Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 19 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1 หนังสือเศรษฐศาสตร์บางเล่มที่ผมอ่านเขาบอกว่า
ต้มยำกุ้งนั้นเป็นสาเหตุให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยสมัยนั้น
แย่ไปด้วย อยากถามว่า ประเทศมันเล็กจะตายถ้าเทียบกับ asia
ทำไมการที่ไทยมีปัญหาถึงลามไปสู่ประเทศอื่นใน asia ได้ล่ะครับ

- ตอนนั้นหลายๆ ประเทศในเอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเหมือนไทย และเป็นการเติบโตที่มีที่มาที่ไปคล้ายๆ กับไทย คือ มีการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นสูง มีการกู้เงินต่างประเทศมาก มีการลงทุนสูงกว่าการออมส่งผลให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง เงินทุนสำรองต่างประเทศมีน้อยกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเกิดปัญหาก็ทำให้มีความกลัวว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและโครงสร้างของปัญหาคล้ายๆ ไทย ก็คงจะต้องเกิดปัญหาแบบเดียวกันตามมา ซึ่งท้ายสุดก็เป็นเรื่องจริง อย่างไรก็ตาม ก็มีประเทศบางประเทศที่ไม่มีโครงสร้างปัญหาแบบไทย เช่น ไต้หวัน ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้งอะไรมาก

2.สมัยปี 1998 ค่าการกลั่นตกต่ำเหลือแค่ 1-2 เหรียญ
เป็นเพราะได้รับผลจากวิกฤติต้มยำกุ้งที่ลุกลามไปทั่วด้วยหรือเปล่าครับ

- ใช่ครับ ค่าการกลั่นก็ลดลงสัมพันธ์กับราคาน้ำมันซึ่งลงไป 10 กว่าเหรียญ ราคาน้ำมันที่ลดลงเยอะก็ลากรัสเซียเข้าสู่วิกฤติด้วยอีกประเทศ และมีส่วนทำให้กองทุน Hedge fund ชื่อดังอย่าง LTCM ( Long-term capital management ) ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง ล้มตามไปด้วย ว่าแต่เป็น hedge fund แต่ทำไมชื่อ long-term ก็ไม่ทราบนะครับ แต่ใครอยากทราบเรื่องราวก็ตามไปอ่านตาม link นี้ได้ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Long-Term_Capital_Management
คุณ hongvalue ครับ ถ้าจำไม่ผิดเคยมีบางช่วงที่ค่าการกลั่นเคยติดลบเลยนะครับ รบกวนลองไปถามผู้รู้ด้านโรงกลั่นดูนะครับ


2 หุ้น kce งบปี 51 มี cfo 602 มีเงินสด 117 แต่มี d/e 2.5 เท่า
และมีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 4460
ถ้าผมเอา cfo มารวมกับเงินสด 602+117 -4460 =-3741
ล้าน แต่มี d/e ที่สุงแบบนี้ kce น่าจะเพิ่มทุนใช่หรือไม่

- โดยหลักการแล้วถ้า kce เพิ่มทุนก็ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินลดลงครับ ในกรณีของ KCE ก็ยังมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานพอที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ครับ ส่วนจะมีปัญหากับสถาบันการเงินไหนหรือไม่นั้นต้องไปดูกำหนดการชำระเงินต้นครับซึ่งไม่มีเปิดเผยในงบ และต้องดูความสามารถในการยืดอายุหนี้ด้วยครับ แต่ kce ยังดีตรงที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังเป็นบวกในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และจะเห็นว่า capex ในไตรมาส 1 ลดลงจาก 300 กว่าล้านในปีก่อนเหลือเพียง 26 ล้าน ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า kce ก็อยู่ในช่วงที่ประคองตัวสุดๆ อยู่เหมือนกันครับ


4.วิธีการดูสภาพคล่องโดยนำ cfo+cash-shorttern debt
พี่ ih คิดว่าเพียงพอไหมในการดูว่าบริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง

- ปัญหาของแต่ละบริษัทก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ กันครับ กรณีของ kce ผมอ่านในหมายเหตุประกอบงบเห็นว่ามีการเอาที่ดิน โรงงานและเครื่องจักรไปค้ำการกู้เงินระยะสั้นจากธนาคาร ก็เลยได้วงเงินกู้มาเยอะหน่อยเพราะตามงบดุลตัว fixed asset มีถึง 6 พันล้าน แต่ก็ต้องยอมรับว่าสถาบันการเงินที่ให้กู้นั้นใจถึงเหมือนกันครับเพราะเครื่องจักรและโรงงานอิเลคทรอนิกส์นั้นมีมูลค่าขายทอดตลาดไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับดังนั้นการให้กู้จะต้องอยู่บนความเชื่อว่าลูกหนี้น่าจะคืนเงินกู้ได้ครับ นอกจากนี้การมีปัญหาสภาพคล่องหรือไม่หลักๆ ต้องดูเงื่อนไขการกู้เงินและกำหนดการชำระเงินครับ ดูอย่างหุ้น TRUE สิครับ d/e สูงมากยังยืดอายุหนี้มาได้เรื่อยๆ ครับ ดังนั้นสำคัญอยู่ที่การ refinance หนี้ครับ

