Wednesday, April 27, 2011

คุณ ih ครับ ภาค 15 โดย hongvalue จาก เวปกระทิงเขียว

1.หุ้นกลุ่มเดินเรือมี 2 แบบ คือแบบเช่าเหมาลำ กับเส้นทางประจำ เคยอ่านเจอมาว่าการเช่าเป็นระยะเวลา(เช่าเหมาลำ)นั้นลูกค้าต้องออกค่าน้ำมันเอง ถ้าเป็นอย่างนี้บริษัทที่ไม่ได้เช่าเหมาลำเยอะก็จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเยอะกว่าใช่หรือไม่

- ตามหลักน่าจะใช่ครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่าในส่วนประจำเส้นทางทาง บ. เรือจะคิดค่าน้ำมันที่แพงขึ้นกับลูกค้าด้วยได้รึเปล่าและแค่ไหนนะครับ แต่เท่าที่ทราบคือ เรือที่เดินประจำเส้นทางอย่าง RCL จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมากกว่าครับ

2.เวลาสั่งต่อเรือใหม่ บริษัทเดินเรือต้องจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อนเท่าไหร่ เพราะถ้าจ่ายไปไม่เยอะ บริษัทเดินเรือ ก็เบี้ยวได้ไหมพอเรือเสร็จแล้วค่าระวางลดลงก็ไม่ยอมซื้อเรือ

- เท่าไหร่นี่ผมไม่มีตัวเลขครับ แต่คงต้องจ่ายไปแน่ๆ ครับ ส่วนเรื่องเบี้ยวนี่ก็คงเกิดขึ้นได้บ้างในช่วงภาวะเช่นนี้ เท่าที่ทราบมา บ. อู่ต่อเรือที่เกาหลีก็มีปัญหานี้อยู่เหมือนกัน แต่วงการเรือก็ค่อนข้างแคบ ถ้าไม่จำเป็นผมคิดว่าบริษัทใหญ่ๆ คงไม่อยากเบี้ยวเพราะจะเสียเครดิตในอนาคตครับ

3.ปกติเรือเทกองที่จะปลดระวางเรือ คือ 25 ปีใช่ไหม แล้วเรือ container อายุเท่ากันไหม

- ผมไม่ค่อยได้ศึกษาธุรกิจเรือ container มากเท่าไหร่ ไม่แน่ใจคำตอบนี้ครับ ส่วนอายุเรือเทกอง ในช่วงค่าระวางดีๆ สามารถวิ่งต่อได้ถึง 30 ปีครับ อาจจะต้องเสียค่าซ่อมดูแลรักษามากกว่าแต่ถ้าค่าระวางดีก็ยังคุ้มครับ แต่ช่วงนี้ที่ค่าระวางลงมามากก็จะเริ่มเห็นเรือเก่าๆ ที่ต้นทุนสูง มีปลดระวางไปบ้าง ก็เป็นธรรมชาติของธุรกิจนี้ครับ


4.ถ้า psl ทำสัญญากับลูกค้า lock ค่าระวางเรือไว้สูงแล้ว ถ้าค่าระวางลดลงเยอะจะมีความเสี่ยงที่ลูกค้าจะเบี้ยว ไม่ใช่บริการกับ psl มากน้อยแค่ไหน

- ถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่หน่อยที่เป็นลูกค้ากันมานานคงไม่ถึงกับเบี้ยว แต่อาจจะมีการต่อรองได้บ้างครับ ส่วนลูกค้าขาจรที่เป็น บ. เล็กๆ ก็เป็นไปได้ที่จะมีความเสี่ยงเรื่องนี้ครับ แต่อย่างที่ว่าไว้วงการเรือนั้นแคบ ผมคิดว่าการปฎิบัติตามสัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญครับ

5.หุ้นเดินเรือนั้นเราดู bv ได้มากแค่ไหน เช่นสมมุติค่าระวางเรือตกต่ำมากๆแล้ว แต่ราคา tta psl อยู่ที่ 0.3-0.4 เท่า แล้วราคาหุ้นเริ่มไม่ลงตามค่าระวาง เพราะมีสินทรัพย์ เป็นกองเรือเยอะ เราจะมี magic number ไหมว่า p/bv กี่เท่าจะเป็นจุด bottom ของหุ้นเรือ

