัน หรือบริษัท ที่มาซื้อแพ็ตเก็ตแบบเหมาให้ลูกค้าหรือพนักงาน 
มีทางต่อรองบาง สำหรับ บริษัทที่ขอเหมาให้กับ พนักงาน เพราะต้องการถูกๆ แต่กลุ่มประกันยาก เพราะลูกค้า ต้องการแต่ของดีๆ อยู่แล้ว 


4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

อาหาร เครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ 
ก็ตามที่เขียน เดียวนี้ เทรนมาแรง แต่เท่าที่ผมเห็น ไร้สาระมากกว่า อย่างเครื่องดื่ีม น้ำตาลเป็นก้อนๆเลย กินแล้วอ้วนมากกว่า หรืออย่าง อาหารเพื่อสุขภาพ แพงสาดๆ เลย 

ผมว่ามันเป็นเรื่องความเชื่อมากกว่า เหมือนโรงพยาบาล ล่ะ เล่นกันที่ความเชื่อ แต่โรงพยาบาลดีกว่า ที่มีเทคโนโลยี และความรู้รองรับ

การแพทย์แบบแปลกๆ (ไม่รู้จะเขียนยังไง) 
ก็อย่างเช่น เรื่องการเอาของแปลกๆ มารักษา อย่าง เหล็กในผึ้ง การเอาตัวเข้าห้องอบ การฝังเข็ม 
อันนี้ผมบอกไม่ถูก แต่ถ้าคนไข้คนไหน ได้ลอง แล้วหายจะอาการป่วย ส่วนใหญ่ก็จะเชื่อไปเลย

ไสยศาสตร์
อันนี้ก็เรื่องความเชื่ออีก คือทำแปลกๆ อย่างคนจะตาย เอามาสวดมนต์ นั่งสมาธิ มันก้ไม่น่าจะหายได้เลยนะ 
ปล. ไม่ได้ลบลู่นะ


5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

ข้อนี้ ตัดออกได้เลย เพราะการลงทุนโรงพยาบาลใหม่ ไม่ถูกเลย ทั้งค่าที่ดิน ค่าอาคาร ค่าอุปกรณ์การแพทย์อีก นอกจากนั้น การหาแพทย์ที่มีชื่อเสียงก็ยาก การที่คนไข้จะเข้ามาก็ยากเพราะโรงพยาบาลที่พึ่งเปิดใหม่ ยังไม่มีชื่อเสียง ทำให้คนไข้ไม่กล้าเข้ามารักษาตัวกันมากนัก 
กลายเป็นการลงทุนที่สูง กับชื่อเสียงโรงพยาบาล ทำใ้ห้โรงพยาบาล หน้าใหม่เข้ามาเปิดได้ยากไปด้วย 

Wednesday, December 5, 2012

บรรทึกช่วยจำ BGH


BGH 


ที่ผมสนใจนะครับ
  • โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 
  • ผบห มีแนวโน้มอยู่ฝั่งเดียวกับผู้ถือหุ้นสูง (เล่นซื้อตลาดทางเลย)
  • เป็นโรงพยาบาลที่ไล่เทคโอเวอร์ โรงพยาบาลอื่นๆเยอะมาก 
  • เนื่องจากการเทค ไม่ได้เทคแล้วจบ แต่มีการเข้าไปบริหาร ปรับปรุงด้วย แน่นอน โรงพยาบาลที่เทคมา สามารถทำกำไรได้ดีขึ้นด้วย 
  • การที่มีโรงพยาบาลเป็นเครือข่าย ทำให้เกิดอำนาจต่อรองได้สูง อย่างการซื้อยา การซื้ออุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ
  • เครื่องมือทางการแพทย์ บางตัวมีมูลค่าสูงมาก ทำให้โรงพยาบาลเล็กๆ ไม่สามารถมีได้ แต่ BGH มีได้สบาย เพราะแค่เครื่องเดียว ก็รับคนได้ทั้งหมดจากโรงพยาบาลในเครือด้วย (โอนคนไปมาได้สะดวก) 
  • สรุป โรงพยาบาลยิ่งใหญ่ ต้นทุนยิ่งประหยัด และสามารถดันรายได้ได้ทั้งเครือด้วย 

แต่ก็มีความเสี่ยง ด้วย
  • ถ้ากำไรมากไป เดียวจะโดนกลุ่มคนชอบหาเรื่อง พวกนักวิจารณ์ เล่นงานเอา 
  • การเทคโอเวอร์ โรงพยาบาลอื่น ถ้าควบคุมไม่ดี ก็มีปัญหา หรืออย่างที่ผ่านมา โีรงพยาบาลในเครือ ไปซื้อสนามกอฟท์ ซึ่งผมมองว่ามันไม่ดีมั้งนะ (หรือว่าคนป่วยต้องไปออกรอบกับหมอ) 

Saturday, December 1, 2012

มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมืออาชีพ




มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมืออาชีพ 
ธนาคาร กสิกรไทย 
1/12/2555

ผมมีโอกาสได้ไปฟังบรรยายฟรีที่ กสิกรไทย เลยจดมาเล่่าให้ฟัง
ครึ่งแรกจะเป็น นักวิเคราะห์ กับ ดร นิเวศ 
ครึ่งหลังจะเป็น นักวิเคราะห์ กองทุน กับ Hong Value นะครับ

เทคนิดการดูหุ้น ดูยังไง