อนึ่ง เงินกู้ระยะสั้นเกิน 50% ของ kce เป็นสินเชื่อเพื่อการส่งออกครับ ผมเองไม่แน่ใจว่ามีเงื่อนไขการชำระเงินกู้อย่างไรนะครับ

5.กรณีของ ccet คล้ายๆ kce แต่ว่า d/e น้อยกว่าประมาณ 1 เท่า
ccet มีเงินสดคงเหลือ 2083 แต่ว่า cfo ติดลบ และมีเงินกู้ระยะสั้น 14633
ถ้าเป็นแบบนี้ ccet ดูเหมือนจะไม่มีเงินสดพอที่จะจ่ายหนี้
ดังนั้น ccet จำเป็นต้องพึ่งพิง cff มา refinance ถูกหรือไม่ครับ
เพราะ d/e 1 เท่ายังน่าจะมี room ในการกู้เพิ่มได้อีก

- เงินกู้ระยะสั้นอาจจะอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ได้ครับ ต้องดูเงื่อนไขการกู้ครับ ยกตัวอย่างหุ้นส่งออกอาหารทะเลหลายๆ ตัวที่ต้องใช้ working cap สูงๆ ก็มีเงินกู้ระยะสั้นสูงมาหลายปีแล้วครับ ในส่วนของ ccet คงจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า kce ครับ เพราะ current ratio ของ ccet ยังใกล้ๆ กับ 1 ครับ

6.มีคนบอกว่าถ้าอยากรู้ว่าอุตสาหกรรมเดินเรือจะฟื้นเมื่อไหร่ให้รอฟังสัญญาณ
จากคุณ คาลิด ผู้บริหาร psl อยากทราบความเห็นพี่ ih ว่าที่ผ่านมา vision
ของคุณ คาลิด ค่อนข้างแม่นยำหรือไม่ เหมือนผมได้ยินมาว่าเขาเก็บเงินสดเอาไว้เยอะเพื่อรอกอบโกยขาขึ้น ฟังดูแล้วเหมือนว่าเขามองอุตสหกรรมขาดหรือเปล่าครับ

- คือ รอบปี 1995-1996 ทาง PSL เก็งพลาด คือขยายกองเรือไปเยอะมาก พอเจอวิกฤติเอเชียปี 1997-1998 เลยทำให้ PSL บาดเจ็บไปพอสมควรครับ

PSL สั่งต่อเรือใหม่ไว้ประมาณ 15 ลำ ตั้งแต่ปี 2550 โดยทำสัญญาขอวงเงินกู้ในการจ่ายค่าต่อเรือใหม่ไว้ 14,000 ล้านบาท มีกำหนดส่งมอบเรือใหม่ในปี 53 - 55 เนื่องจากเรารู้แต่วงเงินกู้จึงไม่ทราบว่าเงินที่ต้องจ่ายให้อู่ต่อเรือนั้นเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินที่กู้หรือมากกว่าครับ

นอกจากนี้ ยังทำสัญญาขอวงเงินกู้เพื่อซื้อเรือมือ 2 กับ ธ. กรุงไทย และ ธ. ในประเทศ โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้จนถึงเดือน ม.ค. ปี 53 ได้เป็นวงเงิน 8,750 บาท โดยสัญญาเงินกู้จะต้องมี d/e ไม่เกิน 2

และยังทำสัญญาขอวงเงินกู้เพื่อซื้อเรือมือ 2 กับ ธ. ในสิงคโปร์ เป็นวงเงิน 7000 ล้านบาท แต่ถูกลดวงเงินเหลือ 3,500 ล้านบาท และเบิกได้ถึง ธ.ค. 52

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา PSL มีการทยอยขายเรือที่มีอายุ 25-27 ออกไปประมาณ 10 ลำเหมือนกันครับ

ตอนนี้หนี้ของ psl มีประมาณ 3 พันล้าน เงินสด 3 พันกว่าล้าน สุทธิแล้วถือว่าไม่มีหนี้ แต่หากเมื่อส่งมอบเรือแล้วก็จะต้องกู้เงินอีกมาพอสมควรคือ 1 หมื่นกว่าล้านครับ