- คิดว่า magic number ไม่น่าจะมีครับ ที่น่าห่วงคือ ถ้าค่าระวางเรือตกต่ำหลายๆ ปี จะมีช่วงที่ขาดทุนแล้วทำให้ book ลดลงมา และอีกเรื่องที่น่าห่วงคือ ช่วงที่ค่าระวางตกต่ำอายุเรือก็ยังเพิ่มขึ้นและอาจจะต้องมีการขายเรือที่มีอายุมากออกไป เกรงว่าเมื่อฟื้นตัวอีกรอบ TTA และ PSL อาจจะมีจำนวนเรือในกองเรือที่น้อยลงครับ ดังนั้น ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ยังสะท้อนความคาดการณ์ที่วัฎจักรจะฟื้นในช่วงปลายปีนี้หรืออย่างช้าปีหน้าอยู่ แต่ถ้าซบเซานานกว่านั้นผมคิดว่าราคาปัจจุบันไม่น่าจะยืนอยู่ครับ

6.การทำ replacement cost หุ้นเรือทำโดยการดูว่ามีเรือกี่ลำ น้ำหนักกี่ตันแล้วดูว่าน้ำหนักกี่ตัน ตันละกี่บาท และเอามาเทียบกับ ev ของบริษัทใช่ไหม

- ปกติน่าจะใช้ depreciated replacement cost ซึ่งมี 2 วิธี
วิธีแรก หาอายุกองเรือเฉลี่ยก่อน ( ใน 56-1 ) แล้วหาค่าต่อเรือใหม่ที่มีขนาดเดียวกันให้ได้ แล้วคำนวณราคาเรือในปัจจุบันโดยตัดค่าเสื่อมตามจำนวนปีอายุเฉลี่ย เช่น ถ้าให้เรือมีอายุใช้งาน 30 ปี แล้วค่าต่อเรือใหม่ 900 ล้านบาทต่อลำ หากอายุเฉลี่ยกองเรือของบริษัทที่เราต้องการคำนวณคือ 20 ปี ดังนั้น depreciated replacement cost ต่อลำ ก็จะเป็น 10/30 คูณ 900 คือ 300 ล้านบาท

วิธีที่ 2 ถ้าไม่สามารถหาราคาค่าต่อเรือใหม่ได้ ให้ลองหาราคาซื้อขายเรือในตลาดมือ 2 ที่มีขนาดใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของกองเรือ และอายุของเรือมือ 2 ที่ซื้อขายกัน แล้วมาใช้วิธี depreciated replacement cost เช่นกัน แต่วิธีนี้อาจจะต้องหาราคาเรือมือ 2 ซัก 3-4 รายการมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยดูครับ

ส่วนวิธีที่ Hong ถามมานั้นเป็น worst case เลย คือ scrap cost คือ ราคาที่ขายเรือเป็นเศษเหล็กครับ ดังนั้นค่าที่ได้จากวิธีนี้จะต่ำมาก เพราะปกติค่าระวางเรือกับราคาเหล็กมักจะสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากนำเรือไปขายเป็นเศษเหล็กช่วงนี้ก็ได้ราคาไม่ดีเท่าไหร่ครับ

7.rcl ใช้เริอ container เราเลยต้องดูที่ howe robinson container แทน bdi อยากถามว่าความสัมพันธ์ของ howe robinson container กับ bdi มีมากน้อยแค่ไหน และ ถ้าเศรษฐกิจโลกโต ดัชนีตัวไหนน่าจะขึ้นได้มากกว่า

- ผมไม่เคยทำความสัมพันธ์กันนะครับ แต่ปกติก็น่าจะตามๆ กันเพราะความต้องการเรือสัมพันธ์กับการส่งออกทั่วโลกครับ และมีสินค้าบางประเภทที่ขนได้ทั้ง container และเรือเทกอง เป็นเหตุให้มีการทดแทนกันได้บ้าง ช่วงขาขึ้นที่ผ่านมา BDI โตเร็วกว่าเพราะมีปัญหาเรื่องการเพิ่มของ supply มากกว่าทำให้จำนวนเรือไม่ค่อยพอกับความต้องการครับ

8.ถ้าค่าระวางเรือขึ้น หุ้นตัวที่มีเรือจำนวณเท่ากัน เช่น 20 ลำ แต่เรือใหญ่กว่าเช่น หุ้นตัวแรก 20 ลำ เป็น handy size ส่วนตัวที่สอง 20 ลำเป็น capesize หุ้นตัวที่สองน่าจะขึ้นแรงกว่าเพราะสามารถขนส่งได้เอยเกว่ามีขนาดใหญ่กว่าใช่หรือไม่

