* หลังจากนี้ไป เป็นความเข้าใจส่วนบุคคลนะคร้าบ
** อันนี้ เฉพาะ นักลงทุนระยะยาวนะครับ
สมมุติ กรณีที่ 1
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20
หุ้น C ปันผล 2 บาท ราคา 100 บาท PE 50
ให้แค่นี้ แน่นอน หุ้น A ดีสุด
สมมุติ กรณีที่ 2
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 3.3 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% ทุกปี PEG =1
ถ้ากำไรโต X % ทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ กำไรจะมาจาก ปันผล + การเติบโตของกำไรเลย
หมายความว่า สิ้นปีที่ 1
หุ้น A ราคา 100 บาท ปันผล 10บาท รวมกำไร 10 บาท
หุ้น B ราคา 100 บาท ปันผล 5บาท รวมกำไร 5 บาท
หุ้น C ราคา 100 บาท ปันผล 3บาท รวมกำไร 3 บาท
สิ้นปีที่ 2 (ปรับ PE ให้เท่าเดิม พอกำไรเพิ่ม ราคาก็ต้องเพิ่ม)
หุ้น A ราคา 110 บาท ปันผล 11 บาท กำไรจากปีที่1 10 บาท รวมกำไร 31บาท
หุ้น B ราคา 120 บาท ปันผล 6 บาท กำไรจากปีที่1 5 บาท รวมกำไร 31บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
หุ้น C ราคา 130 บาท ปันผล 4.3บาท กำไรจากปีที่1 3.3บาท รวมกำไร 37.6บาท (รวมกำไรส่วนต่างราคาหุ้น)
ดังนั้น กรณีที่ 2 ถ้าการเติบโต เป็นไปตลอดชีวิต หุ้น C จะกลายเป็นหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่
ดังนั้น ทั้ง 2 กรณีนี้ ทำให้ หุ้นบางตัว ปันผลต่ำตลอดชีวิต (เพราะมันเติบโต) หุ้นบางตัวปันผลเยอะมาก (เพราะไม่โต) นั่นเอง
แต่ก็มีปัญหาต่อ คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกิน
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี
=================================================================
*** ขอเปลี่ยนแปลง หุ้น PE 30 ปันผล 3.33% เป็น PE40 ปันผล 2.5%
**** ปันผลเอาออกไปเลยนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการคิด
ปัญหาต่อมา คือ
1. ไม่มีหุ้น หรือธุรกิจไหน จะเติบโตได้มากตลอดไป (ไม่งั้นหุ้นตัวนั้นจะใหญ๋จนกิน
2. ราคาไหน ที่ควรเข้าซื้อดี
สมมุติกรณีที่ 3
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% ทุกปี PEG =1
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1
แต่ เรามามองในปีที่ 5
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 207.36 รวมกำไร 144.57บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 384.16 รวมกำไร 311.52บาท
จะเห็นว่า ถ้า A B C ยังสามารถโตได้ในระดับเดิม หุ้นที่มีการฌตมากสุด ก็จะกำไรมากสุด
สมมุติกรณีที่ 4
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา 5ปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% ทุกปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
เรามามองในปีที่ 5 เหมือนกรณีที่ 3
แต่ในปีที่ 5 หุ้น B และ C ดันโตเหลือ 10% เท่าหุ้น A ทำให้ PE ของหุ้น B และ C ลงมาทันที เหลือ 10
หุ้น A จะมีปันผลรวม 61.05บาท ราคา 146.41 รวมกำไร 107.46บาท
หุ้น B จะมีปันผลรวม 37.21บาท ราคา 103.68 รวมกำไร 40.89บาท
หุ้น C จะมีปันผลรวม 27.36บาท ราคา 96.04 รวมกำไร 23.4บาท
ถือมา 5 ปี PE กลับมาเท่าเดิม กลายเป็นหายนะทันที
สมมุติกรณีที่ 5
หุ้น A ปันผล 10 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 40 โต 40% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
ให้เป็น X ปี เพื่อที่เราต้องการจากหาว่า "ถ้าเราต้องการหุ้นที่ PEG 1 PE สูง การโตสูง เราจะต้องหาต่อเนื่องอีกกี่ปี
อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 11 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 25.94 ปันผลรวม 185.31 ราคา 259.37 กำไร 344.69
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 30.96 ปันผลรวม 160.75 ราคา 309.59 (ที่ PE 10)กำไร 370.34
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 19.49 ปันผลรวม 114.36 ราคา 194.87 กำไร 209.23
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 26.35 ปันผลรวม 85.99 ราคา 263.53 (ที่ PE 10)กำไร 249.52
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 12.44 ปันผลรวม 49.65 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 74.07
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.45 ปันผลรวม 40.81 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 75.27
กรณี 6 เป็นกรณีปันผล 50%
หุ้นส่วนใหญ่ ไม่สามารถปันผล 100% ได้ เราควรคิดปันผล 50% แทนบ้าง
หุ้น A กำไรต่อหุ้น 10บาท ปันผล 5 บาท ราคา 100 บาท PE 10 โต 10% ทุกปี PEG =1
หุ้น B กำไรต่อหุ้น 5บาท ปันผล 2.5 บาท ราคา 100 บาท PE 20 โต 20% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
หุ้น C กำไรต่อหุ้น 2.5บาท ปันผล 1.25 บาท ราคา 100 บาท PE 30 โต 30% เป็นเวลา Xปี PEG =1 จากนั้นโต 10% และ PE ลงไปเหลือ 10
อันนี้ผมขอเฉลยเลยล่ะกัน
หุ้น B จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี
ในปีที่ 10 หุ้น A จะปันผล 11.79 ปันผลรวม 79.69 ราคา 235.79 กำไร 215.48
ในปีที่ 10 หุ้น B จะปันผล 12.9 ปันผลรวม 64.9 ราคา 222.89 (ที่ PE 10)กำไร 222.89
หุ้น C จะแซงหุ้น A ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น A จะปันผล 9.74 ปันผลรวม 57.18 ราคา 194.87 กำไร 152.05
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 13.18 ปันผลรวม 42.99 ราคา 206.53 (ที่ PE 10)กำไร
หุ้น C จะแซงหุ้น B ที่ PE เท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ในปีที่ 8 หุ้น B จะปันผล 6.22 ปันผลรวม 24.82 ราคา 124.42 (ที่ PE 10)กำไร 49.24
ในปีที่ 8 หุ้น C จะปันผล 6.72 ปันผลรวม 20.4 ราคา 134.46 (ที่ PE 10)กำไร 54.86
กรณีสุดท้ายล่ะ ขี้เกียจล่ะ
ถ้าเรามองเฉพาะปันผลอย่างเดียว (ปันผลสะสม) โดยไม่สนใจเรื่องราคา
หุ้น A B C เหมือนเดิม
หุ้น B จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 14 หุ้น B ปันผลสะสม 147.99 หุ้น A ปันผลสะสม 139.87
หุ้น C จะแซง หุ้น A ที่ปีที่ 10 หุ้น C ปันผลสะสม 87.27 หุ้น A ปันผลสะสม 79.69
หุ้น C จะแซง หุ้น B ที่ปีที่ 8 หุ้น C ปันผลสะสม 42.99 หุ้น B ปันผลสะสม 41.25
แสดงว่า การที่คนยอมซื้อที่ PE สูงๆ เพราะอ้างว่า มีการเติบโตที่สูงมากๆ จะต้องรู้ว่า จะโตได้สูงๆแบบนี้ อีกนานขนาดไหน ถึงจะคุ้มที่จะซื้อนะครับ
**** นี่ยังไม่รวมการเอาปันผลที่ได้ มาซื้อหุ้นกลับอีกทีนะครับ
=======================================================================
สรุป
- ถ้าจะซื้อหุ้น PE สูงๆ โดยอ้าง PEG ว่า =1 ซื้อได้ ต้องมั่นใจว่าหุ้นที่เติบโตยาวนานพอ อย่างน้อย 5ปีขึ้นไป แล้วต้องยังโตได้อีกถึงจะโตน้อยลงก็ตาม
- อันตรายจริงๆของหุ้น PE ระดับสูงมากๆ คือการปรับ PE ลง กลับมาอยู่ในจุดที่ควรอยู่
- ถ้าเป็นกรณีเอาปันผลมาซื้อหุ้นกลับด้วย จะน่าสนใจมากกว่านี้ เพราะหุ้น PE ต่ำ ปันผลสูง จะเพิ่มผลตอบแทนอีก ทำให้หุ้นเติบโต PE สูง เอาชนะได้ยากขึ้น ต้องใช้เวลามาขึ้นอีก
ข้อควรระวัง
- เป็นเพียงทฎีษดี เท่านั้น (เขียนไม่ถูก)
- หุ้นแต่ล่ะตัวไม่เหมือนกัน ต้องระวังด้วย