ตอนปี 50 ที่สั่งต่อเรือ 15 ลำ ผมเองไม่แน่ใจว่าคุณคาลิดมองว่าจะมีวันที่ BDI ลดลงอย่างหนักอย่างวันนี้รึเปล่า แต่ก็ได้ลดความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาให้เช่าเรือล่วงหน้าในปี 53-54 ไว้บ้างแล้ว แต่การที่ขายเรืออายุ 25-27 ปีออกไปแสดงว่าคงมองว่าในปีนี้ค่าระวางคงไม่ค่อยดีนัก และเรือที่มีอายุขนาดนี้หากหมดสัญญาเช่าที่สูงๆ แล้วก็ไม่คุ้มค่ากับค่าระวางเรือในปัจจุบันครับ

สิ่งที่ PSL ต้องตัดสินใจคือ จะใช้วงเงินกู้ธนาคารที่มีอยู่ในการซื้อเรือมือ 2 รึเปล่าครับ เพราะจะหมดในต้นปี 53 แล้ว และ bank มีโอกาสไม่ต่ออายุวงเงินเพราะ psl ก็เขียนใน 56-1 ว่า การต่ออายุวงเงินครั้งที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้า psl กู้เพื่อซื้อเรือมือ 2 แสดงว่าผู้บริหารมองว่าตลาดเรือจะต้องฟื้นในปี 53 หรือ 54 นี้ครับ เพราะ psl จะต้องแบกรับเงินกู้ 2 ทางคือ ทั้งที่กู้มาซื้อเรือมือ 2 และกู้มาจ่ายค่าเรือใหม่

ข้อดีของ PSL คือ การที่ทำสัญญากับลูกค้าล่วงหน้าไปค่อนข้างมากแล้วในปี 52-53 ทำให้สามารถ lock ค่าระวางต่อวันได้ในอัตราสูงคือ 13,000 – 14,000 เหรียญต่อวัน ซึ่งสูงกว่าต้นทุนการเดินเรือที่ประมาณ 5 พันเหรียญต่อวันมาก ซึ่งตรงนี้ถือว่าคุณคาลิดนั้นมองขาดเหมือนกันครับและน่าจะทำให้ psl อยู่ในสถานะที่ดีกว่าคู่แข่งพอสมควร ความเสี่ยงมีอยู่บ้างหากลูกค้าไม่ทำตามสัญญา แต่ความเสี่ยงนี้ยังไม่เห็นใน q1 ครับ และไม่แน่ใจว่าหากลูกค้าไม่ทำตามสัญญาจะมีค่าปรับหรือต้องฟ้องร้องยังไงหรือไม่อย่างไร ส่วนหลังจากมีการรับมอบเรือที่ต่อใหม่จะทำให้ต้นทุนหรือ fixed cost เพิ่มขึ้นมาพอสมควรเหมือนกันครับ

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ หรือคุณคาลิดในปี 2550 มองเห็นอนาคต อาจจะเลือกที่จะไม่ต่อเรือใหม่ครับ และรอซื้อเรือมือ 2 อย่างเดียว ซึ่งน่าจะได้ราคาที่ดีกว่าการสั่งต่อเรือใหม่มากครับ แต่การไม่สั่งต่อเรือใหม่เลยก็มีความเสี่ยงคือ หากค่าระวางหลังปี 50 ยังอยู่ในระดับสูงไม่ตกต่ำเหมือนตอนนี้ PSL ก็ไม่สามารถซื้อเรือมือ 2 ได้

ดังนั้น จากสิ่งที่เขียนมาทั้งหมด ผมคิดว่าคุณคาลิดคงมองแบบ safeๆ ไว้ คือ ไม่ฟันธงไปในทางใดทางหนึ่ง คือ แม้จะเสี่ยงต่อเรือใหม่ แต่ก็ทำสัญญาล่วงหน้าสำหรับเรือใหม่ไว้พอสมควร ทำให้ในช่วงปี 2553-2554 ที่เรือใหม่ส่งมอบอย่างน้อยก็มีบางส่วนก็มีสัญญาที่ค่าระวางสูงๆ อยู่ และลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากเรือที่มีอายุมากๆ ค่าดำเนินการสูงด้วยการเร่งขายเรือเก่าออกไป แต่สิ่งที่น่าห่วงคงจะเป็นหลังปี 2555 ครับที่เรือส่งมอบครบและตอนนี้ยังไม่มีสัญญาล่วงหน้าครับ

No comments:

Post a Comment