- อาจจะไม่จำเป็นเสมอไปครับ ต้องดู demand supply เรือแต่ละประเภทด้วยครับ อย่างช่วงขาขึ้นที่ผ่านมา เรือขนาดเล็กอย่าง handy size ไม่ค่อยมีการต่อเรือเพิ่มเพราะอู่ต่อเรืออยากต่อเรือใหญ่ๆ มากกว่าเพราะได้กำไรต่อการต่อ 1 ลำมากกว่า ทำให้ supply เรือเล็กเพิ่มได้น้อยกว่าเรือใหญ่ครับ และมีท่าเรืออีกมากที่มีขนาดเล็กต้องใช้เรือเล็กขนาดอย่าง handy size เทียบท่า ซึ่งทำให้เรือเทกองขนาดใหญ่ไม่สามารถทดแทนเรือเล็กได้ทั้งหมดครับ

9.ทำไมบทวิเคราห์ชอบนำหุ้นเดินเรือในเอเชียมาเทียบ pe pbv การเทียบแบบนี้มีจุดอ่อนอะไรที่นักลงทุนต้องระวังบ้าง

- ระวังเรื่องนโยบายการตัดค่าเสื่อมและการประเมินราคาสินทรัพย์ที่จะมีผลต่อ EPS และ book value ครับ น่าจะใช้ P/CF ( Price / operating cash flow ) ประกอบด้วย แต่เปรียบเทียบไปก็พอจะทราบได้ว่าโดยเปรียบเทียบตัวไหนถูกแพง แต่เวลาขึ้นลงก็ขึ้นลงกันทั้ง sector ล่ะครับ

10.บริษัทเดินเรือส่วนใหญ่จะคิด t/c rate กับลูกค้าเท่ากับค่าระวางเรือในปัจจุบันใช่ไหม

- คำถามนี้ผมเองไม่แน่ใจคำตอบครับ กลัวจะตอบผิดครับ ถ้าคุณ Hong หาคำตอบได้ช่วยมา post ด้วยนะครับ

11.กำไรของ tta นั้นในปี 2002 เทียบกับปี 2003 และปี 2004 คือ 410 ไป 1010 ไป 4326
น่าแปลกที่กำไรปี 2003 โต 340% จาก 1010 ไป 4326 แต่หุ้น tta ในปี 2004 ไม่ขึ้น
แบบนี้เราจะมีวิธีดูได้อย่างไร ว่าหุ้นเดินเรือ ณ.จุดนั้นๆรับข่าวการเติบโตข้างหน้าไปแล้ว
ถึงกำไรจะโตแต่ราคาหุ้นก็จะไม่ขึ้น เพราะถ้าเราถือตั้งแต่ต้นปี 2003 มาจนถึงต้นปี 2004
แล้วเราคาดว่าค่าระวางจะขึ้น แล้วขึ้นจริงๆ แต่หุ้นก็ไม่ไปไหนต่อ

- ราคาหุ้นจะสะท้อนอนาคตเสมอครับ ตอนปี 2004 นักลงทุนสถาบันที่ไล่ซื้อ TTA หรือ PSL ขึ้นมาก็เห็นแล้วว่าหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นวัฎจักร ดังนั้นกำไรที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นตลอดไปเรื่อยๆ ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ควรจะขายหุ้นคือ ช่วงที่ค่าระวางเรือขึ้นสูงๆ และกำไร peak จะเห็นได้ว่าเจ้าของเดิมของ TTA คือ ตระกูลไทเก้น ยังขายหุ้นจนหมดเลยครับในช่วงที่หุ้นขึ้น

12.peter lynch พูดไว้ว่าถ้าอยากรู้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้น หรือ ไม่ให้ดูที่ราคารถมือสองเพิ่มขึ้น
(หน้า 372 beating the street) พี่ ih คิดว่าในเมืองไทยทำแบบนี้ได้หรือไม่

-  ผมไม่ได้ตามราคารถมือสองนัก แต่ผมคิดว่าราคารถมือสองบ้านเราก็ไม่ค่อยขึ้นลงมากมายเลยไม่คิดว่าจะเป็น indicator ได้เท่าไหร่มั้งครับ ผมลองพยายามคิดหาเหตุผลดูก็ยังนึกไม่ออกนะครับ แต่ปกติแล้วถ้าเศรษฐกิจดี ทั้งตลาดรถใหม่และรถมือสองน่าจะฟื้นด้วยกันครับ คือ คนมีเงินมากหน่อยก็ซื้อรถใหม่ คนมีเงินน้อยหน่อยก็ซื้อรถมือสอง แต่ที่ผมสงสัยความคิดของ Lynch คือ ถ้าอยากรู้ว่าอุตสาหกรรมรถฟื้นหรือไม่ก็ดูยอดขายรถยนต์ใหม่ไปเลยไม่ดีกว่าหรือครับ ถ้าให้เดาความคิด Lynch เขาอาจจะมองว่าพออุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจพ้นจุดต่ำสุดแล้ว แต่เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก คนที่คิดซื้อรถก็เลยยังอยาก save เงินจึงซื้อรถมือสองแทนที่จะเป็นรถใหม่ ตลาดรถมือสองจึงฟื้นก่อนอะไรทำนองนี้มั้งครับ

12.เวลาเศรษฐกิจฟื้นระหว่างกลุ่มยานยนต์กับกลุ่ม อสังหริมทรัพย์ กลุ่มไหนน่าจะมีรายได้โตมากกว่ากัน

- ปกติแล้วของเล็กๆ จะฟื้นก่อนของใหญ่ๆ ครับ ดังนั้นรถควรจะฟื้นเร็วกว่าบ้านครับ

13.จำเป็นหรือไม่ที่เวลาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นขาขึ้นหุ้นตัวที่ผลิตขั้นต้น จะมาก่อนแล้วค่อยไปขั้นปลาย ในทางกลับกันขาลงขั้นต้นจะลงก่อน เช่น งวดนี้ pttar ลงแรงมาก และ pttch tpc ค่อยลงตามทีหลัง

- ในช่วงขาลงขั้นต้นจะแย่ก่อนครับ จะเห็นว่าปีที่แล้วกำไรและราคาขายของพวกต้นน้ำเริ่มทรงๆ ลงๆ แล้ว แต่กำไรพวกปลายน้ำอย่าง TPC VNT กลับดีขึ้นเพราะราคาวัตถุดิบที่เป็นขั้นต้นลดลง ทำให้ spread ดีขึ้น แต่กำไรที่เพิ่มขึ้นของพวกปลายน้ำอย่าง TPC VNT จะทำให้หุ้นขึ้นได้เพียงช่วงสั้นครับเพราะหลังจากนั้นซักพักราคาขายของพวกปลายน้ำก็จะลดลงตามต้นทุนเองครับ และ spread ก็ลดลง ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้คือ หุ้น commodity จะขึ้นได้ดีเมื่อ spread ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มครับ แต่ถ้า spread เพิ่มขึ้นเพราะราคาวัตถุดิบลงอย่างนี้ไม่ค่อยน่าซื้อเท่าไหร่ครับ



14.มีความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรของเดินเรือกับปิโตรเคมีแค่ไหน
เพราะว่าราคาหุ้น tta psl และ atc เริ่ม peak ในต้นปี 2004 แล้วก็ sideway แล้วก็หัวทิ่ม ไปนาน จนขึ้นกลับมาที่ high เดิมกันใหม่ในปี 2007 แต่รู้สึก tta จะมี new high อยู่ตัวเดียว

-  TTA ช่วงนั้นมี story เรื่องนำบริษัทลูกคือ Mermaid ที่เป็นเรือบริการด้านการขุดเจาะกลางทะเลเข้าตลาดหุ้นต่างประเทศด้วย และช่วงนั้นราคาน้ำมันขาขึ้นทำให้รายได้ของ Mermaid ค่อนข้างดี ส่วน TTA PSL ATC ที่ peak รอบ 2 ก็อาจจะเปรียบเหมือนเวลาเทียนใกล้ดับก็จะสว่างโร่ขึ้นมาอีกรอบ หรือคนใกล้จมน้ำก่อนจมลงไปจริงๆ ก็จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอีกเฮือกทำนองนั้นครับ หุ้น commodity trade ที่ P/BV สูงๆ หรือ Price / replacement cost สูงกว่า 1.5 เท่าไม่ได้นานครับเพราะเมื่อหุ้นขึ้นมากๆ บริษัทมีกำไรดีก็มักจะขยายกิจการก็จะมี supply ใหม่เข้ามา และเมื่อ supply ใหม่เข้ามา เศรษฐกิจก็มักเข้าขาลงพอดีครับ


15.ถ้าเงินบาทอ่อนจะส่งผลดีต่อหุ้นปิโตรกับเดินเรือใช่ไหมเพราะว่ารายได้ที่รับเป็นเงินดอลล่าร์

-    ราคาวัตถุดิบของหุ้นปิโตรฯ ก็ quote เป็นดอลล่าร์เหมือนกันครับ สำหรับ TTA ก็น่าจะเป็นผลบวก ผมคิดว่าเรื่องค่าเงินเป็นปัจจัยที่มีผลต่อกำไรของธุรกิจพวกนี้ไม่มากนักครับ หลักๆ คือ เรื่องราคาขาย spread หรือค่าระวางมากกว่าครับ

16.นักลงทุนรายย่อยมีความเสียเปรียบนักลงทุนสถาบันและต่างชาติในการเข้าถึงข้อมูล demand supply ของหุ้นกลุ่มนี้มากน้อยแค่ไหนครับ

- ก็มีความเสียเปรียบครับเพราะเป็นข้อมูลที่เป็น Global ซึ่งโบรกต่างชาติจะมีข้อมูลพวกนี้ให้กับนักลงทุนสถาบัน อย่างไรก็ตาม จุดหนึ่งที่รายย่อยได้เปรียบคือ ในช่วงที่หุ้น commodity พ้นจากจุดตกต่ำสุดๆ มาแล้วหุ้นเหล่านี้มักจะไม่อยู่ใน SET50 และมี mkt cap ขนาดเล็ก ทำให้นักลงทุนรายย่อยซื้อได้แต่สถาบันมีข้อจำกัดในการซื้อหุ้นพวกนี้ครับ เพราะกองทุนหลายแห่งตอนนี้จะต้องลงทุนในหุ้น SET50 เป็นสัดส่วนใหญ่ครับ

17.ราคาทองคำซึ้งดูเหมือนเป็น cyclical อย่างนึงหรือไม่ ดูเหมอืนว่าจะวิ่งตามหลังราคาน้ำมัน

- เป็น cyclical ครับเพราะทองเป็น commodity อย่างหนึ่งที่ราคาขึ้นลงตาม demand supply แต่หลังๆ ในช่วง 3-4 เดือนนี้ ทองมีราคาขึ้นลงสัมพันธ์กับน้ำมันน้อยลงครับ


17.2 มีคนบอกว่าที่ทองคำขึ้นมาเยอะๆได้นั้น (400 บาทมาบาทละ 10000) เพราะว่าเมือ่ก่อนมีนโยบาย
Bretton wood system ที่เอาค่าเงินดอล fix ไว้ที่ 35 ต่อทองคำ 1 ออน
และทำให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงของราคาทองคำ ต่อมาคนไม่มั่นใจดอลจึง
หันไปซื้อทอง เลยมีคนให้ความเห็นว่า ทองนั้นจะมีขึ้นไปเยอะๆเหมือนที่สมัยก่อนขึ้นมาแล้ว
เพราะสมัยก่อน ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะระบบ bretton wood system ไม่ทราบพี่ ih มองว่ายังไงครับ

-  ผมไม่แน่ใจว่าระยะเวลาที่ทองมีราคาขึ้นจาก 400 เป็น 10000 บาทนั้นใช้เวลากี่ปี และผลตอบแทนต่อปีเท่าไหร่ และเปรียบเทียบกับการฝากธนาคารแล้วดีกว่าไหม เพราะช่วงปี 2520-2541 นั้นดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 10% บวกลบต่อปี เท่าที่ผมเคยอ่านเจอคือ ทองให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินเฟ้อไม่มากนัก และบางช่วงก็แพ้เงินเฟ้อ แต่ทองจะให้ผลตอบแทนดีเป็นบางช่วง และมักจะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันแพง เศรษฐกิจโลกแย่ หรือมีสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองของโลก ส่วนประเด็นที่ประเทศต่างๆ จะสะสมทองเป็น reserve แทนการถือเงินสหรัฐนั้นผมคิดว่าก็อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างแต่ผมเคยฟังผู้รู้ท่านหนึ่งเค้าบอกว่าปริมาณทองในระบบนั้นน้อยกว่าเงินทุนสำรองของประเทศใหญ่ๆ มากดังนั้นการเปลี่ยน reserve มาเป็นทองเป็นสิ่งที่ทำได้ในสัดส่วนที่น้อยจึงอาจจะไม่คุ้มที่จะทำเท่าไหร่นักสำหรับประเทศใหญ่ๆ ที่มี reserve มากๆ อย่างจีนหรือญี่ปุ่น

18.ที่วงไว้ช่อง 1 ผมงงว่าทำไม higher inflation แล้ว property ถึงน่าลงทุน ใช่เป็นเพราะว่าจะตามมาด้วยการลดดอกเบี้ยหรือป่าวครับ

- น่าจะเป็นเพราะว่าการที่ราคาสินค้าแพงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างอาคารใหม่ๆ แพงขึ้น จึงทำให้ replacement cost เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อราคาสินค้าสร้างใหม่แพงขึ้นก็มักจะทำให้ราคาอสังหาฯ ที่มีอยู่แล้วปรับเพิ่มตามด้วยครับ แต่ต้องเป็น inflation ที่สูงที่เกิดจากเศรษฐกิจดีนะครับไม่ใช่จาก supply shock

19.ช่อง 2 ทำไมการ cut in short rate ถึงได้ประโยชน์แต่ bond ระยะสั้น ครับ

- เมื่อ ดอกเบี้ยลง ก็ทำให้ bond yield ลง ราคา bond ก็เพิ่มขึ้นครับ ส่วนทำไม bond ระยะยาวไม่ได้ประโยชน์เพราะเป็นการลดของดอกเบี้ยระยะสั้นนี่ครับ เค้าไม่ได้บอกว่าดอกเบี้ยระยะยาวลงด้วยรึเปล่า ถ้าดอกเบี้ยระยะสั้นลงแต่ระยะยาวไม่ลงก็แสดงว่า yield curve มีความชันมากขึ้นครับ

20.ช่อง 3 บอกว่า property จะน่าลงทุนเพราะว่า
ดอกเบี้ยที่แท้จริงเพิ่มขึ้นหมายความว่า เงินเฟ้อลดลงใช่หรือไม่

- ดอกเบี้ยที่แท้จริง คือ ดอกเบี้ยตามท้องตลาด เงินเฟ้อ จากตารางข้อ 3 จะเห็นว่าถ้าดอกเบี้ยที่ลดลงจะส่งผลบวกกับ property ไม่ใช่หรือครับ การที่ดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงก็เกิดจาก ดอกเบี้ยท้องตลาดลด และ/หรือ เงินเฟ้อลด ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงหรือถึงขั้นติดลบหมายความว่าการฝากเงินนั้นได้ผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ คือ ไม่สามารถรักษาค่าของเงินได้ ผู้ฝากเงินจึงมักจะนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แทน เช่น หุ้น หรืออสังหาฯ เป็นต้นครับ

21.ช่องที่ 4 ดอกเบี้ยที่แท้จริงเพิ่มขึ้น หมายความว่า เงินเฟ้อลด หรือว่าขึ้นดอกเบี้ยเลยทำให้ property ไม่ดีใช่หรือไม่

- ถ้าขึ้นดอกเบี้ยก็เป็นผลลบกับ prop แน่นอนครับ

22.ทำไมการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลดีกับ bond ระยะสั้นและยาวครับ

-  เพราะรัฐบาลจะต้องออกขายพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลครับ ดังนั้นเมื่อปริมาณพันธบัตรมากขึ้น ตามหลัก demand supply ก็ทำให้ราคาพันธบัตรลดลงครับ และการขายพันธบัตรรัฐบาลคือการดูดเงินออกจากระบบทำให้สภาพคล่องลดลงดอกเบี้ยจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เหตุการณ์ที่ไม่จำเป็นจะต้องเกิดเสมอไปเพราะว่าในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆ เพราะเมื่อเศรษฐกิจแย่ๆ เอกชนก็จะไม่ค่อยออกหุ้นกู้ แบงค์ไม่ปล่อยกู้ ดังนั้นแบงค์ก็จะเป็นคนนำเงินฝากของประชาชนมาซื้อพันธบัตรนี้เองครับ และไม่เป็นการแย่งเงินในระบบเพราะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีใครลงทุน ดังนั้นกรณีการขาดดุลในช่วงเศรษฐกิจแย่แล้วรัฐออกพันธบัตรจะไม่ทำให้เกิดการตึงตัวของสภาพคล่อง และบั่นทอนการลงทุนของภาคเอกชนหรือ crowding effect ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ครับ

No comments:

Post a Comment